สำนักงานปราชญ์แห่งชาติ (๓) แนวทางและเป้าหมายในการดำเนินงาน


เป็นฐานปฏิบัติการเชื่อมโยงฐานข้อมูลที่มีชีวิตให้กับเครือข่ายและชุมชน
 

พองานมหกรรม KM ภูมิภาคที่ มหาวิทยาลัยนเรศวรใกล้เข้ามา ความคิดของผมในเรื่องที่จะไปหารือกับพันธมิตรบล็อก ก็เริ่มขมวดปมชัดเจนมากขึ้นอีกเล็กน้อย

  

โดยเฉพาะเรื่องสำนักงานปราชญ์แห่งชาติ ที่คุณเม้งได้ทำให้ผมฝันมาเป็นเดือน 

 

โดยสำนักงานนี้น่าจะทำหน้าที่เป็น

 
  • เป็นฐานปฏิบัติการเชื่อมโยงฐานข้อมูลที่มีชีวิตให้กับเครือข่ายและชุมชน
 
  • สนับสนุนกิจกรรมการพัฒนาความรู้ระดับแปลงและครัวเรือน แบบการขยายและการแตกหน่อทางความรู้
 
  • สนับสนุนการขยายเครือข่ายในการพัฒนาแหล่งและศูนย์การเรียนรู้ของการจัดการความรู้แบบระเบิดจากข้างใน
 

ที่จะกระตุ้นให้เกิดการ

 

·        รวบรวม และจัดข้อมูลความรู้ที่มี ให้เป็นหมวดหมู่

 

·        สนับสนุนการสร้างความรู้ ที่เชื่อมโยงกับฐานข้อมูลและการปฏิบัติการในระดับแปลง ครัวเรือน และชุมชน

 

·        ขยายการทดสอบและการจัดการความรู้ แบบ ธรรมชาติ และ

 

·        สามารถพัฒนาพื้นที่ไม่อุดมสมบูรณ์ หรือพื้นที่ที่มีความรู้ไม่พอเพียง ให้กลายเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ทางความรู้ และการจัดการความรู้ และ

 

·        ทำให้มีความรู้พอเพียงมากขึ้น ตามหลักการของ สคส.

 

วันนี้ขอสั้นๆแค่นี้ครับ

 

เพื่อเป็นปุ๋ยทางความคิดให้ท่าน ก่อนจะมีโอกาสคุยกัน

นอกรอบที่ มหกรรม KM ภูมิภาค ครับสวัสดีครับ  
หมายเลขบันทึก: 131220เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2007 14:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับท่านอาจารย์

สบายดีไหมครับ

ผมชะแวบมาสั้นๆ เขียนรวมแนวคิดเอาไว้ คร่าวๆ ถัดจากตอนนี้ไป จะมุ่งไปทางแนวทางที่ผมพอจะถนัดให้นะครับ ผมจะมุ่งประเด็นไปที่ตัวฐานข้อมูลชุมชนนะครับ

สำหรับตอนแรกที่เขียนไว้อ่านได้ที่ อุ่นเครื่อง สำนักงานปราชญ์แห่งชาติ ตอนที่ 1 แนวคิดพื้นฐาน

ขอบคุณอาจารย์มากนะครับ  จะเขียนไว้ตามวาระและโอกาสตามควรครับ

ครับ

ผมอยากจะฟังความเห็นจากแนวร่วมจากทุกภาคว่าเราจะคุยกันอย่างไร ตอนไหนด๊ หรือเก็บไว้คิดไปเรื่อยๆ รออีกสักหน่อย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท