HRM และ HRD คืออะไร


คำว่า HRM ย่อมาจากคำว่า Human Resource Management หมายถึง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในสถานประกอบการ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการวางแผน การกำหนดคุณลักษณะ และคุณสมบัติของประชากร เริ่มตั้งแต่เกิดจนตาย ส่วน HRD ย่อมาจากคำว่า Human Resource Development หมายถึง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นการเพิ่มพูนคุณสมบัติที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ โดยใช้กลวิธีต่าง ๆ

HRM  และ  HRD   คืออะไร

 

ในยุคปัจจุบันเรามักได้ยินคนพูดถึงคำว่า  HRM   กับ  HRD  อยู่บ่อยครั้ง  ทำให้ดิฉันเกิดความสงสัยว่า  คำสองคำนี้หมายถึงอะไร  แตกต่างกันอย่างไร  มีความสำคัญอย่างไร   และเกี่ยวข้องอะไรกับเราบ้าง    จึงได้ลองศึกษาหาข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ  พอสรุปได้ดังนี้

คำว่า  HRM  ย่อมาจากคำว่า  Human  Resource  Management   หมายถึง  การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในสถานประกอบการ  เป็นเรื่องเกี่ยวกับการวางแผน  การกำหนดคุณลักษณะ   และคุณสมบัติของประชากร  เริ่มตั้งแต่เกิดจนตาย  หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ  องค์การต้องดูแลรักษา  ใช้งาน  และให้ประโยชน์แก่ทรัพยากรมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตาย  คือก่อนเข้าทำงาน  และหลังพ้นจากงาน  เป็นภารกิจขององค์การนั่นเอง

 

หน้าที่ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์  ( HRM )   ในสถานประกอบการ    มีดังนี้

                1.  กำหนดกลยุทธ์ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์   ( HRM  Strategy )

                2.  วางแผนเกี่ยวกับกำลังคน หรือ การวางแผนทรัพยากรมนุษย์   ( HR Plainning )

                3.  สรรหา  คัดเลือก  บรรจุแต่งตั้งบุคคล   ( Recuitment + Selection  and  Placement )  ถือว่าเป็นกระบวนการจัดหาบุคคลเข้ามาในองค์การ  ( Procurement )

                4.  การฝึกอบรมและการพัฒนา  ( Human  Resource  Training  and  Development )

                5.  ประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร  ( Performance  Appraisal )

                6.  จัดการบริหารค่าตอบแทน  สวัสดิการและผลประโยชน์  ( Compensation , Benefit  and Service )

                7.  ดำเนินการเกี่ยวกับระเบียบวินัย  ( Discipline )

                8.  ดูแลด้านสุขภาพและความปลอดภัย  ( Safety  and  Health )

                9.  ส่งเสริมเรื่องแรงงานสัมพันธ์  ( Labour  Relation )

                10.  รับผิดชอบดูแลระบบข้อมูล  การตรวจสอบ  และการวิจัยทรัพยากรมนุษย์

 

                ส่วน  HRD  ย่อมาจากคำว่า    Human  Resource  Development     หมายถึง  การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์   เป็นการเพิ่มพูนคุณสมบัติที่มีอยู่ในตัวมนุษย์  โดยใช้กลวิธีต่าง ๆ  เช่น  ฝึกอบรม   ฝึกปฏิบัติการ  ศึกษาดูงาน  ฯลฯ    ถ้าดูจากหน้าที่ของ  HRM  ดังข้อความข้างต้นแล้ว  จะพบว่า  HRD  อยู่ในข้อ  4    ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง หรือเรียกว่าเป็นเพียงส่วนย่อยของ  HRM  เท่านั้น

 

 

คำสำคัญ (Tags): #hrm และ hrd คืออะไร
หมายเลขบันทึก: 281757เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2009 11:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 16:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

เข้าใจ HRM และ HRD มากยิ่งขึ้นขอบคุณค่ะ

เยี่ยมเลยค่ะ เข้าใจ HRM และ HRD มากขึ้น วันหลังสรุปให้น้องๆได้เรียนรู้อีกนะคะ ขอบคุณคะ

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ให้กำลังใจ และร่วมแสดงความคิดเห็น ยินดีที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทุก ๆ ท่านค่ะ

ท่านเทือง นักวิชาการ....จ๋าเชียวนะ

ขอบคุณค่ะพี่แอ๊ว จะถือว่าเป็นคำชมนะคะ

ขอบคุณครับ

เยี่ยมมากครับ

แสดงว่างานที่ผมทำ

เป็นแค่ 1 ใน 10 ของงานบุคคล

โฮ่ คนบุคคลนี่งานเยอะจังนะครับ

ขอยคุณคุณ ทส และคุณทวีวัฒน์ จิตติเวทย์กุล ที่แวะมาเยี่ยมชม ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ

ขอบคุณมากค่ะที่อธิบายความหมาย HRM เเละHRD ไว้อย่างละเอียดเเละเข้าใจง่ายค่ะ

อยากทราบวิธีการพัฒนาบุคคลากรในหน่วยงานอะค่ะ อย่างเช่นโรงพยาบาลเป็นต้น คือไม่รู้จะเริ่มต้นยังไดค่ะ

สวัสดี ครับ

มารับความรู้ที่กำลังอยู่ในสังคมคนทำงาน ขณะนี้

ขอบพระคุณ ครับ

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development)

คำจำกัดความของ “ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ”

มนุษย์ คือ สัตว์ที่รู้จักใช้เหตุผล สัตว์ที่มีจิตใจสูง ทรัพยากร หมายถึง สิ่งทั้งปวงอันเป็นทรัพย์ ส่วนพัฒนา หมายถึง ทำให้เจริญ (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525) จากความหมายของศัพท์ดังกล่าว สรุปได้ว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คือการทำให้มนุษย์เจริญ มีศักยภาพมากขึ้นจนกลายเป็นทรัพยากรที่มีค่าในสังคมและในประเทศ

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง กระบวนการดำเนินงานที่ส่งเสริมให้ บุคลากรเพิ่มความรู้ และทักษะ มีพฤติกรรมการทำงานที่เหมาะสมกับงานที่รับผิดชอบ ซึ่งเป็นการเพิ่มศักยภาพของบุคลากรให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หลายๆ คนมักจะมีคำถามกับคำว่า "การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์(Human Resources Development)" มีความสำคัญต่อการบริหารจัดการต่างๆ ในองค์การอย่างไร ก่อนอื่นต้องมาดูคำจัดกัดความของกูรู ต่างๆ ดังนี้

Swanson (1995) ให้ความหมายว่าเป็นกระบวนการของการพัฒนาและการทําใหบุคลากรได้แสดงความเชี่ยวชาญ (Expertise) โดยใชการพัฒนาองค์การ การฝึกอบรมบุคคลและพัฒนาบุคคลโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงการปฏิบัติงาน

Rothwell and Sredl (1992) ใหความหมายว่า เป็นการจัดประสบการณการเรียนรู้ขององค์การ(Organizational Learning) โดยนายจ้างเป็นผู้รับผิดชอบ เพื่อจุดประสงค์ในการปรับปรุงการทํางานซึ่งเน้นการทําให้บุคลากรทํางานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยการบูรณาการเป้าหมายขององค์การและความต้องการของบุคคลให้สอดรับกัน

หลักการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นการนำศักยภาพของแต่ละบุคคลมาใช้ ในการปฏิบัติงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสร้างให้แต่ละบุคคลเกิดทัศนคติที่ดีต่อองค์การ ตลอดจนเกิดความตระหนักในคุณค่าของตนเอง เพื่อนร่วมงานและองค์การ เมื่อพิจารณา

1. มนุษย์ทุกคนมีศักยภาพที่สามารถพัฒนาให้เพิ่มพูนขึ้นได้ ทั้งด้านความรู้ ด้าน ทักษะและเจตคติ ถ้าหากมีแรงจูงใจที่ดีพอ

2. การพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ควรเป็นกระบวนการต่อเนื่อง ตั้งแต่การสรรหา การคัดเลือก นำมาสู่การพัฒนาในระบบขององค์การ

3. วิธีการในการพัฒนาทรัพยากรมีหลายวิธี จะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะขององค์การ และบุคลากร

4. จัดให้มีระบบการประเมินการพัฒนาความสามารถของบุคลากรเป็นระยะ ๆ เพื่อช่วยแก้ไขบุคลากรบางกลุ่ม ให้พัฒนาความสามารถเพิ่มขึ้นและในขณะเดียวกันก็ สนับสนุน ให้ผู้มีขีดความสามารถสูงได้ก้าวหน้าไปสู่ตำแหน่งใหม่ที่ต้องใช้ ความสามารถสูงขึ้น

5. องค์การจะต้องจัดระบบทะเบียนบุคลากรให้เป็นปัจจุบัน ที่สามารถ ตรวจสอบความก้าวหน้าได้เป็นรายบุคคล

********************************************

แนวความคิดของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1 ให้นิยามการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ว่า หมายถึง การดำเนินการให้ บุคคลได้รับประสบการณ์และการเรียนรู้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อที่จะนำเอามา ปรับปรุงความสามารถในการทำงานโดยวิธีการ 3 ประการ คือ

1. การฝึกอบรม (training) เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ โดยมุ่งเน้น เกี่ยวกับงานที่ปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน (present job) เป้าหมาย คือการยกระดับความรู้ ความสามารถ ทักษะ ของพนักงานในขณะนั้น ให้สามารถทำงานในตำแหน่งนั้นๆได้ ซึ่ง ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมไปแล้วสามารถนำความรู้ไปใช้ได้ทันที

2. การศึกษา (education) เป็นวิธีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยตรง เพราะ การให้การศึกษาเป็นการเพิ่มพูนความรู้ทักษะ ทัศนคติ ตลอดจนเสริมสร้างความสามารถ ในการปรับตัวในทุกๆด้านให้กับบุคคล โดยมุ่งเน้นเกี่ยวกับงานของพนักงานในอนาคต (future job) เพื่อเตรียมพนักงานให้มีความพร้อมที่จะทำงานตามความต้องการของ องค์กรในอนาคต

3. การพัฒนา (development) เป็นกระบวนการปรับปรุงองค์กรให้มี ประสิทธิภาพ เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ไม่ได้มุ่งตัวงาน (not focus on a job) แต่มีจุดเน้น ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามที่องค์กรต้องการ และพร้อมที่จะปฏิบัติงานกับองค์กรใน อนาคต เพื่อให้สอดคล้องกับเทคโนโลยี รวมทั้งสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่าง รวดเร็ว

********************************************

กลุ่มที่ 2 ให้นิยามการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ว่า หมายถึง การนำกิจกรรมที่มีการ กำหนดและวางรูปแบบอย่างเป็นระบบเพื่อใช้เพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความสามารถ และ ปรับปรุงพฤติกรรมของพนักงานให้ดีขึ้น โดยมุ่งเน้นการพัฒนาใน 3 ส่วน คือ

1. การพัฒนาบุคคล (Individual Development)

2. การพัฒนาสายอาชีพ (Career Development)

3. การพัฒนา องค์การ (Organization Development)

โดยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะเกิดได้จากการนำเป้าหมายของบุคคล ซึ่งต้องให้ได้มาซี่งเป้าหมายของแต่ละคน เพื่อให้สอดรับกับเป้าหมายขององค์การที่ต้องการบุคคลากรประเภทใดทั้งในระยะ สั้น ระยะกลาง และระยะยาว โดยการนำการพัฒนาสายงานอาชีพเป็นตัวเชื่อมเป้าหมายของบุคคล กับเป้าหมายขององค์การนั้น

********************************************

กลุ่มที่ 3 ให้นิยามการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ว่า หมายถึง การที่จะพัฒนาองค์การ ให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ซึ่งเป็นการบูรณาการระหว่างการเรียนรู้และงานเข้าด้วยกัน ซึ่งสามารถนำมารวมกันได้อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบใน 3 ส่วน คือ

1. ระดับบุคคล (Individual)

2. ระดับกลุ่มหรือทีมผู้ปฏิบัติงาน (Work Group or Teams)

3. ระดับระบบ โดยรวม (The System)

ซึ่งกระบวนการเรียนรู้สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

(1) การเรียนรู้จากประสบการณ์ (อดีต)

(2) การเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ ปัจจุบัน

(3) การเรียนรู้เพื่อที่จะเตรียมตัวสำหรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

อันเป็นที่มาของ วินัย 5 ประการ (Disciplines of the Learning Organization) ประกอบด้วย

1. ความเชี่ยวชาญส่วนบุคคล (Personal Mastery)

2. กรอบแนวความคิด (Mental Models)

3. การร่วมวิสัยทัศน์ (Shared Vision)

4. การเรียนรู้ของทีม (Team Learning)

5. การคิดแบบเป็นระบบ(Systems Thinking)

*****************************************************

สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.drpracha.com

เยี่ยมมากเลยครับอาจารย์..เป็นบุญเป็นวิทยาทานจริงๆ

ขอบคุณมากที่ชี้แจงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างสองคำนี้ เข้าใจอะไรมากขึ้น ขอบคุณครับ

ขอบคุณมากค่ะ สำหรับข้อมูลที่น่าสนใจเหล่านี้

ขอบคุณสำหรับความรู้ที่มีให้ครีบ

ขอบคุณมากกนะคะ

ขอบคุณคะเป็นประโยชน์มากเลย

ระบบบริหารการลาออนไลน์

GENiUS Leave Online

- ใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านอินเตอร์เน็ต

- เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และลดต้นทุนขององค์กร

- ไม่ต้องลงทุนเครื่อง Server และ Os ราคาแพง

- จัดเก็บและสำรองข้อมูล ด้วย Microsoft Windows Azure

- รายละเอียดผลิตภัณฑ์ : http://www.genius.in.th/download/genius_in_th/Docu...

สนใจ โทร 0-2575-3959 ลงทะเบียนใช้โปรแกรมฟรี

www.genius-leaveonline.com/master/genius-customerregis/newregister.aspx

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท