โรจน์
นาย โรจนศักดิ์ ทองคำเจริญ

HA reaccreditation กับงาน Home health care KPI แม่สอด ตอนที่ 2 " 60 cases discharge plan pilot"


 HA reaccreditation กับงาน Home health care KPI แม่สอด ตอนที่ 1 "home health care center"  ต่อจากตอนก่อนเราพูดถึงภาพรวม

ตอนนี้เราจะมาเจาะลึกการพัฒนางาน เราแก้ไขการขึ้นร่วมประเมินร่วมกับหอผู้ป่วยจาก 45% จาก 75% เราเก็บข้อมูลที่น่าสนใจ เราเก็บข้อมูลเดือน เมย.-กย.52

เห็นว่าทิศทางการส่ง case เปลี่ยน trent เป็น COPD เป็นที่ 1 แซง DM ตรงตามทิศทางที่ รพ. อยากลด readmission ที่ปัญหาสำคัญคือ COPD

เราถามง่าย ๆ ว่ารู้ไหมเป็นอะไรถึงนอน รพ. ตอบถูกทั้งผู้ป่วยและญาติ 80%

เราถามผู้ป่วยว่า "กลับไปใครจะดูแล"..เห็นไหมครับ single care giver 75% 2 รายไม่มีผู้ดูแลและจากคำถามต่อมา พบว่า 63% ดูแลคนไข้ตลอดเวลา...เสี่ยง care giver burden

คำถามต่อมา "มั่นใจไหมว่ากลับไปจะดูแลตัวเองได้?" คำตอบส่วนใหญ่ถ้าได้ฝึกจะดีมาก อันนี้อาจเป็นส่วนที่ ward ทำได้ดีในการ empower คนไข้จนมั่นใจได้

เห็นว่าตอบถูกส่วนใหญ่..ไอ้ที่ไม่มีข้อมูล 23 คนเพราะหมอยังไม่สั่งให้กลับบ้าน แปลว่าเราขึ้นดูผู้ป่วยได้เร็ว

ข้อนี้จะเห็นว่าความรู้เรื่องยา ยังไม่ถูกอีกมาก แต่ก็ OK นะครับสำหรับ 68% และส่วน 14 คนญาติไม่อยู่ (เราจะบอกว่ากินยาถูกหรือไม่ต้องบอกถูกคนใดคนหนึ่ง)

เห็นว่าส่วนใหญ่กังวลกับโรคถึงแม้จะรู้การวินิจฉัยก็ตาม..คงต้องหาจุดที่ขเกงวลแล้วช่วยไขข้อข้องใจ

สรุปปัญหา

เราพบว่า poor self care และ care giver เป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้เกิด readmission ถึง 21.7% เราคงต้องคืนข้อมูลนี้ให้กับการประชุม HHC ครั้งต่อไปเพื่อ "หา discharge plan ในฝันเพื่อให้เกิดประโยชน์กับผู้ป่วยตามบริบทแม่สอด

คำสำคัญ (Tags): #discharge plan#family doctor
หมายเลขบันทึก: 316191เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2009 06:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

รายงานแบบ HA เลยนะครับ เต็มไปด้วยตัวเลข

ไม่ทราบว่า โรจน์ใช้เรื่องเล่า รายงานด้วยหรือเปล่า

อาจารย์อนุวัฒน์เองก็โอนะครับ เรื่อง narrative โดยเฉพาะในกรณี EOL life, holistic issue

บางครั้งการนำเสนอด้วยตัวเลขมันมีความน่าเชื่อถือในตัวมันเองแม้คนพูดและคนฟังจะไม่เคยรู้จักกันมาก่อน แต่นี่เป็นปัญหาของคนทำงานครับ จะมีสักกี่คนที่วางแผนงาน มีการเก็บข้อมูลที่เป้นระบบเพื่อการนำเสนอได้

เรื่องเล่าง่าย มีพลัง แต่ต้องใช้ใจที่ยอมรับของคนฟังเป็นอย่างมาก ซึ่งบางครั้งผมรู้สึกว่ามันผูกติดกับความน่าเชื่อถือของคนเล่าด้วยครับ?

ขอบคุณสำหรับตัวอย่างดีๆครับ

เรียนอาจารย์เต็มครับ

เรื่องเล่าจะอยู่ตอนที่ 3 ตอนลงชุมชนครับ....จริง ๆวิธีนำเสนอของผมจะเป็น style เล่าการทำงาน+แรงบันดาลใจ+เสนอตัวเลขในจุดสำคัญ+ภาพตาม style ผมครับ (คนฟังชอบหลักฐานเชิงประจักษ์)

เรียนพี่สิอิฐ

ขึ้นกับคนฟังว่าเขาต้องการแนวไหน...ส่วนผมสายกลางครับ ตัวเลขบางทีน่าเบื่อเหมือนกัน คือ ขาดชีวิตชีวา แต่ถ้าเล่าเรื่องอย่างเดียวในเวลาจำกัดก็ทำไม่ได้และขาดความน่าเชื่อถือ....เขาให้เวลาผมแค่ 10 นาทีเท่านั้นเอง ถ้าเรื่องเล่าผมคงโดนอาจารย์ถามจนเปื่อย ผมใช้วิธีผสมเรื่องเล่าเคล้าตัวเลข....ส่วนรายละเอียด surveyor คงต้องไปอ่านเพิ่มเติม

ขอบคุรวชัรพงษ์ที่มาเยี่ยมบ่อยๆ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท