Blog, Messageboard และ Dialogue (สุนทรียสนทนา)


การฝึก การทำ การใช้สุนทรียสนทนานั้น อาจจะเป็นสิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของเราในอนาคตอันใกล้นี้ก้ได้

ขอรำพึง รำพัน ต่ออีกหน่อย ตามหัวข้อประเด็นดังกล่าว คือ ความเหมือนความต่างของ Blog, Message board หรือ กระดานข่าว และสุนทรียสนทนา (Dialogue-- David Bohm)

Disclaimer ชี้แจงนิดนึงว่าสุนทรียสนทนาฉบับที่ผมกำลังพูดถึง มาจากการแปลส่วนตัวของหนังสือ On Dialogue และประสบการณ์อันน้อยนิดเกี่ยวข้องกับ Dialogue แต่ด้วยความสนใจ เอาไปเชือมโยงกับเรื่องเก่าอื่นๆของตนเอง ฉะนั้น อาจจะมีความเป็นไปได้สูงว่าผมเข้าใจผิดมโหฬารเกี่ยวกับ Dialogue ก้ได้

ผมเข้าใจว่าความ สวยงาม ของสุนทรียสนทนาเกิดขึ้นหลังจากมี collective หรือ community consciousness เกิดขึ้น นั่นคือมีการวางเอาตัวตน ความเป็นเจ้าของ คณค่าเดิม คุณค่าเก่าออกชั่วขณะ ไปเยี่ยมชม รับฟัง หน่วง (suspension and participation) สำรวจ การสั่นไหว ของกระบวนคิด (proprioception of thought) จึงสามารถมองเห็นภาพรวมขยายจากมุมเดิมๆของเรา เป็นมองจาก background ที่แตกต่าง ทั้งอาชีพ อายุ เพศ เชื้อชาติ ความเชื่อ วัฒนธรรม ฯลฯ ดังนั้น "วงสนทนา" ที่กำลังดีของสุนทรียสนทนาควรจะไม่เล็กเกินไป เพราะจะมี ความเหมือน ความเกรงใจ ความไม่อยากกระทบกระทั่ง และไม่ใหญ่เกินไปจนสูญเสียการแสดงความเห็นจากมุมบางมุม ต้อง ใหญ่พอ ขนาดที่ว่าจะมี ความต่าง ของเนื้อหากระบวนคิด และท้าทายเชื้อเชิญให้มี input ลงสู่ community ไม่สามารถนิ่งเฉย ปล่อยเลยตามเลย จึงมีผลทำให้ collective perception มีการเติบโต บูรณาการ และข้อสำคัญคือ การเชื่อมโยง (interconnectedness) เกิดขึ้น

โดยทั่วๆไปตอนเริ่มวงสุนทรียสนทนาตามธรรมชาติก็จะมีความเกรงใจ การหลีกเลี่ยง confrontation การเผชิญหน้าต่างๆจะไม่ค่อยเยอะมาก ดูท่าที แต่เนื่องจากวงที่ใหญ่ หรือวงที่มีความหลากหลาย ความต่างนี้ในที่สุดจะไม่สามารถ contained ได้ จนต้องมีการแลกเปลี่ยน และความคิดที่ diversity สูงๆถูกส่งลงไป มีแค่กติกาแห่ง suspension ที่จะช่วยให้ไม่เกิดการ breakdown ของวงลงไปอย่าง premature เท่านั้นเอง สมาชิกในวงไม่ใช่ไม่มีอารมณ์ แต่จะพยายามหน่วง และรับรู้ พยายามสังเกตเฝ้ามอง ทั้งเนื้อหา และ "ตนเอง" อย่าง มีสติ อย่างเจริญสติ สัมมาสติ observing the observer, the observed, and the observation

แต่ใน media ที่พวกเราใช้อยู่ในโลกข่ายไฟฟ้านี้ แตกต่างออกไป ทั้ง Blog และ กระดานข่าว บางคนอาจจะบอกว่ามันค่อนจะเกือบจะ "ตรงกันข้าม" ซะด้วยซ้ำ (เกือบจริง ในกรณีที่เป็น non-registered message board ที่ identity เป็น anonymous แต่ก็จะใกล้เคียงกันมากขึ้นใน register-only message board)

การเข้า blog นั้น เหมือนเดินเข้าไปในร้านสภากาแฟของเพื่อนบ้าน ยิ้มหวัวทักทายกัน รู้จักอุปนิสัยใจคอกัน พอสมควร หรือไม่ก็เห็นหน้าเห็นตากันอยู่ ถี่บ้าง ห่างบ้าง แล้วแต่ เป็นชุมชนเปิดเผย (ไม่อยากใช้คำว่าศิวิไลซ์ เพราะจะ unfair ต่ออีกประเภทเกิน) แต่ใน anonymous message board นั้น มี Id ออกมาเพ่นพ่านได้เยอะ ไม่มีใครรู้จัก แปลว่าไม่ต้องใช้ superego หรือกฏสังคมมากมายนัก ไม่ต้องมีความรับผิดชอบ (หรือมีไม่โดยตรงๆ) ต่อสิ่งที่ได้พูด ได้แสดง ลักษณะทั้งสองแบบที่ต่างกันนี้ มีทั้งข้อดีและข้อเสียเมื่อมองจากวัตถุประสงค์ของสุนทรียสนทนาเป็นโจทย์

ใน Blog (อย่างน้อยเท่าที่พยายาม serach อ่านของเรา) ไม่ค่อยมี หรือไม่มี confrontation หรือการเผชิญหน้าของความคิดที่ต่างกันมากๆเลย ผมอาจจะยังเล่น blog มานานไม่พอ แต่มันมีความรู้สึกถึงความเป็นกันเอง ความเกรงอกเกรงใจ และการหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า นั่นคือเหมือนวง Dialogue แบบเริ่มต้นแรกๆนั้นเอง ทั้งๆที่ diversity น่าจะสูงมากๆ เพราะวงเราใหญ่ (เกินกว่าวง Dialgue จริง แนะนำประมาณ 40 คน)

ใน Anonymous message board นั้น ไม่เหมาะสำหรับคนโรคหัวใจอ่อน และในสังคมไทย (ขออนุญาต stereotype สักนิดเถอะ) ที่ high-tech but inadequate etiquette นั้น ตัวอะไรต่อมิอะไรจึงออกมาเพ่นพ่าน ขาดความยับยั้งชั่งใจ (อ่านข่าว webcam ที่มีเปิดห้อง chatroom โชว์อวัยวะเพศตนเองทาง virtual world ออกมาไม่นาน ประเทสไทยติดยอดการใช้เป็นอันดับสามของดลก รองจากอเมริกาและญี่ปุ่น ซึ่งดูจากจำนวนประชากรแล้ว เผลอๆเราจะอยู่ใน severe addiction worst ที่สุด) จริงๆควรจะได้ประโยชน์ของการรวบรวม collective consciousness แต่ขาดกลไกที่สำคัญอย่างมากไป คือ suspension หรือการ "หน่วง" ความรู้สึก นึกคิด เป็นการสนทนาไร้สติ (หรือบางคนอาจจะเรียก "เสียสติ") ไม่เกิด proprioception of thought เพราะทุกอย่างเป็น reaction ปฏิกิริยาตอบรับโผงผางไปเลย

ในฐานะที่เคยเล่น message board มานานเป็นสิบปี ในที่ที่มี self discipline ของการแสดงออกนั้น message board แทบจะ create หรือ simulate Dialogue ระดับ Giant scale ได้เลยทีเดียว และการแลกเปลี่ยนนั้นมี diversity จุใจโก๋เล็กโก๋ใหญ่ทุกรุ่นทุกขนาดเลยครับ สนุกจริงๆ ใครเถื่อนเข้ามาก็จะถูก community กดดันจนต้องเปลี่บนพฤติกรรม หรือออกจากวงไป อย่างศิวิไลซ์จริงๆ แต่การ respect autonomy ของคนอืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนที่ไม่มี identity ติดตัวนี้ของ board ไทย ผมว่าน้อยมากๆ น่าเสียดายจริงๆ

ผมก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่า ที่สุดแล้ว Blog เราจะพัฒนาให้มี open and semi-confrontation มากขึ้น เพื่อพัฒนา collective consciousness ได้ดีขึ้น หรือว่าเราจะ mature พอที่จะเล่น anonymous messageboard ได้ระดับ Dialogue แต่ที่แน่ๆก็คือ การฝึก การทำ การใช้สุนทรียสนทนานั้น อาจจะเป็นสิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของเราในอนาคตอันใกล้นี้ก้ได้ ถ้าเราจะต้อง break dead lock หรือตัดวงจรอุบาทว์ในขณะนี้ให้พ้นไปได้

หมายเลขบันทึก: 78893เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2007 22:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (26)

สวัสดีครับอาจารย์

   ตามมาอ่านบันทึกอาจารย์ครับ  อ่านรอบแรกคิดว่าต้องอ่านอีกหลายครั้งครับ  เพราะว่าผมเข้าใจยังไม่หมด(อาจเพราะความรู้ประสบการณ์ที่ยังไม่เพียงพอ)

  เท่าที่ผมพอจะเข้าใจ อยากจะขออนุญาต ลปรรกับอาจารย์ดังนี้ครับ

       - เท่าที่ผมเข้ามาในนี้1 ปี ผมรู้สึกว่าผู้คนพยามเข้ามาเขียนแต่สิ่งที่ดีๆกัน  และเข้ามาชื่นชมหรือ/และเก็บเกี่ยวความดีของผู้ที่มาบันทึกไว้ครับ  มองจากมุมมองผมเองครับคือถ้าบันทึกไหนน่าจะสนใจก็จะเข้ามาอ่าน  และคิดตามหรือคิดต่อ  หรือจดจำและเชื่อมต่อกับความคิดของเราเองครับ.......

       - ถ้าเป็นเรื่องที่ไม่แน่ใจหรือเรื่องที่เห็นขัดแย้งมากๆอาจจะมีการ ลปรร เป็นการส่วนตัวหรือ mail หากันครับ(?)  หรืออาจจะมีการถามด้วยคำถามที่ดูแนบเนียนโดยที่เหมือนไม่รู้สึกว่ามันดูขัดแย้งกันมากๆ

      - หรืออาจเป็นเพราะว่าคนที่เข้ามาใน blog ส่วนมากจะเป็นกลุ่มคนที่อื่มไม่รู้จะเปรียบอย่างไรนะครับ ....คือจะเปรียบเหมือนคนที่เป็นกลุ่มของคนดีๆ  กลุ่มคนที่มีความคิดดีงาม หรือมีความเป็นผู้ใหญ่มากๆ  หรือว่ามองโลกในแง่มุมที่กว้างๆ  สบายๆและยอมรับในความแตกต่างที่มากๆ  คล้ายๆกับการมารวมตัวของผู้บรรลุธรรมในระดับที่ดีแล้วพอสมควรครับ

      - มีอีกอย่างที่อยากเรียนถามอาจารย์ครับคือว่าถ้าในบล็อกนี้มีแต่ความดีงามของผู้คน(ซึ่งผมรู้สึกอย่างนั้นครับ)  การที่เราเข้ามาในกระแสแห่งความดีงามนี้  เข้ามาเก็บเกี่ยว  เข้ามาเรียนรู้ และ ลปรร  ผมเข้าใจว่ามันอาจจะทำให้เราซึมซับความดีของผู้คนต่างๆเหล่านี้ได้จริงๆหรือเปล่าครับ....

เป็นประเด็นที่แหลมคมมากครับ ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ชาว G2K ควรหยิบยกขึ้นมา พิจารณาแบบ dialogue เป็นอย่างยิ่ง

ผมมองว่าลักษณะหวานแบบนี้เป็นมาจาก แนวคิดพื้นฐานของกลุ่ม ผมสังเกตดู blog นี้จะมีจุดเริ่มต้นจากกลุ่ม KM ซึ่งในการมีปฏิสัมพันธ์กันนั้น เหมือนกับจะอิงอยู่บนพื้นฐานของคำว่า "ชื่นชม"  ดัง เช่น ..

"ใครอยากมีความสุขให้เข้ามาใน GotoKnow"   นี่คือคำคมคำหนึ่งของ ศาสตราภิชาน ไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ ผู้แสดงปาฐกถาพิเศษในงานมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติ    วันที่ ๑ ธค. ๔๙     เป็นคำที่ให้ภาพลักษณ์ของ GotoKnow bloggers ได้ชัดเจนที่สุด ..

และ ..ได้เห็นสภาพ "ญาติ บล็อก" ของเหล่า บล็อกเก้อร์ แล้วผมมีความสุขมาก  "

(อ้างจากhttp://gotoknow.org/blog/thaikm/66976)

ข้อสังเกตของอาจารย์ Phoenix ผมคิดว่าก็เป็นสิ่งที่หลายๆ คนสังเกตเห็น อาจารย์จันทรรัตน์ก็เคยมีความรู้สึกทำนองนี้เหมือนกัน (คุณเคยเจอความจริงใจบน gotoknow.org ในรูปแบบไหนบ้างคะ )

ผมคิดว่าการชื่นชมเป็นความจำเป็นในเบื้องต้น ในการกระตุ้นพลัง การผูกไมตรี การสร้าง unity อย่างไรก็ตาม มันก็ต้องมีระยะเวลาที่ดำรงอยู่แค่ช่วงหนึ่ง แล้วก็คลายความเข้มข้นไป เกิดพัฒนาการของ ideology ใหม่ๆ ขึ้นมา พออีกระยะหนึ่งก็จะเกิดการคลี่คลายตัวสู่ภาวะใหม่ขึ้นอีก

ปัญหาจะเกิดขึ้นเมื่อเกิดการชะงักงันอยู่ที่จุดใดจุดหนึ่งนานเกินไป อาจเป็นเพราะความคุ้นเคย ความอิ่มเอิบ การพะวงต่อรูปแบบใหม่ที่ไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร

การชื่นชมนี้ถ้าอยู่ไปนานเกินและอยู่แค่นี้ก็จะกลายเป็นตัวถ่วงการพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าประเด็นในการพัฒนาของเราคือ "ความรู้" และ "ปัญญา" ซึ่งการชื่นชมหรือคำหวานถ้ามากไปก็เหมือนน้ำตาลที่ทำให้เด็กอ้วน ไม่ยอมกินอาหารอื่นเพราะไม่อร่อยเท่า  ถ้าองค์กรติดอยู่แค่ในระดับนี้ก็จะเป็นเหมือนกับ "ลัทธิ" ทีอยู่สุขกับความอิ่มเอิบ หลงลืมการแสวงหา

เนื่องจากสมาชิกของ blog นี้เป็นลักษณะ dynamic มีสมาชิกใหม่เข้ามาอยู่เรื่อยๆ ผมมองว่าในการดำเนินการ จำเป็นต้องมีการสร้างแนวร่วม ส่งเสริมพลังในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่สมาชิกใหม่  ก็อาจมีสมาชิกจำนวนหนึ่งที่ทำหน้าที่คอยต้อนรับ ประคับประคอง ให้กำลังใจ ส่งเสริมให้เขียนเรื่องเรื่อยๆ (เหมือนกับที่ผมได้รับของเข้ามาใหม่ๆ)  จนเขาเกิดความคุ้นเคย รู้สึกว่าที่นี่คือสถานที่ปลอดภัยที่เขาสามารถจะ ลปรร ได้อย่างมั่นใจ ก็จะชักนำเขาเข้าสู่ระดับสองคือการ ลปรร แบบ critical, synthetic, lateral etc. ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาได้เห็นจากสมาชิกรุ่นพี่ทำกัน ทั้งนี้สำหรับสมาชิกรุ่นพี่คงไม่ต้องการการเติมน้ำตาลให้กันมากแล้ว การบันทึก การวิจารณ์บันทึกจะเข้มข้นขึ้น มุ่งในประเด็นของการสร้างความรู้มากขึ้น เป็นหมือนหัวหอกนำกลุ่มเรา ชักนำประเด็นการขบคิดไปสู่เรื่องที่เป็นการสร้างสรรค์พัฒนาปัญญามากยิ่งขึ้นๆ

ถ้าให้อาจารย์ phoenix ประมาณการคิดว่าสมาชิกของเราตอนนี้อยู่ในระดับต่างๆ เป็นสัดส่วนประมาณเท่าไรครับ

 

ขออนุญาตแสดงตนว่าเข้ามาอ่านนะคะ 

แม้ยังไม่เข้าใจทั้งหมด (เพราะมีศัพย์ยากๆหลายคำ) แต่ก็พอเข้าใจในประเด็นที่อาจารย์ทั้งหลายกำลังพูดถึงค่ะ

แต่ยังไม่สามารถร่วม ลปรร  ได้ เพราะยังนึกอะไรไม่ออก เนื่องจากรู้สึกว่า สิ่งที่ทั้ง 3 ท่าน โพสต์ไว้ข้างบนนั้น เติมในความคิดจนเต็มแล้วน่ะค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีครับคุณหมอ kmsabai

มนุษย์เรามี selective perception คือ "เลือกที่จะรับรู้" ทั้งรู้ตัวบ้าง ไม่รู้ตัวบ้าง ตลอดเวลาครับ ลองนั่งนิ่งๆสักนิดแล้ว "เปิดจิต" เราจะเริ่มได้ยิน ได้เห็น ได้กลิ่น อะไรต่อมีอะไรมากมายเพิ่มขึ้นกว่าตอนที่เรากำลังทำอะไรอยู่เมื่อตะกี้นี้ เริ่มรู้สึกเมื่อยขบก้น คันตายิบๆ หิว ง่วง ฯลฯ และเรายังมี selective interpretation ได้ด้วย คือเลือกรับแล้วก็ยังเลือกแปล

เรา classify ดี/ไม่ดี บางทีเราคิดว่าโดยกระบวนการคิดและไตร่ตรอง แต่บางทีก็โดยอารมณ์ครับ พฤติกรรมอย่างเดียวกัน บางทีเราก็ไม่เห็นด้วยจึงไม่ชอบ แต่ถ้าเพื่อนเรา คนสนิทเรา ทำในบริบทอีกแบบ เราก็อาจจะชอบ เห็นด้วยก็ได้ แต่เนื่องจากน้อยครั้งที่เราจะจัดเรื่อง "ความดี/ไม่ดี" เป็นบริบท พอเราจัดว่าไอ้นี่ไม่ดี หมอนี่เลว (ทั้งที่ใช้อารมณ์อยู่) เราก็จะ "จำ" ไปอย่างนั้น แม้ว่าภายหลังอารมณ์ดีขึ้นแล้ว เราจะเผลอคิดว่าไปที่จัดว่าเลว หรือไม่ดีนั้น กลายเป็น "ข้อเท็จจริง" ไม่ใช่ emotional judgemental attitude

ตอบคำถามคุณหมอนะครับ ผมคิดว่าถ้าเรา "เลือก" แล้วเราก็ได้สิ่งที่เรา "เลือก" ติดตัวไปแน่นอนครับ ตรงนี้มีคนเรียกว่า free will เป็นการได้สิ่งที่เราเป็นคนเลือก ไม่ใช่คนอื่น สังเกตเห็นผมจะตัดคำว่า "ดี" ออกไปจากคำถาม เพราะตรงนั้นเป็น value ของตัวเราเองครับ แน่นอนเราเลือกเพราะเรา "คิด" ว่าดี แต่ผมเองค่อนข้างลังเลที่จะประกาศว่าอะไรเป็น absolute goodness ครับ มันมักจะเป็นบริบทเสมอๆ อย่างที่มีคนบอกว่า "บางทีเราไม่ได้ทำ good thing, แต่เราต้องทำ the right thing" นั้นแหละครับ เช่น ผู้พิพากษาตัดสินประหารชีวิตตามกฏหมาย ยังไงๆตามจริยศาสตร์ ทำลายชีวิตนี่มันขัดแย้งแน่ๆอยู่แล้ว แต่ใน "บริบท" เป็น the right thing ที่สังคมนั้นๆยอมรับ

อีกประการ สิ่งที่เราซึมซับนั้น เป็นแค่ "ความคิด และคำพูด" ของคนๆนั้นครับ ไม่ใช่ "ความดีของคนๆนั้น" ดูเหมือนจะเล่นคำ แตผมคิดว่าสำคัญครับ ในยุคปัจจุบัน คน "พูดดี" หาไม่ยากมากเท่าไร แต่ถ้าเราเผลอไผลคิดว่าคนพูดดี คือคนดี เรากำลังใช้ emotional judgement และก็อาจจะคิดต่อๆไปได้ว่าสิ่งที่คนๆนี้ทำน่าจะดีด้วย เพราะคิดดี ในกรณีที่สงสับก็จะยกประโยชน์ให้จำเลยไป ก็จะกลายเป็นการใชตรรกะแบบผิดครับ

สวัสดีครับอาจารย์

  • ขอบคุณอาจารย์มากๆครับ
  • มีหลายประเด็นที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาความคิดและการเรียนรู้ต่อไปในอนาคตของผมมากครับ
  • เช่น selective perception,     selective interpretation  ,    ถ้าเรา "เลือก" แล้วเราก็ได้สิ่งที่เรา "เลือก" ติดตัวไปแน่นอน  ,    บางทีเราไม่ได้ทำ good thing,    แต่เราต้องทำ the right thing  ,emotional judgement
  • บางที่การเรียนรู้ที่ผ่านมาของผมก็อาจจะเป็นอย่างที่อาจารย์อธิบายครับ  คือการเลือกที่จะรับรู้  เรียนรู้หรือปฏิบัติตาม  และใช้ตรรกะง่ายๆว่าดี ไม่ดี...มันก็ทำให้ชีวิตเรามาถึงจุดหนึ่งได้ครับ (โดยตรรกง่ายๆ พื้นฐาน แต่เลือกข้างดีเเลวเดินตาม และเผอิญว่าเลือกแม่แบบได้ดีระดับหนึ่ง)
  • ผมก็เพิ่งจะเรียนรู้ได้แบบไม่รู้ว่ามันเกิดขึ้นเมื่อไหร่ครับว่า  เราเริ่มหลุดจากตรรกะง่ายๆที่เราใช้มานาน  มันเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นไป  ผ่านจากประสบการณ์และการทำงาน  การใช้ชีวิต  การรับรู้ของเราเริ่มหลากหลายขึ้น  กว้างขึ้น ละเอียดขึ้น และพยามไม่ใช้อัคติที่มากเกินไปเข้าไปจับต้องหรือวิเคราห์สิ่งที่เราเรียนรู้  พยามมองให้มันเป็นธรรมชาติ  ให้เป็นกลางๆมากที่สุดครับ  แล้วพยามหาแง่มุมที่เป็นประโยชน์  หรือสามารถเชื่อมต่อกับฐานความรู้ ความคิดเดิมของเรา  โดยที่มองว่าทุกอย่างล้วนเชื่อมโยงและเป็นสิ่งเดียวกันไม่ไกล้ก็ไกลครับ
  • จะขอคำแนะนำจากอาจารย์ต่อไปเรื่อยๆครับ

 

ขอบคุณ อ.มาโนชครับ

อาจารย์พูดเหมือนกฤษณมูรติเลย ในหนังสือเล่มนึงว่าด้วยการศึกษาเรียนรู้ พฤติกรรมของคนที่มีการ "เปลี่ยน" แปลงความเชื่อทีนึงก็ดีอกดีใจ แต่จริงๆก็คือแค่เป็นฤดูกาลย้ายลัทธิเท่านั้นเอง แล้วเราก็จะ ติด อยู่กับลัทธิใหม่ทดแทนไปเรื่อยๆ

ส่วนหนึ่งที่ผมคิดว่าขาดไปในการโต้ตอบ (ไม่ทั้งหมด แต่ส่วนใหญ่ของการ response ในกระทู้) ของบทความใน blog คือ การต่อยอดความคิด การแลกเปลี่ยนความต่าง และถ้าจะให้ดีก็คือ การสะท้อนความคิด ความรู้สึก ลงไป เพื่อการพัฒนา collective consciousness ให้เกิดให้ได้ ไม่งั้นอุตส่าห์มาตอบแล้ว แต่คนเริ่มยังรู้สึกเหมือนซ้อมชกลมอยู่ ก็น่าเสียดาย

จริงๆที่เคยทำได้ ถ้าเห็นด้วยกับกระทู้เป็นส่วนใหญ่ คือการทำ elaboration ใหม่ เป็นอีกมุมหนึ่ง เพื่อทดสอบสุดท้ายว่าเหมือนกันจริงหรือเปล่า เพราะบางทีเราใช้คำๆเดียว แต่คนละความหมายก็บ่อย พออ่านแค่คำเหมือนกันเผลอคิดว่าคิดเหมือนกัน ก็พลาดได้ หรือไม่ก็ลองลงไปที่เบื้องหลังกระบวนคิด อะไรเป็นตัวผลัก อะไรเป็นตัวตกผลึก ของเรา ที่มาที่แตกต่างแต่ออกมาเป็น output คล้ายๆกันก็มีส่วนในการสร้าง collective consciousness ได้ดีไม่น้อยเหมือนกัน

อาจารย์ถามสัดส่วนสมาชิก โห... อันนี้เกินความสามารถ ไม่เดาล่ะครับ total มีเท่าไร? ร้อย พัน หมื่น และที่ได้อ่านเป็นสักเท่าไร สิบ? ผมยังอยากจะคิดว่าเรายังไม่เจอชุดที่มีการแลกเปลี่ยนมันๆ ซ่อนเร้นอยู่ภายในนี้ก็เป็นได้ (ในกระทู้กระดานข่าวคณะแพทย์ ม.อ. ขนาดเป็น anonymous ก็ยังแห้งแล้งได้เป็นบางฤดูกาลครับ แต่มีหลายกระทู้ที่ต่อความยาวสาวความยืดได้เนื้อหาพอสมควร)

ต้องขออภัยคุณ K-jira ด้วยครับ ผมติดนิสัยใส่ภาษาต้นฉบับ (ที่ไปลอกเขามา) ประกอบด้วย เพราะไม่แน่ใจตนเองว่าจะแปลได้ดีแค่ไหน พอดี reference มาจากหนังสือเป็นส่วนใหญ่ บางทีมาอ่านทีหลังก็มึนเหมือนกันว่าตูเขียนยังกะ thesis

แล้วกลับมา ลปรร ใหม่นะครับ (กำลังหัดใช้คำย่อนี้อยู่ครับ)

คุณหมอ kmsabai ครับ

ผมก็เคยคิดว่าตัวเองเป็นนักตรรกทีดีมากเลยครับ ตอนหลังอ่านเจองานวิจัย ปรากฏว่าสิ่งที่เราทำ (พฤติกรรม) นั้น ระหว่าง emotional versus logical เป็นสัดส่วนประมาณ...

แต่น แตน แต๊น

24:1 หรือ 96% เป็น emotional driven behavior ครับ!!

เพียงแต่เรานึกย้อนหลังว่าเราทำยังงั้นๆเพราะเหตุผลยั้งงี้ๆ เป็น retrospective rationale เท่านั้นเอง ตั้งแต่ตื่นนอน ลุก แปรงฟัน อาบน้ำ หยิบสบู่ ร้องเพลง เช็ดตัว กิจกรรมเกือบทั้งหมดเป็น emotionalbased ทั้งสิ้น น้อยมากที่เรากำลัง "คิด" ว่าเดี๋ยวจะแปรงฟันสัก 1 นาที แล้วค่อยบ้วนปาก ที่แปรงฟันก็เพื่อให้ปากสะอาด อย่าลืมแปรงซอกฟัน ฯลฯ เป็นเกียร์ออโต และผลักโดยอารมณ์เป็นหลักครับ

โฆษณาขายสินค้าแทบจะไม่เคยแตะส่วนตรรกะของลูกค้าเลยถ้าจะสังเกตดู เน้นอารมณ์กันเนื้อๆครับ ไม่ว่าโฆษณา "พ่อรักลูก" ของไทยประกันชีวิต โฆษณา จน เครียด กินเหล้า จะเห็นว่าสื่อต่างๆเน้นอารมณ์เป็นหลักครับ ใช้แล้วสวย กินแล้วเท่ห์ ดื่มแล้วหล่อ อะไรทำนองนี้ รายการโทรทัศน์ยอดฮิตอย่าง AF ก็หาสาระอะไรไม่ได้เลย เป็น glorify easy hit และ quick money เท่านั้น

คุณหมอลอง explore ด้านอารมณ์มากขึ้น นำมาประกอบกับความรู้สึกในด้านต่างๆ จะมีอะไรน่าสนใจอีกเยอะเลยครับ

อ่านบันทึกนี้แล้ว เห็นภาพของตัวเองเลยว่าเป็นคนอย่างไร ทำไมถึงชอบ GotoKnow

ผมเป็นคนชอบฟังมากกว่าพูดโดยเฉพาะในการประชุม ผมจะนั่งแบบที่สกลบรรยายไว้ได้อย่างถูกใจผมมากกกกก ว่า "ได้แต่อมยิ้ม ทำตาลึกลับ" เพราะชอบฟังเวลาผู้รู้หลากหลายความคิด โต้กันด้วยปัญญาอย่างเปิดเผยตัวตน บรรยากาศใน GotoKnow ก็เป็นแบบนั้น ผมใช้เวลาส่วนใหญ่ อ่าน มากกว่า เขียน และได้รู้ ได้รับประสบการณ์จากคนทำงาน หรือบางบันทึกก็มีการ โต้กันด้วยปัญญาอย่างเปิดเผยตัวตน ถึงแม้จะมีลักษณะประนีประนอมไปบ้าง

ผมจะไม่ชอบถ้าการโต้ตอบนั้นเกิดขึ้นโดยไม่เปิดเผยตัวตน ซึ่งไม่ต่างจากบัตรสนเท่ห์หรือการนินทาลับหลัง ซึ่งผมจัดกลุ่มความเห็นเหล่านี้ว่าอยู่ในระดับต่ำกว่ามาตรฐาน จึงรู้สึกแย่เอามากๆใน webboard ทั่วไป     

แต่เมื่อมาใช้ชีวิตใน GotoKnow ผมเริ่มเข้าใจความรู้สึกของบางคนที่ไม่อยากเปิดเผยตัว อย่างคุณ K-jira  มากขึ้น ซึ่งผมคิดว่า เธอแค่ไม่อยากเปิดเผย..ใบหน้าตัวเองเท่านั้น แต่ตัวตนสามารถสืบค้นได้ง่ายว่าเธอคือใคร ผมคิดว่านี่เป็นเพียงแค่กลุ่มชนที่ชอบยืนอยู่ในร่ม ไม่ใช่เงามืด ไม่ใช่ไม่เปิดเผยตัว
ผมจะรู้สึกแย่เอามากๆ ถ้าบุคคลนั้นไม่แสดงตัวอะไรเลย อย่างเช่น ผู้เรียกตนเองว่า นักเรียน เข้ามาร้องเรียนความประพฤติของคุณครูท่านหนึ่งในจังหวัดสตูลโดยบอกชื่อเสียงเรียงนามคุณครูคนนั้นชัดเจน แต่ไม่เปิดเผยตนเอง และยังรู้สึก ติดขัด..แม้แต่สิ่งนั้นจะเป็นเรื่องดีๆ อย่างกรณีของ ครูอ้อยถูกบอกรัก หรือ ผมถูกชม

ผมชอบบรรยากาศแบบ สุนทรียสนทนา เรื่องเล่าเร้าพลังของ KM เพราะกติกาหนึ่งคือ คนฟังฟังอย่างตั้งใจ พยายามสนับสนุนให้คนพูดกล้าพูดออกมา เพราะเดิมผมเป็นพวก กลัวดอกพิกุลร่วงจากปาก พูดน้อยจนคนสงสัยว่าเป็นใบ้ กว่าจะมาถึงวันนี้ซึ่งก็ยังถือว่าพูดน้อยอยู่ ก็เข้าข้างตัวเองว่าก็พัฒนาทักษะนี้จากจุดเดิมมากแล้ว ที่เป็นอย่างนี้ได้ ก็เพราะได้รับการประคับประคองมาจากวงสนทนาแบบนี้ จากเพื่อน จากผู้หลักผู้ใหญ่ที่เมตตา

ผมคิดว่าบรรยากาศในแต่ละบันทึกของ GotoKnow จะเป็นตัวบอกเองว่า บันทึกไหนเข้มข้น บันทึกไหนชุบชู บันทึกไหนต้อนรับน้องใหม่ ผู้เข้ามาเยือนสามารถเลือกเข้าไปหาอ่านเอง ว่าอยากจะลับเขี้ยวลับคมสมอง  หรือจะดื่มน้ำทิพย์ชะโลมใจตนเอง ได้อย่างอิสระ นั่นคือข้อดีของโลกไซเบอร์นี้ ในขณะที่การพบหน้ากันในวงแบบ F2F เราไม่ได้มีทางเลือกหรือโอกาสทำอย่างนี้ด้วยมารยาทในสังคม ผมเคยรู้สึกอึดอัดในวงสุนทรียสนทนาบางวงที่มีบุคคลที่ผมเคารพรักทั้งนั้น แต่เพราะความไม่รู้ว่าสุนทรียสนทนาคืออะไร ทำให้ผมอึดอัดแต่หนีไปไหนไม่ได้ ต้องเดินเข้าห้องน้ำตั้งหลายหน

ผมไม่ชอบขัดแย้งใคร ลึกๆอาจเป็นเพราะกลัวคนไม่รัก เหม็นขึ้หน้า จึงพยายามประนีประนอม ซึ่งแน่นอนมันมีทั้งข้อดีและข้อเสียอยู่ในตัว แต่ผมก็หัดที่จะแสดงออกถึงความขัดแย้ง ถ้าผมมั่นใจว่าคนที่เราคุยด้วยจะรับฟังเรา ถ้าผมมั่นใจว่าความเห็นขัดแย้งของผมจะเป้นประโยชน์กับคนๆนั้นถ้าเขาสัมผัสได้

ถ้าผมทักสกลว่า เนื้อหาสูงส่งเกินไป คนฟังเมื่อยคอ ผมก็จะเก็บมาคิดว่า เนื้อหาของเราต่ำไป น้ำเน่าเกินไปหรือเปล่าด้วย
ถ้าผมทักสกลว่า พูดมากไป ยากไป ผมก็จะเก็บมาคิดว่า ผมพูดน้อยไป ธรรมดาไปหรือเปล่าด้วย
ถ้าผมทักสกลว่า ต้องหัดพูดให้สั้นลง ผมก็จะเก็บมาคิดว่า ผมเองต้องหัดให้ความเห็นยาวขึ้น ซะบ้าง


ความเห็นนี้ของผม ยาวขึ้นแล้วนะ สกล
ฮา ฮา ยาวขึ้นจริงๆครับ สะใจคนอ่านมากๆ
เคล็ด (ไม่) ลับในการเล่นกระดานข่าวคือ extract เอาแต่ content และกรองเอา offensive emotion ออกครับ เปอญผมเล่นมาหลายปีมากแล้ว เลยเฉยๆเวลาคนมีความคิดแตกต่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งไปกระทบกระแทก core value ของเขา จะมีการเต้นเกิดขึ้น ก็เป็นเรื่องธรรมดา แต่เราก็ยังสามารถดึงเอาเนือ้หา สิ่งที่เขาคิดออกมาได้
จะทำอย่างนี้ ต้องวางของที่คุยกันไว้บนโต๊ะครับ อย่าไปถือไว้เป็นของเรา เพราะเวลาอภิปรายมันเป็นไปได้หลายทาง ของอาจะหนักมากขึ้น สวยขึ้น มีค่ามากขึ้น หรือของอาจจะเบาลง ดูไม่ค่อยสวยเท่าไหร่แล้ว หรือแตกปั้งกับมือ ในกรณีหลังจะดีกว่ามากถ้ามันแตกบนโต๊ะ แทนที่จะแตกใส่หน้าเราจณะที่ถืออยู่ skill อันนีได้มาตั้งแต่สมัยเล่น message board ที่อังกฤษ และพิสูจน์ว่ามีประโยชน์มากเมื่อมาใช้ในที่ที่เถือนกว่าเยอะ (ในสายตาของผม) ที่เมืองไทยนี่ (กระดานคณะแพทย์เรานี่แหละ)
ตอนแรกๆยังไม่ถือขนาดหน่วงเป็น ชะลอเป็นเลยครับ พึ่งเคยได้ยิน term นี้หลังไปสวนสายน้ำ และแต่ก่อนผมเป็นประเภทเสือปืนไว โต้กระทู้แบบไฟแลบและ point by  point หรือ aggressive style ติดมาจาก methodology ที่อื่น แต่ปรากฏว่าเอาสุทรียสนทนามาใช้ มันก็กลมกลืนกันดี และได้เรียนมากกว่าด้วย กระนั้นก็ยังหลุด aggressive มาบ้างเป็นครั้งคราว
ยกตัวอย่าง
 เนื้อหาสูงส่งเกินไป คนฟังเมื่อยคอ  ผมแปลว่าบทความนี้อาจจะยาก
พูดมากไป ยากไป  แปลว่าสามารถพูดสั้นลงได้

ต้องหัดพูดให้สั้นลง  พูดสั้นลงน่าจะได้ผลดีกว่า
ในความห็นของพี่เต็ม จบแค่นั้น แล้วก็นำมาคิด ไตร่ตรอง และบูรณาการต่อไป การ extract core content เหมือนๆกับการตัด emotioal part หรือ value-judgemental part ออกไปนั่นเอง เอาแต่ fact มาใข้ วิธีนี้มีข้อเสียอยู่บ้างก็คือ คนที่กำลังโกรธอยู่อาจจะยิ่งโกรธที่เราไม่โกรธ หรือคนที่พยายามยั่วยุให้เราโกรธ ก็จะยิ่งโกรธและดู stupid มากขึ้น
แต่ผมพอมองเห็นครับ ว่าพวกรักสันติจะไม่ชอบบรรยากาศที่ hostile แบบนี้ บางทีอาจจะถึงขั้นเกลียด ผมเองก็ทำอะไรพวก personal attack ไม่ได้ ต้องดึงเอากำลังชุมชนมาช่วยต่อต้าน ซึ่งเดี๋ยวนี้ก็ดีขึ้นเยอะนะครับ
ดีจังเลยได้อ่านของพี่เต็มยาวๆ ฮิ ฮิ

เมื่อยหัว

แต่ว่าแต่ว่านะคุณหมอ

เรื่องแบบนี้ พูดบนG2Kตอนนี้ พอได้ พอมีคนฟัง

ไร้นามถูกเบียด ถูกแช่ง ถูกด่า มาเยอะ กับการไปทัดทาน คนที่คิดว่า G2K = KM and KM is only G2K

แต่นั่นมันช่วงต้นปีที่แล้ว จนไร้นามปิดบล็อกไปก็ครั้งหนึ่ง ลบทุกบันทึกไปก็อีกครั้งหนึ่ง ดีว่าระยะนั้น คุณชายขอบและ Dr ka-Poom เป็นคนที่เข้าใจไร้นาม เลยยังเห็นว่ามี คนเข้าใจบ้าง

ตอนนี้ไร้นามเฉยๆ นะกับ G2K

ในเมื่อทิศทาง KM ไทยต้องการแค่ เจ๊าะแจ๊

ก็ยอมรับว่า ก็คงได้แค่นี้มั้ง..

ลองดูซิ มีสักกี่บันทึกต่อวันที่จะกระตุ้นสติปัญญาบ้าง

ทุกคนเข้ามาหาแค่เครือข่าย...

กี่คนที่หายไปจาก G2K และกี่คนที่เริ่มมาแน่น แต่ถูกกระแสทำให้แผ่ว

ก็แค่นั้น สำหรับ G2K

คุณหมอ มาคิด มาทำ และเกาะกลุ่มให้แน่น ก็อาจเป็นกระแส ที่ทำให้ สคส คิดออก ตาสว่างได้บ้างมั้ง

 

สวัสดีครับ คุณไร้นาม

 เห็นด้วยในหลายๆเรื่องนะครับ

แต่บางเรื่องผมยังมีข้อมูบเพียงพอที่จะ "สรุป" ว่าใครเป็นอย่างไร หรือกลุ่มไหนคิดอะไรอยู่ ประเดี๋ยวเกิด "ได้ยินความคิด" ของใครเข้า อ.มาโนชจะวินิจฉัยจิตเภทเข้าให้

ผมพึ่งเข้ามาครับ หมาดๆ ยังมีหยดๆอยูเลย ไม่ทราบซะด้วยซ้ำว่าใครก่อตั้ง ใครหน้าใหม่ นับประสาอะไรจะไปรู้ลึกถึงขนาดใครจะประกาศว่าที่แห่งนี้เป็น KM only หรือไม่ หรือถึงประกาศใน blog ก็คงเป็นแค่ opinion อาจจถูกผลักดันโดย "อารมณ์" ไม่ใช่ "ตรรกะ"

ผมคิดอยู่เสมอว่า ความคิด ความเห็น ความรู้ เป็นของกลางครับ มีหรือไม่มีกลุ่ม แต่ถ้ามาเยี่ยมเยียน มาแบ่งปัน หรือ มาให้ ก็มีค่ามากอยู่แล้วครับ

 


ตื่นขึ้นมาเมื่อตะกี้ (ลงเวรดึกมาค่ะ..ไม่ได้ตื่นสายนะ ^^) เปิด G2K เข้ามาอ่านบันทึกนี้อีกครั้ง

อ่านคอมเม้นต์ของ อจ.เต็มศักดิ์แล้วเกิดอาการงง ว่าเอ.. นี่ k-jira กำลังหลับหรือตื่นนะ อาจารย์เขียนมาซะยาวมาก....

อิอิ.. ยิ้มๆค่ะอาจารย แซวน่ะค่ะ  ^___^


แต่เมื่อมาใช้ชีวิตใน GotoKnow ผมเริ่มเข้าใจความรู้สึกของบางคนที่ไม่อยากเปิดเผยตัว อย่างคุณ K-jira  มากขึ้น ซึ่งผมคิดว่า เธอแค่ไม่อยากเปิดเผย..ใบหน้าตัวเองเท่านั้น แต่ตัวตนสามารถสืบค้นได้ง่ายว่าเธอคือใคร ผมคิดว่านี่เป็นเพียงแค่กลุ่มชนที่ชอบยืนอยู่ในร่ม ไม่ใช่เงามืด ไม่ใช่ไม่เปิดเผยตัว

 

อาจารย์ขา.. รู้สึกปลื้ม และดีใจมากๆ ที่อาจารย์เข้าใจ k-jira  ขอบคุณมากๆค่ะ ต่อไปนี้มีอะไรจะให้รับใช้มั้ยคะ บอกมาได้เลย.. ยินดีทำให้สุดใจขาดดิ้นค่ะ  อิอิ ...^O^

เห็นด้วยค่ะว่า บันทึกของอาจารย์ Phoenix บางครั้งต้องปีนบันไดอ่าน แต่ k-jira ชอบค่ะ   เพราะเวลาอ่าน เหมือนกำลังอ่านหนังสือปรัชญาของนิกายเต๋า นิกายเซ็น เลย  .... มันรู้ แต่ไม่ชัด  คล้ายเลือนลางไม่ชัดเจน ด้วยมองไม่เห็นด้วยตา แต่สัมผัสได้ด้วยใจ และความรู้สึก ..อ่านบันทึกของอาจารย์ทำให้รู้สึกทึ่งในกระบวนการคิดของอาจารย์  จนบางครั้งก็อยากเลียนแบบเขียนให้ได้แบบนี้บ้าง  ถ้าอาจารย์เขียนหนังสือรวบรวมเป็นเล่มตีพิมพ์  k-jira คนหนึ่งล่ะ รับรองว่าจะติดตามซื้อเป็นแฟนหนังสือทุกเล่มของอาจารย์เลยค่ะ  ^___^

จะว่าไป.. k-jira ก็โตมาในโลกอินเตอร์เนต ด้วยชีวิตที่คลุกคลีในเวบบอร์ดเหมือนกันค่ะ  ช่วงแรกก็เจอคนหลากหลายประเภท ทำเอาจนเราแทบเสีย self แต่การได้เจอคนหลากหลากแบบนั้น ก็ทำให้เราเกิดการเรียนรู้การควบคุมอารมณ์ตัวเอง  เมื่อเจอคน aggressive  ใส่ เรียนรู้การบริหารความขัดแย้งแบบ win-win  แต่เมื่อก้าวเข้ามาใน G2K    k-jira ก็รู้สึกตัวเองเหมือนเด็กที่เพิ่งเรียนจบจากโรงเรียนมัธยม ที่ก้าวเข้าไปใช้ชีวิตอยู่ในมหาวิทยาลัย ยังไงยังงั้น  มีหลายสิ่งหลายอย่าง ทั้งการวางตัว การปฏิบัติตัว รวมไปถึงวัฒนธรรมหลายอย่างที่เคยชินมาจากเดิมๆ ก็ต้องเปลี่ยนไปหลายอย่าง แรกๆก็ยอมรับว่าไม่ชินเหมือนกัน.. แต่ตอนนี้ชักสงสัยว่า.. ต่อไปนี้ จะกลับไปอยู่แบบเดิมๆในสถานที่ที่จากมาได้หรือเปล่านะเนี่ย เพราะว่าชักเริ่มชินกับวัฒนธรรมและความเป็นอยู่ใน G2K เสียแล้ว  ^___^

ส่วนที่คุณไร้นามกล่าวมานั้น k-jira เข้าใจนะคะ  และยังจำคุณไร้นามได้ด้วย  เพราะ k-jira ก็คล้ายคุณ ที่เคยปิดบล็อกย้ายตัวเองไปจาก G2K เสียหลายเดือนเหมือนกัน เพราะรู้สึกสับสนกับการวางตัว แต่ตอนนี้พอจะเริ่มรู้ว่าต้องทำอย่างไรแล้ว

สำหรับเรื่องที่ว่า  G2K = KM and KM is only G2K  นั้น

สำหรับ k-jira  สารภาพว่า ก่อนที่จะมารู้จักและคุ้นเคยกับ G2K ก็เคยคิดว่า  G2K = KM  แต่เมื่อนานไปๆ   G2K ทำให้ k-jira รู้จักคำว่า KM มากขึ้นค่ะ  และให้ข้อสรุปกับตัวเองได้ว่า  G2K คือเครื่องมือของ KM ต่างหาก

KM ตัวนี้ ความจริงมันอยู่ทั้งในและนอกโลกของอินเตอร์เนตมานานแล้ว   เหมือนกับสรรพชีวิตและความเคลื่อนไหว ที่กลมกลืนผสานอยู่ในธรรมชาติ  หากมองผ่านเผินก็เหมือนธรรมดาสามัญ  ต้องเพ่งพินิจมอง และแยกแยะออกมา จึงจะเห็นสิ่งที่แอบกลมกลืนอยู่ในนั้น  ทำให้นึกถึงคนจีน ที่สังเกตท่าทางของตั๊กแตน จนคิดค้นเพลงมวยตั๊กแตน  สังเกตท่าทางของเสือตะปบเหยื่อ จนคิดค้นเพลงมวยพยัดฆ์ขึ้นมา ฯลฯ

ในความเข้าใจของ k-jira นั้น  เสือพยัคฆ์ตั๊กแตน ตลอดจนสรรพสิ่งรอบตัวเรา คือ ข้อมูล คือความรู้  แต่การสังเกต ตลอดจนกระบวนการคิด และสังเคราะห์ออกมาเป็นเพลงมวยขึ้น นั่นคือการทำ KM    ข้อมูลความรู้มีอยู่มากมายในโลกนี้ คละปนกันอยู่ ดั่งทรายกับแร่ทองคำในธารน้ำ  คนที่ไปค้นหาทองคำ ต้องใช้ตะแกรงร่อนแยกแยะออกมาจึงจะเจอ  และ G2K ก็คงเปรียบเหมือน ตะแกรงที่ใช้ร่อนหาแร่ทองคำนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม..ก็ไม่แน่ใจว่า สิ่งที่กำลังเข้าใจอยู่นี้ ถูก หรือผิด  ไม่แน่ว่า.. ผ่านไปนานไป..บางที k-jira อาจจะเข้าใจ KM เปลี่ยนไปจากที่เคยเข้าใจอยู่ตอนนี้อีกก็ได้

ขอบคุณที่เปิดเวที มาให้ ลปรร  กันค่ะ  ^___^

 

อืม.... ทุกตรุษจีนจะเป็นแบบนี้ไหมเนี่ย ยังกะเป็นวัน KM มี comment เข้ามาตั้งแต่เช้าจรดค่ำ สนุกดีจริงๆ ยังนี้ค่อยเป็น สภากาแฟ ที่น่าสนใจหน่อย

สำหรับ KM นั่น ผมว่าอย่าไปสนใจนิยามมันมากเกินไปเลยครับ ปวดหมองเปล่าๆ ให้นิยามปุ๊บ เดี๋ยวก็จะมีคนถามว่ายังนี้ใช่ป่าวๆ ยังโง้นไม่ใช่ๆ ต้องยังงี้ๆ ใครบอกลื้อเล่า ต้องอย่างงี้ตะหาก เดี๋ยวก็ชกกันเท่านั้นเอง

เอาเป็นว่าเรามี เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ใช่/ไม่ใช่ ถ้าใช่ แล้วแต่ละท่าน แต่ละองค์ แต่ละตน ทำอะไรกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นี้บ้างรึยัง?

ผมเคยบอกเด็กๆ นักเรียนแพทย์ว่าให้หัดทำ "สะท้อนตนเอง" บ่อยๆ ไมได้ให้ไปส่องกระจก แต่ให้สำรวจ สังเกตตนเอง เอาง่ายๆก่อน ตอนเช้านี้เรารู้อะไรบ้าง พอตอนเย็น เรา ต่างจากเมื่อเช้า แค่ไหนอย่างไรบ้าง เราจะได้ซึมซับความก้าวหน้าของเราได้ตลอดเวลา วันนี้ต่างจากเมื่อวานอย่างไร วันนี้ต่างจากเมื่อเดือนที่แล้ว ปีที่แล้ว หรือตอนก่อนเข้าเรียนแพทย์อย่างไร ถ้าทุกสิ่งทุกอย่างเหมอืนเดิม แสดงว่าที่เราคิดว่าเราก้าวหน้า เราเติบโตขึ้นนั้น เป็นเพียงความรู้สึก เป็นเพียงอายุมากขึ้นตามนาฬิกา แก่เพราะกินข้าง เฒ่าเพราะอยู่นาน แค่นั้น

ถ้าสับสนมากๆว่ากระดานนี้ หรือ blog นี้ดีไม่ดี ไม่ต้องไปเที่ยวถามใครหรอกครับ เริ่มต้นง่ายสุดสำรวจตัวเรา และถามว่าเราได้ดูดซับอะไรเข้ามาบ้าง เปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง ดีขึ้น เหมือนเดิม แย่ลง? เนื่องจากเป็นการสะท้อนตนเองอยู่ภายใน คงไม่มีความจำเป็นจะต้องโกหกเพื่อรักษาหน้า ทีนี้เราจะได้ ความจริง อย่างน้อยที่สุดสำหรับตัวเราว่า blog นี้มันเป็นอย่างไรกันแน่

ไม่ต้องกังวลว่าที่เรารู้สึก จะมีคนเหมือนเราสักกี่คนครับ เพราะเวลาที่เรารับรู้อะไรก็ตาม เราใช้ประสบการณ์เก่ามาช่วยแปลเสมอ ไม่มีใครในโลกนี้ที่มีประสบการณ์เก่าเหมือนกัน ดังนั้นการแปลมันมีโอกาสต่างกันแน่ๆ บางคนอาจจะรู้สึกเสียเวลา บางคนรู้สึกเป็นช่วงที่ดีที่สุดในชีวิต ก็ไม่ต้องไปเสียว่าว่ามันเป็นยังไงกันแน่ สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งเห็นโคลนตม อีกคนหนึ่งเห็นดวงดาวอยู่พราวพราย

ปัญหาจะเกิดขึ้นทันทีที่เราได้ยินคนไม่ชอบสิ่งที่เราชอบ หรือทำนองกลับกัน คือดันชอบสิ่งที่เราเกลียด โดยอัตโนมัติเราอยากจะไปเปลี่ยนใจเจ้าหมอนั่น หรืออีนังนี่ (... ขอโทษ เพื่อความคล้องจองครับ) ให้มาเหมือนกับเรา เราก็ติดบ่วงอารมณ์ไปด้วย เพราะ self value ของเรานั้นสั่นคลอนไปตามความชอบ/ไม่ชอบของคนอื่นได้

โอ้โฮ้...เป็นบันทึกที่มี comment สุดยอดยาวแห่งปีเลยค่ะ  เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนใน G2K
.
เคยอ่าน comment ของอาจารย์ที่ กระดานข่าวคณะแพทย์  บ่อยๆ ค่ะ    เป็นความคิดเห็นที่มีสาระ (ท่ามกลางเรื่องสัพเพเหระ)
.
มีคนตามอ่านบันทึกของอาจารย์อยู่นะคะ  จาก mail  ที่อาจารย์ส่งมาให้   คนๆ นั้นคือ พี่มาริษา ค่ะ  กำลังคิดว่าถ้าอาจารย์ชวนท่านทั้งหลายจากกลุ่มจิตตะ ฯ นี้มาสนทนาใน gotoknow ได้ล่ะก็    รับรองสนุกแน่ค่ะ

สวัสดีครับคุณ nidnoi

บอกพี่มาริษาด้วยครับว่า clear mail box บ่อยๆหน่อย เพราะชุมชนจิตไร้สำนึก mail นี่ใช่เนื้อที่เปลืองมาก หรือไม่ก็สมัคร gmail ซะเลย มี space ให้เยอะกว่าของคณะฯมาก

ดีใจที่มีคนอ่านครับ ยิ่งดีใจมากขึ้นถ้าได้อ่านหลายๆคน ยิ่งดีใจมากที่สุดถ้าอ่านแล้วมี comment กลับมาด้วย

ขอบคุณบันทึกดีๆ จากอาจารย์ Phoenix ค่ะ ขอชื่นชมว่าเป็นบันทึกที่สวยงามในการเขียนบันทึกที่แฝงวิชาการได้อย่างน่าอ่านมากค่ะ

ดิฉันเองได้ความคิดจุดประกายหลายอย่างเชียวค่ะ ส่วนหนึ่งได้ถ่ายทอดออกมาเป็นบันทึกล่าสุดทั้งสองนี้นะค่ะ ขอเชิญอาจารย์และทุกท่านรวมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ค่ะ

สมดุลย์ของบันทึกแห่งประสบการณ์และบันทึกแห่งมิตรภาพ

ตัวอย่างเว็บต่างประเทศที่ใช้บล็อกบันทึกประสบการณ์และสร้างเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญ 


ขอบคุณจากใจค่ะ :)

ขอบคุณครับ อาจารย์จันทวรรณ

ผมได้ออกความเห็นเรื่องนี้ใน link ที่อาจารย์ให้มา ไม่ได้เป้นความเห็นที่แก้ปัญหาสักเท่าไหร่ อาจจะเพิ่มงานให้อาจารย์ซะด้วยซ้ำ

ในกระดานข่าว ม.อ. ผมเขียน series Debate ไว้เกือบร้อยกระทู้ มีคนตอบบ้าง ไม่ตอบบ้าง แต่เขียนเพราะความมันเป็นหลักครับ มีคนตอบก็ดี ไม่มีก็ไม่เป็นไร บางที attitude หรือ "ความคาดหวัง" เป็นบ่อเกิดแห่งความสมหวังและผิดหวัง ส่วนใหญ่ที่มีผลเยอะจะเป็นอย่างหลังซะมากกว่า แต่ก็เข้าใจคนเขียนทั่วๆไปครับว่าอยากให้มีคนอ่าน เป็น feel good effect แต่อย่าให้ถึงกับ addict หรือ เชื่อมโยง self-value กับ counters หรือจำนวน responses ก็พอ เพราะอย่างที่ผมเคยวิเคราะห์ว่า เราจะได้ประโยชน์อะไรบ้างจาก blog ประการหนึ่งคือเป็นการ archive ตัวตนของเรา ณ เวลาหนึ่งๆ ซึ่งตรงนี้ประการเดียวสำหรับผมก็มีค่ามากแล้ว ผมสามารถอ่านหนังสือซ้ำได้หลายรอบมาก ดังนั้นอ่านของตัวเอง ร ต่างเวลา บางทีก็เหมือนกับอ่านของคนละคนเหมือนกัน ผมจึงไม่มีปัญหาเรื่องจะหยุดเขียนเพราะไม่มีคนอ่าน หรืออ่านนอ้ย อะไรประเภทนั้น แน่นอน อันนี้คงจะเอาไป generalize กับใครๆไม่ได้

สวัสดีครับอาจารย์

  •     เข้ามาเก็บเกี่ยวและทบทวนความรู้ใหม่ๆครับ
  • รู้สึกว่าบันทึกของอาจารย์จะ Hot  มากขึ้นเรื่อยๆนะครับ
  • บันทึกของอาจารย์ทำให้ผมได้ความคิดที่เป็นข้อสรุป มากขึ้นเรื่อยๆครับ(ในช่วงนี้)
  • ถ้าผมไม่ได้บันทึกแลกเปลี่ยนใด  แต่อยากเรียนอาจารย์ว่าผมอ่านทุกบันทึกของอาจารย์นะครับ

                                              ขอบคุณครับ........

ใจเย็นๆครับคุณหมอ kmsabai

นี่แค่ warm-up นิดหน่อยเท่านั้นเอง ;)

อย่าครับ อย่าพึ่งรีบสรุป หน่วงไว้ก่อน หน่วงไว้ก่อน หน่วงไว้ก่อน

เรียนอาจารย์ Phoenix

เข้ามาตามลิงค์ ที่อาจารย์แวะไปให้ความเห็นใน คุณเคยเจอความจริงใจบน gotoknow.org ในรูปแบบไหนบ้างคะ ค่ะ

ก่อนอื่นขอเรียนว่า ใช้เวลาในการพยายามเข้าใจสิ่งที่อาจารย์เขียน และยอมรับกันตรงๆเลยค่ะว่าดิฉันไม่ค่อยเก่งภาษาอังกฤษ เพราะฉะนั้นความเห็นขณะนี้ของดิฉันก็ขึ้นกับบริบทของตัวดิฉันล่ะค่ะ...

ประเด็นหนึ่งที่ขอเรียนอาจารย์คือ ...ความพร้อมในการบันทึกหรือให้ความเห็นอย่างเต็มศักยภาพของสมาชิกบล็อก

ดิฉันมองอย่างนี้ว่า สมาชิกมีความพร้อมนะ แต่มีเส้นบางๆ กั้นไว้บ้างซึ่งเส้นกั้นนั้น อาจแตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่มคน อย่างถ้าไปอ่านบันทึกของกลุ่มที่ได้รางวัลจตุรพลัง เช่นของ ภาควิชาหนึ่ง ในระยะหนึ่ง กลุ่มคนเหล่านั้น สามารถช่วยกันถ่ายทอด ออกความเห็น และบันทึกการแก้ปัญหา ด้วยความเห็นที่ชัดเจน ตรงไปตรงมา และยังใจกว้าง เปิดที่ว่างให้คนนอกเข้าไปเสนอความเห็น จนเกิดกระแสที่ดีหมุนวน จุดประกายไปตามหน่วยโน้น หน่วยนี้ของประเทศแต่ระยะเวลาที่ผ่านไป บันทึกดีๆ เหล่านั้นหายไปหมด ถามว่า เป็นเรื่องแปลกไหม คิดว่าไม่ค่ะ เวทีเสมือนจริงที่นี่ ยิ่งกว่าจริง ค่ะ ...คำนี้คุณชายขอบเคยเกริ่นมาก่อน และดิฉันก็เข้าใจดีขึ้นในระยะหลังนี้ค่ะ

ศักยภาพของคนในที่นี้ สูงในระดับที่ถ้าเทียบภูเขาไฟ ก็คือสูงไปถึงดวงดาวก็ได้ แต่การนำไปใช้ยังกระจัดกระจายอยู่ มีการชี้แนะชี้นำอย่างเป็นระบบให้เอาออกมาใช้กันอย่างไม่เต็มที่ ...แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่ดิฉันจะไปก้าวล่วงในหน้าที่ของใครอีก เพราะถือว่า เคยพูดไปแล้วหลายครั้งทั้งในบันทึกของตัวเองและของอาจารย์แสวง..

ขอบคุณค่ะ ที่ได้รู้จักอาจารย์

 

อาจารย์สกลคะ

ที่จริง ก่อนนี้ อ.พันธ์ทิพย์ ถึงกับเดินโฉบไปที่ภาคฯพยาธิฯ และแนะนำให้พี่ย้ายจาก psu ไปอยู่บ้านหลังใหม่ หลังใหญ่ๆ หลังนี้ วันนั้นละอายใจมากเลย แล้วก็ต้องดำเนินการเสียที โดยมีคุณนิดหน่อยช่วยเชิญเข้าบัญชี ก็เรียนอาจารย์และสมาชิก ชุมนุมจิตไร้สำนึก เมตตาส่งเรื่องราวดีๆ มายัง [email protected] นี้ด้วยนะคะ  สำหรับเรื่องราวของอาจารย์ บางครั้งพี่ก็ต้องทั้งปีนทั้งป่าย บางครั้งก็อ่านสบายๆ  แต่ทุกเรื่องไม่อาจเล็ดลอดสายตาไปได้ เพราะมีคุณค่ามากๆค่ะ ทำให้เกิด attitude ใหม่ๆ นำไปใช้เองบ้าง คิดจะแนะนำคนอื่น ก็ยังไม่ถึงขั้น ได้แต่แนะนำให้เข้ามาในgotoknow อ่านเรื่องราวดีๆของอาจารย์ ที่เข้าใจตามแนวทางหลักธรรม การมีทรัพย์สมบัติดี เพราะให้ทานมาดี การมีรูปสมบัติดี เพราะรักษาศีลมาดี การมีคุณสมบัติมีปัญญาดี เพราะมีการเจริญสมาธิภาวนามาดี ทำให้มั่นใจว่าอาจารย์ ต้องทำในสิ่งดีๆทั้งสาม มาเพรียบ จึงมีปัญญาที่เฉียบๆ มาเผื่อแผ่ทุกคน  ขอขอบคุณมากค่ะ

อาจารย์จันทรรัตน์ครับ

ขอบพระคุณมากที่แสดงความเห็นครับ ผมชอบ style การเขียนของอาจารย์ครับ ตรงไปตรงมาไม่ต้องกังวล (บางทีเป็นการเขียนที่ผมเองทำไม่ค่อยได้!!)

กระทู้หายไป อาจจะกลายเป็นปฏิบัติก็ได้นาครับ อย่าพึ่งด่วนตัดสินใจ

พี่มาริษาครับ

ดีใจมากที่พี่ย้ายบ้านมาได้ รู้สึกไม่แล้วใจที่ส่งไปทีไรก็เด้งกลับทุกทีเหมือนกัน (เหมือนโดนสลัดรัก!!)

พี่ว่าผมดีเกินไปเสียแล้ว ระวังนะครับ ผมเป็นประเภทผักชี  (มืออาชีพ) อาจจะมีอยู่เพียงแค่นั้น (คือผักชี) หาได้มีคุณธรรมอะไรไม่ แล้วจะผิดหวัง (อย่างแรงครับ)

ยินดีรับ comment และร่วมเข้าชุมชนจิตไร้สำนึก (อีกครั้งหนึ่ง) ครับ

สวัสดีครับ ท่านอาจารย์หมอ

สองปีกว่ามาแล้วกับบันทึกนี้

แต่ข้อสังเกตต่างๆ ที่อาจารย์เขียนไว้ก็ยังเป็นเช่นที่ท่านว่านะครับ

แต่เท่าที่ผมได้พึ่งพิงชายคาที่นี่มาไม่กี่เดือน ผมว่าผมก็ได้เห็นหลายๆ บันทึก ที่ขยับยกระดับขึ้นไปนะครับ  คงต้องรอดูต่อไป

.....

ขออนุญาตร่วมเปียแชร์ (ความคิด) นะครับ

พอดีผมเองก็เคยผ่านประสบการณ์ การใช้ webboard ที่ทำงาน

หลังจากนั้นก็เคยฝึก Dialogue มาบ้าง

และสุดท้ายก็มาพักพิงในบล็อก G2K แห่งนี้

......

ขอเริ่มที่ web board ซึ่งน่าจะเป็นตัวเดียวกับ message board ที่อาจารย์กล่าวถึง  ผมคิดว่า สิ่งที่เกิดขึ้นใน board มันสะท้อนถึงพฤติกรรมของคนไทยส่วนใหญ่  ที่ไม่ชอบคุยกันตรงไปตรงมา ในที่ที่ควรคุย  แต่จะชอบพูดความจริงที่เจ็บปวดกันในที่ลับๆ กับกลุ่มเพื่อนสนิท หรือในที่ๆ ไม่มีการแสดงตัวตนเช่น web board

ในที่ทำงานผมเดิม web board นั้น สามารถแสดงความเห็นได้โดยไม่ต้องแสดงตัวตน 

ต่อมาก็มีปัญหา เรื่องความไม่เหมาะสมของเนื้อหา เลยถูก เซนเซอร์ด้วยมาตรการให้มีการ login เพื่อติดตามได้ว่า ใครเป็นผู้แสดงความเห็น 

แต่ก็ยังไม่ต้องแสดงตัวตนที่แท้จริง จึงดูเหมือนกึ่งเปิดเผย กึ่งปิดบัง

หลังจากมีมาตรการนี้ ทำเอา web board เหงาไปเหมือนกัน  แต่สิ่งที่หายไปด้วยคือ ถ้อยคำรุนแรง หรือความเห็นที่แรงๆ 

โดยส่วนตัวแล้วผมก็รับไม่ค่อยได้กับ web board ซักเท่าไหร่ครับ  โดยเฉพาะเวลาโดนใครว่าแรงๆ ก็ทำเอาเป๋ และเสีย self ไปหลายวัน

.....

หลังจากนั้นมา ผมได้มีโอกาสเรียนรู้และฝึกฝน Dialogue  ผมอินมากครับ ผมกลับไปหา web board  และพยายามชวนคนมาสื่อสารใน board ด้วยสุนทรียสนทนา ประมาณว่าใช้การอ่านอย่างลึกซึ้ง แล้วไตร่ตรองให้ดี ก่อนแสดงความคิด  แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังไม่ get  อาจเป็นเพราะในช่วงเวลานั้น คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้จัก Dialogue

หลังจากนั้น ผมก็ค่อยๆ ลาวงการ web board ของหน่วยงาน  หันมาศึกษาและฝึกฝน Dialogue

และท้ายที่สุด ผมก็ได้มาสัมผัสชีวิตในบล็อก G2K  ซึ่งโดยส่วนตัว แม้จะรู้สึกไม่สะใจในการแสดงความเห็น และยังไม่ค่อยเห็นการแลกเปลี่ยนที่เข้มข้น และสร้างสรรค์ แต่ผมคิดว่า นี่คือจุดเริ่มต้นที่ดี และเป็นรากฐานที่มั่นคงที่จะนำไปสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาได้

สำหรับ web board หรือกระทู้ต่างๆ นั้น ผมมองว่า ยังไม่ค่อยให้คุณค่ากับปัจเจก เท่าไหร่  เน้นแต่ตัวชุมชนออนไลน์ 

ส่วนบล็อกเอง น้ำหนักก็จะเอียงไปทางปัจเจกซะมาก  ส่วนความเป็นชุมชน (แบบ CoP) ที่จะช่วยกันสร้างองค์ความรู้นั้น จะยังไม่ค่อยมีให้เห็นเป็นรูปธรรมนัก

ข้อคิดเห็นส่วนตัวของผมในวันนี้จึงมีว่า ทักษะ Dialogue ของคนในชุมชนต่างๆ น่าจะเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยยกระดับการสื่อสารในชุมชน ที่จะนำไปสู่พลังสร้างสรรค์ใหม่ๆ

ซึ่งสุดท้ายทั้ง web board และ บล็อก อาจจะนำไปสู่ชุมชนความรู้ที่ยั่งยืนได้ บนพื้นฐานของการสื่อสาร สนทนาแบบ Dialogue

......

มองย้อนกลับมาที่ตัวเอง ผมก็ยังรู้สึกว่า บางที ข้อเขียนในบันทึกของตัวเอง ก็มีส่วนที่ทำให้มันเป็นอยู่เช่นทุกวันนี้

ต้องยอมรับว่า บางที ผมเองก็กลัวการเผชิญหน้า กับความเห็นต่าง  กลัวการกระทบกระทั่งกับคนรู้จัก กับเพื่อน กับกัลยาณมิตร 

ทำให้ไม่อิสระ ที่จะแสดงเสรีภาพทางความคิดได้อย่างเต็มที่นัก (มีหลายบันทึกที่ถูกทำแท้งไป เพราะ กลัว บวกกับเกรงใจ) ซึ่งผมคิดว่าหากผมยังกลัวๆ กล้าๆ แม้กระทั่งการแสดงความคิดเห็นของตัวเองในบล็อกของตัวเอง  มันก็ย่อมส่งผลถึงบรรยากาศโดยภาพรวมของชุมชนได้เช่นเดียวกัน

ต่อไปผมคงต้อง "กล้า" ให้มากขึ้น ที่จะบันทึกแสดงความคิดความเห็นที่เป็นตัวของตัวเองให้มากขึ้น แต่ทั้งนี้ คงต้องอยู่บนพื้นฐานของความบริสุทธิ์ใจ และซื่อสัตย์ต่อตัวเองเป็นสำคัญ

ขอบคุณครับสำหรับการเปิดพื้นที่แห่งอิสรภาพทางความคิด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท