มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

ศึกษาธรรมกับท่านอาจารย์ธีรธัมโม (1)


http://www.forestsangha.org/images/ATira.JPG  [ภาพจาก www.forestsangha.org]

อาจารย์ธีรธัมโม เป็นคนที่นี่ค่ะ ท่านเป็นศิษย์เก่า UBC (University of British Columbia) เหมือนกัน ท่านเป็นหนึ่งในศิษย์ต่างชาติของอาจารย์ชาค่ะ  เวลาท่านกลับมาบ้านมาเยี่ยมญาติที่นี่ ท่านก็จะเสียสละเวลา 1 วันเต็มมาสอนการเจริญสติและสนทนาธรรมกับผู้ที่สนใจโดยไม่คิดเงิน

สำหรับในแวนคูเวอร์นี้ ชาวต่างชาติให้ความสนใจศึกษาด้านจิตวิญญาณทางฝั่งตะวันออกกันมาก มากซะจนมีการบัญญัติศัพท์ขึ้นมาว่าเป็น spiritual consumersim 

retreat ที่ไม่คิดค่าใช่จ่ายแบบนี้หาไม่ง่ายนักค่ะ

งานนี้จัดขึ้นได้เพราะความร่วมมือกันระหว่างกลุ่มมิตรไทย (Friends of Thailand) และ ภาควิชา Pacific Rim Studies ของวิทยาลัยชุมชนที่นี่ชื่อว่า Langara College  

ฝรั่งที่รักเมืองไทย รู้เรื่องเมืองไทยแบบลึกซึ้งมีมากนักค่ะ พูดไทยกันเก่งๆทั้งนั้น เจอครั้งแรกๆทึ่งมากค่ะ เมื่อวานตอนนั่งสมาธิเสร็จรอบแรก คุณแม่ของเพื่อนที่บินมาจากเมืองไทยยังพูดขึ้นมาเลยว่า น่าอายฝรั่งพวกนี้จัง นั่งสมาธิกันนิ่งๆทั่งนั้น ฝรั่งพวกนี้เดินผ่านผู้ใหญ่ก็ก้มหัวนะคะ กราบพระแบบเบญจางคประดิษฐ์ชนิดที่คนไทยอายเลยค่ะ 

--------------------------------------------------------------------------------

ท่านอาจารย์ธีรธัมโม มาช่วยจัด 1 day retreat แบบนี้มาเป็นครั้งที่ 5 แล้วค่ะ 

คนเข้าร่วมประมาณ 80 คน 

http://farm1.static.flickr.com/216/479066638_cfcc1b6ce4_m.jpg 

ตารางกิจกรรมก็ประมาณนี้ค่ะ

  • ลงทะเบียนตอน 9 โมงครึ่งตอนเช้า
  • สอนหลักการพื้นฐาน
  • ฝึกนั่งสมาธิ
  • เดินจงกรม

http://farm1.static.flickr.com/229/479066148_14509731bd_m.jpg http://farm1.static.flickr.com/223/479083181_41f341dd8d_m.jpg
http://farm1.static.flickr.com/176/479063036_b5891b989b_m.jpg

[เดินจงกรมทั้งภายในและนอกอาคาร

  • ถวายเพล
  • ทานข้าวร่วมกัน 
  • เที่ยงครึ่ง เดินจงกรมต่อ (ย่อยอาหารไปในตัว)
http://farm1.static.flickr.com/210/479081845_a4245564b0_m.jpg  http://farm1.static.flickr.com/227/479082117_32b20d5b9e_m.jpg
  • นั่งสมาธิ และ สนทนาธรรม 
  • พักดื่มน้ำชาตอนบ่าย
  • นั่งสมาธิ และ สนทนาธรรมถึง 5 โมงกว่าๆ

-------------------------------------------------------------------------------- 

สำหรับคนที่ศึกษาพุทธศาสนามานาน มาฟังท่านสอนก็ยังได้อะไรใหม่ๆมาเสมอ

1.

ผู้เขียนชอบที่ท่านเน้นว่า ความโกรธเนี่ยะ ถึงแม้ว่าเราจะโกรธเพราะราเห็นว่าคนนั้นทำไม่ถูกหลักมนุษยธรรม ทำไม่ถูก righteousness ยังไงซะมันก็เป็นพิษต่อจิตทั้งนั้น จะมาคิดว่าเพราะเราเห็นแจ้งแล้วเราจึงมีสิทธิโกรธและ ตอบโต้แบบไร้สติได้นั้นไม่ดีต่อจิตใจเรามากๆ 

โกรธได้ แต่ให้มันเป็นระดับ body sensation ให้เป็นระดับที่จิตเรารู้ว่าความโกรธในใจเรามีอยู่เกิดขึ้น แต่อย่าไปปรุงแต่งต่อ อย่าไป personalise มัน

มันเกิดความโกรธขึ้นมาแล้วก็รับรู้ไว้ มีสติว่ามันเกิด ถึงมันไม่หายไปง่ายๆ อย่างน้อยซะ เราก็ยังได้ทำหน้าที่หยุดการเจริญเติบโตมันไว้แค่นั้น ไม่ให้มันถูกพัฒนาไปให้เลยเถิดไกลกว่านี้

พอใจเรานิ่ง เงียบขึ้น เราก็จะเห็นอะไรชัดขึ้น คิดหาทางตอบโต้ที่สร้างสรรค์ได้ ไม่ใช่ว่าตอบโต้ไปแบบนิสัยที่เคยชินเป็น habitual reactive syndrome แบบไม่ได้ใช้ปัญญา 

 

2. 

อ.บอกว่า ความโกรธ (anger) หน่ะมีโครงสร้างไม่ซับซ้อน แต่เมื่อใดที่เราไปพัฒนามัน ไปสะสมมัน ไม่จัดการทำความรู้จักมันแต่เนิ่นๆ ปล่อยให้มันกลายเป็นความขุ่นเคืองแค้นใจ (resentment) หรือความเกลียดชัง (hate) แล้วหล่ะก็ ลำบากหน่อยหล่ะ คุณต้องทำงานหนักข้ึนไปอีกหลายเท่า

ท่านเปรียบเทียบความโกรธว่าเป็นเหมือนหิมะถล่ม (Avalanche) มันน่ากลัวแต่มันมีโครงสร้างที่หลวมๆ และเคลื่อนไหวอยู่ตลอด

ส่วนความขุ่นเคืองแค้นใจระยะยาวหรือความเกลียดชังมีโครงสร้างที่เกาะแน่น เหมือนหิมะที่ถล่มกองลงมาสุมที่ตีนเขา หิมะที่ตีนเขานี้แพคอัดตัวกันแน่นมาก ต้องขุดลงไปช่วยด้วยอุปกรณ์พิเศษ 

ผู้เขียนนึกถึงวีดีโอที่เคยดูใน YouTube  เป็นคนเล่น snowboard ลงมาจากเขาแล้วมีหิมะถล่มตามลงมา เขามีทักษะ ไม่ล้มสามารถเล่น snowboard ต่อลงมาได้ด้วยความเร็วที่สูงขึ้นรอดจากการโดนกองหิมะทับ เพราะถ้าโดนทับแล้วนี่โอกาสรอดต่ำมาก เหมือนโดนกักอยู่ในน้ำแข็ง 

เราต้องมาสร้างทักษะนี้ด้วยการเฝ้าดูจิตใจเราให้ดีๆ 

[ไว้จะมาบันทึกต่อค่ะ วันนี้เท่านี้ก่อน] 

ต่อตอน 2 ที่นี่ค่ะ  


หมายเลขบันทึก: 93566เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2007 05:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)
ขอบคุณมากครับ
    ได้ประโยชน์จากการอ่านมาก .. เป็นการรับอรุณที่อิ่มใจจริงๆครับ

ต่ออีกนิดครับ
    ตามไปดู Profile แล้วอดไม่ได้ ขอแจ้ง Link ไปสู่กัลยาณมิตร ศิษย์สวนโมกข์ เผื่อจะได้ใช้ประโยชน์ครับ

สวัสดีค่ะ อ.มัทนา

ดีจริงๆ ค่ะ รู้สึกปิติที่เห็นการจัดลักษณะนี้ในต่างประเทศ รู้เลยว่าธรรมนี้เป็นสากลจริงๆ (แม้จะเคยรู้มาก่อนแล้ว) แต่การเห็นตัวอย่างที่อาจารย์เล่าในบันทึกนี้ทำให้เกิดความรู้สึกที่....ดียิ่ง บรรยายไม่ถูกจริงๆ ค่ะ

ขอร่วมอนุโมนทนาด้วยคนค่ะ ; ) แล้วจะมาอ่านตอนต่อค่ะ

ผมพยายามนึกภาพหิมะที่มากองๆทับกัน :-P

ผมพยายามจะสกัดอารมณ์ต่างๆ ออกไป แต่เหมือนยิ่งสลัดก็ยิ่งไม่ออก  วิธีที่มักจะได้ผลคือรับรู้ว่ารู้สึกอะไรอยู่ 

ขอบคุณมากค่ะคุณพินิจ (Handy)

มัทไปดาวน์โหลด mp3 ฟังท่านสันติขโร จาก site นี่แหละค่ะ มีประโยชน์มากๆ

มัทฟังธรรมจากพระฝรั่งเยอะเพราะ จะได้นำศัพท์ไปคุยไปตอบชาวต่างชาติได้ ขอบคุณมากๆค่ะ

อ.กมลวัลย์ คะขอบคุณมากๆค่ะ ดีใจค่ะที่อ.ชอบ : ) 

----------------------------------------- 

นร.ไทยที่ศึกษาอยู่ต่างประเทศลองถามคนไทยในชุมชนดู มัทว่าน่าจะมีงานแบบนี้ในหลายๆที่ พวกเราจะได้ไปช่วยเค้าด้วยค่ะ ไปขนโต๊ะ เก็บของก็ยังดีค่ะ หรือถ้าอยู่ใกล้เมืองที่มีวัดไทยยิ่งดีใหญ่ค่ะ แทบทุกวัดมักจะมี retreat แบบนี่ให้ไปเข้าร่วมค่ะ จริงๆไม่ต้องวัดไทยก็ได้ค่ะ วัดเวียดนาม พม่า  ศรีลังกา จีน ญี่ปุ่น ลองหลายๆที่แล้วมาเทียบกันดูก็น่าสนใจดีค่ะ

 

บ่าววีร์: หิมะก็คือเกล็ดน้ำแข็งดีๆนี่เอง หิมะที่มากองๆทับกัน ก็เหมือนเกล็ดน้ำแข็งโดนอัดกองโตหน่ะค่ะ แข็งและแน่นมาก 

คุณวีร์ทำถูกแล้วค่ะ  รับรู้ว่ารู้สึกอะไรอยู่

ไม่ต้องไปปฏิเสธมัน ไม่ต้องไสลัดมัน

แค่มีสติรู้ว่าเรารู้สึกอะไรอยู่ก็เป็น การหยุดการปรุงแต่งต่อไปไม่ให้เพ้อเจ้อไปเลยเถิด

พอทำได้บ่อยๆเข้า ก็จะเห็นว่า ไม่มีประโยชน์นี่หว่า มาลองเปลี่ยนนิสัย เช่นลองหายใจลึกๆก่อนให้ใจหยุดคิด ไม่ตอบโต้ไปด้วยอารมณ์

ไว้เดี๋ยวว่างๆมาเขียนต่อค่ะ 

เปรียเทียบความโกรธ กับหิมะได้ดีจริงๆเลยครับ

คุณตาหยู: มัทก็เพิ่งได้ยินเป็นครั้งแรกเหมือนกันค่ะ น่าสนใจและเป็นการสอนที่เปลี่ยนไปตามบริบทจริงๆ ฝรั่งเค้าก็เห็นภาพ เข้าใจคำสอนได้ง่ายๆ ชอบเช่นกันค่ะ
  • สวัสดีค่ะ อาจารย์มัทนา :)
  • ดีใจจังที่ได้ยินแบบนี้ค่ะ  "......ฝรั่งที่รักเมืองไทย รู้เรื่องเมืองไทยแบบลึกซึ้งมีมากนักค่ะ........."

สวัสดีค่ะครูแอมป์ (ดอกไม้ทะเล)

้เห็นแล้วปลึ้มค่ะ แค่มีข้อเสียค่ะ เวลาทำอาหารไทยไปให้พวกนี้ เค้ารู้จริง ทำไปชุ่ยๆไม่ได้เลยค่ะ ผัดไทนี่พวกนี้ไม่กินง่ายๆรู้หมดนี่ไทยจริงๆไม่จริง วันก่อนเพื่อนเล่าให้ฟังว่ามีฝรั่งมาบอกว่า อยากกินผัดผักกระเฉดหมูกรอบ! -_-'  โถ่ หนูก็อยากค่ะพี่ แต่มันทำยาก ผักกระเฉดที่นี่ก็มีแต่แข็งๆเหนียวๆ : )

อนุโทนาด้วยครับ ไปไกลขนาดนั้นก็ยังมีพุทธศาสนาคอยทำให้ชื่นฉ่ำจิตใจ

ขอขอบคุณอาจารย์มัทนา...

  • ได้ชมภาพ retreat แล้วทึ่งมากครับ...
  • ยิ่งได้อ่าน ได้สัมผัสกับสาระทั้งภาคไทย และภาคอังกฤษ... ยิ่งได้รับความซาบซึ้ง

ชื่นชม...

  • ขอแสดงความเคารพ และชื่นชมคำเปรียบ "หิมะถล่ม (โกรธ)" กับ "หิมะโคนเขา(ความขุ่นเคือง / resentment)"
  • ขอเปรียบเป็น "หิมะบนหัว(รังแค / ความโกรธ)" กับ "หิมะบนไหล่(รังแคที่ตกลงมา / ความขุ่นเคือง)" ไว้ด้วย...

ชื่นชอบ...

  • กลุ่มอาการ > 'habitual reactive syndrome' หรือ "สันดานตอบสนอง"
  • สาธุ สาธุ สาธุ...

อ.หมอวัลลภ ค่ะ ขอบคุณมากๆค่ะ ชอบมากค่ะ "สันดานตอบสนอง" : ) ได้คำแปลที่ถูกใจมากๆ

แต่รังแคที่ไหล่มันก็ยังไม่เกาะแน่นไม่ fixed นี่สิค่ะ มาช่วยกันคิดคำเปรียบแบบไทยๆกันอีกดีไม๊ค่ะ ตอนนี้ยังนึกไม่ออกเลย โคลนถล่มได้ไม๊ค่ะ

mr. สุมิตรชัย: ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ

  • อยู่ไกลบ้านไกลเมืองแต่ยังได้ฟังและปฏิบัติธรรม
  • คนที่อยู่เมืองไทยแท้ๆ แต่ไม่เคยได้ลิ้มลอง อายเขานะครับ
  • ขอบคุณ คุณมัทนา สำหรับธรรมะดีๆ
  • ขอบคุณพระหลวงปู่ชา ที่มีศิษยานุศิษย์ต่างชาติเยอะ
  • สาธุ สาธุ สาธุ

 ธรรมะสวัสดีครับ

มิตรผู้อ่านเข้ามาเขียนว่า
อนุโมนทนาบ้าง
สาธุ
บ้าง [ล่าสุดคืออ.โจ
โอชกร : )]

มัทเพิ่งจะได้คิด เนี่ยะค่ะว่า "แล้วเราจะตอบกลับไปว่าอะไรดีหว่า?" 

ตอบไม่เป็น -_-' 

---------------------------------------------------------- 

ไปค้นมาแล้วค่ะ  

อนุโมทนา แปลว่า ตามยินดี

สาธุ แปลว่า ความดี หรือ ดีล่ะ เห็นด้วยกับสิ่งที่ได้ทำ ได้กล่าวไป

Sādhu = to denote agreement with something which was said, or after a discourse of the Buddha was recited. It is repeated two or three times — "Sādhu! Sādhu! Sādhu!" — with the intended effect of "Well said, well put, we agree". (wikipedia)

----------------------------------------------------------

มัทต้องตอบ(และจะตอบด้วยความยินดียิ่ง)ว่า

ถ้าสิ่งที่เขียนที่นี่มีประโยชน์ ได้บุญ มัทขอแบ่งพลังบุญให้แผ่ไปให้ทุกๆท่านที่เข้ามาอ่าน และผู้ที่ต้องการพลังบุญนี้ไม่ว่าอยู่ที่ใด ขอให้ได้รับกันทั่วหน้ากันเลยค่ะ  : )

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท