โรจน์
นาย โรจนศักดิ์ ทองคำเจริญ

การดูแลแผลกดทับในแบบองค์รวม


"ในหลายครั้งเราได้ลดทอนคุณค่าของชีวิตคนลงเหลือเพียงการดูแลปํญหาทางกายอย่างเดียวเช่น bed sore โดยมองข้างผ่านความเป็นปัจเจกบุคคล เราตั้งคณะกรรมการดูแล pressure sore แต่ผมไม่เคยเห็นการตั้งคณะกรรมการดูแลองค์รวม เราควรมองให้ข้างผ่านไปจนมองเห็นชีวิตมากกว่าจะป้องกัน readmission แต่เพียงอย่างเดียว"

เมื่อวันอังคารและศุกร์ที่ผ่านมา (24 และ 27 มีนาคม 2552) เป็นการอบรมการดูแลผุ้ป่วยที่มีแผลกดทับของคณะกรรมการ bed sore รพ. แม่สอด ฝ่ายการพยาบาลเชิญผมไปพูดเรื่อง discharge planning ในรายที่มีแผล bed sore ตลอดวันมีการบรรยายเช้าถึงเย็น โดยหมอ med ,หมอศัลย์ ,พยาบาล APN เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นวิชาการ

พอผมได้ฟังหัวข้อนี้แล้วถึงกับงงไปพักหนึ่งว่าจะบรรยายอย่างไร? เพราะว่า "เวลาดูผู้ป่วยผมดูทั้งคน ไม่ใช่ดูเฉพาะแผลกดทับ" ผมเลยใช้วิธีเล่าเรื่องการดูแลผู้ป่วยรายหนึ่งให้ที่ประชุมฟัง

เป็นผู้ป่วยมะเร็งไม่ทราบที่มา (CA of unknown origin) ที่มีปัญหาลุกลามไปที่กระดูกสันหลังจนเดินไม่ได้ สามีมาปรึกษาผมว่าจะดูแลภรรยาอย่างไรดี

ผมถามกับที่ประชุมว่า "เป้าหมายการดูแลผู้ป่วยรายนี้คืออะไร?"

พยาบาลท่านหนึ่งตอบว่า "พลิกตัวทุก 2 ชั่วโมง ป้องกัน bed sore " (ตรงตาม theme ของการประชุมเลย :)

ผมตอบว่าเป้าหมายคือ "บำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้กับผู้ป่วยและครอบครัว"

สรุปปัญหาของครอบครัวโดยรวม

1.ปวดขาอย่างรุนแรง

2.ปฏิเสธการป่วยเป็นมะเร็ง

3.โรคประจำตัวเป็นโรคซึมเศร้า  (เป็นก่อนที่จะเป็นมะเร็ง)

4.ห่วงลูกชายคนเดียว

5.สมาชิคครอบครัวมีอาการซึมเศร้าต่อการป่วยของผู้ป่วย

6.แผลกดทับ

7. ทั้งผูก กลั้นปัสสาวะไม่ได้

ผู้ป่วยรายนี้ประเด็นสำคัญที่ทำให้เขาทุกข์มาก มิใช่แผล แต่เป็นการปวดจากมะเร็ง เมื่อปวดมากก็ขยับตัวลำบากทำให้ยากต่อการดูแล ครอบครัวก็ต้องทนดูผู้ป่วยทรมาน เพราะฉะนั้นผู้ป่วยรายนี้ต้องเรียงลำดับการแก้ไขปัญหาที่ทำให้เขาทุกข์มากที่สุดเสียก่อน ส่วน bed sore จะดีขึ้นเมื่อลดปวด ลดเกร็ง

ผู้ป่วยรายนี้เราวางแผนร่วมกับครอบครัว

q   เป้าหมายร่วมกันของ team และ ครอบครัว

          = ผู้ป่วยและครอบครัวทุกข์ทรมานน้อยที่สุด

                = ครอบครัวและ team ร่วมดูแลผู้ป่วย

q   กลยุทธ์

                = พยาบาล PCU ติดตามอาการ 1-2 ครั้ง/สัปดาห์

                = ญาติผู้ป่วยสลับวันกันคุยกับผู้ป่วย

                = สามีประเมินอาการปวด/ลูกชายช่วยทำแผล

                = แพทย์รักษาอาการปวด+ร่วมประเมินเป็นระยะ

 

แต่ละเรื่องมีการแบ่งหน้าที่ช่วยกันดูแลด้วยความรักและห่วงใย สามีช่วยประเมินอาการปวดเป็นแบบ pain score 0-10 มาบอกผมทุกสัปดาห์ ผมก็ปรับยาลดปวดลดเกร็ง พยาบาลช่วยเยี่ยม case ประเมิน/สอนลูกชายทำแผลและรายงานผม  

   

Love4       Love

 ส่วนเรื่องกำลังใจนั้น หายห่วงครับมีพี่สาวมาเยี่ยมทุกวัน (ผู้หญิงที่อยู่ซ้ายมือ)และมีน้องต่ายเพื่อนบ้านสุดฮา(ผู้ชายที่ยืนขวามือ) เขาเรียกตัวเองว่า "ต่าย...อรทัย" ชอบมาร้องเพลงและเต้นให้คนไข้ดูเรียกเสียงฮาได้อย่างมาก (อดีตเขาชอบขับมอเตอร์ไซด์ซิ่ง แต่พอประสบอุบัติเหตุกระทบกระเทือนทางสมองเลยเหลือไม่เท่าเก่า) มีหลานที่น่ารักมาเยี่ยมบ่อยๆ

ผมทิ้งท้ายการบรรยายว่า "ในหลายครั้งเราได้ลดทอนคุณค่าของชีวิตคนลงเหลือเพียงการดูแลปํญหาทางกายอย่างเดียวเช่น bed sore โดยมองข้างผ่านความเป็นปัจเจกบุคคล เราตั้งคณะกรรมการดูแล pressure sore แต่ผมไม่เคยเห็นการตั้งคณะกรรมการดูแลองค์รวม เราควรมองให้ข้างผ่านไปจนมองเห็นชีวิตมากกว่าจะป้องกัน readmission แต่เพียงอย่างเดียว   "

นี่ก็เป็นโอกาสอันดีครั้งหนึ่งที่ผมได้ถ่ายทอดเรื่องราวดี ๆ ให้กับระบบการดูแลมนุษย์โดยมีการเชื่อมโยงระบบบริการปฐมภูมิ กับทุติยภูมิที่มีความสำคัญอย่างยิ่งทำให้เห็นภาพรวม โดยบทบาทที่สำคัญของเวชศาสตร์ครอบครัวคือ "ผู้จัดการสุขภาพอย่างแท้จริงนั่นเอง"

หมายเลขบันทึก: 251510เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2009 14:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:30 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เห็นด้วยกับคุณหมอเป็นอย่างยิ่งค่ะ และขอเป็นกำลังใจด้วยค่ะ

เริ่มอยากถอด.....องค์ความรู้เรื่อง bed sore แล้วครับ

ขอเป็น tacit knowledge เจ๋งๆนะครับ

ขอบคุณครับอาจารย์สิอิฐที่สนใจเรื่องนี้...จริงๆ คงต้องยกความดีให้กับพยาบาลผมที่พวกเธอทำงานร่วมกับชุมชนและครอบครัวได้ดีมากโดยที่พวกเขาหาวิธีกันเอง...ดูเป็นราย case วิธีไม่ตายตัว แต่ outcome ดีมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท