ท้องฟ้าเหนือพุทธมณฑล


 ในช่วงเย็นๆ ของวันที่ ๒ มิถุนายน ๕๓  เวลาโดยประมาณ ๑๗.๓๐ น. คณะของเราพากันไป Dinner Therapy กันถนนเส้นในของศาลายา พุทธมณฑล ร้าน อู่ข้าว-อู่ปลา ระหว่างทางนั้นเราจะต้องผ่าน มหาวิทยาลัยมหามงกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง ดูจากสภาพภูมิทัศน์ นำพาให้เราเข้าไปชมภายในแบบขับรถชมวิวประมาณนั้น ..

ทันใดนั้นอาจารย์วิรัตน์ท่านได้เรียก และชี้ชวนให้ดูท้องฟ้าซึ่งในขณะนั้นมุมที่นั่งอยู่ในรถมองท้องฟ้าไม่ถนัด แต่เมื่อถึงร้านอู่ข้าว-อู่ปลา อำเภอพุทธมณฑล ซึ่งห่างจากโรงพยาบาลพุทธมณฑล เป็นเส้นทางที่ไปทางอำเภอนครไชยศรี ประมาณ ๕ นาที เมื่อลงจากรถก็ต้องส่งเสียงกันลั่น ซึ่งเพิ่งจะได้เห็นว่าเมื่อสักครู่อาจารย์วิรัตน์ท่านเรียกให้ดูอะไร เป็นภาพก้อนเมฆในมุมมองประมาณ ๔๕ องศา สวยและแปลกตามากๆ คะ ..

phuttamontonsky.jpg picture by waweeme

 

skyphuttamonton.jpg

ท้องฟ้าเหนือพุทธมณฑล l ๒ มิถุนายน ๕๓ l ณ ร้านอู่ข้าว-อู่ปลา อ.พุทธมณฑล l เวลาประมาณ ๑๗:๓๐ น. l ณัฐพัชร์ ถ่ายภาพ

จึงรีบหยิบมือถือถ่ายภาพมาได้ถึงจะไม่ชัดเจนนัก เพราะถ้ามองด้วยตาเปล่าเราจะมองเห็นประกายสีรุ้งทอแสงด้วยคะ ..

เมื่อเห็นเมฆลักษณะนี้ อาจารย์วิรัตน์ ท่านนึกถึงอาจารย์ชิว บัญชา ธนบุญสมบัติ ทันที จึงเริ่มค้นเข้าไปในบันทึกของอาจารย์ จึงได้ข้อมูลของเมฆชุดนี้ที่อาจารย์เรียกว่า "หมวกเมฆ" จึงขออนุญาตอาจารย์มา ณ ที่นี่ และโพสไว้เพื่อเป็นความรู้นะคะ ขอบพระคุณคะ .....

 

คำว่า 'หมวกเมฆ' นี่ ผมถอดจากคำว่า Pileus (ไพลีอุส) ซึ่งเป็นชื่อของเมฆชนิดนี้ในภาษาอังกฤษ

คำๆ นี้มาจากภาษาลาติน แปลว่า cap (หมวก) นั่นเอง

 

ในทางชีววิทยา คำว่า pileus แปลว่า หมวกเห็ด ครับ

(จากหนังสือ ศัพท์พฤกษศาสตร์ อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน)

 

บางครั้ง 'หมวกเมฆ' นี้อาจจะเกิดปรากฏการณ์สีรุ้ง (iridescence) ได้ด้วย

คำถาม
เมฆหมวกเกิดขึ้นได้อย่างไร?

มีคำอธิบายสั้นๆ ดังนี้ครับ

เมฆก้อนขนาดใหญ่ที่กำลังเติบโตขึ้นในแนวดิ่งอย่างรวดเร็ว

(เช่น cumulus congestus และ cumulonimbus ระยะก่อตัวใหม่ๆ)

จะทำให้อากาศเหนือเมฆถูก "ผลัก" ขึ้นไป

หากอากาศที่ถูกผลักนี้มีไอน้ำในปริมาณมาก

และบริเวณที่ถูกผลักขึ้นไปมีอุณหภูมิต่ำเพียงพอ

ก็จะทำให้เกิดเมฆเป็นแถบบางๆ ลอยอยู่เหนือเมฆก้อนขนาดใหญ่นั้น

เมฆแถบบางๆ นี้ก็คือ หมวกเมฆ หรือ pileus นั่นเอง

-------------------------------------------------
ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ชิว บัญชา ธนบุญสมบัติ

 

หมายเลขบันทึก: 363384เขียนเมื่อ 3 มิถุนายน 2010 09:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

สวัสดีครับ....

  • เป็นปรากฎการณ์แห่ง Dinner Therapy ที่งดงามยิ่ง....
  • และ น่าร่วมเดินทาง Dinner Therapy (บ่อยๆ ) จักได้เจอแต่สิ่ง งดงาม ...

สวัสดีค่ะ

ขอขอบคุณค่ะ

ได้ชมปรากฏการณ์เมฆสวย และได้รับความรู้เรื่องเมฆไปด้วย 

 

สวัสดีครับ

หมวกเมฆนี่สวยนะครับ

ไม่ค่อยเคยเห็นครับ...

  • ไม่เคยเห็น แถมไม่เคยรู้จักเลย แปลกตาดีจังครับ..
  • ขอบคุณความรู้เกี่ยวกับหมวกเมฆครับ

ตามมาชื่นชม สวยมากค่ะดีจังที่ เมฆชุดนี้มีคนถ่ายภาพไว้ได้หลายคนค่ะ

สวัสดีคะ คุณช้างน้อยมอมแมม : เห็นด้วยคะ Dinner Therapy ถ้ามีบ่อยๆ เราก็จะได้พบแต่สิ่งดีๆ และเป็นการเสริมกำลังใจกันไปในตัวเน๊อะค๊ะ ..

สวยมากๆ เลยค่ะ

ไม่เคยได้ภาพสักทีค่ะ อิอิ

สวัสดีคะ พี่ครูคิม : เผอิญจริงๆ คะ ที่ได้ชมภาพท้องฟ้าสวยๆ พออาจารย์วิรัตน์ บอกว่าให้ไปโพสที่บัญทึกของอาจารย์ชิว เผื่อจะได้ความรู้ด้วย แต่พอลองค้นหาดูก็พบว่าอาจารย์ชิวเคยได้บันทึกเรื่อง หมวกเมฆ นี่มาก่อนแล้ว เลยขอนำมาบันทึกเป็นวิทยาทานสำหรับผู้ที่ชื่นชอบเมฆ แต่ไม่ค่อยรู้จักชื่อ รายละเอียดของเมฆอย่างเราคะ ^^

สวัสดีคะ คุณPhornphon : ไม่เคยเห็นมาก่อนเช่นกันคะ เห็นอาจารย์ชิวบอกว่า เมฆชุดนี้เป็น Talk of the Town เลยนะคะ ถือว่าโชคดีมากๆ คะที่จับภาพไว้ได้ ..

สวัสดีคะ อาจารย์ธนิตย์ สุวรรณเจริญ : แปลกตาสุดๆ เลยหล่ะคะ และอาจารย์ชิวท่านได้ให้ความกรุณาเพิ่มเติมข้อมูลของ หมวกเมฆ ที่บันทึกนี้ของอาจารย์คะ >> http://gotoknow.org/blog/weather/362830

สวัสดีคะ คุณnaree suwan : ขอบพระคุณคะ และใช่เลยคะมีคนรักเมฆทั้งหลายถ่ายภาพชุดนี้ได้หลายท่านเลย ลองเข้าไปชมที่ชมรมคนรักมวลเมฆ สาขา Facebook [คลิ๊ก] นะคะ ...

สวัสดีคะ คุณ♥paula .`๏'- ที่ปรึกษาตัวน้อย.`๏'- : ขอบคุณคะ เผอิญมากๆ เลยคะที่ได้ภาพสวยๆ ชุดนี้มา แต่ตั้งใจบันทึกภาพนะคะ ยิงมาเยอะเลย =)

ยินดีคะ คุณมาตายี แนะนำข้อมูลเพิ่มเติมของอาจารย์ ดร.บัญชา อย่างละเอียดมากขึ้นได้ที่นี่เลยคะ >> http://gotoknow.org/blog/weather/362830

สวัสดีครับ คุณณัฐพัชร์

         ขอบคุณมากเลยครับที่จัดทำบันทึกนี้ไว้อ้างอิง เรื่องนี้ผมนำไปเขียนลง นสพ. แล้ว

         ตอนนี้ผมกำล้งรวบรวม "ข้อมูลดิบ" คือภาพเมฆชุดนี้จากที่ต่างๆ อยู่ที่นี่ครับ

         http://portal.in.th/cloud-lover/pages/sky-wonder-june-2-2010/


         สำหรับภาพที่คุณณัฐพัชร์บันทึกได้นั้น อยู่ในชุดที่ 4 ครับ จะเห็นว่าทุกคนแถวๆ นั้นจะได้ภาพมุมสูงคล้ายกัน แสดงว่าเมฆน่าจะอยู่แถวๆ นครปฐมนั่นเอง

         พอจำได้ไหมครับว่า เมฆอยู่ทางทิศไหนของพุทธมณฑล คือ ผมกับเพื่อนๆ กำลังหาพิกัดที่เกิดเมฆก้อนนี้อยู่ครับ

ขอบคุณมากครับ

ปล. คำอธิบายการเกิดหมวกเมฆ (pileus) นี่ผมปรับแก้แล้ว คำอธิบายเดิมดูเหมือนว่าจะมีข้อโต้แย้งอยู่ ลองดูคำอธิบายใหม่ที่นี่ : http://gotoknow.org/blog/weather/187471

      สำหรับการเกิดสีรุ้งในเมฆ (irisation) ดูได้ที่นี่ครับ : http://gotoknow.org/blog/weather/188946

สวัสดีครับคุณณัฐพัชร์

  • ขอบคุณมากครับที่นำภาพแปลกๆมาให้ดู
  • เกิดมาก็หลายปีแล้ว มัวแต่ก้มหน้ามองดิน
  • ยอมรับครับว่าไม่เคยเห็น
  • เห็นชื่อบันทึกก็นึกว่าท้องฟ้าธรรมดาๆ
  • ขอบคุณอีกครั้งครับ

สวัสดีคะ อาจารย์ชิว

  • ขอบพระคุณสำหรับชุดความรู้เรื่องเมฆต่างๆ ได้ความรู้มากมายเลยคะ ..
  • ติดตามอ่านบันทึกของชมรมคนรักมวลเมฆของอาจารย์เกือบจะทุกรูปแบบแล้วคะ รวมทั้งเฟสบุ๊คด้วยหล่ะคะ =)

สวัสดีคะ คุณประหยัด ช่วยงาน : เป็นปรากฏการณ์ที่แปลกตามากๆ คะ ถ้าชื่นชอบ และหลงรักมวลเมฆเหมือนกัน ก็สามารถแวะเข้าไปจอยกันได้ที่บันทึกคนรักมวลเมฆ ของอาจารย์ ดร.บัญชา บุญธนสมบัติ ได้เลยนะคะ ... ขอบคุณคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท