ตามรอยมิตรภาพ ตอน 1 (สถานีฯเกษตรที่สูง)


แล้วก็เริ่มเดินเท้าขึ้นไปตามทางดิน ที่ลาดชันมาก เพียงไม่ถึง 100 เมตรแรกทุกคนก็เริ่มหน้าซีด หายใจแรงอย่างเหนื่อยหอบ แต่พวกเราก็ยังยิ้มเพราะนี่เป็นเพียงจะเริ่มต้นเท่านั้น

เราไปถึง อ.ปัว ช้ากว่ากำหนดเล็กน้อยเพราะลืมเผื่อเวลาว่าช่วงนี้คือเทศกาลปีใหม่ มีคนใช้บริการรถ บขส. เยอะกว่าสถานการณ์ปกติ เราได้ที่นั่ง บนรถปรับอากาศชั้น 1 หกที่นั่งสุดท้ายพอดี แต่ไปไม่ถึง อ.ปัวอย่างที่ตั้งใจไว้ เรามาถึงตัว จังหวัดน่านก่อนหกโมงเช้าเล็กน้อย อากาศค่อนข้างหนาวเย็น มีรถเที่ยวแรกจาก น่านไป อ.ปัว 06:00 น. แต่พวกเราเลือกที่จะเดินทางด้วย รถเที่ยว 07:00 น. ดีกว่าเพราะจะได้ไม่หนาวมากแถมมีเวลาเดินเที่ยวตัวเมืองน่านอีก 1 ชั่วโมงรถ

โดยสารประจำทางสาย น่าน-ทุ่งช้าง พาเรามาถึง อ.ปัว ก็กินเวลาไปประมาณ 2 ชั่วโมง ตรงข้ามคิวรถสองแถว มีร้านอาหารพื้นเมืองที่เราแวะทานทุกครั้งที่มาที่นี่ เจ้าของร้านก็ใจดีให้เราใช้บริการห้องน้ำได้ตามสะดวก

กระทั่งเวลา 11:30 น. รถสองแถวเริ่มออกเดินทางสู่บ่อเกลือระยะทาง 47 ก.ม. ใช้เวลามากกว่า 1 ช.ม. เพราะระหว่างทางต้องไต่ขึ้นภูเขาสูงชันและคดโค้ง

ที่ อ.บ่อเกลือเราเลือกซื้อเสบียงอาหารเป็นครั้งสุดท้าย จากบ่อเกลือไปบ้านขุนน้ำน่าน ระยะทางประมาณ 30 ก.ม. เราโชคดีมาที่ไม่ต้องเดิน เพราะมีรถสองแถวให้เช่าเหมาลำ ไปส่งยังทางขึ้นสถานีเกษตรที่สูง เป็นจุดที่ใกล้ที่สุดที่รถสามารถเข้าถึงได้ แล้วก็เริ่มเดินเท้าขึ้นไปตามทางดิน ที่ลาดชันมาก เพียงไม่ถึง 100 เมตรแรกทุกคนก็เริ่มหน้าซีด หายใจแรงอย่างเหนื่อยหอบ แต่พวกเราก็ยังยิ้มเพราะนี่เป็นเพียงจะเริ่มต้นเท่านั้น


ที่สถานีฯ น้องดาวให้การต้อนรับอย่างดีเริ่มด้วยน้ำเย็นชื่นใจ แล้วก็พาพวกเราไปเยี่ยมชมแปลงเกษตร ความเป็นอยู่ของเจ้าหน้าที่บนสถานีฯ ตกเย็นเราก็ได้ชิมอาหารฝีมือน้องดาว ค่ำนี้พวกเราพูดคุยถามสาระทุกสุขดิบกันตามประสา ญาติที่นานๆจะได้เจอกันโดยมีน้อง อ๋อย เจ้าหน้าที่เกษตร อีกคนคอยส่งเครื่องดื่มให้รอบๆวงอย่างไม่ขาดตกบกพร่อง พวกเราพูดคุยกันทุกๆเรื่องไม่เว้นแม้แต่เรื่องผีเจ้าที่ของสถานที่ที่ซึ่งเรากำลังนั่งคุยกัน กระทั่งสมควรแก่เวลา แต่น้องดาวก็ไม่ยอมให้เรากางเต็นท์นอนอย่างที่ตั้งใจไว้ครับ แต่ให้พวกเราไปนอนใน้ห้องรับรองนั่นเอง


หลังอาหารมื้อเช้าฝีมือน้องดาว พวกเราก็เตรียมเดินทางไป บ้านห้วยเต๋ย ตามคำเชิญของครูเมธ ญาติสนิทของเรา ซึ่งอยู่ห่างจากสถานีฯ ประมาณ 10 ก.ม. แต่ระหว่างทางเราต้องผ่านบ้านสะจุกซึ่งที่นั่นก็มีญาติๆ ของพวกเราอยู่เช่นกันครับ เราเลือกที่จะเดินเท้าตามเส้นทางด้านหน้าสถานีฯ ผ่านกองร้อย ตชด. และกระท่อมของกรมพัฒนาที่ดิน ลงไปยังหุบเขาด้านล่าง ข้ามลำธารก่อนลัดเลาะจากเชิงเขาด้านล่างสุดขึ้นมาตามทางเดินแคบบนไหล่เขาไปเรื่อยๆ ก่อนตัดขึ้นสันเขาระหว่างทางช่วงนี้ต้องประคับประครองการทรงตัวให้ดี เพราะถ้าพลาดท่าเสียหลัก หรือเซๆเล็กน้อยอาจต้องลำบากเพื่อนลงไปเก็บกู้ร่างในหุบเขาได้

ไม่กี่อึดใจก็เห็นหลังคาบ้านสะจุกอยู่ริบๆ แต่กว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ทำเอาหลายคนหอบตาลายน้ำลายเหนียวที่เดียว เนื่องจากเรามากันคณะใหญ่ (ตั้ง 7 คน) ทำให้การเดินทางล่าช้าไปบ้าง กว่าจะมาถึงอนามัยสะจุก เราก็ไม่ได้พบหมอหนูกับหมอนายซะแล้ว เพราะทั้งสองติดภารกิจด่วนในตัวจังหวัด ทั้งสองลงดอยไปก่อนที่พวกเราจะมาถึงเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้นเอง มีเพียงหมอนนท์ที่ทำหน้าที่เฝ้าสถานีอนามัยตลอดช่วงวันหยุดยาวนี้



บ้านสะจุกเป็นหมู่บ้านใหญ่ มีร้านขายของชำอยู่ร้านนึงเปรียบเสมือน ห้างสรรพสินค้าของคนบนดอยนี้เลย พวกเราก็ใช้บริการมื้อเที่ยงที่นี่เช่นกันครับ หลังมื้อเที่ยงพวกเรานัดหมายกับครูเมธและครูถึกที่ ศูนย์ กศน. บ้านสะจุก เมื่อมาครบพร้อมหน้า ทักทายกันตามประสาญาติมิตรที่ไม่ได้เจอกันแสนนาน แล้วออกเดินทางไปบ้านห้วยเต๋ย พร้อมๆกัน ระหว่างทางครูถึกพาไต่เขาสูงชันและคดเคี้ยวไปบนสันเขาที่เป็น ชายแดนกั้นระหว่างไทย-ลาว ถึงบ้านเปียงซ้อก่อน เราต้องรีบเดินทางไปบ้านห้วยเต๋ย ต่อโดยไม่ได้แวะทักทาย น้องเอื้อง, น้องต้อม และน้องรินทร์ เพราะใกล้มืดเต็มทน



หมายเลขบันทึก: 163133เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2008 17:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 เมษายน 2017 16:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เข้ามาดูบรรยากาศเก่าๆพี่

เห็นทีไร อดคึดถึงไม่ได้ ทู้กที

ปล. เราจะไปกันอีกมะไร่ครับพี่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท