มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กับการพัฒนาชนบทตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง/2


เกษตรศาสตร์เพื่อคุณ

 

 

ภาพบางส่วน จากการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ผ่านมาครับhttp://gotoknow.org/blog/samart9/361101

สิ่งที่สำคัญในการเข้าพัฒนาชุมชนคือความจริงใจ ตั้งใจ และกระบวนการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจึงจะสามารถเข้าถึงจิตใจและสภาพวิธีการดำรงชีวิตของคนในชุมชนอย่างแท้จริง ผมถามตัวเองว่าถ้าผมเป็นคนในชุมชน จะรู้สึกอย่างๆไรที่จะมีอาจารย์ที่มีความสามารถหลายๆท่านเข้ามาให้ความรู้ เติมเต็มสิ่งที่ยังขาด และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อเกิดองค์ความรู้ที่สามารถนำไปปฎิบัติได้จริง ตอบว่า ผมคงจะต้องดีใจมากๆ

จากวันนั้นถึงวันนี้ผมเห็นความพยายามของท่านอาจารย์หลายๆท่านที่จะช่วยเหลือชุมชนให้เป็นชุมชนที่แข็มแข็ง และความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเชื่อว่าต้องมีอยู่ในหัวใจของคนไทยอยู่แล้ว

การประสานงานของเจ้าหน้าที่และผู้บริหารส่วนท้องถิ่น มีความสำคัญมากซึ่งความตั้งใจของเจ้าหน้าที่และผู้บริหารของเทศบาลตำบลกรับใหญ่ก็มีไม่ใช่น้อย

เทศบาลตำบลกรับใหญ่

สถานที่สำหรับจัดการฝึกอบรม

ณ โรงเรียน กรับใหญ่ว่องกุศล กิจพิทยาคม

 

การเข้ามามีส่วนร่วมของคนในชุมชน หน่วยงานจากทางภาครัฐ และการให้ความรู้เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาชนบทเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง

และผมก็ยังเชื่อว่า

คำว่า บวร  บ้าน  วัด โรงเรียน

ก็ยังมีความสำคัญ

ที่จะนำมาเป็นแนวคิด 

แม้ว่าจะมีนักวิชาการบางท่านบอกว่ามันโบราณก็ตาม

ภาพบางส่วน จากการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ผ่านมาครับhttp://gotoknow.org/blog/samart9/361101

 

 

นำมาฝากครับ

แล้วพบกันครับ

 



ความเห็น (26)

ภาพบางส่วน จากการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ผ่านมาครับhttp://gotoknow.org/blog/samart9/361101

หวัดดีวันหยุดมาดูเศรษฐกิจพอเพียงเห็นแล้วการอบรมดีจังเลย..น่าสนใจแล้วสิ นำมาเล่าต่อนะคะ เพราะเข้ากับบันทึกพี่จังเลยนำพืชท้องถิ่นมาแปรรูป เน้นความพอเพียงเหมือนกันค่ะ..

โรงเรียนนี้สวยจัง..

พี่ดาพบข้อมูล เพิ่ม โดย นำน้ำมะกรูดที่เหลือทิ้งจากการนำผิวไปปรุงพริกแกงขาย มาแปรรูปเป็น มะกรูดกวน ถ้าอย่างไรบอกชาวสวน ว่าสามารถแปรรูป นำไปจำหน่ายได้เลย ส่งตามร้านขายของฝาก  พี่ดาเพิ่มข้อมูลในบันทึกมะกรูด พร้อมสูตร ข้อ 11 

                       

                       

หวัดดีค่ะเจ้าพ่อมะนาว

     ยายขอส่งกำลังใจมาให้ ขอให้การทำงานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีนะคะ

ได้รับทราบข้อมูลที่มีประโยชน์อย่างยิ่งเลยค่ะ

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ถ้าเราเข้าใจหลัก สามารถนำหลักการนี้ไปบูรณาการได้ทุกอย่าง  ทุกเรื่อง  ทุกกิจกรรม  แม้แต่ชีวิต ของเรา

-ม่เกินตน มีอะไรก็ใช้สิ่งนั้นให้เกิดประโยชน์ จะนำมา  RECYCLE  REUSE REDUSE  เอ้าแถมให้ RETURN เพิ่มอีก นั่นคือในชุมชนนั้นมีอะไร ก็นำมาใช้ได้หมด ไม่ต้องพึ่งพาถิ่นอื่นใช้ของที่มีในชุมชนให้เกิดประโยชน์ วัชพืช เศษวัสดุ เศษอาหารนำมาทำปุ๋ยหมัก  เพื่อเป็นอาหารเสริม หรืออาหารหลัก

-มีเหตุมีผล  นั่นคือ จะใช้อะไรทำอะไร จะต้องไม่กระทบกระเทือนสิ่งแวดล้อม ในชุมชน การควบคุมศัตรูพืช บางครั้งก็ทำลายศัตรูพืช อีกอย่างตามธรรมชาติ ต้องใช้ธรรมชาติบำบัดธรรมชาติ ไม่ใช้สารเคมีจนเกินไป และควรทำเอง ยาปราบศัตรูพืช โดยใช้พืชผักสมุนไพร ที่นำมากำจัดวัชพืช บางอย่างได้  ปุ๋ยชีวภาพ

-สร้างภูมิคุ้มกัน ในการทำหลักการเศรษฐกิจพอพียงเกี่ยวกับการเกษตรนั้น  ถ้าเราสามารถ ทำให้ชาวบ้านเข้าใจ เกี่ยวกับการทดแทน การรีไซค์เคิล รียูส รีดิ้ว   เช่นการทำปุ๋ยหมัก การทำสารกำจัดแมลงจากพืช เมื่อชาวบ้านเข้าใจ เขาก็ทำต่อเนื่องและมีความเข้มแข็งยั่งยืน ก็จะสร้างรายได้มีเงินเก็บ เพราะไม่ต้องไปจ่ายค่าปุ๋ย และสุขภาพของเขาและครอบครัวก็จะสุขภาพดี เพราะลดการใช้สารเคมีในพืชผัก ได้บริโภคพืชปลอดสารพิษ ส่วน รีเทินนั้น เมื่อทำได้ คนก็จะไม่ทิ้งถิ่นไปไหน ไปแล้วก็ต้องกลับมา ดูแล

-ความรู้ควบคู่คุณธรรม  เมื่อชาวบ้านได้รับความรู้ความเข้าใจ ในการปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว  นอกจากจะมีเงินเหลือเก็บเนื่องจากลดค่าใช้จ่ายจากการซื้อปุ๋ยหรือสารเคมี  และเกิดการการักใคร่อปรองดองกัน  ชาวบ้านก็จะปลูกพืชบริโภคเอง โดยการปลูกผักตามสวนตามบ้าน ก็จะทำให้ครอบครัวผูกพัน เพราะต่างคนในครอบครัวเมื่อว่าง ก็จะเข้าสวน รดน้ำดายหญ้า และปฏิบัติตนตามที่เกษตรแนะนำทุกวัน รักใคร่กัน ช่วยเหลือกัน และวันนี้ก็จะมีเมนูร่วมกัน นึ่งปลาช่อนที่เลี้ยงแป๊ะซะ

-พี่สุก็ขอเป็นกำลังใจ ให้กิจกรรมนี้ สำเร็จ ตามเป้าหมายกว่าจะสำเร็จ น้องสามารถ คงต้องลงลุยพื้นที่ หาปัญหาแล้วหละคะ เพราะแต่ละท้องที่ปัญหาไม่เหมือนกัน ฉะนั้น จะเอาปัญหาชุมชนนั้น มาแก้ปัญหาชุมชนนี้  ต้องดูเป็นชุมชนไป

-นำ มา SWOT ก่อน ที่พี่สุกล่าวมา ทำไมถึงรู้เรื่องนัก สมัยเป็นนักศึกษา เขาให้ลงสำรวจและสอบถาม ว่าหมู่บ้านใด สมควรที่จะได้รับว่าเป็นหมู่บ้านตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  พี่สุไปสำรวจสอบถามหลายหมู่บ้าน ก็ได้รับคำตอบว่า   มีโครงเข้ามาสู่ชาวบ้าน ให้ชาวบ้านทำตามโครงการ พอได้ถ่ายรูปแล้ว ก็ไม่ติดตามผล  และโครงการ ก็จะทำแบบเดียวกันหมด ไม่ทำตามปัญหา จนทำเหมือนกัน ปลูกผักเลี้ยงปลาเหมือนกัน ล้นตลาด เอาไปขายไม่ได้ มีไว้กิน และทำไม่ตลอด พอมันวายคนก็เลิกล้ม ไม่หมั่น ที่จะสานต่อหรือทำต่ออีก เพราะมันไม่ตรงประเด็นที่ชาวบ้านเดือดร้อน

-เช่นโครงการเลี้ยงปลาในบ่อ ในอ่าง ไว้บริโภค อ่างก็แคบๆๆ บางหมู่บ้านทำเป็นบ่อ  ก็สามารถเลี้ยงได้ ได้กินเป็นอาหารยามกลับจากนาไร่ แต่ที่เขาลำบากก็คือเขาต้องวิ่งเข้ามาซื้อหัวอาหารปลาในเมืองคะ  และเมื่อปลามันมากมายขึ้นก็แออัดกันอยู่ในบ่อ  บางบ้าน ก็เหลือแต่บ่อเปล่า เพราะเลี้ยงไปกินไป ไม่ทันได้แพร่พันธ์ นี่ก็คือปัญหาคะ

-บางโครงการ ซื้อบ่อซิเมนต์  เหมือนที่น้องครูใจดีปลูกมะนาวแหละคะ บ่อแบบนั้นแหละ  กับถังน้ำ  แล้วก็พันธ์ปลา ไม่มาติดตามผลงาน จบโครงการสวยหรูคะ  บ่อปลาก็ไปเป็นหรือทำอย่างอื่นไป   ทำไปทำไม  ทำไม ไม่ทำแบบยั่งยืน คือทำเอาแต่หน้า  พอว่าได้ทำ โครงการ

-พี่สุเม้นท์ยาวๆๆ คะ  คือพี่สุอยากให้รู้ไว้ ว่า เกษตรทางบ้านพี่สุเป็นเช่นนี้แหละ หวังว่า น้องสามารอ่านแล้วคงได้ข้อคิดนะคะ อย่าเป็นเหมือนเขา

-โครงการปลูกเห็ดนางฟ้า  หรือเห็ดอื่นๆ  ก็ซื้อพันธ์ จากเจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอ  ซึ่งเกษตรทำพันธ์มันไว้ เวลาขายให้หลวง ก็ใช้ชื่อภรรยาเป็นเจ้าของพันธ์  เหมือนอัฐยายซื้อขนมยาย ทำนองนี่แหละคะ

-พี่สุก็ขอนำมาแลกเปลี่ยน เพื่อให้น้องสามารถ นำเรื่องราวจากผู้ที่ไปสำรวจหาหมู่บ้าน ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจ ที่สมเหตุสมผลมาเล่าสู่กันฟังก่อนคะ

-ขอบคุณหลักปรัชญาต่างๆ ที่ถ่ายภาพมาให้อ่านเตือนสติคะ ไปหละ

ไม่ต้องกลัวครับพี่สุ แนวทางการทำงานดังที่พี่กล่าวมา ส่วนมากหน่วยงานท้องถิ่น จะนำคำว่าโครงการเศรษฐกิจพอเพียงมาตั้งเป็นชื่อเพื่อตอบสนองหรือของบประมาณตามนโยบายของรัฐบาลครับ แต่ปัญหา ที่พี่สุได้พบเจอมานั้นไม่ใช่วิธีการทำงานตามการทำงานที่ได้วางแผนการดำเนินงานไว้แน่นอนครับ แล้วจะนำภาพการดำเนินงานมาเรียนให้ทราบเป็นระยะๆครับ ดูแล้วกว่าจะเสร็จผมคงมีภรรยา เฮ้ยๆๆๆๆ ลูกไปหลายคนแล้วล่ะครับ ฮ่าๆๆๆ

วันพฤหัสที่ผ่านมา ถกเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับลูกศิษย์  เค้าพูดแบบแสดงความคิดเห็นขึ้นมาว่า "ผมว่าเศรษฐกิจพอเพียงใช้กับเมืองไทยในปัจจุบันไม่ได้"  เอาละซิ ลูกศิษย์ชั้น!!!!

g]pต้องนั่งอธิบายถึงความหมายที่แท้จริงของคำว่าเศรษฐกิจพอเพียง  ตามความหมาย และแนวคิดของพระบาทสามเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้เข้ามีความเข้าใจใหม่ ระหว่างสนทนา เค้ามีคำถามมากมาย ตามประสาเด็กช่างคิด (2 ชั่วโมง.. เรื่องอื่นด้วย  แฮ่ะๆๆ)

การสนทนาครั้งนี้ ทำให้ทราบว่า มีความเข้าใจที่คาดเคลื่อนเกี่ยวกับคำว่าเศรษฐกิจพอเพียง อีกเยอะ  แม้กระทั่งผู้หลักผู้ใหญ่ ที่ตีความ และคำจำกัดความที่ผิดเพี้ยนไปจากเจตจำนงที่แท้จริง  ผู้คนยังเข้าใจว่า "เศรษฐกิจพอเพียง" คือต้องอยู่แบบยากจน ไม่ต้องดิ้นรน.... ซึ่งไม่ถูกต้อง  พี่ได้ยกตัวอย่างวิธีการทำสวนมะนาวของน้องสามารถ และที่บันทึกเรื่องคิดให้ดีก่อนตัดสินใจทำ.ฯ... 

ตามสไตล์ของครู อธิบาย ยกตัวอย่างให้เห็นชัดเจน  3 ห่วง 2 เงื่อนไข   ที่ว่าประมาณ  มีเหตุผล  มีภูมิคุ้มกัน  เป็นอย่างไร  2 เงื่อนไข (ความรู้  คุณธรรม) คืออะไร เกี่ยวข้องกันอย่างไร..?....

โอ๊ย!... ไม่เล่าแล้ว  ขี้เกียจพิมพ์... 

* เป็นกำลังใจให้คณะจารย์ นักวิชาการชาวกำแพงแสนที่ช่วยเหลือชุมชนให้เป็นชุมชนที่แข็มแข็ง ภายใต้การประสานความร่วมมือกับชุมชน และสร้างภาคีเครือข่าย เพื่อประดยชน์สุขของชาวบ้าน  สนองพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของปวงชนชาวไทย

* พี่ชื่นชม และทึ่งในการทำงานของทุกๆ ท่าน  และพี่ก็จะพยายามทำในส่วนของพี่ เท่าที่จะสามารถทำได้..

* ดูบอลอยู่ซินะ จากช่อง 3 แล้วก็มาช่อง 11 ละมั้ง????

* แต่ก็ดีใจนะ ที่เอเชียชนะ..เย้  เย้....

 

ฝากความคิดถึงให้น้องเล็กด้วยนะจ๊ะ...

 

 

 วันนี้เป็นวันที่ฤกษ์งามยามดีนะที่ เวลามาปะกัน  เย้...เย้...

 

มาแล้วๆ...

เพื่อน้องจัดให้…. แต่ไม่เห็นใช้ (ม่ายรุขอปายทามมายอ่ะ...)

ทดสอบแล้ว ใส่ได้ทั้งในบันทึก และส่วนเสริม เวิร์ก...

ไม่รู้เน็ตที่บ้านเป็นอะไร ตั้งแต่ฝนตก หลุดบ่อยมาก ขนาด 4 เม็กนะ วัยรุ่นเซ็ง....

เว็บอื่นไม่ช้านะ แต่ G2K ขึ้น 504 Gateway Time-out nginx/0.7.61 ทุกครั้งที่ลิงค์.... (ฝากเรียนท่าน อ.ขจิต ช่วยตรวจสอบให้หน่อยค่ะ... ไปบอกเองไม่ได้ เข้าไปได้เลย..) ไม่รู้เป็นระบบของที่บ้าน หรือระบบของ G2K ที่กำแพงแสนเป็นอย่างนี้เปล่า.... เลยขี้เกียจเข้าบล็อกแล้ว...ไปคุยกับลูกทาง facebook ดีกว่า....ฮ่าๆๆๆ ไม่เซ็ง..

เอ๊า!...มัวโม้ อีก....

ขอบคุณมากครับพี่

สวัสดีค่ะ

แวะมาชมกิจกรรม รับสาระและข้อคิดดีๆยามเช้าค่ะ

ขอบคุณค่ะ

บ่นแต่เช้าเลยนะ ที่บ้านเชียงใหม่ก็เป็นอาการเดียวกันตั้งแต่เมื่อวาน  ถามอ.ขจิตได้เหรอค่ะ ไม่ใช้ถามน้องมะปรางค์เปร้ยวหรือ พี่ดาจะมาบอกว่ามีเรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับแมงอีนูนค่ะ พี่ดาไปเห็นที่ตลาด ถึงได้ทราบว่าจำผิด แมงที่ราคาสูงนั้นไม่ใช้แมงอีนูน แต่เป็นแมงมัน ซึ่งตอนนี้วันนี้ ขายกิโลละ 1000 บาท แต่ไข่ยังไม่มี สงสัยพี่ดาต้องลองชิมสักวัน ทำไมถึงแพงแต้แพงว่า แม่ค้าใส่ถุงขาย ครึ่งขีด 50 บาท ช่วยบอกผู้ที่สนใจด้วย พี่ดาขออภัยที่จำผิด แล้วพี่ดาจำบันทึกไม่ได้ฝากไปบอกด้วยนะ  หากใครจับขายมาขายทางเชียงใหม่รวยแน่ค่ะ  ไข่ยิ่งแพงมาก  ก็ไม่ทราบจังหวัดอื่นๆนิยมกินหรือเปล่า

                  

สองสามวันนี้ต้องขอโทษพี่ชมพู่ด้วยครับ ไม่ค่อยได้พูดคุยกันทางโทรศัพท์ พอดีผมต้องเตรียมงานหลายอย่างครับ พรุ่งนี้ก็ต้องประชุมอีกครับ ต้องขอโทษด้วยน่ะครับ

                      

ท่านเกษตรคะ ต่อไป แม้แต่วัว ก็คงใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกันคะ  คิดถึงคะ  มีอะไรอ่านอีกไหมคะ ไปเยี่ยมแม่แล้วยัง คงคิดถึงแย่แล้ว พี่สุมีบทใหม่เขียนเรื่อยเปื่อย อีกบทหนึ่ง ว่างก็ค่อยเข้าไปเยี่ยมนะคะ ในบทธรรมะเป็นยาใจคะ

  • สวัสดีค่ะ
  • บุษรากลับมาจากแบกปาล์มเป็นที่เรียบร้อยแล้ว "กลับมางวดนี้หมดแรงเลย" กินยาพาราไป 2 เม็ด รู้สึกปวดหัว เพราะอากาศร้อนอบอ้าวมาก ๆ แล้วอยู่กลางแดดทั้งวัน ถ้าเป็นสมัยก่อนไม่กลัวเลยเพราะอยู่กลางแดดทุกวัน แต่ช่วงนี้มาทำงานไม่ค่อยได้ออกแดดเท่าไหร่ "และด้วยอายุที่มากแล้วนั่นเอง" ........ฮ่าๆๆๆๆๆ แต่ก็ต้องทนเนอะ ถ้าเราไม่ทำแล้วใครจะทำ.....
  • เหนื่อยกายพักผ่อนไม่กี่วันก็หาย อย่าให้เหนื่อยใจเป็นใช้ได้ จริงมั๊ยเพื่อน....
  • ขอบคุณสำหรับกำลังใจดี ๆ ที่มีให้กันเสมอมาค่ะ

                    

ทายกันใครจะชนะ ระหว่างญี่ปุ่นกับแคเมอรูน 

ยังงัยก็เชียรคนเอเชียด้วยกันเน๊าะ... ให้กำลังใจกัน

แน่ะ....ดูแต่บอลพูดด้วยก็ไม่พูดด้วย.. ไปดีกว่า.. หิวข้าว....

   ส่งคนมานั่งเชียร์เป็นเพื่อนนะ     ฮ่าๆๆๆๆๆ

เพลงโคตรเพราะเลย.... เอ้อ.. เด็กสมัยใหม่ ฟังเพลงยุคคุณแม่อย่างเราด้วยแฮะ....ก๊ากๆๆๆๆ

 

 

สวัสดีค่ะหนุ่มสุพรรณฯ

สนใจจังเลยค่ะ

เศรษฐกิจพอเพียงเนี๊ยะ

ซักวันต้องได้ทำแน่ ๆ 

ขอบคุณสำหรับบันทึกดีดีนะคะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับอาจารย์ สามารถ

หายป่วยกลับมาลุยงานต่อได้แล้วครับ

มีงานสองเรื่องที่ไม่ได้รับปากตอนป่วย แต่หายป่วยแล้วต้องไปทำให้คือ

"ทนายอาสา วิทยากรออกปาก"

ภาพวาระการประชุมครั้งที่ 5/2553

คณะทำงานของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน

ณ ห้องประชุมชั้น 3 อาคารชูชาติกำภู

วันที่ 15 เดือนมิถุนายน พ.ศ.2553

วาระที่1 เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

     1.1 แนวคิดในการดำเนินงานโครงการ

     1.2 การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ

     1.3 รายชื่อเกษตรกรและผู้นำชุมชน

วาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุม

วาระที่ 3 เรื่องสืบเนื่องและติดตาม

     3.1 การเตรียมการในการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ

     3.2 การดำเนินการโครงการวิจัยและพัฒนา

แนวคิดในการดำเนินงานโครงการ

ว้าว คิดว่าเข้าบันทึกผิดนะคะเนี่ย ทำไมเพลงหว๊าน หวาน ๆๆๆ คิดว่าเข้าบันทึกครูพี่จุ๋ม จิ๋ม แจ๋ว ซะอีก ๕ ๕

สวัสดีค่ะ

มาเป็นกำลังใจให้กิจกรรมจิตอาสา ทำงานเพื่อสังคมค่ะ  "บ้าน วัด โรงเรียน" เป็นสถาบันหลักของชุมชนค่ะ

จะรออ่านบันทึกเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมต่อนะคะ

http://gotoknow.org/blog/nongnarts/367199จากท่านนงนาท สนธิสุวรรณ

 

 

   หนังสือนี้จัดพิมพ์โดย โครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด(มหาชน)

ท่านที่สนใจโปรด download ได้ที่ :

   http://www.scbfoundation.com/news_publish_detail.php?cat_id=6&nid=489 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท