สิ่งสำคัญคือการมองเห็นความเป็นจริง


สิ่งสำคัญคือการมองเห็นความเป็นจริง

มนุษย์มีศักยภาพสูงมากในการดำรงอยู่ เพียงแต่ความไม่สมบูรณ์ดูจะเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติของมนุษย์ด้วย ความไม่สมบูรณ์นี้ดูจะไร้เหตุผล ทำไมเราถึงต้องมีความไม่สมบูรณ์ ทำไมเราไม่ถูกออกแบบมาให้สมบูรณ์แบบแต่แรก

คำถามนี้คงยากที่จะมีคำตอบที่เรียบง่าย หรือเข้าใจง่ายๆ

แต่ความไม่สมบูรณ์นี้เอง ที่เป็นตัว "ผลัก" ให้มีการก้าวไปข้างหน้า พัฒนา หรือเปลี่ยนแปลง ความไม่สมบูรณ์แฝงอยู่ในหัวข้อการเรียนรู้ของมนุษย์มาแต่ดึกดำบรรพ์ ทำให้เกิดจินตนาการ การสร้างสรรค์ และเกิด "คำถาม" เพราะมีคำถาม แปลว่ามีอะไรที่อยู่นอกเหนือจากความรู้ ความเข้าใจ หรือการสรุป ณ ปัจจุบันกาลอยู่

ถ้าหากเราไม่มีคำถาม แสดงว่าชีวิตเรานั้น feel content ดีมาก มีความพึงพอใจในอัตภาพ แต่กระนั้น นักคิด นักปรัชญา ที่ดำรงชีวิตด้วยความสันโดษ และสมถะ ก็ยัง "มีคำถาม" เพราะ คำถามนั้นเป็น WONDER ที่หล่อเลี้ยงจิตวิญญาณของมนุษย์มาโดยตลอด โสเครติส นักปรัชญากรีก ใช้กรรมวิธีถามตอบ สอนวิชาความรู้่ต่างๆมากมายให้สานุศิษย์ เพาะเลี้ยงให้เกิดความเชื่อมั่นว่า อันความรู้ต่างๆมากมายกว้างใหญ่ดั่งห้วงมหรรณพนั้น เราสามารถที่จะสำรวจ ใคร่ครวญ และตอบคำถามเหล่านั้นได้ โดยตัวเราเอง ขอเพียงเรา "หมั่นตั้งคำถาม" และในที่สุด คำถามที่ดี คำถามที่จะปลดปล่อยตัวเราให้หลุดพ้นจาก Realm ขั้นต่ำ ไปสู่อีก Realm หนึ่งจะผุดบังเกิดขึ้นเอง

ตอนเราเรียนหนังสือ มีการฟังบรรยายมากมาย ช่วงเวลานั้นก็ยังไม่น่าตื่นเต้นเท่ากับตอนที่ครูสร้าง "คำถาม" ขึ้น การฟังบรรยายแบบ passive เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ผุดบังเกิดในสมองเราเป็นลูกคลื่น แต่ยังไม่เกิด "action" ใดๆ จนกว่ารุนแรงเพียงพอที่เราจะตั้งคำถาม "เอ..... จริงอย่างที่พูดเหรอ?" หรือ "โอ้ โฮ มันเป็นขนาดนี้ทีเดียวเจียวหรือ?" ความอยากรู้ curiosity ของเราจึงจะ kick-in และก่อให้เกิดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ตามมา การฟังบรรยายเฉยๆ ความรู้ยังไม่มีพลังที่จะ penetrate ทะลุทะลวงเข้าไปในเกราะแห่งการ assumption ของคนเราได้ จนกว่าจะเกิดคำถามที่ท้าทายความรู้เก่า (หรือเรายอมให้ความรู้เก่าของเราถูกท้าทาย)

ในบทความก่อนที่เล่าถึง CEO 4 คน ที่เต็มเปี่ยมด้วยพลัง มีวิสัยทัศน์ มีสายตามองการณ์ไกล และความมุ่งมั่น แต่ในที่สุดบริษัทก็ล้มเหลว แตกดับไป......  เพราะอะไร?

"เพราะอะไร?....." ก็เป็นคำถามที่สำคัญ และเราหวังว่า CEO ทั้งสี่คนนั้น จะมีโอกาสได้ทบทวนคำถามนี้ในช่วงชีวิตที่เหลืออยู่ของเขาด้วย

เป็นเพราะ Blindspot ที่แต่ละคนมี not recognize what you see, not saying what you think, not doing what you say และเหนืออื่นใดก็คือ not seeing what you do.

CEO ทั้งที่คนที่ประสบความล้มเหลว เพราะว่าไม่สามารถจะนำตัวพ้นจาก blindspot ได้ จึงยังคงทำอย่างที่เคยทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทุกคนมองไม่เห็นสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นจากการกระทำของตัวเอง

Seeing จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด

"Man knows himself only to the extent that he knows the world; he becomes aware of himself only within the world, and aware of the world only within himself.

Every object, well contemplated, opens up a new organ of perception within us."

Johann Wolfgang v. Goethe

 

 Otto Scharmer เคยแซวเดวิด โบห์มกับวิลเลียม ไอแซก ผู้คิดค้น Dialogue หรือ สุนทรียสนทนาที่ว่า การทำ dialogue นั้นเป็นศิลปแห่งการคิดด้วยกัน (thinking together) แต่ออตโตบอกว่าน่าจะพูดใหม่เป็น การทำ dialogue นั้นเป็นศิลปแห่งการทำให้เห็นไปด้วยกัน (seeing together) มากกว่า เพราะเราจะทำอะไรต่อไปนั้น มันขึ้นกับ "โลก" ที่เราเห็นจริงๆ

โลกของ CEO ทั้งสี่คน ทั้งๆที่เริ่ม collapse ถล่มทลายลงต่อหน้าต่อตา ก็ยังไม่มีผลต่อพฤติกรรม เพราะการที่ไม่สามารถมองเห็นได้ คนเรามีการ download การรับรู้มาตลอดเวลา ฉันเคยเห็นอย่างนี้ เข้าใจอย่างนี้ จู่ๆจะให้เปลี่ยนเป็นเห็นอย่างอื่นนั้น เป็นอะไรที่เป็นไปได้ยากมาก โดยไม่เกี่ยวกับความฉลาด หรือระดับความรู้แต่อย่างใด blindspot สามารถเป็นพยาธิสภาพของคนได้ทุกระดับชั้น

ออตโต ชาร์มเมอร์ได้เขียนไว้ในหนังสือ Theory U บทที่ 9 ว่าด้วยหลักสามประการที่จะช่วยป้องกันการ downloading ให้กลายเป็นการ seeing ให้ได้ หลักสามประการนี้คือ

Principles of How to Seeing

  1. clarify Question and Intent
  2. move into the Contexts that matter
  3. suspend judgment and connect to wonder

Clarify Question and Intent

ออตโต ได้เรียนรู้จากการสังเกตพฤติกรรมของนักวิทยาศาสตร์ นักคิด ชั้นเยี่ยมหลายคน อาทิ นักวิจัยสันติภาพ อย่าง Johan Galtung ทุกๆครั้งที่มีคนถามคำถามเขา โจฮานจะหยุดพูด และเขียนอะไรขยุกขยิกลงในสมุดบันทึกก่อนจะตอบคำถาม พอถามว่าเขาเขียนอะไรลงไป โจฮานตอบว่า "whenever he was asked an interesting new question -  because otherwise he might forget this important input. Good questions, he said, are raw materials for making good science."

หรือมีอยู่ครั้งหนึ่งที่ออตโต ทำงานกับนักออกแบบระดับอาวุโสของบริษัท IDEO ซึ่งเป็นบริษัทระดับแนวหน้าของโลก สิ่งที่ออตโตสังเกตพบก็คือ พวกนี้จะใช้เวลายาวนานมากเหลือเกินในช่วง "ก่อน" ที่โครงการแต่ละโครงการจะถูกลงมือทำจริงๆ มีครั้งหนึ่งผู้นำ IDEO อธิบายเรื่องนี้แก่ออตโตว่า "The quality of the creative design process is a function of the quality of the problem statement that defines your starting point." มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับ techcrat หรือ know-how ในการสร้างผลงาน master-piece แต่ขึ้นอยู่กับการตั้งคำถาม ตั้งประเด็น ที่ถูกต้อง ที่โดนหัวใจของเรื่องราวทั้งหมด ก่อนที่จะเริ่มลงมือทำงาน แม้แต่กับการทำงานสายวิทยาศาสตร์ การวิจัยอะไรที่สำคัญๆก็เช่นกัน การมี research question ที่ดีเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่สุดว่าผลงานจะออกมาได้ดีระดับไหน

กระนั้นก็ตามที การมีคำถามที่ชัดเจน การมีเป้าหมายที่มาจากการใช้เวลาใคร่ครวญไตร่ตรอง ก็ยังสามารถดำเนินการไปแล้ว เกิดการเบี่ยงเบน off target ไปได้ในระหว่างทาง จะเห็นได้ว่าblindness นั้นผุดโผล่ได้ตลอดเวลา ฉะนั้น เรายังต้องมี Intention ที่มั่นคง มี Awareness ที่ชัดเจน ตรวจสอบอยู่ตลอดเวลา

Move into the Contexts that Matter

การเรียนรู้เรื่องราวทีแท้ ยังแบ่งคุณภาพไปตามบริบทที่สำคัญๆต่อเรื่องนั้นๆ และบางครั้ง เราจำเป็นต้อง optimize condition หรืออีกนับหนึ่ง "บริบท context" เพื่อที่เราจะได้ "เห็น seeing" ปรากฏการณ์ที่ relevant ต่อคำถามของเราจริงๆ

วันหนึ่ง ณ กรุงเบอร์ลินตะวันออก หลังจากที่ Galtung เดินทางไปทำการศึกษาความเป็นไปในยุโรปตะวันออกอย่างละเอียด จนในที่สุดวันหนึ่ง เขามาหาออตโต แล้วก็พยากรณ์ว่าเยอรมันตะวันออกจะสิ้นสลายลงในไม่ช้า ภายในปลายปี 1989 ซึ่งเป็นการพยากรณ์ที่หาญกล้ามาก ไม่มีใครเคยพูดถึง possibility เช่นนี้เลยในวงการใดๆก็ตาม อีกเพียงอาทิตย์เดียวถัดมา กำแพงเบอร์ลินก็ถูกพังทลายลงมา นำไปสู่การสิ้นสุดของเยอรมันตะวันออกอย่างถาวร

ทำไมนักสังคมศาสตร์ทั่วๆไปถึงมองไม่เห็น พยากรณ์ไม่ออก? ออตโตถามตัวเองด้วยความแปลกใจ เพราะเขาเองก็อาศัยอยู่ในเยอรมัน อนาคตที่ผุดกำเนิดอยู่เบื้องหน้า แต่ Galtung มองเห็น ต่อมาออตโต จึงเข้าใจ เพราะกาลตุงได้เดินทางไปศึกษาในพื้นทีีจริงๆ มองเห็นภาพรวม ทีผู้คนที่อาศัยอยู่แต่เฉพาะจุดของตัวเอง ไม่สามารถจะเชื่อมโยงบริบทต่างๆเข้าด้วยกันได้ แต่ละคนเห็นแต่ jigsaw ย่อยๆ หารู้ไม่ว่าเมื่อนำมาประกอบเป็นภาพใหญ่ เป็นภาพ Mosaic ใหญ่ นั้นคือการสิ้นสลายของอาณาจักรที่กำลังเกิดขึ้น

เรื่องนี้ก็เหมือนกับเรื่อง The Upper Cat ที่กล่าวถึงไปแล้ว การมองเห็น (seeing) อย่างแท้จริงนั้น ต้องลงไปคลุกคลี ใช้ชีวิต กับบริบทนั้นจริงๆ การแค่ "มองเห็น" ด้วยลูกตา โดนตัวไม่ได้สัมผัส จะไม่เกิดการเรียนรู้อะไรเลย ตายังบอด ยังไม่ได้พัฒนาขึ้นมาได้ เหมือนคนจำนวนมากในเยอรมัน หรือในโลก ณ ขณะนั้น ไม่สามารถพยากรณ์ เห็นการล่มสลายของสังคมที่กำลังผุดปรากฏ การแก้ปัญหาโดยการ outsource การปฏิบัติการตรงของบริษัทหรือองค์กร ก็เท่ากับการสมัครใจเป็นแมวตัวบน แล้วอ่านรายงานที่เขียนขึ้นมาโดยคิดว่าเราจะได้ seeing จริงๆ แต่ไม่ใช่เลย คนเราจะแก้ปัญหาได้จริงๆ เราต้อง "ลงไปคลุกคลี ใช้ชีวิต กับปัญหานั้นๆ เราจึงสามารถเข้าถึงรากแห่งปัญหา และเกิดความสามารถในการแก้ปัญหาได้"

Suspend Judgment and Connect to Wonder

ชาร์ล ดาร์วินเป็นนักวิทยาศาสตร์อีกท่านหนึ่ง ที่ออตโตชื่นชม และดาร์วินก็มีอุปนิสัยเดียวกับ Galtung คือ เป็นคนนักบันทึก

ออตโตตั้งข้อสังเกตว่าคนเรามีแนวโน้มจะอธิบายเข้าข้างตนเอง และ ignore อะไรที่ไปเข้าตรงกับทฤษฎีเก่าๆ สมมติฐานเก่าๆ ชาร์ล ดาร์วินรู้ดีในธรรมชาติของมนุษย์ตรงนี้ ถ้าเขาไม่รีบจดบันทึก สิ่งที่เขาเห็น ได้ยิน ได้ฟัง ทุกอย่างไว้ก่อน สิ่งแปลกๆใหม่ๆที่ผ่านเข้ามา จะถูก Normalized ให้กลายเป็นของไม่แปลก ให้กลายเป็นของเก่า กลายเป็นไม่มีอะไร ไปได้อย่างง่ายดาย ด้วย Power of voice of judgment นั่นเอง

เมื่อปลดแอกของความคุ้นเคยเก่าที่เราจะด่วนตัดสินไปแล้ว เราก็จะอาศัยอยูในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง "Wonder is about noticing that there is a world beyond our patterns of downloading" ความตื่นตาตื่นใจ สิ่งมหัศจรรย์เกิดขึ้นเมื่อเราตั้งการยอมรับของเราไว้ก่อนว่า โลกนี้แท้ที่จริงแล้วมีอะไรมากมายนอกเหนือจากที่เราเคยรู้ เคยคิด เคยเข้าใจว่าถูกต้อง ที่จริงเราเคยมีคสามสามรถที่จะเข้าถึง wonder world ได้ตลอดเวลา นั่นคือตอนที่เราเป็นเด็กนั่นเอง ความหัศจรรย์เป็นอารมณ์ของเด็กที่พระเจ้าสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ เด็กจะเกิดความกระตือรือร้นถึงที่สุด เพราะเขาเห็นทุกสิ่งทุกอย่างแปลกใหม่ ไม่ซ้ำซากจำเจ เอาบล๊อกมาซ้อน พังลงไปใหม่ ทำซ้ำได้หลายสิบ หลายร้อยครั้ง เพราะเขาเห็นความแปลกใหม่เกิดขึ้น (ไม่เหมือนพ่อแม่ผู้ใหญ่ ที่คอยจะบอกว่า "พอเสียทีเถอะ หนวกหู ทำอะไรซ้ำๆซากๆอยู่ได้)

ออตโตตั้งข้อสังเกตว่า ในบรรดาคนที่เขารู้จักนั้น คนที่มีความรู้ลึกซึ้งเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะสาขาใดก็ตาม โอกาสสูงมากที่คนๆนั้นจะมีความสามารถในการหล่อเลี้ยงความรู้สึก "มหัศจรรย์" นี้อยู่ในตัวเอง ส่วนคนที่สนใจอะไรเพียงตื้นๆ ผิวเผิน ขี้เบื่อ น้อยมากที่จะเกิดความเข้าใจอะไรได้ลึกซึ้ง

ฺJack Whalen อยู่ที่บริษัท Xerox PARC เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่อง knowledge communities และ ethnographic observation ถูก otto ถามว่าอะไรเป็นความรู้เชิงปฏิบัติที่เขาถือว่าสำคัญที่สุด ที่นำมาใช้กับตัวเอง Jack ตอบว่า "Building relationships with people and cultivating a deep interest in other scientific disciplines." และเติมต่อไปว่า "And wonderment. Essentially what I do is to develop a discipline of endless wonderment. Oh, look look at this world!!."

ดูเหมือนว่าทุกอย่างจะย้อนกลับไปที่ Goethe กล่าวไว้ โลกของเราจะสวยสด งดงาม น่าตื่นตาตื่นใจแค่ไหน มันเป็นสมดุลของ Internal World และ External World นั้นเอง ที่เราจะพัฒนา "อวัยวะใหม่" ออกมาได้ รับรู้อะไรใหม่ๆ ที่ต่างจากที่เคย download มาก่อน

"The Success of an Intervention depends on the Interior condition of the Intervenor."

William O'Brien, former CEO of the Hanover Insurance Company

 

คำสำคัญ (Tags): #blindspot#downloading#seeing#theory u#wonder
หมายเลขบันทึก: 172899เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2008 11:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เคยเรียนวิชาความจริงของชีวิตเหมือนกันคะ

สวัสดีครับ

P Phoenix

ขออนุญาตนำข้อความบาทตอนไปรวมนะครับ ขอบคุณมากครับ

                                                     รวมตะกอน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท