มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

แล้วใครจะดูแลผู้ที่ดูแลคนป่วยหรือผู้สูงอายุที่บ้าน (ตอนที่ 2)


"The stress you feel is not only the result of your caregiving situation but also the result of your perception of it—whether you see the glass as half-full or half-empty."

 

ต่อจากบันทึกที่แล้วนะคะ

ถึงผู้ที่ดูแลคนป่วยหรือผู้สูงอายุที่บ้านทุกท่าน

มาเริ่มดูแลตัวเองกันได้ ณ บัดนี้

1. การลดความเครียดส่วนตัว

มุมมองและความเข้าใจในเหตุการณ์ที่เกิดนั้นสำคัญมาก เป็นปัจจัยที่จะทำให้เราปรับตัวรับสถานการณ์นั้นๆได้ขนาดไหน ความเครียดที่เกิดขึ้นไม่ได้มาจากสถานการณ์การดูแลผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุเพียงอย่างเดียว แต่มันเป็นผลพวงเบ่อเร่อของมุมมองของเราที่มีต่อสถานการณ์นั้นๆนั้นแหละ - คุณเห็นว่ามีน้ำอยู่ครึ่งแก้วหรือน้ำมันหายไปครึ่งแก้วนั่นเอง

สิ่งที่คุณควรจะระลึกไว้เสมอคือ คุณไม่ใช่คนคนเดียวในโลกที่ตกอยู่ในสถานการณ์นี้ ถึงแม้คุณจะคิดว่าสถานการณ์คุณนั้นแย่ที่สุดไม่มีใครเหมือน ขอให้คุณรับรู้ไว้ว่ามีคนที่คิดเหมือนคุณอยู่ทั้วโลกค่ะ และถ้าคุณได้รู้จักเพื่อนร่วมทุกข์มากๆเข้า คุณจะเห็นว่ามีคนที่ตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากกว่าคุณมากมายนัก

ถ้าคุณคิดว่า คุณนอนไม่พอเพราะแม่คุณนอนไม่หลับแล้วปลุกให้คุณตื่นขึ้นมาด้วย ให้ลองดูคนที่เค้าต้องตื่นทุก 2 ชม.เพื่อมาพลิกกลับตัวแม่เค้าไม่ให้มี bed-sore กลางวันก็ต้องดูแลต้องปรับท่านั่งนอนตลอดเช่นกัน

หรือให้นึกถึงคนที่มีแม่ที่หลงลืมมากๆขนาดที่ด่าทอคนที่รักให้ช้ำใจไม่หยุดหย่อน หรือการที่พ่อของเราเองหลงลืมจนลวนลามผู้หญิงที่ผ่านมาใกล้มือทุกคนจนจ้างคนมาดูแลไม่ได้ หรือให้นึกถึงคนที่เค้าไม่มีเงินในการดูแลรักษาดูสิคะ นอกจากนี้ยังมีผู้ป่วยที่พยายามจะฆ่าตัวตายบ่อยๆอีก หรือลองคิดถึงคนที่มีพ่อเป็นมะเร็งขั้นสุดท้ายพร้อมๆกับแม่ที่เป็นอัลไซเมอร์แล้วตัวเองก็ดันมาเป็นโรคหัวใจ

คุณจะรู้สึกได้เองว่าปัญหาของคุณอาจไม่ได้ใหญ่โตอะไรอย่างที่คิด

ระดับความเครียดของแต่ละคนนั้นต่างกันมาจากหลายปัจจัย เช่น

  • คุณมาดูแลผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุเพราะอาสามาหรือหรือสถานการณ์บังคับ ถ้าคุณรู้สึกว่าไม่มีทางเลือก โอกาสที่คุณจะเครียดก็เพิ่มขึ้น เพราะเป็นไปได้สูงที่คุณจะรู้สึกกังวล ขุ่นเคือง ไม่พอใจ
  • ความสัมพันธ์ระหว่างคุณและผู้ป่วยเป็นอย่างไร ถ้ามีความสัมพันธ์ที่ดีอะไรก็ง่าย หรือถ้าไม่ดีแต่ยิ่งดูแลยิ่งสมานแผลใจกันก็ยิ่งดี ถ้ายิ่งอยู่ยิ่งไม่รักกันนี่ยิ่งเสียใจและหมดกำลังใจเอาง่ายๆ
  • ความสามารถในการรับมือกับปัญหาของคุณเป็นอย่างไร ทักษะในการ cope ดีแค่ไหน
  • สถานการณ์การดูแลผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุนั้นๆว่าหนักหนาแค่ไหน เช่น ผู้ป่วยมีกลุ่มอาการสมองเสื่อมหรือไม่หรือว่าพิการทางกายเฉยๆ
  • มีกองสนับสนุนมากแค่ไหน

ทีนี้เรามาดูกันว่าเมื่อเกิดความเครียดขึ้นแล้ว เราทำอะไรได้บ้าง

  1. มีสติรู้ตัวให้เร็วว่าเรากำลังเครียด เช่น เริ่มเห็นว่าตัวเองขี้รำคาญ มีปัญหาในการนอน ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย ขี้ลืม เมื่อเห็นเช่นนี้อย่ารอ อย่าปล่อยจนอาการมันมากมายจัดการไม่ไหว
  2. หาเหตุปัจจัยของความเครียดนั้นๆ ถามตัวเองอย่างจริงจังว่า ความเครียดมาจากไหน จากความขัดแย้งในครอบครัว ความรู้สึกว่าทำได้ไม่ดีพอ หรือ การที่ไม่สามารถบอกได้ว่าไม่ไหวแล้ว 
  3. มองให้ออกว่าอะไรสามารถเปลี่ยนได้ อะไรเปลี่ยนไม่ได้  จำไว้ว่าเราเปลี่ยนตัวเราได้ แต่การที่เราจะไปเปลี่ยนคนอื่นนั้นยากมากหรือทำไม่ได้เลยด้วยซ้ำ การที่พยายามจะเปลี่ยนหรือการที่เราอยากให้สิ่งที่เราควบคุมไม่ได้ให้มันเป็นไปตามใจเรานั้นมันก็ทำให้เราอึดอัดเป็นธรรมดา ให้ถามตัวเองว่า เราเปลี่ยนอะไรได้บ้าง การเปลี่ยนอะไรเล็กๆน้อยๆก็มีค่าได้  ให้จำ the Serenity Prayer ไว้ให้ดี ใช้ได้ทั้งคริสต์และพุทธเพราะมันคือเรื่องของการใช้ปัญญาที่จะมองให้ออกว่าอะไรเราเปลี่ยนได้อะไรบ้างแล้วอะไรที่เราควรเปิดแขนอ้ารับมัน
    …Grant me the serenity to
    Accept the things I cannot change with grace,
    Courage to change the things I can,
    And the wisdom to know the difference.
  4. จัดการลงมือปฏิบัติ  เริ่มง่ายๆเช่น เดินเล่นหรือออกกำลังกาย วันละ 15 นาที นั่งสมาธิ ทำสวน คุยปรับทุกข์กับเพื่อนโดยเฉพาะเพื่อนที่เป็นผู้ดูแลเหมือนกัน ค้นหาวิธีลดความเครียดส่วนตัวที่เหมาะกับจริตตัวเอง

2. ตั้งเป้าให้เฉพาะเจาะจงไปเลยว่าจะทำอย่างไร

ให้ลองวางแผนว่าใน 3 เดือนที่จะถึงนี้ คุณตั้งเป้าไว้ว่าจะจัดการกับตัวเองอย่างไร เช่น

  • ขอพักบ้าง
  • ขอคนมาช่วยในบางงานเช่น อาบน้ำให้ผู้ป่วย หรือ ทำอาหารให้ผู้ป่วย
  • ขอดูแลสุขภาพตัวเองบ้าง

อย่าตั้งเป้าให้มันกว้างไปนัก ให้แยกย่อยออกมาเป็นข้อๆ เมื่อตั้งเป้าได้แล้วให้ถามตัวเองว่าแล้วฉันจะต้องทำอย่างไรเป็นขั้นเป็นตอนเพื่อที่จะไปให้ถึงเป้าหมายได้อย่างไร ให้ลองเรียงความสำคัญและความยากง่ายดูแล้วก็ เริ่มทำได้เลย

ตัวอย่างเช่น

เป้าหมาย: อยากรู้สึก healthy กว่านี้

ขั้นตอนที่จะนำไปสู่เป้าหมาย:

  1. นัดหมอตรวจร่างกายประจำปี
  2. ขอเวลาพักแค่อาทิตย์ละครึ่งชม.
  3. เดินเร็วเพื่อออกกำลังกายให้ได้ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เอาแค่ครั้งละ 10 นาทีก็พอ

3. ลองหาทางออกไปเรื่อยๆ

เมื่อเราหาสาเหตุของปัญหาได้แล้ว ตั้งเป้าหมายและวางแผนแล้วก็ลองทำดู ให้จำไว้ว่า บางอย่างก็เวิร์คบางอย่างก็ไม่ได้ผล เราเองที่รู้ว่าอะไรเวิร์คให้ลองไปเรื่อยๆ  แล้วก็อย่าลืมว่ามุมมองของเรานี่แหละสำคัญ เช่น

การที่เราคิดว่า เราต้องทำ เพราะคนอื่นทำไม่ได้ ไม่ยอมทำ หรือ ทำได้ไม่ดีเท่าเรา หรือผู้ป่วยไม่ยอมเอาคนอื่นจะเอาแต่เราเท่านั้น

ให้ลองคิดใหม่ว่า ถึงแม้คนอื่นจะดูแลได้ไม่เหมือนเราดูแลเอง เค้าอาจมีวิธีที่ต่างไป แต่มันก็อาจจะโอเคก็ได้ มันอาจจะไม่เลวร้ายก็ได้ ถ้าเวลาสถานการณ์บังคับเราไม่อยู่จริงๆ คิดๆดูผู้ป่วยเค้าก็อยู่ได้หนิให้คนอื่นช่วยดูแลก็ได้

ลองให้ญาติหรือเพื่อนช่วยดูบ้าง

แล้วก็อย่าคิดแก้ปัญหาอยู่คนเดียว คุยกับเพื่อน กับญาติพี่น้อง กับบุคคลากรสายสุขภาพ ให้ช่วยกันออกความเห็น

ผิดบ้างถูกบ้างก็ลองดู หมอเองก็ไม่รู้จักผู้ป่วยเท่าตัวคุณเอง หมอก็ต้องเรียนรู้จากคุณด้วยเหมือนกัน

หาทางออกไว้เยอะๆ ลองนำมาใช้ทีละข้อ ไม่ได้ผลก็ลองวิธีใหม่ บางทีเรายังไม่ทันลองเลยก็ไปคิดเองแล้วว่าไม่ได้ผลแน่ๆ

ถ้าไม่มีวิธีไหนได้ผลเลยก็พักไว้ก่อน มันอาจจะแก้ไม่ได้ หรือ ไม่ใช่เวลาแก้ที่ถูกต้อง ค่อยนำกลับมาคิดใหม่เมื่อถึงเวลา

หลายๆครั้งเราก้าวกระโดด ไม่ค่อยๆคิดไม่ค่อยๆลอง คิดว่าทางออกที่เลิศมากแล้วพอมันไม่เวิร์คก็หมดหวัง

ให้จำไว้ว่า ค่อยๆคิดค่อยๆลองไปค่ะ


คราวหน้าจะมาบันทึกเรื่องเทคนิคการสือสารและการพูดขอความช่วยเหลือค่ะ


แปลและดัดแปลงจาก:  Taking Care of YOU: Self-Care for Family Caregivers

---------------------------------

พูดเรื่องการปรับทัศนคติตัวเอง

มีมนตราอีกบทที่ผู้เขียนเรียนรู้มาจากการดูสัมภาษณ์คุณเจ เพ้าช์ (Jai Pausch) ภรรยาของศ. แรนดี้ เพ้าช์ ผู้สอน The Last Lecture

(คุณแรนดี้เสียชีวิตไปแล้วด้วยโรคมะเร็งตับอ่อน)

นั่นก็คือการให้พูดกับตัวเองทุกครั้งที่มีความคิดแบบลบเกิดขึ้นกับตัวเอง

ให้พูดว่า "THIS IS NOT HELPING"

คิดแบบนี้ก็ไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น ทำแบบนี้ก็ไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น

ให้มีสติเสมอว่าเราคิดอะไร รู้สึกอะไร แล้วก็พูดประโยคนี้กับตัวค่ะ

แล้วจะนิ่งพอที่จะทำให้รู้ว่าเราจะทำอย่างไรต่อไปดี

---------------------------------

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 200768เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2008 06:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 11:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
  • อ่านบันทึกดีดี ตอนเช้า
  • ให้พูดว่า "THIS IS NOT HELPING"

    คิดแบบนี้ก็ไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น ทำแบบนี้ก็ไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น

  • ก็ทำให้มีสติ ... ดีเหมือนกันนะคะ
  • ขอบคุณค่ะ

ยินดีอย่างยิ่งค่ะพี่หมอนนท์ (เพื่อนร่วมทาง)

ต้องขอบคุณคุณเจ เพ้าช์ค่ะ เป็นผู้หญิงตัวอย่างในใจเลยค่ะ

  • เป็นประโยชน์จริงๆนะคะอาจารย์
  • จะนำไปปรับใช้ดูแลคุณพ่อคุณแม่ที่สูงอายุค่ะ

ดีใจที่คุณnaree suwanเห็นว่ามีประโยชน์ค่ะ

แวะมาส่งกำลังใจให้คุณหมอมัท ... ทำสิ่งดี ๆ มีคุณค่า...

ฝากดอกไม้เล็ก ๆ แทนกำลังใจค่ะ

หมอเองก็ไม่รู้จักผู้ป่วยเท่าตัวคุณเอง หมอก็ต้องเรียนรู้จากคุณด้วยเหมือนกัน

พี่ใช้อันนี้ตลอดเลยค่ะ และ ได้ผลค่ะ

ในครอบครัวของเรา เราก็ต้องคิดทบทวนเป็นระยะ ๆ

และอีกข้อที่นึกออก "อะไรมันจะเกิดมันก็ต้องเกิด"  แต่หมายความว่าเราได้ลอง คิด ป้องกัน ทำ สิ่งที่ดีที่สุดแล้ว อ้อ มีคณะผู้ดูแลร่วมกันออกเสียงก่อน  ร่วมกันค่ะ

ขอบคุณค่ะ อ่านเพื่อเป็นการเตรียมตัวเตรียมใจไว้เป็นอย่างดีค่ะ

พี่หมอเล็ก (จริยา) คะ ใช่เลยค่ะ "อะไรมันจะเกิดมันก็ต้องเกิด"

"ทุกข์เพราะไม่พร้อม เพราะไม่คิดว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาที่เกืดขึ้นได้"

ต้องวางแผนแบบเข้าใจ ช่วยกันทำให้ได้ดีที่สุด แต่ก็ต้องทำใจไว้ว่า ถึงแม้จะดูแล perfect แค่ไหน ผลที่ออกมาไม่ได้ขึ้นกับผู้ดูแลอย่างเดียว

เหตุปัจจัยมันมากมายนับไม่ถ้วน อิทัปปัจยตา อีกแล้วครับท่าน : )

คุณ Sasinand มีธรรมะเป็นเครื่องมือ ไม่น่าห่วงเท่าไหร่ค่ะ : )

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท