Safety First - 019 : หลังคารถชนสะพานเชื่อมอาคาร


 

วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน 2551 ก่อนเที่ยง

เกิดอุบัติเหตุบริเวณทางเดินเชื่อมอาคาร MTEC - MTEC Pilot Plant ในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย

ดูภาพแล้วกันครับ

ไม่ต้องบรรยายมาก

 

 

 

 

ผู้ที่เกี่ยวข้อง (เช่น เจ้าหน้าที่ด้าน Safety และอาคารสถานที่)

ควรจะมีมาตรการอย่างไรดี?


คำสำคัญ (Tags): #อุบัติเหตุ
หมายเลขบันทึก: 221172เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2008 13:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

ขอคุณพี่ชิว สำหรับภาพข่าว เรื่องจริงผ่านจอ ครับ กวินเสนอ แนวทางแก้ไขว่า ควรเขียน ตัวอักษรตัวโตๆ ว่า ระวังหลังคารถจะชนสะพาน คนขับผ่านก็จะระวังขึ้นหรือไม่ก็ทำทางลูกระนาดก่อนที่จะ ถึงใต้สะพานครับ

นี่เป็นหนที่สองแล้วค่ะ ครั้งแรกเป็นรถกระบะหลังคาสูงของหน่วยงานภายนอกที่มาส่งของ เกิดขึ้นซักพักใหญ่ ๆ จนจำไม่ได้ว่าเมื่อไหร่ อาการยับเยินกว่าครั้งนี้มาก

เป็นรถสีส้มแปร๋น และขับเร็วด้วย ทำให้ส่วนหลังคาสูง ๆ หลุดร่องแร่ง น่ากลัวใช่ย่อย

สำหรับหนนี้เป็นรถของหน่วยงานที่อยู่ตรงตึก pilot plant ของ BIOTEC นี่เอง ทางงาน safety น่าจะติดป้ายเตือนบอกระดับความสูงของทางเดินที่ยกขึ้นมาตรงปากทางเข้าทั้งสองฟาก (ตรงแยก Betagro - NECTEC pilot plant และ ทางเลี้ยวผ่านตึกของ MTEC) ได้แล้วมั้งคะ ไม่งั้นก็จะมีกรณีแบบนี้เกิดขึ้นมาอีก

แล้วมีใครทราบไหมคะว่า กรณีที่รถมีประกันอุบัติเหตุ ทางบริษัทประกันจะรับผิดชอบหรือเปล่า และทาง MTEC กับ NSTDA เองในฐานะที่เป็นเจ้าของบ้านต้องรับผิดชอบด้วยหรือเปล่าคะ

ตอบเท่าที่ทราบกรณีใกล้เคียงกันนะครับ

เคยมีรถคอนเทนเนอร์ ถอยเข้าอาคารแล้วชนทางเข้าด้านบน เนื่องจากรถสูงเกินไป กรณีนี้บริษัทประกันของรถเป็นผู้รับผิดชอบความเสียหายครับ ส่วนเจ้าของบ้านไม่ต้องรับผิดชอบ เนื่องจากก็มีการติดป้ายบอกที่ชัดเจนและเป็นสากลอยู่แล้ว แต่จะมีภาระเพิ่มคอยดูให้ซ่อมกลับมาเหมือนเดิมครับ

กรณีที่เกิดล่าสุดนี้โดยส่วนตัวเห็นว่า ก็คงจะต้องเป็นความรับผิดชอบของรถ/คนขับรถ ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุแหละครับ ที่ขับรถโดยประมาทจนทำให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหาย เพราะคุณขับรถเป็นอาชีพ โดยเฉพาะรถที่รูปทรงไม่เหมือนชาวบ้านเค้า มันต้องมีสำนึกในความปลอดภัยและระมัดระวังมากกว่าปกติอยู่แล้ว ส่วนเรื่องป้ายเตือนคิดว่าแค่เท่าที่อุทยานทำไว้ก็น่าจะเพียงพอ มีความชัดเจนและเป็นสากลดีอยู่แล้ว หากจะพิจารณาเพิ่ม คงต้องเพิ่มทางข้ามระหว่าง สก.กับศอ.ด้วย เพราะก็เป็นทางเชื่อมลักษณะเดียวกัน

สวัสดีครับ ทุกท่าน

        ขอบคุณสำหรับทุกคำถาม + ความคิดเห็นครับ

        สงสัยสะพานจะสร้างเตี้ยเกินไป...เฮ้อ (สัมพัทธภาพ)

  • เห็นภาพแล้วบอกไม่ถูกเลยครับพี่ชิว
  • สะพานผิดจริงๆๆด้วย
  • อิอิๆๆ
  • แก๊สโซฮอลผิด แหงๆๆ
  • ฮ่าๆๆๆๆๆๆ

ใช่แล้ว แก๊สโซฮอล์ผิด...เอ่อ...แต่น่าสงสารคนขับเหมือนกันเนอะ คงจะแย่แน่ๆ เลย

งานนี้ประกันต้องจ่ายอยู่แล้วเพราะได้สัญญารับประกันเอาไว้และต้องรับผิดชอบให้แก่สถานที่ด้วยเพราะลูกประกันทำให้ผู้อื่นเสียทรัพย์ ส่วนคนขับรถนั้นต้องรับผิดชอบเต็มๆซึ่งก็ขึ้นอยู่กับนายจ้างว่าจะให้รับผิดชอบอย่างไร เนื่องจากกรณีเช่นนี้ไม่ได้เกิดจากเหตุสุดวิสัยแต่เกิดจากความประมาทเลินเลิ่อที่พูดได้เช่นนี้ก็เพราะคบขับถูกจ้างมาให้ขับรถคันนี้นั่นก็หมายความว่าจะต้องรู้และมีข้อมูลของรถที่ครบถ้วนไม่สามารถที่จะปัดความรับผิดชอบได้เลยว่าไม่รู้ว่ารถคันนี้มันสูงเท่านี้ ในทางปฏิบัติแล้วคนขับรถไม่ว่าจะขับรถคันใหนหรือสูงเท่าใดก็ตามหากไม่มั่นใจว่าจะผ่านได้หรือไม่จะต้องหยุดและพิจารนาด้วยความรอบคอบก่อนไปต่อ

สมมุติว่าช่างมาซ่อมเครื่องแล้วโดยไฟช๊อตนายจ้างหรือบริษัทประกันก็คงไม่สามารถเอาผิดกับเจ้าของสถานที่ได้ว่าไม่ติดป้ายเตือนว่ามีไฟฟ้า

ขอบคุณมากครับ

ไม่รู้ว่าตอนนี้เรื่องไปถึงไหนแล้วครับ?

1.ถ้าแก้ที่ตัวอาคารไม่ได้ก็คงต้องแก้ที่ทางเดินรถนะคะ ถ้าทำได้น่าจะจัดเส้นทางเดินรถใหม่

2.สัญลักษณ์ที่เตือนความสูงไว้ มองไม่ค่อยเห็นเด่นชัดนะคะ น่าจะทำให้เด่นชัดมากกว่านี้อีกนิดนึง เช่น บ่งชี้ด้วยสีเหลือง ดำ เอาให้ชัดๆไปเลย หรือจะทำเป็นแท่งโลหะห้อยลงมาแล้วทางสีขาวแดง(คล้ายๆ ตามห้างโลตัสน่ะค่ะ) ซึ่งถ้าคนขับไม่มั่นใจว่าจะผ่านได้มั๊ยเนี่ยะ อย่างน้อยก็จะไม่ชนกับตัวอาคาร

3. ทำลูกระนาดเพิ่มเติมเพื่อลดความเร็วในการขับลงนิดนึงแถวๆ นี้ด้วยก็ท่าจะดี

อ้อ! ลืมไป ข้อนี้น่าจะมาก่อนคอมเม้นท์ที่ 10 คือ  ควรจะให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยและเจ้าของพื้นที่ + คนขับรถร่วมกันสอบสวนสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนะคะ แต่มีข้อแม้ ไม่ควรสอบหาผู้กระทำผิดค่ะ(หลักการ safety เบื้องต้น)

ขอบคุณมากครับคุณ mono

       จะหาโอกาสส่งข้อคิดเห็นให้ผู้ที่เกี่ยวข้องครับ

กวิน : ขอบคุณครับพี่ชิว ขออนุญาตนำภาพจากบันทึก Safety First - 019 : หลังคารถชนสะพานเชื่อมอาคาร สักหนึ่งภาพมาประกอบบันทึกกวินนะครับ และเพื่อจะได้ ลงรายละเอียดที่มาของภาพ เพื่อเชื่อมต่อไปยัง บันทึกของพี่ชิวด้วย  

ว่าด้วยเรื่องนิรุกติศาสตร์ ในไวยากรณ์ภาษาบาลีสันสกฤต (ว่ากันว่ามีไวยากรณ์ที่ยากที่สุดในโลก) ภาษาบาลีสันสกฤตนี้ พิเศษอยู่หนึ่งอย่างคือมีการแบ่งเพศให้ภาษาด้วย

คำที่มีเพศชายเรียก ปุงลึงค์
คำที่มีเพศหญิงเรียก อิตถีลึงค์
คำที่มีเพศสับสน คือไม่รู้ว่าจะเป็นเพศหญิงหรือเพศชาย หรือคำที่เป็น กระเทย/ตุ๊ด/ทอม/ดี้ เรียกว่า นปุงสกลึงค์

ดังนั้น สำนวน "ตามใจปากเป็นหมู ตามใจ....เป็นเอดส์" ประโยคนี้ บ่งชี้ ให้เห็นภาพ ปุงลึงค์ และมุ่งที่จะสอนผู้ชายไม่ให้สำส่อน ซึ่งก็ดูจะไม่เท่าเทียมนัก ในยุคที่ชายหญิง มีสิทธิเท่าเทียมกัน ดังนั้นกวินจึงขอแก้ไขสำนวนนี้ให้บ่งชี้ถึง  อิตถีลึงค์ บ้างนะครับ เพื่อ มุ่งที่จะสอนผู้หญิงไม่ให้สำส่อนจนติดเอดส์ เอาไว้ว่า "ตามใจปากเป็นหมูอิ่ม ตามใจ....เป็นเอดส์" แต่สำหรับ  นปุงสกลึงค์ นี้ยังไม่เป็นที่ยอมรับในสังคมไทย แถมกวินก็ไม่รู้ว่าจะแก้ไข สำนวนให้บ่งชี้ ถึง นปุงสกลึงค์ อย่างไร จึงขอละไว้ในฐานะที่เข้าใจนะครับ

(ปล. พวกตีนผี นี่ไม่เห็นโลงศพไม่หลั่งน้ำตานะครับ )

สวัสดีครับ

       นึกไม่ออกเหมือนกันครับ 555

       เรื่องภาพนี่ ยินดีเลย ไว้จะตามไปดูผล

  • สวัสดีค่ะ คุณบัญชา
  • โห ภาพนี้สุดบรรยายจริงๆ คนขับรถคงลืมไปกระมังว่ารถตัวเองสูงกว่าที่เขาเขียนบอกไว้
  • น่าริบใบขับขี่จริงๆ

สวัสดีครับ คุณวันเพ็ญ

        ถ้ามองหลายๆ มุม

              - น่าเห็นใจคนขับ เพราะต้องโดนตำหนิแน่ (เผลอๆ อาจเสียงานด้วย...)

              - น่าเห็นใจองค์กรเจ้าของรถ เพราะต้องเสียค่าซ่อม...เสียเวลา

              - ทำให้คิดได้ว่า "ขับรถเป็น" ไม่ใช่ว่าเดินหน้า ถอยหลัง หรือเลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวาได้เท่านั้น แต่ต้อง "ขับอย่างปลอดภัย" ด้วยครับ

       ขอบคุณที่แวะมาครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท