บทสรุป “ฝ่าวิกฤตด้วยธุรกิจคุณธรรม” (ตอนที่ 3 )


เราพยายามจะทำสนับสนุนคนดี สร้างคนดีแล้วทำให้องค์กรมีความสุข เมื่อมีความสุขเขาก็สร้างสมความดีกับบ้านเกิดและรับผิดชอบในสิ่งที่ตัวเองทำในโรงงานเหมือนมีความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย

หลังจากที่เราได้เรียนรู้แนวความคิดของ 5 องค์กรที่เข้ามาในเวทีแลกเปลี่ยนนี้อันได้แก่ 

  1. โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล
  2. บริษัท สแปนชั่น (ประเทศไทย) จำกัด
  3. บริษัท PC product international        
  4. บริษัท เอ็นโคเค พรีซิซั่น คอมโพเนนท์(ประเทศไทย) จำกัด
  5. บริษัท เค ที เอ็ม สตรีท จำกัด 

บทสรุป “ฝ่าวิกฤตด้วยธุรกิจคุณธรรม” (ตอนที่ 1 ) และ บทสรุป “ฝ่าวิกฤตด้วยธุรกิจคุณธรรม” (ตอนที่ 2 )

 

     และในตอนนี้เราจะได้เรียนรู้ในประเด็นของ Happy 8 จากมุมมองจากผู้แทนจากสถานประกอบการต่างๆ ไม่ว่าจะ NGO หรือ บริษัทเอกชน โรงพยาบาล เป็นต้น ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น  เราคือค้าปลีก  เซ็นทรัลกรุ๊ปทำสมุดบัญชีแจกพนักงานทุกคน บางที่เขาอาจจะไม่รู้ว่าสิ่งไหนคือค่าใช้จ่ายที่จำเป็น เราก็สอนเขาแล้วสามเดือนมาดูจะรู้เลยว่าอันไหนเป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นหรือไม่จำเป็น เขาจะลดได้ด้วยตัวเขาเอง  แต่ถ้าเกินสามเดือนแล้วทำไม่ได้แสดงว่าคนนั้นสมัครใจจน

            เราปลูกฝังเรื่องการให้กับพนักงาน เช่น การให้เลือด ตอนนี้เราทำ MOU กับสภากาชาดแล้ว เราทำตรงนี้ให้เห็นว่าเราพร้อมที่จะให้ วันนึงหากพนักงานมีปัญหาพ่อแม่ป่วยเราก็สามารถระดมคนของเราให้ได้โดยไม่ต้องไปซื้อที่ไหน  ถ้าไม่มีเลือดก็ให้ส่งรถมารับเราพร้อมจะไป เราโชคดีที่มีหลายสาขาซึ่งสะดวก 

คุณเปรมจิตร  ทวี   ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล 

บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด

 

            สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในภาคอุตสาหกรรมคือการใช้พลังงานซึ่งประเทศเราใช้เยอะแต่เป็นพลังงานนำเข้า เราใช้ไม่ประหยัด ในการทำงานเราคิดเรื่องต้นทุนคือ energy หาทางให้พนักงานเสนอไอเดียปรับปรุงวิธีการทำงานอย่างไรให้ประหยัดพลังงาน  ตรงนี้เป็นสิ่งที่ภาครัฐต้องเข้ามาช่วยสนับสนุน เพราะในภาคเอกชนทำผลผลิตให้ได้ดีที่สุด ขณะนั้นต้องการ cost แต่ขาดความรู้ตรงนี้ควรสนับสนุน          การประหยัดพลังงานสามารถบรรจุได้เป็นนโยบายที่จะทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น รัฐบาลควรเข้ามามีส่วนร่วมและทำให้ภาคเอกชนมีสุข ส่วนที่ได้ win-win ทั้งหมด

คุณสมหวัง  ถุงสุวรรณ   ผู้จัดการโรงงาน

บริษัท เทยิน (ประเทศไทย) จำกัด

           นอกจากนี้ยังมีบริษัท เอเชีย พรีซิสชั่น ที่พยายามจะทำสนับสนุนคนดี สร้างคนดีแล้วทำให้องค์กรมีความสุข เมื่อมีความสุขเขาก็สร้างสมความดีกับบ้านเกิดและรับผิดชอบในสิ่งที่ตัวเองทำในโรงงานเหมือนมีความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย  ทุกองค์กรทำเรื่องความสุขในองค์กรแต่ผลมันไปถึงคุณธรรมที่ทำให้กับคนในโรงงานกับระดับผลผลิตที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมแล้วขยายไปถึงสังคมชุมชนโดยรวมด้วย 

ดังนั้นสิ่งที่หลายองค์กรนำเสนอมาเป็นประเด็นทั้งจากรวบรวมจากหลาย ๆ เวทีและจากที่หลายท่านได้แสดงความคิดเข้ามาล่วงหน้าก่อนเราจะจัดเวที บางประเด็นก็อาจมีการกล่าวถึงเล็กน้อย ความคิดของแต่ละท่านอาจมองจากมุมที่ท่านได้ทำงานอยู่  คณะผู้จัดได้ใช้เวลารวบรวมความคิดเห็นเปิดกว้างมากขึ้น จึงจะมีบัตรแสดงความคิดเห็นในการกำหนดข้อเสนอ มาตรการหรือนโยบายที่หน่วยงานรัฐน่าจะเข้ามาสนับสนุนแนวคิดเหล่านี้เพื่อจะขยายผลให้กว้างมากขึ้น  จุดเดียวที่ท่านคิดว่าสำคัญที่สุดเสนอมา

โดยมีการปรับและยืดหยุ่นตามสภาพการณ์ในห้องประชุม สารสนเทศจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้รอบแรก และการเขียนบัตรแสดงความคิดเห็นในการกำหนดข้อเสนอ มาตรการหรือนโยบายที่หน่วยงานรัฐน่าจะเข้ามาสนับสนุนแนวคิดเหล่านี้เพื่อจะขยายผลให้กว้างมากขึ้น  ได้ประเด็นข้อเสนอเชิงมาตรการ/นโยบาย เพื่อผลักดัน การสร้างสุขในองค์กร รวมทั้งสิ้น 15 ข้อ ดังนี้

·         ช่วยเหลือสังคม ทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม

·         การมีจิตสำนึกที่ดีงาม

·         การสร้างจิตสำนึกในการอยู่ร่วมกัน

·         สิทธิมนุษยชน

·         การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

·         ความรับผิดชอบต่อองค์กรและสังคม

·         ความจงรักภักดีต่อองค์กร

·         การศึกษา

·         การมีส่วนร่วมในองค์กร

·         การมีระเบียบวินัย

·         ความปลอดภัยในองค์กร

·         สวัสดิการของพนักงาน

·         ความยุติธรรมในค่าจ้างแรงงาน

·         สุขภาพพลานามัย

·         Happy 8

หลังจากรอบแรกได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นเรื่อง Corporate Social Responsibility (CSR) ความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อร่างประเด็นสำคัญ การสร้างสุขในองค์กร เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของพนักงานในองค์กรและพัฒนาความเป็นอยู่ของสังคมไทยให้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถสร้างกระแสการรับรู้ในการช่วยเหลือผู้อื่น และสังคมในหมู่พนักงาน ตลอดจนขยายผลสู่สังคมภายนอก รวมทั้งสร้างแรงบันดาลใจและเป็นแรงผลักดันพนักงาน ชุมชน เพื่อสร้างสรรค์สิ่งดีๆให้สังคม โดยการแลกเปลี่ยนเปลี่ยนเรียนรู้และร่วมแสดงความคิดเห็นในรอบที่สองนี้ สาระสำคัญที่ได้มี 2 ประเด็นหลัก คือ Happy 8 และ การมีจิตสำนึก วิทยากรกระบวนการ (อ.อธิวัฒน์ เจี่ยวิวรรธน์กุล และ อ.ดวงเนตร ธรรมกุล) ได้เชิญชวนให้ผู้ร่วมเวทีได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อประเด็นหลักทั้งสองประเด็นนี้ ก่อนที่จะสรุปในขั้นต่อไป ได้มีผู้ร่วมเวทีได้แสดงความคิดเห็นต่อประเด็น Happy 8 ไว้ดังนี้

ที่เลือก happy 8 เพราะคิดว่าอันนี้จะเป็นศูนย์รวมของความสุขของคน ๆ นึงแล้วต้องมี 8 ประการนี้และคิดว่ารัฐบาลจะเข้ามามีส่วนช่วยสนับสนุน เช่น ที่มีแล้วคือประกันสังคมที่ส่งเสริมอยู่แล้วในเรื่องความสุข  การพัฒนาฝีมือแรงงานก็เป็นอีกนโยบายหนึ่งที่เข้ามามีส่วนร่วมกับภาคองค์กรให้มีส่วนช่วยพัฒนาคนในองค์กร แต่สองอย่างนี้ก็ยังไม่ครอบคลุมทั้งหมด ยังมีเรื่องอื่นอีกที่น่าทำเป็นนโยบายเหมือน 2 ข้อนี้ที่กำหนดเป็นวิธีการ หลักการที่ชัดเจนว่าแต่ละองค์กรน่าจะมีนโยบายในการส่งเสริมความสุขของพนักงานให้ครบ 8 ประการนี้เพราะว่าเชื่อว่า happy 8 ที่สำรวจมาแล้วเป็นทั้งหมดของความสุขในชีวิตคน ๆ นึงน่าจะมีอย่างอื่นที่จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนได้แต่ขอ comment เรื่องวิธีการและหลักการว่าบางทีช่วยทำให้มันชัดเจนและง่ายต่อการที่ภาคเอกชนจะนำไปปฏิบัติเพราะถ้ายากเกินไปก็จะเกิดภาวะกระทบอีกอย่างมากมายและทำให้ประสบความสำเร็จยาก  จริง ๆ แล้วพอมีนโยบายที่ส่งเสริมเรื่อง happy 8 ทั้งหมดแล้วถ้าเอกชนหรือองค์กรต่าง ๆ ทำได้ มีกิจกรรมมีอย่างอื่นที่สนับสนุนให้เกิดความสุขทั้งหมด 8 ด้านแล้วคนในองค์กรมีความสุขผลพลอยได้จะกลับเข้าสู่เจ้าของกิจกรรมหรือว่าองค์กรนั้น ๆ อยู่แล้วเป็นผลรวมไปถึงประเทศชาติ ถ้ามีนโยบายที่ชัดเจนเข้าไปสนับสนุนให้องค์กรทำเป็นแผนว่าแต่ละปีจะส่งเสริม happy 8 อย่างไรให้เกิดกับคนในองค์กรเชื่อว่าคนในประเทศเกิดความสุขได้แน่นอนถ้าได้รับการดูแลแบบนี้

พี่ติ้ง

 

            เป็นองค์กรของภาคเอกชนที่ทำกับเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 18 ปี ทำเรื่องที่ให้บริการเด็กที่ถูกละเมิดทั้งหมดที่เกี่ยวกับการใช้ความรุนแรง เราฟื้นฟูดูแลเด็กและหาครอบครัวทดแทนให้ อีกอย่างคือเน้นเรื่องการสร้างภูมิคุ้มกันให้ครอบครัวให้ครอบครัวมีความรู้ ทักษะในการใช้ความรุนแรงและให้เด็กมีทักษะที่จะทำไงไม่ให้ตัวเองถูกละเมิดด้วย ทำไงให้ชุมชนเข้ามาป้องกันปัญหาให้ชุมชนเข้มแข็ง และทำงานกับโรงเรียนให้มีระบบจัดความปลอดภัยให้ ดูแลเด็กในประเทศไทยและแถบลุ่มแม่น้ำโขง ตัวเองสนับสนุนเรื่อง happy 8 และจิตสำนึกต่อส่วนรวม มี 8 ข้อก็จริงแต่มีอันนึงที่เป็นเฉพาะตัวบุคคล เป็น happy family and happy social มองว่า happy 8 ค่อนข้างจะสมบูรณ์คือเป็นแต่ละตัวบุคคลและเชื่อมโยงไปที่ครอบครัว ถ้ามองจริง ๆ ครอบครัวสำคัญที่สุดและคิดว่าน่าจะเป็นกิจกรรม เข้าใจว่าในภาคธุรกิจเองได้ทำแล้วในเรื่องสุขภาวะของคนในองค์กร คิดว่าทำเรื่องครอบครัวด้วย  เราจะทำยังไงให้ครอบครัวอบอุ่น 

            ในธุรกิจมีครอบครัวที่มีปัญหามากมายไม่ต่างกัน เราได้มาทำโครงการที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตและครอบครัวซึ่งร่วมมือกับบริษัทต่าง ๆ อยากให้เกิดเป็นโครงการนำร่อง รัฐบาลควรเข้ามาสนับสนุนด้วยเพราะคิดว่าน่าจะเป็นแบบอย่างที่ร่วมมือกัน

คุณมานิตย์  ขันทา   ผู้ช่วยผู้อำนวยการบริหาร

มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก

 

            “happy 8 ครอบคลุมอยู่แล้ว ในเรื่องของ ปตท.เคมิคอล เราใช้เครื่องมือวัดของ MSQWL หรือ Management System of Quality Work Life เขา group จาก 8 เหลือ 4 ด้าน จะทำยังไงที่จะเอาของ 2 งานมารวมกันและไปด้วยกันเพราะว่าไปด้วยกันจะได้ภาพที่ดีและตอบโจทย์ว่าภาคธุรกิจและภาครัฐทำไปเพื่ออะไร happy 8 เป็นภาพลอย ๆ แต่เรามีเครื่องมือวัด ซึ่งสุดท้ายจะลงไปที่ CSR  เรานำ MSQWL มาประเมินและทำโครงการที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น

คุณปรีชา  ปลื้มจิตต์

ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล (ผู้ชำนาญการ)

บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)

 

            การสร้างสุขผมเชื่อว่าองค์กรเขาพยายามทำด้วยตัวเองอยู่แล้วซึ่งแต่ละที่ก็มีหลายวิธี บ้านเราจะเน้นรางวัลในเชิงความสุขยังน้อยอยู่  ผมเคยเห็นรางวัลของต่างประเทศที่บริษัทที่คนอยากทำงานด้วยมันมีมิติของความสุขอยู่ด้วย ใน criteria จะมีเรื่องของ productivity เป็นตัวถ่วงดุลอยู่ด้วยแต่ว่าเช็คเรื่องความสุขของคนด้วย และใช้รางวัลเป็นกุศโลบายในการเคลื่อนสังคมใช้เป็นตัวกระตุ้น แต่ว่ารางวัลไม่ได้ออกไปในโทนการแข่งขันแต่ใช้เพื่อการ share กันระหว่างสังคม และรางวัลก็สามารถเอาไป return เป็นอะไรซักอย่าง

คุณธวัช หมัดเต๊ะ  สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม

 

            จาก รพ.ธนบุรี happy 8 เป็นสุดยอดของภาพรวมแล้วและที่สำคัญคือ happy 8 ดีตรงไม่ต้องมี protocol  ไม่ว่าองค์กรจะเล็กหรือใหญ่สามารถเอาไปใช้ได้หมดตามอัตถภาพของคุณ ต้องตอบโจทย์ตัวเองได้ว่าสุขของคุณอยู่ตรงไหน แต่ถ้า QWL มันต้องมีมาตรฐานมีอะไรมารับรองมีมากดดัน ที่เน้นคือสร้างจิตสำนึกถ้ามีข้อนี้ happy 8 ก็สำเร็จ และถ้ามองไปถึงมาตรการและนำไปสู่สมัชชาระดับชาติคือ สมมติบริษัทตัวเองอยู่ในเขตบางกอกน้อย ในบางกอกน้อยเองเขาทราบไหมว่าเขามี community ที่ทำงานบริการและทำเพื่อสังคมกี่แห่ง ผู้นำของเขตต้องตอบได้ว่าหากมี 20 แห่ง 18 แห่งเขามีความสุขอะไรบ้างและยังขาดอะไรเขาจะได้ตอบสนองได้ถูก  เพราะฉะนั้นนโยบายของรัฐต้องมาเอื้อและเชื่อมโยง ทุกวันนี้มองว่าต่างคนต่างทำใช้ tool คนละตัว แต่จริง ๆ เป้าหมายของชาติคือต้องการให้คนมีความสุข เมื่อมีความสุขการเจ็บป่วยก็ไม่เกิด ขโมยก็ไม่เกิด จะไปเชื่อมโยงกับการบริหารระดับชาติ  happy 8 สามารถจับต้องได้ด้วยตัวคุณเองในทุก ๆ ระดับอยู่แล้ว แต่ตัวแรกยังต้องใช้กลไกที่มาเชื่อมโยงอย่างชัดเจนและมีโจทย์ ผลลัพธ์ออกมาได้

คุณนงลักษณ์  ยาจันทร์ ผู้จัดการฝ่ายเคหบริการ

         โรงพยาบาลธนบุรี จำกัด(มหาชน)

 

ส่วนผู้ที่เลือกประเด็นจิตสำนึก คือ คุณพรทิพา ประดิษฐ์สุขถาวร จากบริษัทพานาโซนิค ได้กล่าวไว้น่าสนใจดังนี้

 

            เราหันมาดูเรื่องศีลธรรมและจิตสำนึกในการทำงานในองค์กรถือว่าดีมาก อยากพูดถึงแนวทางการบริหารแบบโคโนสุเกะ มัตสึชิตะ  ถ้าใครอยู่ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิคส์แล้วต้องรู้จักแน่นอน ซึ่งผู้ก่อตั้งท่านเขียนบทความมากมายเรื่องความสุขในองค์กร  ท่านให้แนวปรัชญาในการบริหารว่าให้เลือกคนดี เพราะฉะนั้นที่พานาโซนิคเราใครที่เรียนมาจบเกรดเฉลี่ยน้อยแต่ทำงานได้ดีมากมีเยอะ  เรามีแบบสอบถามว่ามีความคิดอย่างไรในเรื่องความดี เราจะมีปรัชญา 7 ประการเขียนไว้หน้าโรงงานว่าทุกคนต้องมีจิตสำนึกช่วยเหลือสังคม เราบอกพนักงานทุกคน เราสอนเขาตั้งแต่วันแรกที่ก้าวเข้ามาทำงานกับเรา

ทุกกิจกรรมเราให้เขาทำหมดแม้แต่กิจกรรมการสร้างความสุขพนักงานทำกันเอง เราเพียงแต่วางนโยบายให้รางวัลและให้เงิน แต่ความคิดสร้างสรรค์มาจากพนักงานเองโดยเราแบ่งออกเป็นแผนกซึ่งต้องคัดเลือกส่งตัวแทนเลือกโดยพนักงานเอง ตอนนี้ตัวแทนเป็น 50/1 แผนก เขาจะเป็นคณะกรรมการเราเรียกว่า PHP มาจากญี่ปุ่นเลย เราตั้งเป็นปรัชญาเน้นเรื่องคุณธรรม  คณะกรรมการเลือกตัวแทนเข้ามาและประชุมเดือนละครั้ง เราแบ่งออกเป็นระดับ ๆ ไปเพราะฉะนั้นทุกคนสามารถ share กันได้หมดว่าเขามีความทุกข์ร้อนอะไร เราจะเข้าไปเสริมช่วยและคนที่เป็นตัวแทนจะได้เงิน ตัวแทนจะต้อง active มากในเรื่องการหาข้อมูล การนำเสนอหรือรับทำข้อเสนอแนะผ่านมาถึงตัวดิฉัน เราจะมีข่าวพนักงานตลอดและช่วยเหลือตลอด 

เราไม่เคยมีนโยบายปลดหรือลดพนักงาน พนักงานอยู่ต่อสู้กับบริษัทเกิดจากการสร้างความสุขในองค์กรสำคัญมากเลย  เราบอกว่าทุกคนต้องมีจิตสำนึกในการช่วยเหลือสังคมและบริษัทก็ตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นอุตสาหกรรมเพื่อช่วยเหลือประเทศชาติและสังคม นี่คือปณิธาน มีความสามัคคี ความกตัญญู การพัฒนาตัวเองเพื่อความก้าวหน้าของตัวเองและบริษัท  ความเคารพซึ่งกันและกัน ความซื่อสัตย์ และการเสียสละ  ทำเป็นวัฒนธรรมองค์กรมาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการสร้างความสุขผู้บริหารต้องมีแนวทางให้และจัดให้เป็นระบบ ตั้งแต่ทำมาทำแล้วดีตลอด  คิดว่าอยากให้ทำเป็นคณะกรรมการและทุกคนมีส่วนร่วมเรื่องความคิดสร้างสรรค์และเสนอแนะ ถ้าเสนอแนะภายใน division ได้ก็ทำเองถ้าทำไม่ได้ต้องใช้เงินก็ที่แผนก ถ้าไม่ได้อีกก็ส่งไปที่บริษัท เช่น เรามีสวัสดิการเงินกู้ฉุกเฉิน ซึ่งดีมาก  happy 8 หรือการมีจิตสำนึกเราต้องบอกพนักงานต้องสื่อสารให้พนักงาน ควรทำให้เป็นกิจวัตร ต่อเนื่อง ยั่งยืนแล้วบริษัทเราจะอยู่ได้อย่างมีความสุข

อยากขอให้รัฐบาลเน้นเรื่องการศึกษา จัดระบบการศึกษาแบบสร้างคุณธรรมมากกว่าไปแข่งขันจนมากเกินไป  จะเห็นว่าเด็กสมัยนี้ไม่อดทน ไม่ขยัน

จริง ๆ แล้วทั้งสองแนวทางเป็นแนวทางเดียวกัน เพียงแต่วันนี้เราจะมองว่าอันไหนควรเป็น priority first  ตัวเองมองว่าถ้า happy 8 เป็นรูปธรรมประเมินผล วัดได้  แต่ถ้าในเรื่องจิตสำนึกประเมินยาก และต้องทำต่อยอดต่อเนื่องจากรัฐมาสู่ชุมชน จากชุมชนสู่สถาบัน สถาบันสู่บุคคลต้องทำเป็นนโยบายรัฐมากกว่า  แต่ในแง่ของ happy 8 คุณโคโนสุเกะเน้นมาก ที่ตัวเองทำงานมาได้จนใกล้เกษียณเพราะถือหลักปรัชญาของคุณคนนี้ เราทำงานแบบมีความสุขก็ดูแลลูกน้องอย่างมีความสุข

                                                                            โปรดติดตามต่อไป       

หมายเลขบันทึก: 293882เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2009 12:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 16:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท