Productivity ทางการพยาบาล


ผลิตภาพทางการพยาบาล คือ อะไร ?

สวัสดีค่ะ  วันนี้คณะกรรมการ ฯ  จะนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ Productivity in Nursing นะคะ มาให้ศึกษากันนะคะ ว่าคือ อะไร  หมายเหตุ

 

Productivity in Nursing

Productivity in Nursing ตรงกับ ภาษาไทย คือ ผลิตภาพทางการพยาบาล Productivity  จัดเป็นเกณฑ์ชี้วัดคุณภาพการพยาบาลด้านประสิทธิภาพการปฏิบัติงานที่สำคัญตัวหนึ่งของหอผู้ป่วย/หน่วยงานในโรงพยาบาล

ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการคิดต้นทุนต่อหน่วย  และยังช่วยในการจัดสรรบุคลากรทางการพยาบาลขึ้นปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพทางการพยาบาลหรือไม่   

 

 

การวิเคราะห์ผลิตภาพทางการพยาบาล
 Productivity  มีสูตรคำนวณ ดังนี้
 จำนวนชั่วโมงที่ผู้รับบริการต้องการดูแล  X 100
     จำนวนชั่วโมงที่พยาบาลให้การดูแลได้จริง

 

ตัวอย่างการวิเคราะห์ผลิตภาพทางการพยาบาล

 

ก่อนคำนวณ เราต้องทราบ ตัวแปร 2 ตัวนี้ก่อนนะคะ

 

คือ  ชั่วโมงทำงานที่ต้องการ   และ ชั่วโมงทำงานจริง

 

คำนวณได้จาก             

 

จำนวนชั่วโมงการพยาบาลทั้งสิ้นต่อหน่วยกิจกรรม (Nursing hours per work unit)

เวลาให้การพยาบาลตรง               = 4.5      

เวลาให้การพยาบาลอ้อม              = 1.81

รวมเวลาให้การพยาบาล               = 6.31

 

 

การจัดสรรอัตรากำลัง

อัตรากำลังเทียบเท่าพนักงานประจำ (Full Time Equivalent-FTEs)  ดังนี้ 

พนักงานประจำ 1 คนทำงาน 7 ชั่วโมงต่อวัน

5 วันต่อสัปดาห์ 52 สัปดาห์ต่อปี รวม 260 วัน

หักพักร้อน 10 วัน หยุดพิเศษ 13 วัน  มีวันทำงานจริง 237 วัน หรือ 1,659 ชม./ปี   หรือ  138 ชม./เดือน หรือ 20 วัน/เดือน

 

 

 

ตัวอย่างการวิเคราะห์ผลิตภาพทางการพยาบาล

 

ปริมาณงานที่คาดหวัง/เดือน   =30x30                 = 900

ปริมาณงานจริง                    =20X30         = 600

ชั่วโมงทำงานที่ต้องการ          =600X6.3      = 3,780 HRS.  

ชั่วโมงทำงานจริง                  =27x138       = 3,726 HRS.

PRODUCTIVITY                 = 3,780X100 = 101%

                                                3,726

 

PRODUCTIVITY TARGET = 95-105%

 

 เกณฑ์ประเมินผลิตภาพทางการพยาบาล  (PRODUCTIVITY)

 

PRODUCTIVITY TARGET = 95-105%

 

การแปลความความ

 

ผลิตภาพต่ำ (<95%) หมายความว่า

          มีจำนวนเจ้หน้ที่มากเกินไป

          ค่าจ้างบุคลากรสูง

          คุณภาพงานไม่ได้มาตรฐาน

          ความคิดสร้างสรรค์น้อย

 

ผลิตภาพสูง (>105%) หมายความว่า

          จำนวนเจ้าหน้าที่น้อยเกินไป

          ค่าจ้างบุคลากรน้อย

          คุณภาพไม่ได้มาตรฐาน

          ความเสี่ยงสูง

          เจ้าหน้าที่ขาดขวัญและกำลังใจ

 

  

การจัดอัตรากำลังขึ้นปฏิบัติงานในแต่ละรอบเวรอย่างน้อยตามมาตรฐาน ของสภาการพยาบาล (2548) ดังนี้

งานผู้ป่วยนอก  N : Pt = 1 : 100

ผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน   N : Pt = 1 : 10

งานบริการปรึกษาฯ   N : Pt = 1 : 250 เตียง

 

 
ตัวอย่างการจัดสรรอัตรากำลัง
 

จำนวนคน-วัน/ปี

จำนวนชั่วโมงต่อคน-วัน

ชั่วโมงที่ผู้รับบริการต้องการ

จำนวนบุคลากร

สัดส่วนของบุคลากร

RN

NA

10,950

(30 เตียง x365วัน)

6.3

68,985

41.5

(68,985¸

1,659)

50:50

21

20

ขอขอบพระคุณ

49082901อ. ดุษฎี  ทองปุย 

คณะกรรมการบริหารหลักสูตรศูนย์การศึกษาเพื่อสุขภาพเครือโรงพยาบาลพญาไท  เจ้าของข้อมูล Powerpoint ที่นำเสนอ  เรื่อง การบริการพยาบาลกับความคุ้มค่า-คุ้มทุน

สว่นนี้  เชิญ Download เพื่อนำไปทดลองคำนวณจำนวนบุคลากรพยาบาลของหน่วยงานท่านได้เลยนะคะ
 

 

กัญญา

กรรมการฝ่าย IT

 

หมายเลขบันทึก: 195170เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2008 22:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 สิงหาคม 2012 02:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (54)

สวัสดีค่ะ

ดิฉันได้เข้าไปดูข้อมูลในหน้าประวัติ http://gotoknow.org/profile/hrmnur

และพบว่าเจ้าของบล็อกได้ใส่อีเมลของคณะกรรมการเอาไว้ จึงอยากแนะนำค่ะ ว่าควรจะนำออก หรือ ใส่ format ของอีเมลให้อยู่ในรูปแบบที่ไม่ถูกต้องค่ะ เช่น ชื่ออีเมล์ (at) gmail.com เป็นต้น

ทั้งนี้เพื่อป้องกันการถูกเก็บข้อมูลโดยพวก robot ที่ถูกปล่อยเข้าในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อนำไปส่งอีเมลขยะไปยังอีเมลที่โพสไว้ค่ะ

หากโพสในรูปแบบที่ถูกต้อง พวก robot ก็สามารถอ่าน fomat ได้ว่าเป็นอีเมล และเมื่อใส่ในรูปแบบไม่ถูกต้องพวก robot ก็จะอ่านไม่ได้ว่าเป็นอีเมลค่ะ ก็จะทำให้ปลอดภัยจากอีเมล์ขยะระดับหนึ่งค่ะ

มาเก็บความรู้

ขอบคุณค่ะ

  • ยินดีค่ะ ป้าแดง
  • ไม่ต้องติดค้างได้ข้อมูลแล้ว
  • จะได้นอนหลับสบายนะคะ

ตามมาเรียนรู้ค่ะ

เริ่มต้นเราจะหา productivity ของตึกเรา

เราจะต้องมีตัวเลข 2ตัว

คือ  ชั่วโมงทำงานที่ต้องการ   และ ชั่วโมงทำงานจริง

 

คำนวณได้จาก             

 

จำนวนชั่วโมงการพยาบาลทั้งสิ้นต่อหน่วยกิจกรรม (Nursing hours per work unit)

เวลาให้การพยาบาลตรง               = 4.5      

เวลาให้การพยาบาลอ้อม              = 1.81

รวมเวลาให้การพยาบาล               = 6.31

 

ส่วนนี้เราต้องหาเองในการทำงานจริงในหน่วยงานใช่ไหม อยากให้อธิบายวิธีเก็บข้อมูลส่วนนี้ค่ะ

ตัวอย่างการวิเคราะห์ผลิตภาพทางการพยาบาล

 

ปริมาณงานที่คาดหวัง/เดือน   =30x30                 = 900

ปริมาณงานจริง                    =20X30         = 600

ชั่วโมงทำงานที่ต้องการ          =600X6.3      = 3,780 HRS.  

ชั่วโมงทำงานจริง                  =27x138       = 3,726 HRS.

PRODUCTIVITY                 = 3,780X100 = 101%

                                                3,726

 อยากให้อธิบายตัวเลขเหล่านี้และวิธีที่ได้มา อีกครั้งนะคะ

ขอบคุณค่ะ

ไม่ทราบว่ามีโปรแกรมคำนวน productivity ของ OPD หรือไม่

ไม่ทราบว่ามีโปรแกรมคำนวน productivity ของ OPD หรือไม่ ขอความกรุณาช่วยชี้แนะด้วยคะ

คิดเล่นๆ จากจัดอัตรากำลังขึ้นปฏิบัติงานในแต่ละรอบเวรอย่างน้อยตามมาตรฐาน ของสภาการพยาบาล (2548) ดังนี้ งานผู้ป่วยนอก  N: Pt = 1: 100

แสดงว่า ผู้ป่วย 100 คนสามารถเข้าใช้ริการต่อพยาบาล 1คน

พยาบาลสามารถ ให้บริการได้ 7 ชั่วโมงต่อคน หรือ 7x 60 = 420 นาที

ดังนั้นพยาบาลสามารถให้บริการ 420/100 = 4.2 นาทีต่อคน คือคิดอีกในหนึ่งคือเวลาที่ผู้ป่วยต้องการต่อคน

ให้ จำนวนผู้ป่วยเฉลี่ยต่อวัน(F)                                       = 250             คน/วัน

ให้ OPD จัดอัตรากำลัง (R)                                               =  2                       คน

จำนวนชั่วโมงที่พยาบาลให้การดูแลได้จริง(TT)        =  2 x 7

                                                                                              =  2 x 7

                                                                                              =  14            ชั่วโมง

 จำนวนชั่วโมงที่ผู้รับบริการต้องการดูแล(T)               = (F) X (T)

                                                                                              = (250) X (4.2)

                                                                                              = 1050                 นาที

1 ชั่วโมงมี 60 นาที                                                      =1050/60              ชั่วโมง

                                                                                        =17.5                     ชั่วโมง

Productivity มีสูตรคำนวณ ดังนี้

 จำนวนชั่วโมงที่ผู้รับบริการต้องการดูแล  X 100          =    (T )x (100)

   จำนวนชั่วโมงที่พยาบาลให้การดูแลได้จริง                     (TT)

                                                                                                =  17.5 x 100

                                                                                                            14

                                                                                                =  125

ขอบคุณสำหรับข้อมูล

การวิเคราะห์UnitCostsค่ะ

ยุภาวดี วงศ์ประสิทธิ์

ไม่ทราบว่าการคิด Product ของหน่วย ไอซียู ใช้สูตรเดียวกันหรือไม่ ถ้าในหน่วยไอซียู มีพยาบาล RN ล้วน 27 คน ขึ้นปฏิบัติงาน ช/บ/ด = 8/6/6 มีจำนวนเตียง 8 เตียง มีผู้ป่วยเฉลี่ย 7.8 คน/วัน คำนวณอย่างไร

ไม่ทราบว่าการคิด Product ของหน่วย ไอซียู ใช้สูตรเดียวกันหรือไม่ ถ้าในหน่วยไอซียู มีพยาบาล RN ล้วน 27 คน ขึ้นปฏิบัติงาน ช/บ/ด = 8/6/6 มีจำนวนเตียง 8 เตียง มีผู้ป่วยเฉลี่ย 7.8 คน/วัน คำนวณอย่างไร

คิดเหมือนกันครับ มาจากสูตรเดียวกันหมด

จำนวนชั่วโมงที่ผู้รับบริการต้องการดูแล X 100 = 7.8 x 12 X 100

จำนวนชั่วโมงที่พยาบาลให้การดูแลได้จริง (8+6+6)x7

= 93/140 x100

= 66

ดีใจด้วยครับ อัตรากำลังคุณเกิน ควรเป็นอย่างยิ่งที่จะ ออฟเวร แต่เอะดูก่อน 8 คนเวรเช้านี้รวมหัวหน้าใหมครับถ้าเผินไปประชุมบ่อย

ไม่ค่อยอยู่ดึก ไม่ได้ทำงานเกี่ยวกับคนใข้ กรุณาตัดออก ถ้าตัดออกแล้วยังเกินอีกกรุณาไปดูกิจกรรมภายในแต่ละเวรอะไรเป็นของพยาบาล และอะไรเป็นส่วนอื่นที่สามารถมอบหมายงานได้ เกินเข้ามาครับ (วัดความดันเอย,ตวงปัสสาวะเอย,พลิกตะแคงตัว,ๆลๆ) เอาให้ชัด กรุณาศึกษาแนวคิด LEAN มาปรับใช้ครับ ผมเข้าใจว่ามาตรฐาน ICU อยู่ที่ พย. 1 ต่อ คนใข้ 2 ในกรณีนี้การจัดอัตรากำลังผสมระหว่างพยาบาลกับพนักงานระดับผู้ช้วย หรือคนงานควรนำมาใช้ให้เหมาะสม (ปล.อัตรา 12 ชม/วัน ผมเอามาจากข้อมูลด้านบนนะครับนับเป็นระดับ 5 ทั้งหมด ICU คงไม่มี 1-4 ไปอยู่มั่ง แต่ CCU บางตำราให้ที่ 14 นะเออ)

ขอบคุณมากค่ะ กับการคิดภาระงาน อยากให้อธิบายในส่งของผู้ป่วยนอกมากกว่านี้อีกหน่อยค่ะ เพราะยังไม่ค่อยเข้าใจ

ได้ความรู้ดีค่ะ แต่อยากได้ตัวอย่างงานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉินบ้างค่ะ ยังไม่ค่อยเข้าใจค่ะเพราะพึ่งได้รับงานจากหัวหน้ามาค่ะ

ผมจะอธิบายเชิงหลักการนะครับ เพราะประสบการณ์บริหาร ผมออกตัวเลยว่าผมค่อนข้างน้อย รอถามพี่ๆคนอื่นดีกว่า

Productivity = เวลารวมที่ผู้ป่วยต้องการดูแล/เวลาที่เจ้าหน้าที่สามารถให้การดูแลได้ x 100

เวลารวมที่ผู้ป่วยต้องการดูแล : ตัวนี้มีอ้างอิง หลายสำนัก แล้วแต่ไครจะอิงกับไคร หรือหลายๆที่ทำวิจัยเองเลยเพื่อให้ได้ค่าที่เป็นเฉพาะของหน่วยงานนั้นๆ มีความเกี่ยวเนื่องกับ ความต้องการพยาบาลต่อวัน(NHPD) คือใช่สำนักใหนต้องอ้างอิงค่าสำนักนั้น

แล้วจะใช้สำนักใหนดี : เอาแบบตรงเปะๆนี้ต้องทำวิจัยเองเลยครับ แต่ก็แลกมาด้วย ค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า ยุ่งยาก เปรียบเทียบกับ ที่อื่นลำบาก ๆลๆ เอาเป็นว่าผมแนะนำก็ของ สำนักงานการพยาบาล กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข อิงกับกับการจำแนกประเภทผู้ป่วย 2547 ครับ สะดวกที่สุดแล้ว

เวลาที่เจ้าหน้าที่สามารถให้การดูแลได้ : แบบบ้านๆเลย ก็คือเวลาทำงานครับ สมมุติ วอรด์หนึ่งจัดอัตราการพยาบาล ช:บ:ด 5:3:2

เวลาทำงาน 8 ชั่วโมง ลบเอาเวลาพัก ออก 1 ชั่วโมง ตามกฏหมายแรงงาน หลือ 7 ชั่วโมง

เวลาที่เจ้าหน้าที่สามารถให้การดูแลได้ = (5+3+2)x7 = 70 ชั่วโมง หลังจากได้ค่าก็เอาไปคำนวญตามสูตร ได้เป็นProductivity

เกณฑ์ก็แตกต่างกัน 85 -115 ศรีนครินทร์ ใช่เกณฑ์นี้ รพ.กระทรวงบางที่ 90-110 แต่จากที่ผมอ่านผ่านๆตามางานวิจัยของอินเดีย

เขาจะให้ที่ 86 ครับ ทำให้ปฏิบัติงานได้ดีที่สุด มีที่อื่นด้วยแต่ไม่อยากยกมาเพราะ อย่างอเมริกา เขาใช้เกณฑ์สูงมาก แต่ดูในเนื้องานแล้ว เวลาให้การพยาบาลตรง เขาก็สัมพันธ์กันด้วย คืองานที่ไม่ใช่การพยาบาลก็แบ่งแยกเลยชัดเจน แต่ของเรานื้ก็ไปตามระบบประเทศกำลังพัฒนากันไป ส่วนตัวสนับสนุนอินเดียเพราะใกล้เคียงเรามากกว่า แต่ให้ดีก้ต้องทำวิจัยไปเลย

อุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน : แนะนำให้นับตาม visit ครับ แต่ก่อนอื่นต้องทราบเวลาเฉลี่ยในการเข้าใช้บริการของหน่วยงานนั้นๆ เสียก่อนเพราะเนื้องานค่อนข้างแตกต่างกันมาก(ผมอาจค้นมาน้อยในส่วนอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน อาจจะมีค่ากลาง แต่ไม่ทราบ เพราะไม่ได้อยู่จุดนี้)ของแต่ละโรงพยาบาล เช่น ศูนย์หัวใจ กับ รพช. แตกต่างกันมากครับ ต้องหาเวลาเฉลี่ยในการเข้าใช้บริการ ของแต่ละที่ สรุปต้องทำวิจัยอีกแล้ว ถือว่า R2R ไปนะครับ 555+

Productivity =(จำนวผู้ป่วย) x (เวลาเฉลี่ยในการเข้าใช้บริการ) x 100 / เวลาที่เจ้าหน้าที่สามารถให้การดูแลได้

ประมาณนี้ละกันนะครับ ที่จริงต้องยึดถืออัตราส่วนพยาบาล ต่อ ผู้ช่วย เพราะแต่ละที่ก็มีความต้องการพยาบาลวิชาชีพ แตกต่างกัน ต้องคุยกันยาวเลย ละ ผิดถูกเช่นไรถือว่าแบ่งปันกันนะครับ

อยากดูภาระงานของชาว ER บ้างค่ะ

จากตัวอย่างการวิเคราะห์ผลิตภาพทางการพยาบาล มีความคิดเห็นเหมือนคุณแก้ว...อุบล เลยค่ะ คืออยากให้อธิบายตัวเลขเหล่านั้น และวิธีที่ได้มาอีกครั้งนะคะ ยังไม่ค่อยเข้าใจเลย และหน่วยงานERคำนวณแบบนี้หรือไม่คะ ขอตัวอย่างเพิ่มอีกตัวอย่างนะคะ ขอบคุณมากๆค่ะ

อยากทราบอัตรากำลังของห้องผ่าตัดต้องคิดแบบไหนคะ

นางละม่อม ลู่เกียง


อยากทราบการคิด Productivity ของห้องคลอด  โรงพยาบาลชุมชนค่ะ

Activity ของ ER ตอนนี้มี 5 ระดับ จากแต่ก่อน 3 ระดับ ไม่รู้ว่าจะใช้ตัวคูณเท่าไรครับ


ใช่เลย..ขณะนี้ใช้triage 5 level  เดิม 3 ประเภทคือemergent,urgentและnon urgent

 

มีใครพอจะช่วยได้ไหมครับ ผมต้องการตัวคูณในแต่ละระดับของ ER ครับ ไม่รู้จะทำยังไง ไม่รู้ว่า Resus  Emer Urgent  Semi-urgnt  Non-urgent แต่ละตัวคิดค่าตัวคูณ product เท่าไรครับ

อยากทราบการคิดคำนวณภาระงานแผนกเวชระเบียนบ้างค่ะ ไม่มีตัวอย่างเลย หายากค่ะ

ไม่แน่ใจว่าจะต้องแยกคิดเป็นเวรด้วยหรือไม่เพราะผู้รับบริการในแต่ละเวรไม่เหมือนกัน ช่วยให้ความกระจ่างด้วย ....ขอบคุณค่ะ

ขอรายละเอียดการคิดค่า Product  ER ค่ะ ผู้รับบริการ 5 ประเภท

ในหน่วยกุมาร คิดชม.การพยาบาลยังงัยคะ แบ่งผป.เป็นกี่ประเภ

อยากทราบการคิดคำนวณภาระงาน งานห้องคลอด หลังคลอด ค่ะ 

ขอบคุณค่ะ

 

อยากทราบวิธีการคำนวณProductivityงานห้องคลอด และการจำแนกประเภทของผู้รับบบริการห้องคลอดค่ะ

อยากทราบวิธีการคำนวณ Productivity งานห้องคลอด หลังคลอดและการจำแนกประเภทผู้รับบริการห้องคลอดโรงพยาบาลชุมชนค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

การคิด productivity ของงาน or ที่เป็นเวรเช้าทั้งหมด และต่อเวร on call เราจะคิดอย่างไรคะ คำนวณแบบไหนคะ ใครที่รู้ขอความกรุณาช่วยหน่อยค่ะ ขอบคุณค่ะ

อยากทราบการคิด productivity or เหมือนกันคะ ใครทราบกรุณาบอกด้วยนะคะ

ไมทราบวาใครพอจะมตวอยางงานวจยหรอR2RเกยวกบอตรากลงในERบางครบหรอพอจะแนะนวาหาไดจากทไหน

เสาวลักษณ์ พูลศิริ

การหาProductivity ของ รพ.ชุมชนมีผู้ปป่วย ผ่าตัดเล็กและทำหมันหญิง ประมาณ158/ปี อัตรากำลังพยาบาลวิชาชีพ 1 คน ผู้ช่วยเหลือคนไข้ 1 คนหาอย่างไรคะขอบพระคุณค่ะ

อยากให้อาจารย์แนะนำวิธีคิด Productivity งานบริการปรึกษาบ้างค่ะ

ขอบคุณค่ะ

น.ส.ยานุมาศ คงจันทร์

รบกวนอาจารย์ ช่วยแนะนำการคิด productivity ของ OR บ้างค่ะ ในโรงพยาบาลชุมชน

รบกวนอาจารย์ช่วยแนะนำวิธีคิดของพยาบาลห้องผ่าตัดและพยาบาลวิสัญญีด้วยคะ  จากร.พ.ชุมชน

ปัจจุบันมีผ่าตัดน้อย เจ้าหน้าที่น้อยและรับงานเสริมช่วยงานหน่วยอื่น เลยคิดไม่ถูกเลย(ANAS 1 ตน OR 2คน)

   ขอบคุณคะ

ขอบคุณในการให้ความรู้คะ แต่จะรบกวนขอรายละเอียดของการคิดตัวเลขที่มาให้ชัดเจนกว่านี้ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง ขอบคุณค่ะ

ยากทราบวิธีคิด productivity ของหน่วยไตเทียม ค่ะ / ขอบคุณคะ

ขอทราบการคิด Produc ของงานฝากครรภ์ค่ะ

อยากทราบการคิด Produc ของงานฝากครรภ์ค่ะ

อยากทราบการคิด Produc ของงานฝากครรภ์ค่ะ

อยากทราบการคิด Produc ของงานฝากครรภ์ค่ะ

อยากทราบการคำนวนproduct.ER,EMS,Refer เราใช้หลักการและสูตรไหนค่ะ

ขอทราบการคำนวน Productivity ของห้องผ่าตัด ใช้หลักการและสูตรไหนบ้างค่ะ

อยากทราบวิธีคิดProductivity ของงานNCD ค่ะซึ่งจัดแยกกับ OPD ค่ะ ของ รพช.ค่ะขอบคุณค่ะ

-ขอคำแนะนำการคิด Productivity LR ค่ะ

-ขอคำแนะนำการคิด Productivity LR ค่ะ

ไม่เคยอบรมเลยค่ะเป็นหัวหน้าใหม่งานวิสัญญีต้องการคู่มือสูตรคำนวณและโปรกแกรม productivityงานวิสัญญี ขอรบกวนชี้แนะด้วยค่ะ

อยากให้อธิบายวิธีคำนวน Product OPD ค่ะ

รบกวนช่วยอธิบายการคำนวณProductivity ERด้วยค่ะ

รบกวนคะอยากทราบการคิดProductivityหน่วยงานCAPD..ช่วยอธิบายหน่อยคะ ขอบคุณคะ

อยากทราบการคิด productivity ของห้องผ่าตัด รพ.ชุมชนค่ะ

การคิดproductivity ห้องผ่าตัด รพ.ชุมชน

รบกวนอยากทราบการคิดProductivityงานวิสัญญี เรื่องเวลาที่เอามาคิดว่าเอาเวลาอะไรบ้างคะ แล้วคิดเฉลี่ยชั่วโมงอย่างไร ขอบคุณค่ะ

นภาพร สมัครธัญญกรณ์

อยากทราบวิธีคิดproductivity ของงานห้องผ่าตัดวิสัญญี คะร.พชุมชน มีห้องผ่าตัดใหญ่2ห้อง พยาบาลผ่าตัด4คน วิสัญญีพยาบาล4คน

อยากทราบวิธีการคำนวน Productivity ของงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท