คำถามสร้างสรรค์องค์กร


เขาให้เรียนรู้เครื่องมือการจัดการความรู้ หรือ KM ต่าง ๆ โดยไม่ต้องบอกว่านี่คือเรื่องของการจัดการความรู้

         การออกแบบกิจกรรมของงาน  SCG Power of Learning and Collaboration  ทั้งสองวันจะคล้ายกันคือ เป็นการบรรยายนำ (Keynote Speacker) แล้วจะต่อด้วยกิจกรรมที่เรียกว่า Learning Lab Activities ที่แบ่งออกเป็นห้องย่อย ๆ 3 หรือ 4 ห้องพร้อมกัน ให้ผู้ร่วมงานได้เลือกเข้าร่วมกิจกรรมตามหัวข้อที่ตนเองสนใจ  เป็นที่น่าสังเกตว่า จะไม่มีการบอกชื่อวิทยากรหรือกระบวนกร ในหัวข้อของกิจกรรมเรียนรู้เหล่านี้ มีเพียงคำอธิบายสั้น ๆ (Description) 1-2 ประโยคชี้ประเด็นสำคัญของกิจกรรมนั้น ๆ เช่น ห้องกิจกรรม คำถามสร้างสรรค์องค์กร มีคำอธิบายไว้ว่า เรียนรู้หลักการและวิธีปฏิบัติในการตั้งคำถามเชิงบวก การสร้างบรรยากาศ การสร้างความสัมพันธ์และการเล่าเรื่อง เพื่อกระตุ้นพลังด้านบวกในองค์กร

          พวกเราชาว มมส. บังเอิญได้มีโอกาสคุยกับ วิทยากร ห้องนี้ก่อนคือ ท่าน นท.บดินทร์ วิจารณ์ เลยทำให้เข้าห้องนี้กันเกือบหมด ซึ่งก็คิดว่าทุกคนคงเก็บเกี่ยวอะไร ๆ กันได้มากอย่างแน่นอน กระบวนการทำกิจกรรม ท่าน Jack ได้นำเสนอไว้แล้ว ผมจึงขอนำเสนอในมุมที่แตกต่างกันเพิ่มเติมครับ

          กิจกรรม Learning Lab Activities ของงานนี้แทบทุกห้องจะถูกออกแบบไว้ในรูปแบบที่คล้าย ๆ กัน คือ เริ่มด้วยการสร้างบรรยากาศ และเตรียมร่างกายและจิตใจ ให้เหมาะหรือพร้อมที่จะเรียนรู้ในหัวข้อหรือทำกิจกรรมที่จะตามมา  มีวิธีการนำเข้าสู่บทเรียนที่น่าสนใจ อย่างกรณีห้องนี้ก็ใช้ เกม 20 คำถาม ด้วยคำถามว่า เกิดอะไรขึ้นกับคุณฤดี ?

          รายละเอียดเนื้อหาอื่น ๆ ต้องยกความดีให้กับ ทีมอัจฉริยะ ของเขาที่สามารถจับประเด็นลงไว้ใน mind map ได้เป็นอย่างดี ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถจะใช้ในการทบทวน หรือ recalled เรื่องราวได้ง่ายขึ้นมาก โดยเฉพาะท่านที่ผ่านกิจกรรมเรียนรู้เรื่องของการเขียน mind map มาแล้วก็จะยิ่งสามารถอ่านข้อมูลได้อย่างถูกต้องและเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น จะเห็นได้ว่ากิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ ทีม Inno Fa เขาคิดและออกแบบให้มีความสัมพันธ์กันไว้เป็นอย่างดี  และจะเห็นว่าเขาให้เรียนรู้เครื่องมือการจัดการความรู้ หรือ KM ต่าง ๆ โดยไม่ต้องบอกว่านี่คือเรื่องของการจัดการความรู้ เพราะบางคนอาจจะยังไม่พร้อมที่จะเปิดใจรับมัน ถ้าบอกว่านี่คือ KM ก็อาจจะปฏิเสธหรือต่อต้านในใจ เนื่องมาจาก mind set ของเขาเหล่านั้นเอง

 

          สำหรับท่านที่ชอบถามว่า What is Appreciative Inquiry (AI) ? หรือ การถามอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นเครื่องมือการจัดการความรู้ที่มีประโยชน์มากอันหนึ่งนั้นคืออะไร ? ผมขอนำข้อสรุปของท่านวิทยากร มาบันทึกไว้ดังนี้ครับ

          AI คือ กระบวนการศึกษาค้นหาร่วมกันเพื่อค้นหาสิ่งที่ดีที่สุดในตัวคน ในองค์กร หรือของโลกที่อยู่รอบตัวเรา

          AI คือ กระบวนการค้นหาอย่างเป็นระบบว่าอะไรเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ระบบดำเนินไปอย่างดีที่สุด โดยเฉพาะเมื่อระบบนั้นสามารถบรรลุซึ่งประสิทธิผลสูงสุด ไม่ว่าจะเป็นด้านการเงิน ด้านนิเวศวิทยา หรืออะไรที่เกี่ยวกับมนุษย์ก็ตาม

          AI เป็น ศิลปะของการถามคำถาม ที่นำไปสู่การส่งเสริมให้ระบบมีศักยภาพเพียงพอที่จะพัฒนาไปสู่ศักภาพสูงสุด

          AI เป็น กระบวนการขับเคลื่อนให้เกิด การถามคำถามในเชิงบวก แบบไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ซึ่งมักเกิดขึ้นกับคนตั้งแต่ไม่กี่คน จนถึงเป็นล้านคนในกระบวนการทำ

 

          ประโยคทอง ที่ผมได้จากท่านในวันนั้นคือ  ไม่มีการเรียนรู้ ถ้าไม่มีการปฏิบัติ และ การปฏิบัติทุกอย่าง จะทำให้เกิดการเรียนรู้เสมอ

หมายเลขบันทึก: 220359เขียนเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2008 16:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีครับ

ขอบคุณครับอาจารย์แพนด้าที่หาอะไรดี ๆ มาให้ชาว มมส.ได้ศึกษาครับผม

อ่านแล้วได้ประโยชน์มากกับการนำไปใช้จริงครับผม

ผมจะติดตามไปเรื่อย ๆ ครับ

  • ทำการบ้านส่งครับเจ้านาย....อิอิ
  • P
  • ขอบคุณครับ ท่านนิวัฒ พัฒนิบูลย์
  • ร่วมด้วยช่วยกัน...เพื่อ มมส. ครับ
  • msukm คงไม่สามารถเดินมาถึงปัจจุบันได้ถ้าขาดท่าน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท