จิตตปัญญาเวชศึกษา 120: เสวนา palliative care เมื่อผู้ให้บริการ กลายเป็นผู้รับบริการ (2)


เมื่อผู้ให้บริการ กลายเป็นผู้รับบริการ

COPING of PERSONNEL: AFTER DIAGNOSIS

ตอนที่แล้วว่าด้วยการ coping ในช่วงระยะวินิจฉัย ตอนนี้จะเป็นตอนต่อ

ก่อนจะไปถึงช่วงต่อไป ทิ้งท้ายในเรื่องการจัดแจงกับข่าว วิทยากรเห็นพ้องต้องกันว่าในความเห็นของตน การที่พ่อแม่จะต้องมาทนทุกข์เพราะเห็นลูกอาจจะพรากจากไปก่อนนั้น เป็นทุกข์ที่สุดประการหนึ่ง แต่ตรงนี้พอมาในภาคปฏิบัติ ก็มีทั้งตัดสินใจบอก และไม่บอก ด้วยเหตุผลที่มีน้ำหนักทั้งสองฝ่าย ในแง่ของเราผู้ให้บริการ เราอาจจะมี preference หรือทางเลือกที่เราเองคิดว่าดี แต่ก็ไม่จำเป็นจะต้องเหมือนกับของคนไข้หรือจะเปรียบเทียบกันว่าอย่างไหนดีกว่ากัน

หลังจาก diagnosis ก็จะเป็นช่วงการรักษาพยาบาล ซึ่งทุกคนก็ผ่านกระบวนการขั้นตอนมากมาย จะเรียกโชกโชนก็อาจจะดูหวือหวาไปหน่อย แต่ไม่เกินความเป็นจริงนัก

Supposed to know BUT not know

สำหรับผู้ป่วยที่เป็นแพทย์ เป็นพยาบาล ชะตาอย่างหนึ่งที่คล้ายๆกันก็คือ มักจะถูกเหมารวมคิดว่า "รู้แล้ว" ในเรื่องที่ตนเองไม่สบาย รวมไปถึงขั้นตอนการดำเนินโรค การปฏิบัติตัว ฯลฯ จนจบครบกระบวนความ ซึ่งการด่วนสรุปเช่นนี้ไม่สามารถที่จะห่างไกลไปจากความเป็นจริงได้มากไปกว่านี้อีกแล้ว!!

ในยุคนี้ ความเข้าใจทางการแพทย์รุดหน้าไปเยอะ ในระบบอวัยวะนั้น มีอะไรให้เรียนให้ศึกษาลงลึกไปอย่างสุดจะหยั่ง เรียกว่าสุดท้ายหมอก็จะเชี่ยวชาญเฉพาะทางเจาะลึกลงไปเรื่อยๆ พอออกนอก field นอกสาขา ไอ้ที่เราจะรู้ เราจะเชี่ยวชาญ มักจะกลายเป็นความรู้ที่ล้าสมัย เพราะที่เขาก้าวไปข้างหน้านั้น เราไม่ได้ติดตามให้ทันได้เลย โรคที่ซับซ้อนบางโรค อาทิ โรคเรื้อรังประเภทต่างๆ โรคมะเร็ง โรคทางพันธุกรรม ทางภูมิคุ้มกันวิทยา มีองค์ความรู้ระดับลึกรองรับ และรวมไปถึงกลไกกลยุทธ์ในการรักษาก็ซับซ้อนเป็นเงาตามตัว

ฉะนั้นพออาจารย์ท่านหนึ่งพูดว่า "สิ่งหนึ่งที่ทำให้ท่านรู้สึกดีที่สุด ก็เมื่อมีพยาบาลประจำหอผู้ป่วย มาถามท่านว่าคุณหมอ (หมายถึงเจ้าของไข้) ได้อธิบายอะไรไปบ้างแล้ว เพราะเธอได้เตรียมเอกสาร ข้อแนะนำการปฏิบัติตัว ตามมาตรฐานหลายอย่างสำหรับทั้งตัวโรคเอง และการผ่าตัด การดูแลตัวเองหลังผ่าตัด จะมาอธิบายให้ท่าน" ตอนนั้นเองที่ท่านรู้สึกประทับใจมาก รู้ตัวว่าได้ถูกดูแลชั้นหนึ่ง super VIP เลยทีเดียว ข้อสำคัญก็คือ สิ่งที่ท่านได้รับคำแนะนำนั้น ส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่ท่านอยากทราบ แต่ไม่มีใครบอก เป็นเพราะอาจจะคิดว่าท่านทราบแล้ว (อย่าลืมว่าฐานะท่านเป็นอาจารย์แพทย์ และสอนบรรดาหมอๆทั้งหลายมากับมือ นักต่อนัก)

และไม่เพียงแค่การปฏิบัติตัวที่เกี่ยวกับทางการแพทย์เท่านั้น ทุกท่านยังพูดถึงเรื่องการปฏิบัติตัว การปรับตัวในชีวิตประจำวันก็มีความสำคัญมากอย่างยิ่ง

ยกตัวอย่าง ผลข้างเคียงของการได้เคมีบำบัด ส่วนใหญ่เราก็เคยแนะนำคนไข้มา แต่ว่าอะไรเกิดเมื่อไหร่ และวันไหน อันนี้หมอเองก็ไม่ทราบ ถ้าไม่เคยถามคนไข้ หรือคนไข้ไม่เคยมาบอก เพราะฉะนั้นอย่างผลข้างเคียงเรื่องผมร่วงหลังการได้เคมีบำบัด ปรากฏว่ามันร่วงดีนึงเรียกได้ว่า อยู่ดีๆ วันดีคืนดีไม่มีวี่แววมาก่อน มันก็ร่วงเอาๆเป็นกระจุก แบบไม่ทันได้ตั้งตัวเลยทีเดียว อาการแสบปากเจ็บคอก็ทรมานใช่เล่น ทำให้กินไม่ได้ อาจารย์ยังได้บอกถึงข้อดีที่ท่านออกกำลังกายสม่ำเสมอ เล่นกีฬา outdoor เป็นประจำ ทำให้ heart condition ท่านเรียกว่าอยู่ใน prime excellent state สามารถทนยาเคมีบำบัดที่ค่อนข้างจะแรงต่อกล้ามเนื้อหัวใจได้สบายๆ

พอผมร่วงก็มีคนแนะนำให้ใส่วิก ปรากฏว่าขั้นตอนกระบวนการใส่ ดูแลรักษา ก่อนและหลังวิก มันเป็น extra-knowledge อย่างไม่น่าเชื่อ จะต้องสละเวลาในการหวีสางวิกก่อนจะเก็บ สเปรย์น้ำยา ดูแลอย่างดี ยิ่งกว่าผมจริงๆเสียอีก เหนืออื่นใดก็คือ วันแรกที่ลองใส่ไปทำงาน ท่านบอกว่า "ท่านรู้สึกเสีย self อย่างมากที่สุดเท่าที่เคยมาในชีวิตเลยทีเดียว" อันนี้ก็เป็นความรู้สึกส่วนตัว และเกิดจากประสบการณ์ตรง ที่จริงก็มีคนใส่วิกแล้ว OK เยอะแยะ แต่มันไม่ work สำหรับตัวท่าน ก็เลยตัดสินใจโกนศีรษะในช่วงรับเคมีบำบัดไปเสียเลย สะดวกกว่ากันเยอะ

WORK as a RESERVE ENERGY

หลายคนมีความเห็นพ้องต่้องกันว่า "งานประจำ" ที่เราทำนี่แหละ เป็นตัวช่วย เป็นกำลังใจที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง

เวลาเราซักประวัติ เรามักจะไม่ค่อยให้ความสำคัญเรื่อง "อาชีพ" มากนัก แค่ซักให้ครบๆ แต่พอเรามาฟังความเห็นในงานนี้ งานประจำ อาชีพ มันไม่เพียงเป็น message ว่าเรายัง "ปกติ" เรายัง "OK" แต่มันยังช่วยให้การ coping การดำเนินชีวิตต่อไป มีความใกล้เคียงกับการอยู่ได้ดีที่สุดเลยทีเดียว

น้องพยาบาลสะท้อนว่า ตอนเธอป่วย เดิมทำงานอยู่ที่ ICU หรือหออภิบาล เป็นหนึ่งในหอผู้ป่วยที่งานหนักที่สุด ก็เลยถูกย้ายเข้าฝ่าย ไปทำธุรการ ปรากฏว่าจากงานที่เธอเคยเชี่ยวชาญ ดูแลผู้คน เธอต้องไปเรียนงานใหม่จากเจ้าหน้าที่ธุรการ สาย ปวช. เพื่อที่จะได้ทำงานใหม่นี้ได้ น้องเขาใช้คำว่า "บางครั้งรู้สึกว่าเราไม่ได้ถูกดูแลแบบคนป่วยแล้ว บางทีมันเหมือนเราถูกดูแลแบบคนพิการ...." เธอยอมรับว่าในสภาพร่างกายตอนนี้ หรือโดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนรับเคมีบำบัด เธอคงจะทนอยู่เวร และทำงานหนักแบบเดิมไม่ได้ แต่ก็ยังมีความต้องการได้ทำอะไรบางอย่างที่เหมือนกับสิ่งที่เธอคุ้นชิน ภาคภูมิใจ มีความหมายกับเธออย่างในอดีตอยู่ เพราะนั่นคือสิ่งที่เธอฝัน เธออยากเป็น เธออยากทำ งานพยาบาลเปลี่ยนเป็นงานธุรการ มันเป็นการเปลี่ยนตัวตนที่หนักหนาสาหัสเอาเรืื่องทีเดียว

ที่น่าสนใจก็คือ มีอาจารย์ท่านหนึ่งบอกว่า งานไม่ต้องเปลี่ยน ขอให้เหมือนเดิม ไม่ต้่องมาดูแลอะไรมากมายเป็นพิเศษ แต่สุดท้ายภาควิชาก็ไม่ให้ท่านได้อยู่เวร แต่อ้างระบบ บอกว่า "อาจารย์เป็นผู้บริหาร งั้นไม่ต้องอยู่เวร และนี่ไม่ได้เป็นการ treat พิเศษ เพราะหัวหน้าภาคก็ได้รับสิทธิเหมือนกัน" อาจารย์ก็เลยยอมรับ (แบบยิ้มๆ) เพราะเป็นเชิงระบบ คนฟังก็ยิ้ม ชอบใจ

ผมฟังตอนนี้ก็ยิ้ม เพราะนี่เป็นการ empathy ที่ละเมียด ละเอียดอ่อน ที่สุดตอนหนึ่งของการสนทนาเลยทีเดียว ไม่ว่าเจตจำนงจะเป็นอย่างไรก็ตาม แต่นี่คือ win win win situation ที่ dignity เกียรติ ศักดิ์ศรี ของผู้ป่วยได้รับการดูแลทั้งทางกาย ใจ จิตวิญญาณ อาศัยการบริหารจัดการที่ทรงธรรมาภิบาล ยุติธรรมและโปร่งใส ออกมาได้พอดิบพอดี ไม่ขาดไม่เกินแม้แต่กระเบียดนิ้ว

NURSE AND CARING

อาจารย์แพทย์ท่านหนึ่งฟันธงเลยว่า การดูแลที่สำคัญมากๆในประสบการณ์ของท่านมาจากพยาบาล เพราะใกล้ชิดกับคนไข้มากกว่าหมอมาก อันนี้ท่านพูดในบริบทของลักษณะงาน (และก็พลอยมีส่วนกับคนที่จะมาเป็นพยาบาลด้วยกระมัง) เพราะงานหมอ ยิ่งหมอผ่าตัด ที่จะมาคลุกคลีตีโมงสนิทสนมกันมากๆกับคนไข้ ได้ถาม ได้คุย มันยากมากในสภาวะการณ์การทำงาน แต่พยาบาลจะช่วยเติมเต็ม

และคุณภาพตอนนี้นี่เอง ที่เป็นหัวใจของการดูแล เป็นตอนที่ "ความรัก ความเมตตา" ได้ลงมาอยู่เป็นส่วนหนึ่งของ healthcare

อาจารย์เภสัชที่มาในฐานะผู้ดูแลก็มีความเห็นตรงกัน "การดูแลอย่างใกล้ชิด การได้ปรนนิบัติคนไข้ มันเกิด bonding เกิดความสัมพันธ์ และทำให้เราได้มี "โอกาสมองเห็นความรัก ความสัมพันธ์" ที่เดิมตอนไม่ได้เจ็บ ไม่ได้ป่วย เราไม่ทราบหรอกว่ามีเรื่องเหล่านี้อยู่ พอมาตอนนี้ คนที่มาดูแลเรา เราถึงได้รู้ว่าเรามีความหมายอย่างไรกับเขา เขามีความหมายอย่างไรกับเรา เป็นการเผยโฉมความรัก ความเมตตา ภายในที่มันคงอยู่นานแล้วล่ะ แต่พึ่งมาชัดเจนตอนกระทำ ตอนป่วยกันนี่เอง" ความเจ็บป่วยที่เป็น bad news ก็แฝงไว้ด้วยวาระอื่นๆที่ส่งผล ให้ความหมาย ต่อชีวิตที่เหลือของคนรอบข้างได้

"ฉะนั้นคำว่า การเป็นมะเร็งเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่เกิดขึ้นนั้น ท่านก็ไม่อยากจะ copy มาพูดหรอก แต่ก็เห็นแล้วว่าทำไมถึงมีคนพูดคำพูดประเภทนี้ออกมา"

จนกระทั่งท่านเกิดแรงบันดาลใจ ที่จะมีพันธกิจเขียนหนังสือเล่าเรื่องประสบการณ์การดูแลคุณพ่อ คุณแม่ กว่ายี่สิบปี ลงเป็นวิทยาทาน เพราะมันมีเรื่องราว ทั้งทุกข์ ทั้งสุข ทั้ง profound มากมายเหลือเกิน

========================================

REFLECTION

ตลอด session ที่ได้รับฟัง ผมนั่งแถวที่สอง และไม่มีใครนั่งแถวหน้า ฉะนั้นก็ได้นั่งหน้าสุด ผมรับรู้สายตา ความรู้สึกของวิทยากรทุกท่าน รู้สึกว่าทุกคนกำลังอยู่ในช่วง peak ช่วงสุดยอดของสภาวะจิต สายตาที่ท่านดูเหมือนจะสบกับผมตลอดการพูด (ที่จริงท่านคงจะสบกับทุกคนแหละ) เป็นสายตาที่เรียกว่า "ให้ร้อยเปอร์เซนต์" เป็น moment of giving ที่โปร่งเบาสบาย รื่นรมย์ เป็นช่วงการทำ life review ที่แต่ละฉาก แต่ละ scene ลำเลียงออกมา ไม่เพียงแค่เล่าเรื่อง แต่ท่านต้องการสอน ต้องการให้ประสบการณ์เหล่านี้ โปรยปรายให้แก่คนฟังเพื่อให้เราได้เป็นหมอ เป็นพยาบาล ที่เต็มยิ่งๆขึ้น

ไม่มีกระแสแห่งการตัดพ้อ มีแต่การมองอย่าง empathy เพราะท่านเองก็ทราบดีถึงความพยายามที่สุดในการดูแล ซึ่งการที่เรารู้อย่างนี้ เป็นส่ิงทีี่พอเพียงแล้วสำหรับ "คุณภาพ" การดูแล ไม่ได้ต้องการอะไรที่ super-high standard ที่สำคัญคือการมี absolute trust ความไว้วางใจในตัวคนดูแล เพราะท่านรู้จักทีมเป็นอย่างดี ท่านเชื่อว่า ความไว้วางใจนี้่ก็เป็นต้นทุน และเป็นดินดี ที่ผลงานยอดเยี่ยมจะงอกงามขึ้นมาได้  หากปราศจากซึ่งความไว้วางใจนี้ ต้นไม้พันธุ์ดีแค่ไหน ก็คงจะแคระแกร็น เติบโตไม่ออก ผลอาจจะเปรี้ยว ใบไม่สวยงาม

ก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าตัววิทยากรแต่ละท่านจะรู้สึกอย่างไร แต่ผมนั่งอยู่ที่คนฟัง ได้เห็นท่าน ได้ยิน มันรู้สึกอิ่มเอม รู้สึกว่าถูกรัก รู้สึกว่าท่านเบาสบาย ผ่อนคลาย เวลาสองชั่วโมงผ่านแว่บไปเหมือนสองนาที แต่เราเองได้เติบโตภายในอย่างมากมายจำนรรจาไม่ถูก เข้าใจในคำว่า mentor ในคำว่า role model อย่างลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น

และรู้สึกเหมือนคำที่น้องพยาบาลได้พูด

"ณ เวลานี้นี่เอง ที่รู้สึกรักวิชาชีพนี้อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน"

หมายเลขบันทึก: 333275เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2010 13:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤษภาคม 2012 17:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

การมานั่งฟังเรื่องแบบนี้ ไม่น่าจะทำให้คนฟังรู้สึกฮึกเหิม เหมือนฟังเพลงปลุกใจ แต่ผมรู้สึกอย่างนั้นแบบซู่ซ่าไปทั้งตัว ตอนอาจารย์ตอบคำถามว่า ทำไมไม่ไปรักษาที่อื่น

ขนลุกอีกแล้ว..

เดี๋ยวนี้ขี้หนาวนิ ดูจากรอบเอวแล้ว ไม่น่า....

สวัสดีค่ะท่านอาจารย์หมอนกไฟ

เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาไปเยี่ยมรุ่นพี่ หลังจากรับคีโม ๓ เธอเลือกที่จะใช้ผ้าคาดผม ค่ะ

ยังอารมณ์ดี๊ ดี อยู่เราเห็นก็พลอยชื่นใจด้วย ขำๆ ฮาๆ กันแต่เธอพยายามพูดน้อยลงเพราะเหนื่อย

มาอ่านบันทึกความรู้ ขอบพระคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท