ห้องสมุดเชิงรุก


               ปิ๊ง ปิ๊ง ปิ๊ง.......เสียง ไอเดียบรรเจิดที่มันดังแตกกระจายเต็มไปหมดในสมองของผม ในการไปฟัง ประชุมวิชาการ "ห้องสมุดเชิงรุก : การปรับตัวสู่การเป็นห้องสมุดในโลกไร้พรหมแดน [The Proactive Library : An Adaptation to Balance the Borderless Library] ในวันที่ 29-30 สิงหาคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ผ่านมา

 ผังความคิด ห้องสมุดเชิงรุก

              และแล้วผมก็ทำตัวเป็นผู้บันทึกความรู้ที่ไม่ดีอีกแล้ว รู้ทั้งรู้อยู่ว่าเวลาปิ๊งไอเดีย อะไรขึ้นมาให้รีบบันทึก แต่ก็ปล่อยให้เวลาล่วงเลยมา 7 วัน แต่ผมก็ตั้งใจไว้แล้วว่า จะทยอยเขียนความรู้ที่ได้จากการไปเข้าร่วมประชุมมาเล่าสู่กันฟัง คิดเสียว่าเรามาเล่าเรื่องที่ได้ไปพบมา ถึงแม้ว่าอาจจะไม่เหมือนกับที่ได้ไปฟังการประชุมจริงๆ แต่ก็เป็นการสะท้อนความคิด เชิงเปรียบเทียความคิดที่ได้จากวิทยากร มาสู่ห้องสมุดของมอนอในบริบทสภาพความเป็นจริงก็แล้วกันนะครับ

                ดังนั้นบันทึกเรื่องนี้จึงอาจมีทั้งโดน และไม่โดนความคิดเพราะเป็นแง่มุมของผู้เขียนด้วย

                 ผมกลัวว่าผมจะเขียนแล้วไม่ได้ประเด็นก็เลย ลองเขียนเป็นผังความคิดของการไปร่วมประชุมออกมาด้วย ซึ่งผมนำเรื่องผังความคิดไปใช้กับนิสิตปริญญาเอก ปรด.การศึกษา ให้การบ้านนิสิตไปเขียนแล้วอาจารย์เองไม่เขียนก็กะไรอยู่ก็เลยขอเขียนบ้าง ซึ่งพอลองเขียนแล้วรู้เลยว่ามัน มันดีกว่าใช้คอมแฮะ.....มันได้ระบายสี มันได้ระบายความคิดไปด้วย

          ซึ่งวันก่อนในที่ประชุมที่ชาวห้องสมุด BAR เพื่อเตรียมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ ห้องสมุด กรมวิทยาศาสตร์บริการที่จะมาเยี่ยมเรา พูดคุยแลกเปลี่ยนความสำเร็จระหว่างกันเกี่ยวกับเรื่อง COP ของ ห้องสมุด ผมลองเอาแผนที่ความคิดนี้ให้ที่ประชุมดูว่าผมจะรายงานการไปราชการแบบนี้ให้กับ ผอ.หอสมุดรับทราบ ในที่ประชุม ผมจำไม่ได้ว่าต้อย เล่าให้ฟังว่า มีการวิจัยว่าสีช่วยให้ความสามารถในการจดจำของมนุษย์เพิ่มขึ้นถึง 70 %[มาจากโฆษณา ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องสีและความจำ คลิก คลิก ]

           ในงานนี้ผมได้เจอวิทยากรดีๆที่น่าสนใจหลายท่าน 

  • คนแรกเลย ก็คืออธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศ.ดร.สุรพล  นิติไกรพจน์ ซึ่งท่านให้ความสำคัญกับห้องสมุดมากๆ นอกจากนี้ท่านยังมาเฉลยความนัยด้วยว่าตอนแรกท่านเอนทร้านมหาวิทยาลัย ท่านเรียนมาทางสายศิลป์ สาขาแรกที่ท่านเอ็นติดก็คือบรรณารักศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแ่ก่น
  • คนต่อมา ผศ.นงนุช  ภัทราคร ผอ.สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งท่านได้นำมุมมอง และแนวคิดในการสร้างห้องสมุดเชิงรุกของธนบุรีน่าสนใจหลายๆ เรื่องมาเล่าให้พวกเราฟังอย่างน่าสนใจ
  • ส่วนคนนี้ขาประจำไปงาน ไหนๆ ก็เจอคนนี้ คือ รศ.ยืน ภู่วรวรรณ รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งงานนี้ อ.นำคำศัพท์ภาษาวัยรุ่น แอ๊บแบ๊ว มาเล่าให้พวกเราฟัง แม้....อินเทรนจัง
  • ดร.ชัยสมพล ชาวประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ บ.ไฮโพ เทรนนิ่ง คนนี้เป็นยอดนักคิด จริงๆ มององค์กร เป็นธุรกิจการค้า  ต้องรุกเข้าหาลูกค้า ลูกค้าคือพระเจ้า ผมฟังไป ปิ๊ง ไอเดียไป จนคิดไปแม้กระทั่งว่าสงสัยทำตามนี้ต้องปรับองค์กร ห้องสมุด เป็น ฝ่ายการตลาด ฝ่ายผลิต ฝ่ายบริการ ฝ่ายบริหาร ไปซะแล้ว เคลิบเคลิ้มครับ เคลิบเคลิ้ม
  • ไอเดียเก่า ยังไม่ทันถูกแปลงไปใช้เลย วิทยากรท่านใหม่เข้ามาอีกแล้ว นางเพ็ญสุวรรณ นาคะปรีชา ผอ.สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งจะเจอท่านได้ขึ้นเวทีเป็นวิทยากรอยู่เรื่อยๆ เก่งจริงๆ [จนผมแอบฝันลึกๆ มองว่า เมื่อไหร่นะเราจะได้ขึ้นไปอยู่บนเวทีกับเขาบ้าง] ซึ่งงานนี้ คุณเพ็ญสุวรรณ อภิปรายเดี่ยวบนเวทีหมู่ คือขึ้นไป 3 คนแต่พูด ครั้งละคน กับ ดร.นงเยาว์ เปรมกมลเนตร ซึ่งเดิมเคยเป็นหัวหน้าฝ่ายบริการ สำนักหอสมุดพระจอมเกล้าธนบุรี แต่ตอนนี้เปลี่ยนเป็นนักวิจัยที่ทำ เกี่ยวกับศูนย์ดรรชนีการอ้างอิงวารสารไทย โดยมี นางศรีจันทร์ จันทร์ชีวะ ผอ.สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินรายการ
  • ส่วนวิทยากรอีกท่านหนึ่งสมกับเป็นนักสถิติ นักคณิตศาสตร์ จริงๆ  น.ส. สมสุณีย์ ดวงแข บรรยายจนอาหารว่างทำพิษ ผมง่วงเหงาหาวนอนไปหมด ด้วยความสามารถ เป็นเยี่ยม ฉายสไลด์เพียง 6 เฟรม เฟรมแรกเป็นหน้าปก เฟรมสุดท้ายเป็นสวัสดี ที่เหลือ 4 เฟรมกับเวลาอีก ชั่วโมงครึ่ง จะไหวเหรอพี่ ผมหันไปมองรอบห้องประชุม ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่ หันไปเล่นเกมซ่อนตาดำกันซะเป็นส่วนใหญ่ จนวิทยากรต้องแซวว่า ถ้าอย่างไรให้เกาะเก้าอี้นั่งให้แน่นๆ เพราะที่นั่งสูงมาก[ห้องประชุมเล็กธรรมศาสตร์ใหญ่มากๆ ]
  • ส่วนคนสุดท้าย ท้าทายมาก เพราะช่วงนี้หัวใจผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่จ่ออยู่ประตูทางออกแล้ว แต่ผมโชคดีหน่อย เครื่องออกสองทุ่มเลยยังพอใจเย็นได้ ซึ่งช่วงนี้ ดร.พจน์  ใจชาญสุขกิจ นายกรัฐมนตรี เอ๊ยไม่ใช่ นายกสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย มาพูดเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์และการตลาดเชิงรุก

         ส่วนไอเดียความคิดนั้นผมจะค่อยๆ ทยอยเขียนเพิ่มเติมนะครับ

หมายเลขบันทึก: 126046เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2007 15:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)
มาเยี่ยมยาม เรียนรู้ จาก ทีมคุณอำนวยแห่ง UKM ครับ
  • ได้ข่าวว่ามีสัมมนาหัวข้อนี้ และรอบันทึกจากอจ.อยู่พอดีเลยค่ะ
  • ดีใจจังเลยค่ะ ที่ท่านอธิการบดีมธ. เคยเลือกเรียนบรรณารักษศาสตร์ แสดงว่าท่านสนใจห้องสมุดมาก
  • อยากเห็นห้องสมุดเชิงรุกด้วยค่ะ

 

 

 

 

สวัสดีค่ะ อ. หนึ่ง อยากให้เปิดห้องสมุด เวลา 19.00-21.30 สำหรับคนทำงาน หลังจากเลิกงานจะได้แวะอ่าน ที่กรุงเทพไม่ค่อยมีห้องสมุดที่เปิดในเวลาดังกล่าว ที่ห้องสมุดจุฬาปิด 19.00 หรือ 19.30

ห้องสมุดมอนอ เปิดถึง สี่ทุ่มครับ ส่วนตอนนี้เปิดถึงเที่ยงคืนครับ

ขอบคุณทุกความคิดนะครับ 

  • ได้ข่าวว่ามีคนข้างๆหลับนำไปก่อน อ.เห็นเลยเกิดอาการตามไปด้วย หุหุ
  • น่าสนใจดี จากที่เพื่อนเล่าให้ฟัง แต่รอให้เพื่อนเขียนคงยาก รออ่านของอาจารย์ดีกว่า

มีโอกาสได้เข้าร่วมอบรมเช่นเดียวกับอาจารย์รุจิโรจน์เหมือนกันค่ะ  อาจารย์ได้นั่งข้างๆ  ซึ่งเคยได้ยินแก่นจังจะเล่าถึงอาจารย์รุจิโรจน์ให้ฟังเสมอและเป็นวิทยากรร่วมกันตอนอบรม  blog  ได้มีโอกาสได้พูดคุยกับอาจารย์  อาจารย์เป็นกันเอง  และตอนที่เห็นอาจารย์ครั้งแรกทำให้นึกถึง  blog  KM และที่เขินก็คือ  ยังไม่ทันไรเราก็แอบง่วงซะแล้ว แต่มีที่มาก็คือ  เพราะว่าดันตั้งนาฬิกาปลุกผิด  จริงๆตั้ง  6  โมงเช้า  แต่ดันไปตั้งตีห้า  (สงสัยจะตื่นเต้นไปหน่อย)  บวกกับทานอาหารเช้ามาซะอิ่มเลย  รู้ตัวอีกที  อาจารย์รุจิโรจน์ก็ย้ายที่นั่งไปเสียแล้ว 

แต่การประชุมในครั้งนี้ที่ดิฉันได้คงจะเป็นความประทับใจครั้งแรกที่ได้มาประชุมที่นี่  เพราะถือเป็นครั้งแรกที่ได้มา  และรู้ว่าห้องสมุดปัจจุบันจะต้องเชิงรุกไม่ใช่เชิงรับ  และเทคโลยีสารสนเทศต่างๆ  ก็เข้ามามีบทบาทกับห้องสมุดอย่างมาก 

และที่สำคัญวิทยากรแต่ละท่านล้วนแต่มีความสามารถทั้งสิ้น(ถึงแม้อาจจะแอบหลับไปบ้าง)

ห้องอ่านหนังสือฯ  คณะนิติศาสตร์  ซึ่งเปิดมาในระยะเริ่มต้น  ซึ่งอาจมีนิสิตบางคนอาจจะยังไม่ทราบ  ได้ไอเดียทำเว็บไซต์เพื่อประชาสัมพันธ์ และเชิงรุกกับนิสิตมากขึ้นโดยการแนะนำห้องอ่านหนังสือตอนที่นิสิตปฐมนิเทศ  ถึงแม้มันจะดูไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่  แต่อย่างน้อยเราเองก็ดีใจที่ได้นำความรู้ที่ได้รับนำมาให้ประโยชน์ได้ไม่มากก็น้อย

ตอนอบรมวิทยากรท่านหนึ่งบอกว่า  "ถ้าเราอยากทำอะไรก็ทำไปเลย"  ท่านบอกว่าสร้างบรรยากาศในแต่ละวัน  โดยอาจจะจับเจ้าหน้าที่มาใส่ชุดการ์ตูน  สร้างสีสันไปอีกแบบ  (คิดแล้วก็อดขำไม่ได้) 

  • แวะมาเข้าห้องสมุดด้วยคนคะ
  • ห้องสมุดที่นี่มีความรู้เยอะจัง
  • รักษาสุขภาพด้วยนะคะ...อ.หนึ่ง
  • น่าจะต้องเริ่มจากสร้างและจัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่มีคุณภาพ
  • มีเทคโนโลยีที่รองรับการทำงาน และการให้บริการอย่างเหมาะสม  (เช้า network มีปัญหา,   สายอินเตอร์เน็ตล่ม,  บ่ายเครื่องแฮงค์, เย็นปิดปรับปรุงระบบ ฯลฯ  อิอิ  แบบนี้คงไม่ไหว)
  • บริการเชิงรุก  ... ไม่ต้องมาห้องสมุดก็ได้สิ่งที่ต้องการ  จะด้วยวิธีการใดก็ตาม  หรือถ้าเข้ามาด้วยตนเองต้องได้สิ่งที่อยากได้ ไม่กลับไปมือเปล่า ยิ่งได้ของแถมอย่างอื่นกลับไปด้วยได้ยิ่งดี (ข้อมูล นะค่ะ อย่าคิดเป็นอื่นไป)
  • อย่างอื่นรุกหมด  ถ้าคนทำงานไม่รุก  ... หมากเกมนี้ก็ไม่รู้จะลงเอยอย่างไร ?

เป็นแค่ความคิดเห็นเล็กๆ ของน้อยนะค่ะอาจารย์ ถ้าจะทำห้องสมุดเชิงรุก ต้องเริ่มจากปัจจัยทั้ง 4 (นี่คือหัวใจเลยนะค่ะ)  ถ้าไม่ตั้งรับให้ดี เราเองอาจจะถูกรุกฆาตจากผู้ใช้จน..จนมุมก็เป็นไปได้ 

ดีจ้า......เเต่ของpisakดีกว่า

พี่ต่อยมั้ย

รัก อ. หนึ่ง ที่สุด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท