Blended learning การเรียนรู้แบบผสมผสาน


การที่เราอยู่ในแวดวงวิชาการ อยู่ในมหาวิทยาลัย ทำให้เราติดกรอบมากไปหรือเปล่า

            เบล็นเด็ดเลินนิ่ง การเรียนรู้แบบผสมผสาน คำนี้หมายถึงอะไร ทำไม เป็นประเด็นร้อนในแวดวงของการเรียนรู้และนักวิชาการ ผมเลยลองถามพี่กุ๊ก ถึงความหมายของคำดังกล่าว พี่กุ๊กก็เลยแนะนำให้พบปราชญ์ชาวบ้าน แห่งวงการไอทีคือ พี่วิ ซึ่งพี่วิเอง ก็ได้พูดถึงเบล็นเด็ดเลินนิ่ง ไว้ว่า

             เบล็นเด็ดเลินนิ่ง หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ ที่ผสมผสานรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในห้องเรียน ผสมผสานกับการเรียนรู้นอกห้องเรียนที่ผู้เรียนผู้สอนไม่เผชิญหน้ากัน หรือการใช้แหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่หลากหลาย กระบวนการเรียนรู้และกิจกรรมเกิดขึ้นจากยุทธวิธี การเรียนการสอนที่หลากรูปแบบ เป้าหมายอยู่ที่การให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้เป็นสำคัญ

            การสอนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบผสมผสานนั้น ผู้สอน สามารถใช้วิธีการสอน สองวิธีหรือมากกว่า ในการเรียนการสอน เช่น ผู้สอนนำเสนอเนื้อหาบทเรียนผ่านเทคโนโลยีผนวกกับการสอนแบบเผชิญหน้า แต่หลังจากนั้นผู้สอนนำเนื้อหาบทความแขวนไว้บนเว็บ จากนั้นติดตามการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้อีเลินนิ่ง ด้วยระบบแอลเอ็มเอส (Learning Management System ) ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ในห้องแล็บ หลังจากนั้นสรุปบทเรียน ด้วยการอภิปรายร่วมกับอาจารย์ผู้สอนในห้องเรียน

            ความจริงแล้วผมว่าอาจารย์ผู้สอนหลายท่านคงใช้ เบล็นเด็ดเลินนิ่ง อยู่แล้ว ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ผมว่าไม่มีสื่อหนึ่งสื่อใด หรือวิธีการหนึ่งวิธีการใดที่จะใช้แล้วประสบความสำเร็จในทุกครั้ง แต่เราคงต้องผสมผสาน หลากหลายกระบวนท่า เพื่อสู่ความสำเร็จในการเรียนที่ผู้เรียนมีความหลากหลาย

             เมื่อสักสองสามวันก่อน มีนิสิตที่ในที่ปรึกษาของผม มีแนวคิดจะนำเบล็นเด็ดเลินนิ่งไปใช้ในกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างจิตสำนึกสาธารณะ โดยนิสิตได้ลองนำเสนอแนวคิดกับคณะกรรมการพิจารณา เพื่อนำเสนอกรอบคิด ซึ่งคณะกรรมการบางท่านได้ถามนิสิตว่า ถ้าใช้เบล็นเด็ดเลินนิ่ง จะใช้การเรียนในห้องเป็นสัดส่วนกี่เปอร์เซ็น จะใช้กิจกรรมการเรียนรู้บนเว็บกี่เปอร์เซ็นต์ นิสิตของผมเพิ่งจะศึกษาเรื่อง เบล็นเด็ดเลินนิ่ง ทำให้ไม่สามารถตอบได้ว่าจะใช้แต่ละวิธีเป็นสัดส่วนกี่เปอร์เซ็นต์

             ซึ่งผมเองก็อึ้ง ไปเหมือนกัน ว่าควรจะใช้ยุทธวิธีต่างๆ เป็นสัดส่วนกี่เปอร์เซ็น ไม่เคยคิดไว้ก่อน ลองไปเรื่อย วิธีไหนดี วิธีไหนน่าสนใจ ไม่ได้ใช้แนวคิดหรือทฤษฏีอะไรเลย แต่การที่จะเป็น PHD canddate คงจะตอบแบบนี้ไม่ได้ เราต้องมีกรอบความคิด มีที่มาที่ไป ทำให้ผมนึกว่า เอ ! การที่เราอยู่ในแวดวงวิชาการ อยู่ในมหาวิทยาลัย ทำให้เราติดกรอบมากไปหรือเปล่า บางครั้งเราใช้ใจเราบ้างไม่ได้หรือในการเป็นเหตุเป็นผลสำหรับการวิจัย แต่ก็มานึอีกทีขืน นิสิตของผมเค้าตอบแบบนี้ เค้าคงถูกไล่ลงเวทีไม่ทันแน่

รายละเอียดเพิ่มเติม

http://en.wikipedia.org/wiki/Blended_learning

หมายเหตุ พี่กุ๊ก หมายถึง กุ๊กเกิ้ล

             พี่วิ หมายถึง วิกิพีเดีย

หมายเลขบันทึก: 225358เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2008 12:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)
  • สวัสดีค่ะ อาจารย์
  • เหมี่ยวได้ยินคำนี้ครั้งแรกจากเพื่อน ที่ชื่อ พิษณุ ค่ะ
  • เค้าบอกว่า เค้าทำ thesis เกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่
  • ได้ยินครั้งแรกก็งง แต่พอได้อ่าน บันทึกนี้ของอาจารย์ก็เข้าใจขึ้นมากเลยค่ะ
  • ขึ้นอยู่กับว่าอาจารย์ผู้สอนจะให้ความสำคัญกับสิ่งไหน
  • ถ้าเน้นการเรียนในชั้นเรียน(Classroom)แล้วเสริมด้วย Online Learning เช่นวิชาด้านปฏิบัติ ก็ให้น้ำหนักกับการเรียนในชั้นเรียนมาก ซึ่งการเรียนการสอนในปัจจุบันก็มักจะเป็นแนวนี้
  • หรือวิชาที่ไม่จำเป็นต้องเน้นการเรียนในชั้นเรียนมากนัก ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองก็เน้นที่ Online Learning หรือพวกหลักสูตรออนไลน์ตามมหาวิทยาลัยต่างๆ เช่นหลักสูตร Online ของ ม.รังสิต ก็ต้องให้ความสำคัญมากๆๆกับ  Online Learning  อันนี้เกือบ 100 % เลยครับ http://www.rsu-cyberu.com/
  • ม.หอการค้าเรียก Hybrid Learning System(มันก็คือ LMS นะแหละครับ) http://elearning.utcc.ac.th/lms/main/
  • UTCC Hybrid learning เป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ผสมผสานระหว่างการสอนในชั้นเรียน (Face-to-Face) กับการสอนแบบ e-Learning โดยนำส่วนที่ดีที่สุด (Best features) ของการสอนทั้งสองแบบมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน http://www.utcc.ac.th/news/344/.html
  • ดีครับมีแนวคิดอะไรใหม่ๆ ก็มาแลกเปลี่ยนกันครับ
  • พงษ์ศักดิ์จำอาจารย์ธงชัยที่ผมแนะนำให้รู้จักตอนไปงานอีเลินนิ่ง ได้หรอเปล่าครับ คนนั้นแหลครับที่วางระบบของ มหาวิทยาลัยหอการค้า
  • ครับอาจารย์ วันหลังต้อง Mail ไปขอความรู้จากอ.ธงชัยบ้าง
  • ประเด็นเกี่ยวกับการเรียนในห้องเป็นสัดส่วนกี่เปอร์เซ็น จะใช้กิจกรรมการเรียนรู้บนเว็บกี่เปอร์เซ็นต์
  • คงต้องศึกษาจากงานวิจัยของต่างประเทศครับ แล้วเลือกใช้นำมาปรับให้เหมาะสมกับงานวิจัยของเรา
  • คิดเองก็จะโดนคำถามแปลกๆจากท่านอาจารย์ อ้างงานวิจัยต่างประเทศที่เขาทำเสร็จแล้วก็น่าดีครับ เพราะผ่านการวิจัยและทดลองใช้มาแล้ว
  • แต่เท่าที่ผมลองศึกษามา ยังไม่ค่อยจะเจอเลยครับประเภทบอกออกมาชัดๆเลยว่าเป็นสัดส่วนเท่าใด
  • มักจะบอกว่าผสมผสานวิธีการอะไรบ้าง สำหรับในชั้นเรียนและออนไลน์
  • แต่ก็พอมีตัวอย่าง Model ของ RIT ครับและเอกสารของ An Epic White Paper เกี่ยวกับ BL ประมาณ 44 หน้าครับ มีหัวข้อที่น่าสนใจเช่น What is blended learning?,Blended learning – something old or new?,Potential pitfalls,Components in blended learning,Criteria for blended learning,Categories of blended learning
  • http://www.boonphakdee.com/blended/BlendedModel.pdf
  • http://www.boonphakdee.com/blended/Epic_Whtp_blended.pdf

ลิ้งที่พงษ์ศักดิ์ส่งมามีประโยชน์มากครับ

อ.หนึ่งค่ะหนูก็สนในการสอนBleanded Learning Bl.ค่ะ สมัยนี้มีการสอนแบบนี้อยู่มาก พัฒนามาจาก e-learning ค่ะ ดีค่ะพัฒนาไม่หยุดหย่อน เหมือนกับความรู้ที่เราเรียนรู้ได้ไม่มีวันหมดค่ะ

สวัสดีครับ คุณ meawtechno เข้ามาแลกเปลี่ยนกันได้ครับ

เข้ามาหาความรู้นะคะ สนใจทำ Blended learning

กำลังศึกษาค้นคว้า เพื่อหาคำตอบมากมาย

และพบกับคำถามที่อยู่ท้ายบทความของอาจารย์เสมอ

ตอนนี้กำลังหาเหตุผลที่ดีที่สุด เพื่อตอบตามแนวทางที่นักวิชาการควรตอบ

....จะแวะมาใหม่นะคะ

ขอบคุณอาจารย์หนึ่งที่เป็นกำลังใจมาตลอด

ได้ศึกษาเรื่อง Blended Learning จาก web ที่ Link ไว้ให้ กำลังเรียบเรียงอยู่ก็ไม่แน่ใจจะทำได้ดีแค่ไหน เพราะเป็นศัตรูกับงานแปล แต่ก็จะพยายามค่ะ

อาจารย์คะ หนูมีข้อสงสัยกลุ่มหนูที่ตั้งหัวข้อวิจัย "การพัฒนการเรียนการสอน วิชา e-Learning ในรูปแบบ rediktion-D" หนูเริ่มสงสัยว่า รูปแบบนี้คล้ายกับ เบล็นเด็ดเลินนิ่ง หรือไม่ แล้วเรื่องที่หนูสนใจจะทำมีความเป็นไปได้ไหม เพราะหนูกำลังศึกษาหาข้อมูลอยู่ และหากว่ามีความเป็นไปได้หนูต้องเตรียมแผนการสอนให้ชัดเจนนะคะ มีคุยกับท่านผอ.ไว้บ้างแล้วท่านก็มีแนวทางและพอจะเห็นด้วย แต่หนูกำลังสับสนว่ามันจะมีทางที่จะเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดคะ ขอความกรุณด้วยคะ

กฤติลักษณ์ ลออโรจน์วงศ์

ได้อ่านบางส่วนของการสอนแบบผสมผสาน ซึ่งตัวเองเป็นคนใช้แบบง่าย ๆ ไม่ได้นึกว่ามี

รูปแบบอะไร เมื่อมาอ่านของอาจารย์ก็พอเข้าใจบ้าง เป็นไปได้ไหมที่จะได้ข้อมูลเพิ่มเติมกว่านี้ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อนำไปใช้ในการวิจัยต่อไป ขอบพระคุณมากค่ะ จะรอคำตอบนะค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์

หนูก็เป็นคนหนึ่งที่คาดว่างานวิจัยจะเป็นการเรียนแบบผสมผสานด้วยค่ะ หนูเห็นด้วยกับความคิดที่ว่าการเรียนการสอนในปัจจุบันอาจเป็นการเรียนแบบผสมผสานอยู่แล้ว โดยเฉพาะวิชาปฏิบัติ เช่นวิชาทางคอมพิวเตอร์ อย่างน้อยนักเรียนต้องได้เรียนทฤษฎีก่อนการปฏบัติจริง ซึ่งหากเด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเองก็จะเป็นการดีเช่นกัน

จริงๆที่หนูสอนในตอนนี้ก็เป็นลักษณะนี้เช่นกัน สอนหน้าห้องด้วย คู่กับการเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ เมือหนูได้มาอ่านบทความนี้ทำให้รู้สึกเข้าใจมากขึ้น รวมทั้งลิงค์ของคุณพงษ์ศักดิ์ด้วยค่ะ เป็นประโยชน์มากค่ะ ขอบคุณค่ะ

"การจัดการเรียนการสอน หรือการใช้สื่อการเรียนรู้ ไม่มีวิธีใดที่ดีที่สุด" นึ่คือข้อเท็จจริงที่ทราบกันมานาน ... ในสถานการณ์การสอนหลายครั้ง ครูตัองใช้กลยุทธ์ในการสอนอย่างหลากวิธี บางครั้งก็ไม่รู้ว่าใช้วิธีอะไร เมื่อไร มากน้อยแค่ไหน แต่ก็เป็นไปโดยธรรมชาติ  เพื่อที่จะให้การสอนบรรลุเป้าหมาย   พักหลังมาได้ยินคำว่า Blended learning ก็เริ่มคิดคนเดียวว่า เป็นหลักการหนึ่งที่มีการใช้มานานแต่นักวิชาการเพิ่งนำมาพูดคุย หรือเขียนในเชิงวิชาการหรือเปล่า  หรือเรายังรู้ไม่.... มีอะไรที่ต้องรู้มากขึ้น  เกิดคำถามมากมาย... และก็สงสัยว่า Blended learning ต่างจาก Integrative Learning อย่างไร

สวัสดีค่ะ อาจารย์ทุกท่าน ในblog นี้

พอดีฝนกำลังเริ่มทำสารนิพนธ์ แต่เป็นการจัดการเรียนการสอนแบบ blended learning ปัญหาคือฝนอยากจะได้ข้อมูลเกี่ยวกับ blended เพื่อนำมาเรียบเรียงบทที่ 2 อยากรบกวนอาจารย์ทุกท่านในที่นี้ แนะนำแนวทางการทำ หรือการหาข้อมูลด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์

ได้อ่านบทความของอาจารย์แล้วก็เลยมีเรื่องที่จะรบกวนเรียนถาม

ระหว่าง Blended Learning กับ WebQuest สามารถที่จะนำมารวมกัน

เพื่อสร้าง Model การจัดการเรียนการสอนที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ ได้มั้ยคะ

รบกวนให้อาจารย์ช่วยวิเคราะห์ชี้แนะด้วยนะคะ

ขอขอบคุณอาจารย์ไว้ล่วงหน้าเลยนะคะ

สวัสดีครับ ผม นิสิต จาก มหาสารคาม เป็นเกียรติ อย่างยิ่ง ที่ได้เรียนรู้กับท่านอาจารย์ ขอฝากเนื้อฝากตัวครับ  ขอบคุณครับ

สนใจเรื่องนี้เหมือนกัน และหวังว่าคงจะได้เรียนรู้กับอาจารย์เพิ่มเติมอีกด้วยค่ะ เกี่ยวกับการทำวิทยานิพนธ์ทางด้านนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท