อนุทินล่าสุด


ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

การสอน ในห้องการดูพระแท้ เมื่อคืน วันที่ 2 มิถุนายน ที่ผ่านมา 

********************************
ผมใช้อุปมาเนื้อพระเป็นปูนคอนกรีต ที่คาดว่าทุกคนจะคุ้นเคย
ที่มีช่องว่าง จากพื้นที่ ที่เคยมีน้ำอยู่ เมื่อน้ำระเหยไป จึงเกิดเป็นช่องว่างอยู่ในโครงสร้าง

ช่องว่างและโครงสร้างดังกล่าว ทำให้มี การเคลื่อนที่ ของน้ําและสารละลาย ที่เป็นปูนไบคาร์บอเนต และมีแคลเซียมคาร์บอเนต ปนมาด้วย ในระดับต่ำ จึงทำให้เกิด การสะสมของปูน แคลเซียมไบคาร์บอเนต และแคลเซียมคาร์บอเนต ที่พื้นที่ผิว

การสะสมดังกล่าว ทำให้เกิด พื้นผิวที่ไม่เรียบ จึงเกิดกับภาพความเหี่ยว เป็นลูกคลื่นเล็ก อยู่ในทั้งที่ต่ำ และบนสัน
การสะสมดังกล่าว จะทำให้มีการอุดตัน ของทางไหลของน้ำ และการอุดตันที่เกิดขึ้น ก็จะเกิดแรงดันทำให้มีการปริแยกของเนื้อ หรือ การ ทำให้ช่องว่างเดิมบางช่องขยายใหญ่ขึ้น เนื่องจากการเคลื่อนที่มารวมอยู่ที่เดียว ทำให้เห็นเป็นรูน้ำตา หรือบ่อน้ำพุอย่างชัดเจน ซึ่งจะเกิดในพระที่มีอายุมากตั้งแต่ 50 ถึง 80 ปีขึ้นไป

นี่คือการพัฒนาการ ของเนื้อปูน ผ่านระบบโครงสร้างและของว่าง เมื่อเวลาผ่านไป 1 ปี 5 ปี 10 ปี 20 ปี 80 ปีร้อยปีหรือ 150 ปี ที่จะมี ระดับการเปลี่ยนแปลงแตกต่างกัน และสามารถนำมาพิจารณาอายุของพระได้ตามหลักการดังกล่าว
ในคืนนี้ ผมจะอธิบายต่อในเรื่องของ การพัฒนาการโดยธรรมชาติ ของในเนื้อปูน

และการพัฒนาการที่เกิดจากการใช้งาน ของน้ำมัน ที่ผสมอยู่ในเนื้อปูนเหล่านั้น

โปรดติดตาม ตอนต่อไปครับ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

ตา กับ หู อย่างไหน "ดูพระ" ได้ดีกว่ากัน

****************************************************

ที่ผ่านมา ผมเริ่มศึกษาพระโดยใช้ "หู" ดูพระมานาน หมดเงินไปเยอะ ได้แต่พระเก๊

ตอนหลังผมหันมาใช้ตาดูพระแทน เสียเงินน้อยลง ได้พระแท้มาเยอะ
และบอกคนอื่นต่อได้ด้วย

ผมเลยคิดว่า ใช้ตา ดูพระจะดีกว่า หู มาตลอด

และ ผมถนัดใช้ ตาดูพระ มากกว่า ใช้หูดูพระ ครับ อิอิอิอิอิ
มีรุ่นพี่ และเซียนบางท่าน แนะนำให้ผมใช้ หูดูพระ
แต่ผมไม่ถนัด และจากประสบการณ์ ทำให้ผมไม่เชื่อครับ

ผมก็เลยได้แค่ที่เห็นนี้แหละครับ

อิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

สิ่ง “ที่สุด” ของชีวิต

...สิ่งร่ำรวยที่สุด คือ สุขภาพที่แข็งแรง

...ความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่ที่สุดของชีวิต คือ การทะนงตัว

...การผิดพลาดร้ายแรงที่สุดของชีวิต คือ การเล่นการพนัน

...ความสุขมากที่สุขของชีวิต คือ การช่วยเหลือผู้อื่น

 ...ของกำนัลที่มีค่ามากที่สุดของชีวิต คือการให้อภัย

...การยอมรับและนับถือได้มากที่สุดของชีวิต คือ ความก้าวหน้า

...ความชั่วช้าต่ำต้อยที่สุดของชีวิต คือ การข่มเหงผู้อื่น

...บาปกรรรมใหญ่ที่สุดของชีวิต คือ ไม่กตัญญู

...ความโง่เขลาที่สุดของชีวิต คือ การติดยาเสพติด

...การล้มเหลวครั้งใหญ่ที่สุดของชีวิต คือ ความสิ้นหวัง

ไปอ่านเจอ นำมาเล่าต่อครับ



ความเห็น (2)

สุดยอดครับเห็นด้วยอย่างยิ่ง

ขออนุญาตท่านอาจารย์ นำบทความดีๆส่งต่อนะครับ.. ประมาทเพียง 1 ประโยค ชีวิตก็พังได้เลยนะครับ

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

ประเภท "หลักๆ" ของคนในตลาดพระเครื่อง
***********************************
คนเดินสายพระ.......... ซื้อมา ขายไป
นักสะสม......... หยิบไปเรื่อย หวังฟลุค
นักเรียนดูพระ..... ศึกษา เรียนรู้
เซียนพระ........ตัดสิน ฟันธง

*****************************

ชอบแบบไหน ก็ทำแบบนั้นเลยครับ
อิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิ



ความเห็น (3)

ท่าน ดร. แสวง ระยะหลังๆ ผมมีพระที่ต่างเก็บรักษา ท่านฯ เขียนให้ความรู้ในการเข้ากรอบพระได้ไหมครับ? จะเป็นประโยชน์ (ต่อผม) มาก 55555 :):)

ไม่กล้าเอาพระไปใส่กรอบค่ะ กลัวหายไปกับคนทำกรอบค่ะ :(

ผมอยากศึกษาอยากดูพระเป็นคับ อยากเข้าวงการนี้มาก ช่วยสอนผมด้วยครับ

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

สังคมจะเข้มแข็งและมีพลังได้นั้

อย่างหนึ่งก็คือการส่งเสริมคนดี ให้ทำความดีต่อไป
และทำให้เขาได้เป็น "ตัวอย่าง" ของการทำความดี
นึ่คือหลักของการแสดง "มุทิตาจิต" เพื่อสร้างสรรสังคม

เพราะ
คนที่ทำความดีอยู่นั้น บางคนก็ชัดเจน บางคนก็ยังสงสัยตัวเอง
ทั้งๆที่ความสุขจากการ "ทำความดี" เหล่านี้มาจาก "มรรค" และ"ผล" ของเขาเอง ล้วนๆครับ 

คนภายนอกทั่วไปนั้น อย่างมากก็แค่ "ชี้" ให้เขาเห็น ในสิ่งที่เขามี เท่านั้นครับ 
เขาอาจจะเห็นเองแล้ว ไม่แน่ใจ หรือไม่กล้าพูด ก็เป็นไปได้ครับ 

การยกย่องเขา จะทำให้เขามีความมั่นใจ ไม่คลอนแคลนไปจาก "แกน" แห่งความดี

นี่คือประโยชน์ของ "มุทิตาจิต" เพื่อสังคม ที่ผมเข้าใจครับ



ความเห็น (2)

เหนื่อยมากมายทั้งวัน พอเลิกงานกลับบ้าน แค่ลูกเห็นเราแล้วดีใจ และกับประโยคที่ว่า “พ่อมาแล้ว” หายเหนื่อยเป็นปริดทิ้งเลย

ได้ความรู้ที่เป็นจริงครับ

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

ผมไม่เคยเชื่อ "ชัยชนะ" ใดๆ จะยืนยาว

กาลครั้งหนึ่ง ผมเคยฝันตั้งแต่ ตุลาคม 2516

ด้วยชีวิตและเลือดเนื้อ ไม่รักตัวกลัวตาย ทุ่มสุดตัว

ด้วยความเชื่อว่าจะช่วยแก้ปัญหาสังคมของไทย

แต่ผ่านมาไม่กี่ปี ทุกอย่างก็ลงร่องเดิม

แค่เปลี่ยนหน้าไพ่นิดหน่อย

เท่านั้น

อิอิอิอิอิอิอิอิ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

ถ้าเราพร้อมที่จะเรียน จะมีสิ่งที่ช่วยให้เราได้เรียนทุกวินาที ในทุกๆวันของชีวิต

แล้วชีวิตเราจะไม่มีเวลา "ว่าง" ที่จะต้อง "ใช้ให้เป็นประโยชน์"

เพราะ "ทุกเสี้ยววินาที" ได้ใช้ประโยชน์เต็มที่แล้ว จากการเรียน "ตลอดเวลา"

จึงจะไม่มีคำว่า "เบื่อ" เซ็ง" "เหงา" "ว่างๆ" "ไม่รู้จะทำอะไร" ฯลฯ

ผมเชื่อในวิถีนี้ และ ทำมาอย่างนี้ ตลอดชีวิต

เลยไม่เคยเข้าใจคนที่บ่นแบบนั้นสักเท่าไหร่

ผมคิดออกได้แค่ว่า "ก็ไม่คิดจะเรียน" ผลก็ "เป็นเช่นนั้นเอง"

ธรรมดาๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
อิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิ



ความเห็น (3)

ในทำนองนี้ท่านอาจารย์ได้กล่าวถึงกระผมหรือเปล่า ถ้าเปล่าต้องขอขมาอภัย แต่ถ้ากล่าวถึงกระผมก็ขอขมาอภัยด้วย และขอตอบว่า กระผมไม่ได้เรียนกับคนแล้ว ขณะนี้เรียนอยู่กับสัตว์ พืช สาร you tube Google เพราะมันถูก ส่วน Google นั้นมีความรู้ให้กระผมได้เรียนไม่ถึง 5.000ล้านเล่ม ก็คงจะไม่เพียงพอสำหรับผู้ที่เล่นรู้ เมื่อนักข่าวไปสัมภาษณ์พระพยอมว่า เมื่อท่านนั่งอยู่เคยเจอใหมว่ามีสีกามานั่งวาบกราบท่าน แล้วท่านมีอารมณ์ใหม ท่านบอกว่ามี 1 วินาที แล้วคำว่า เบื่่อ เซ็ง เหงา กระผมมี 5 วินาที่จะเป็นอะไรไป แล้วอึด ฮึดใหม่ จะได้ไหม กระผมเป็นมนุษย์กิเลศ แต่ก็พยายามใช้กิเลสให้เป็น และกระผมก็คิดออกเหมือนกันว่าได้เรียนวิชาสัมพัสสรจากรองศาสตราจารย์ ดร. พรรณี ชูทัย เจนจิต ซึ่งท่านเป็นสายศิษย์ของพีเจย์ นักจิตวิทยาระดับโลก Go to know เป็นระบบไทยทำไทยใช้ และกระผมเข้ามาก็เพื่อ รับมา - ส่งไป Go to know เขาเชิญเราขึ้นไปยืนบนฝอยเมฆแค่นั้นไม่มีอะใรในอัตตาหรอก ก็แค่มนุษย์เดินดิน กราบขอบพระคุณที่เตือนสติ

การเรียนจากหนังสือ คำสอน หรือสื่อใดๆ เป็นเพียงการว่าตาม "บัญญัติ" ที่ผู้รู้บางท่านบรรจงเขียนหรือสร้างขึ้นมา "ตามความคิดของเขา" ครับ

ที่ดีกว่า น่าจะเป็น การเรียนจากของจริง "อย่างเข้าใจ" ความเป็นจริง อย่างที่มันเป็น โดยไม่มีใครมาบรรยายบิดเบือน จะดีกว่าอีกหน่อย

แต่การเรียนที่แท้จริงนั้น น่าจะอยู่ในระบบของความคิด "พัฒนาตัวเอง" ให้ดีกว่าเดิม อย่างแท้จริง ในตัวของเรา โดยตัวของเราเองครับ

นี่คือสิ่งที่ผมเข้าใจความหมายของคำว่า "เรียน" ครับ

ตรงไม่ตรงก็ขออภัยครับ

การเรียนจากหนังสือ เป็นเพียงการว่าตาม "บัญญัติ" ที่ผู้รู้บางท่านบรรจงเขียนขึ้นมาครับ

การเรียนจากของจริง "อย่างเข้าใจ" ความเป็นจริง จะดีกว่าอีกหน่อย

แต่การเรียนที่แท้จริงอยู่ในระบบของความคิด "พัฒนาตัวเอง" ให้ดีกว่าเดิม อย่างแท้จริง โดยตัวของเราเองครับ

นี่คือสิ่งที่ผมเข้าใจความหมายของคำว่า "เรียน" ครับ

ตรงไม่ตรงก็ขออภัยครับ

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

ในชีวิตผมจริงๆเลยนะครับ

ผมเรียนทุกอย่าง ด้วยตัวเอง สอนตัวเอง
อย่างเปิดเผย และตรงไปตรงมา 
ก็...... เพื่อให้เพื่อนๆรู้ และเชื่อมั่นว่า...............

การเรียนเป็นเรื่องง่ายๆ (อย่างที่ผมเรียนมาแล้ว) และ เข้าใจได้ไม่ยาก
(แค่ไม่กี่ชั่วโมง ก็หายโง่ไปอีกเยอะ โดนหลอกยากขึ้นอีกเยอะ อิอิอิอิ)

แต่...............

การไม่ยอมเรียน ต่างหาก ที่เป็น "เรื่องยาก" (อย่างที่ท่านกำลังเป็นอยู่)

(โดนหลอกทั้งปี อิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิ)

ผมว่า..............ชีวิตที่เลือกได้ (ง่ายๆ และจริงๆซะด้วย) 
ไม่เลือก "เรียน" ก็ไม่ว่ากัน แต่อย่าบ่นว่า "ไม่เป็น" ให้ได้ยินนะครับ

น่าเบื่อ................

555555555555555555555555



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ
พระอภิธรรม องค์ธรรม และ หลักวิทยาศาสตร์
 
ยังไงผมก็ "หนี" จากความเป็น "นักวิทยาศาสตร์" ไม่ได้ อิอิอิอิอิอิ

ผมศึกษาธรรมะมานานก็จริง แต่มิได้ศืกษา "พระอภิธรรม" มาเลย
เพราะคิดว่าเป็นเรื่องยาก และซับซ้อนเกินไปสำหรับผม
 
แต่เมื่อผมมาศึกษาแบบ กล้าๆ กลัวๆ ด้วยตัวเอง เพราะอยากทราบว่า
พระอภิธรรม คืออะไร ทำไมจึงยาก
 
ดังนั้น...........
ขนาดมาศึกษา "พระอภิธรรม" ก็ยังใช้หลักวิทยาศาสตร์ต่างๆ เข้าไปจับ
โดยใช้เป็นทั้ง "ฐานคิด" และ "โครงสร้าง" การเรียนรู้

ทำให้ผมพบว่า ..............

พระอภิธรรม โดยเฉพาะในส่วนของ ปัฏฐาน นั้น อธิบายการเกิด การดับ และการทำงานของร่างกายคน
การทำงานขององค์ประกอบระดับอะตอม และโมเลกุล
ระดับองค์ประกอบย่อยๆ และการทำงานของอวัยวะต่างๆได้ลึกซึ้งกว่าหลักวิทยาศาสตร์ใดๆที่ผมเคยศึกษามา
ได้ละเอียดลึกซึ้ง และเชื่อมโยงเป็นองค์รวมแบบไม่แยกส่วนเหมือนหลักวืทยาศาสตร์ที่มักสอนเป็นสายๆ แทบไม่เกี่ยวกัน

ทั้งหลักการทางสรีรวิทยา (Physiology) และ จิตวิทยา (Psychology) ได้ชัดและละเอียดกว่าหลักการทาง</wbr>วิทยาศาสตร์ ทั้งหลักการของ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ และสาขาย่อยๆอีกเป็นร้อยๆ

ตามความเข้าใจของผมในขณะนี้

แท้ที่จริง คำว่า "องค์ธรรม" ก็คือ "ระบบการเดินทางและการเคลื่อนที่" ของสสารและพลังงาน ระดับของ</wbr>อะตอม และโมเลกุล และละเอียดกว่า (ที่แม้แต่หลักการทางวิทยาศาสตร์ก็ยังศึกษากันไม่ถึง)
ที่ทำให้เกิดลักษณะของการเกิดดั</wbr>บของผลรวมระดับต่างๆ ของสรรพสิ่งเหล่านี้ ตามกลไกของธรรมชาติเท่านั้นเอง

แต่ยังมีอีกหลายมิติ หลายประเด็นของธรรมชาติ มากๆๆๆๆๆๆ
ที่ไม่มีสาขาใดๆ ทางวิทยาศาสตร์เข้าไปศึกษาและรั</wbr>บรอง

และ นี่คือจุดที่ยังเป็นเรื่อง "ยาก" สำหรับผม ในการศึกษา "พระอภิธรรมของผม
 
แต่จะลองค่อยๆทำความเข้าใจ และนำมาเล่าให้ฟังครับ
 
ตามสไตล์นักวิทยาศาสตร์ ละครับ

อิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิ</wbr>อิ


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ
ผมทุ่มเวลาและกำลังสมองศึกษา "พระอภิธรรม" ในตอนเย็นทุกวัน วันละ 2-5 ชม

โดยใช้หลัก "อิทธิบาท 4" แบบ "เต็มอัตรา" แทบไม่ให้เวลากับงานอื่นเลย

แต่....ผ่านไป 2 สัปดาห์กว่าๆ แล้ว.....อิอิอิอิอิอิ
แค่ "องค์ธรรมของปัฏฐาน" ก็ยังจับได</wbr>้ไม่หมดเลยครับ

เพราะมีรายละเอียด ศัพท์ทางธรรมปรมัตถ์ ธรรมบัญญัติ ความคล้ายคลึง และทับซ้อน มีมากมายจริงๆ

พอศึกษาจบแต่ละตอน เก็บความรู้ไปคิดต่อจนหลับ
นอนประมาณ 6 ชม. เพื่อเอาแรง...ไปทำนาต่อ
ตอนเช้าหลังทานอาหาร "ครั้งเดียว" ก็ไปย่อยความรู้ ในระหว่างการทำนาทุกวัน
ตอนเย็นกลับมาประมาณทุ่มกว่าๆ ก็มาศึกษาต่อ

คิดว่า .....กว่าจะอ่านจบในขั้น "ปัฏฐาน" อย่างเร็ว ก็น่าจะปลายปีนี้ละมั้งครับ

อิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิ ..........กำลังสมองมีแค่นี้ครั</wbr>บ 555555555

และ...อิอิอิอิอิ.....วาสนาของผมมีไม่มาก
555555555555555555
 
กว่าจะคิดออกว่า.......เกืดมาทั้งที ต้องศึกษา "ปัฏฐาน"  ไม่งั้นคงเสียชาติเกิดจริงๆ ก็เกือบจะสาย

แม้แต่พระภิกษุ ที่สอนปริยัติ ที่สนิทกันก็ยังแนะนำใ</wbr>ห้ไปศึกษา "วิสุทธิมรรค" มากกว่า
ผมไปศึกษาอยู่พักหนึ่ง แล้ว "ไม่ค่อยถูกจริต" ครับ
แค่ "มิลินทปัญหา" นั้น อ่านจบนานแล้ว สนุกมาก จำง่ายๆ ใช้เวลาไม่ถึงสัปดาห์ ก็เรียบร้อย อยู่ในสมองผมหมดแล้ว 

แต่ชีวิตที่ผ่านมา 40 กว่าปี ที่ศึกษา "ธรรมะ" ...อิอิอิอิอิอิ ผมมัวแต่ไปติดอยู่กับ "ธรรมะ" เปลือกๆ ทางอ้อม และ ทางลัด เสียตั้งนาน

ของดีๆ ทางตรงๆ อย่างนี้ ถ้าไม่ศึกษาก็นับได้ว่า "เสียชาติเกิด" เลยละครับ

ไม่เชื่อลองเลยครับ
555555555555555555555555555555


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ
ผลการศึกษา "ปัฏฐาน"
หลังจากทุ่มเทเวลาประมาณสองสัปด</wbr>าห์ วันละ 4-5 ชม. ก่อนนอนทุกวัน ศึกษา "พระอภิธรรม"
เน้น "ตัมภีร์มหาปกรณ์" หรือ "ปัฏฐาน"
จนพอเข้าใจโครงสร้างพื้นฐานของก</wbr>ารศึกษา การพัฒาจิตแบบ "กุศลธรรม"
(ประหารกิเลส และสร้างปัญญา)

ทำให้เริ่มมองเห็นแก่นคำสอนของพ</wbr>ระพุทธเจ้า "ฉบับเต็ม" ได้ชัดเจนขึ้นอีกนิดหนึ่ง
พอจะสนทนาธรรมกับทั้งสายปฏิบัติ</wbr>และปริยัติได้พอสมควร
จึงเริ่มแถม เวลากลางวัน เริ่มใช้ระบบโทรศัพท์ "สนทนาธรรม" เรียนปรึกษากับพระสายต่างๆ ที่มีความชัดเจนในหลัก "กุศลธรรม" ที่รู้จักและนับถือ
จึงทำให้พอจะแยกแยะ "ทางหลัก" "ทางเลือก" "ทางลัด" "ของแท้" "ของปลอม"
ของการพัฒนาจิตแบบต่างๆ ในหลัก "พุทธ" ได้ชัดเจนขึ้น
โดยใข้โครงสร้าง "ปัญจทวารวิถี" เป็นหลัก

และเพื่งเข้าใจสิ่งที่น่ากลัวที</wbr>่สุด คือ "ชวนะ" หรือ " ผลของจิต" หรือ "วิบาก"
ทั้งที่เป็น "อกุศล กุศล และ มหากุศล" ที่จะจะติดอยู่กับเราไปอีกหลายภ</wbr>พหลายชาติ จนกว่าจะบรรลุ "นิพพาน" (ที่ต้องบำเพ็ญเพียรมาก และยาวไกล เพราะต้องประหาร "กิเลส" จนหมดสิ้นแล้วเท่านั้น)

จึงทำให้ได้ข้อคิดในการปฏิบัติต</wbr>ัวแบบ "ชาวพุทธ" ที่ถูกต้องมากขึ้น มีสติ "ระลึกรู้" ดีกว่าเดิมอีกนิดหน่อย

จึงขอเชิญท่านที่สนใจ "การพัฒนาจิต" ระดับเริ่มต้นแบบเดียวกันกับผม มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ครับ

ขอให้ "กุศลจิต" จงมีแด่ทุกท่านครับ


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

ผมพบว่า ความยากของการศึกษา "พระอภิธรรม"
หลักๆ อยู่ที่ ความหมายของคำและภาษาที่ผมไม่คุ้นเคย
แต่กลไกการเกิด-ดับ ขององค์ธรรมต่างๆนั้น
เป็นหลักเดียวกันกับหลักวิทยาศาสตร์ ที่ผมคุ้นเคย

ดังนั้นจุดที่ผมจะต้องให้ความสำคัญมากๆ และค่อนข้างยากหน่อยสำหรับผม ก็คือ

ทำความเข้าใจคำศัพท์ต่างๆ

อะไรที่เข้าใจแล้ว กลไกก็เข้าใจได้ทันที...
จึงเป็นประเด็นที่ "ไม่ยากอย่างที่คิด"

เป็นดั่งนี้แล.................



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

ผมเคยศึกษา ปฏิจจสมุปบาท อย่างไม่ค่อยได้ "ผล" มากนัก
เพราะการศึกษา ปฏิจจสมุปบาท 12 อย่างเข้าใจได้นั้น
จะต้องประกอบด้วย "กลไก" ขององค์ธรรม ที่ทำงานอยู่ภายในโครงสร้างใหญ่

พอมาศึกษาการเกิด-ดับขององค์ธรรม และย้อนไปคิดถึง "ปฏิจจสมุปบาท"
ทำให้เข้าใจการทำงานของ "ปฏิจจสมุปบาท" มากขึ้นทันที

ไม่น่าเชื่อ หลงงงๆ และสงสัยความอีดอาดของสมองตัวเองมาตั้งนาน

อิอิอิอิอิอิ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

คนที่ศึกษาธรรมะเพียงผิวเผิน และหยุดการพัฒนาชีวิต และความเข้าใจอยู่แค่นั้น
แม้ตัวเองจะบอกว่านับถือ "พุทธ" แต่ก็อาจจะไปติดอยู่กับ "สีลลพตปรามาส"

ที่เป็นการหลงทางไปยึดติดอยู่กับการกระทำที่ไม่เป็นเหตุ เป็นผลซึ่งกันและกัน

ที่ไม่สามารถช่วยใครได้เลย แม้กระทั่งตัวเอง

และอาจจะทำให้เกิดความเบื่อหน่ายของบุคคลภายนอก และคนรุ่นใหม่
ที่จะทำให้เกิดปัญหาความเสื่อมของศาสนาในระยะยาว

ที่น่าเป็นห่วงเป็นอย่างยิ่ง
จริงๆครับ



ความเห็น (1)

ดิฉันไม่ใช่ผู้ปราดเปรื่องเรื่องธรรมะนะคะ แต่ดิฉันเป็นนักปฏิบัติ ถือศีล 5 โดยเคร่งครัดพร้อมกับกินเจ ปีละ 100 วัน ต่อเนื่องนานกว่า 7 ปีแล้วค่ะ ยังช่วยอะไรใครไม่ได้ แต่ช่วย ‘ดัดสันดานตน’ ลดความอยากได้ค่ะ (ไม่ลอดจะอดได้ยังไง เขียนแปลก) ทำให้จิตใจสงบค่ะ ท่านใดอยากพิสูจน์ เชิญค่ะ

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

คนชอบมองว่าชีวิตขาดแคลน ปัจจัยโน่น นี่ นั่น สารพัด

ถ้าเรียนรู้แล้ว เขาจะพบว่า

ปัจจัยที่ว่าขาดแคลนนั้นก็มีอยู่แล้ว หรือมีทางเลือก หรือมีโอกาสอื่นๆ อีกมากมาย

ที่คนไม่เรียนรู้ จะมองไม่เห็นโอกาส และทางเลือกให้กับชีวิต

เห็นแต่ปัญหา

อิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิ



ความเห็น (1)

เห็นด้วยครับอาจารย์ ;)…

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

ผมเน้นใช้เวลาตอนเย็นก่อนนอนศึกษา "พระอภิธรรม" ตอนนี้อยู่เล่มที่ 42 ของพระไตรปิฎก

ที่ภรรยาผมมาเตือนว่า "ระวังหน่อย เดี๋ยวคุณจะคุยกับใครไม่รู้เรื่อง"

ผมก็เลยได้ทดสอบเมื่อวานนี้ มีลูกศิษย์พระ (ข้าราชการครู กำลังเรียนปริญญาเอกที่ มข.)มาขอซื้อข้าวอินทรีย์ของผม 6 กก. ไปถวายพระที่วัดในเมืองขอนแก่น
ผมถือโอกาสแจกหนังสือธรรมะให้เขาไปด้วย 4 เล่ม

และแนะนำข้อดีของหนังสือแต่ละเล่มให้ด้วย

เขาจึงถามปัญหาการปฏิบัติตัวตามหลักธรรมะต่างๆ ที่ผมรู้สึกว่าตอบได้คล่องกว่าเดิม ติดประเด็นต่างๆน้อยลงมาก (สงสัยจะหลงตัวเองนิดๆ อิอิอิอิอิอิ)

เพราะตอนนี้ผมพอมองเห็นเส้นทาง "ปริยัติ" ทั้งเนื้อหาและการเกิดดับขององค์ธรรมต่างๆ ชัดเจนมากขึ้น
และนำไปผสมผสานกับเส้นทาง "ปฏิบัติ" ที่ผมทำอยู่แล้ว จึงทำให้ผมมอง "หลักธรรม" ได้ชัดเจนมากขึ้น

และเมื่อวานตอนเย็น ผมเลยถือโอกาสบอกภรรยาผมว่า ความกังวลที่มีต่อการศึกษาธรรมะของผมใน "พระอภิธรรม" นั้น

สงสัยจะไม่จริงซะแล้ว

อิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

การสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นกับตัวเอง
และหมั่น "ตรวจสอบความถูกต้อง"
ทั้งใน "เนื้อหา" ของความรู้ และ "วิธีการใช้" ความรู้ที่ได้มา อยู่เสมอ

นำไปสู่การสร้าง "ปัญญา" และความ "ไม่ทุกข์"

อิอิอิอิอิอิ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

หลังจากผมพยายามหาทางลดปัจจัยในการเลี้ยงชีวิตในแต่ละวันลง

ทีละเรื่อง ทีละปัจจัย ทีละองค์ประกอบ

จนมาเหลือการทานอาหารวันละครั้ง แบบเน้นคุณค่าจริงๆของอาหาร และจำนวนที่เป็นประโยชน์จริงๆ

ใช้เสื้อผ้าน้อยชุด และของใช้เท่าที่จำเป็นจริงๆ จนทำให้มีเสื้อผ้าเหลือมากมาย และไม่จำเป็นต้องหาใหม่แน่นอน

รักษาสุขภาพและจัดระบบการใช้ชีวิต ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง ลดปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เจ็บป่วย โดยวิธีการหาที่ทำนา ปลูกข้าว เลี้ยงครอบครัว ได้อาหาร ได้ความรู้เพื่อการสอนและช่วยเหลือสังคมไปพร้อมๆกัน แบบ "บูรณาการ"

และ ไต่ตรองเรื่องการจัดระบบที่อยู่อาศัยให้เหมาะกับอัตภาพ

ผมก็พบว่า
เมื่อเราลดปัจจัย 4 ขั้นพื้นฐานที่จำเป็นในการดำรงชีวิตลง

เราก็จะลดความวิตกกังวล ให้น้อยลงได้มากมาย
มีเวลาคิด เวลาเรียน เวลาศึกษาและพัฒนาตัวเองได้ดีขึ้น และหลากหลายมิติมากขึ้น

ทำให้สามารถเข้าใจชีวิต ใช้ชีวิต และเวลาของชีวิต และทำเรื่องที่เป็นประโยชน์มากกว่า
ทั้งต่อตนเอง ต่อส้งคม ต่อผู้อื่น ได้มากขึ้น

นี่ละมั้งครับ ที่ท่านผู้รู้ เรียกว่า "คุณค่าของชีวิต" และ "ความสุขเกิดจากความเรียบง่าย"

อิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิ



ความเห็น (3)

ชอบจังครับ ท่านอาจารย์สบายดีนะครับ

I used to have many machines to do jobs in my property. I spent a lot of time in maintenance, repairs and a lot of money in fuel. So I had to work hard to find enough money to pay for all these trappings.

These days I only have a few little machines to do things around the house. I don't work hard. I don't get stressed. ... I also apply that to clothes (simple easy to clean, no ironing), meals (one pot, several meals, and fresh --no cooking fruits and veggies), ... But I still have many piles of junks to play (invent gadgets) ;-)

อิอิอิอิอิ

ถ้าจะให้ผมหาคำจำกัดความนะครับ

ผมเรียก ชีวิตที่ "ตกผลึก" ครับ

ชัดเจน สดใส มีคุณค่า ฯลฯ

555555555555555555555

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

ศึกษาธรรมะมาก็นาน หลายสิบปี
เช้านี้ ( 6 สค. 56) ใช้เวลาทบทวนแบบจริงจัง เพิ่งตระหนักรู้ว่า แท้ที่จริง

"การทำสมาธิ" ก็คือ "พื้นฐาน" ขั้นต้น ของการทำให้ตัวเองมี "สติ"

และขั้นที่ดีที่สุด ที่ควรพัฒนา ก็คือ

มีสติอยู่กับทุกเรื่องแบบ "พลวัตร"
หรือมีสมาธิอยู่กับทุกเรื่องของปัจจุบัน "อย่างพร้อมเพรียง"

ก็คือ "การมีสติ" อยู่กับ "ปัจจุบัน" นั่นเอง

งงงงงงงงงงงงงงงงงง มาตั้งนาน




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

สีสัน และรสชาติของอาหารในธรรมชาติ คือ
เหยื่อล่อให้สัตว์ที่ปราศจากความรู้มากินอาหารที่ดีของธรรมชาติ

ที่เป็นการพัฒนาการทางสัญชาตญาณของสัตว์ ร่วมกับกลไกทางชีวเคมีในการก่อกำเนิดอาหารที่มีคุณค่าชนิดต่างๆ ตามสภาพแวดล้อมและฤดูกาล ที่เปลี่ยนผันไปเรื่อยๆ

แต่คนบางคนที่คิดว่าตัวเองมีความรู้ กลับพยายามสร้างสีสัน และปรุงแต่งรสชาติอาหาร ให้ผิดธรรมชาติ เพื่อการหลอกกลไกตัดสินคุณค่าอาหารที่ดีของตัวเอง ให้หลงทาง

ไปรับประทานอาหารที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ หรือมีคุณค่าน้อย หรือ เกินความจำเป็น หรืออาหาร "ขยะ" หรือแม้แต่กระทั่งการบริโภคสารพิษ

แล้วยังไม่อายในความโง่ของตนเอง ยังกล้ามาคุยอวดโอ้ว่า เป็นคนทำอาหารอร่อย ไปทานอาหารอร่อยๆ หรือร้านนี้อาหารอร่อย ฯลฯ
ที่อาจจะอร่อย ที่เกิดจากความรู้จริงๆก็ได้ แต่น่าจะมีน้อยมาก

แต่ส่วนใหญ่ ดูเหมือนจะพูดอวดโอ้ ทั้งๆที่ อาจไม่รู้เลย กำลังหลอกตัวเอง พยายามให้คนอื่นหลอกตัวเอง และบีบบังคับให้คนอื่นหลอกตัวเอง ให้ทำอาหาร "ขยะ" อะไรก็ได้ ขอให้สีสวย ทานอร่อย

ที่ทำให้เกิดปัญหาตามมาสารพัด ทั้งสุขภาพ โรคอ้วน ไขมันสะสมเกินความจำเป็น การสะสมสารพิษ ฯลฯ

ก็เกิดจากการพยายามหลอกตัวเองทั้งนั้น

ก็แค่กลับมาทำความเข้าใจตนเอง ปัญหาที่พูดมาทั้งหมด จะไม่มีวันเกิดขึ้นเลย

เรื่องง่ายๆ แก้ง่ายๆ  จะทำให้ยาก เพื่อแก้ไขยากๆ ให้ได้อะไร

สมองไม่พอใช้ จึงไม่เข้าใจครับ

อิอิอิอิอิ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

หลักที่สำคัญในการดูพระเนื้อโลหะโบราณ ที่มักจะมีโลหะปะปนกันมากมายแบบโละโบราณ

จึงจำง่ายๆ ว่า

"คนเดียวหัวหาย สองคนเพื่อนตาย สามคนกลับบ้านได้"

หมายถึง

1. การดูพระเนื้อโลหะโบราณแท้ๆ นั้น สนิมต้องมีอย่างน้อยที่สุด 2 ชนิด มีชนิดเดียว แบบเดียว วางเลย เพราะเก๊แน่นอน
2. แต่ควรจะมี ตั้งแต่ 3 ชนิดขึ้นไป จึงจะมั่นใจได้
และ ที่สำคัญพอๆกัน ก็คือ
3. สีของสนิมต้องตรงกับชนิดโลหะที่มีอยูในเนื้อพระนั้นๆ เท่านั้น
...
ดังนั้น
ถ้าสนิมมีชนิดเดียว และหรือชนิดสนิมไม่ตรงกับโลหะในเนื้อพระนั้นๆ  แม้แต่ชนิดเดียว ก็ต้องวาง "นำกลับบ้านไม่ได้" ครับ

อิอิอิอิอิอิ




ความเห็น (2)

อยากทราบว่า สนิมมีกี่ชนิด และแต่ละชนิดเกิดขึ้นกับโลหะชนิดใดบ้าง สับสนจริงๆครับเพิ่งศึกษาครับ

โลหะทุกชนิดมีสนิมเฉพาะครับ ง่ายๆอย่าทำให้ยากครับ

เสียโอกาสและเวลาเปล่าๆ

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

ในสังคมปัจจุบันมีความสับสนอยู่เรื่องหนึ่ง ทั้งระดับปัจเจก และระดับสังคม

ที่เกิดจากการคิดไม่ชัด เลยทำอะไรได้ไม่ชัด

และบางคนที่ไม่ชัด ก็จะน้อยอกน้อยใจในชีวิตของตัวเอง เช่น บางท่านปฏิเสธสุภาษิตไทย ไม่ยอมรับ "ทำดีได้ดี" ไปเลย

ทั้งๆที่

ความดี และความชั่ว นั้นมีสองระดับ

ระดับสำหรับตัวเราเองนั้น วัดกันที่ "เจตนา" และก็ได้ดี ที่ความสุข ความสบายใจ 

ในระดับสังคมนั้น เขามิได้ตัดสินกันที่ "เจตนา" หรือ กิจกรรมใน "การกระทำ" แต่อย่างใด



เพราะคนส่วนใหญ่ไม่ทราบ หรือ ไม่สน และบางทีก็ไม่ยินดีรับรู้ "เจตนา" เสียด้วย จะดีจะเลวไม่เกี่ยวทั้งสิ้น


เพราะ ที่สำคัญ............... ตัวชี้วัดที่ใช้กันจริงๆ  สุดท้ายแล้ว ก็อยู่ที่.............

  "ประโยชน์" หรือ "โทษ" ที่เกิดขึ้น กับใครบ้าง กว้างไกลแค่ไหน

นั่นต่างหาก.......ที่เป็นตัวชี้วัดที่สังคมทั่วไปกล่าวถึง ได้ นานนน แสนนานนนนนนน

และยอมรับ นับถือ ยกย่องว่า "เป็นคนดี" และ "ทำความดี" จริงๆ
หรือไม่ก็ ก่นด่า กันทั้งโคตรทั้งตระกูล ว่าเป็น "คนเลว" ไปอีกร้อยปี พันชาติ

ดังนั้น ถ้าทำแล้วไม่เกิดผลลัพธ์ที่ดี แม้จะเจตนาดีแค่ไหน ไม่นาน สังคมก็จะลืมมมมมมมมมมม
แต่ แม้จะเจตนาดีขนาดไหนก็ตาม ถ้าเกิดผลร้ายสักหน่อยละก็ เป็นคนชั่วทันที และลืมยากกกกกกกกกกกกกกกก

ก็..........แค่คิดดังๆ อิอิอิอิอิอิ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

หลังจากผมใช้หลักการ Input-output ในการลดจำนวนไขมันสะสมในร่างกายจนได้ผล

ค่อยๆลด 16 กก ภายใน 6 เดือน จาก 80 เหลือ 64 ในปัจจุบัน

น้ำหนักปัจจุบัน เท่าๆกับสมัยเรียนปริญญาตรี เมื่อเกือบ 50 ปีมาแล้ว

 ประมาณว่า มีค่าเท่ากับใช้ไขมันที่สะสมมา 50 ปี ไปแล้ว

 ผมจึงพยายามมองย้อนไปทำความเข้าใจคนที่ยังลดไขมันสะสมไม่ได้ ว่าทำไม

ก็แค่ลด Input เพิ่ม Output
ปริมาณไขมันสะสม ไม่ลดลง จะเป็นไปได้อย่างไร

เพราะ 
ผิดหลักการทุกข้อ ทุกสาขาวิชา เลยละครับ

ไม่เข้าใจ และไม่เชื่อครับ

ผมจึงคาดว่าเขาเหล่านั้น น่าจะไม่จริงใจกับตัวเองมากกว่าครับ อิอิอิอิ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

เมื่อวาน 18 เมย 56 มีนักเรียนรุ่นใหญ่ ที่เป็นนักธุรกิจรุ่นกลางๆ จาก กทม ขับรถเบนซ์มาเรียนวิธีดู พระเนื้อผง เนื้อดิน และเนื้อชิน ที่บ้านผม

ขนพระเก๊มา 2 กระเป๋าใหญ่ ผมใช้เวลาดู ทั้งหมดประมาณ 10 นาที ก็ตีเก๊ได้หมดทุกกล่อง
โดยการดูทีละกล่อง เพราะเก๊ตาเปล่าล้วนๆ รวมแล้วเกือบร้อยกล่อง
ที่น่าจะมีทุนการหยิบมาหลายล้าน มีเลี่ยมทอง ตลับทอง ไม่ต่ำกว่า 20 องค์ เต็มสองกล่อง

ผล...... เก๊ 100%

หลังจากนั้น ผมก็ให้หัดดู "วัสดุการสอน" ของแท้ ทั้งเปลือกหอย ดิน หิน ทราย ฯลฯ

พอทดสอบความรู้แล้ว จึงให้เริ่มดูจากพระแท้ดูง่าย ไปหาพระแท้ดูยาก

พอดูเป็น ก็เริ่มอธิบายหลักการดูพระแท้ ทีละองค์

โดยเน้นหลักการ และพัฒนาการของพระแต่ละเนื้อ

ทำให้เขาเพิ่งเข้าใจวิธีการดูพระแท้
และรู้ว่าตัวเองหลงทางมานาน หมดไปหลายล้าน

พออธิบายจบ ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง

เขาก็พูดออกมาอย่างโล่งใจ ว่า

"ผมรู้สึกว่า "ดูพระแท้ เป็นแล้ว" อย่างน้อยก็อีกระดับหนึ่ง"

เป็นเช่นนี้เอง
555555



ความเห็น (1)

อาจารย์ใด้ช่วยศิษย์คนนั้นไว้ไม่ให้หลงทางต่อไปอีก ไม่มีอะไรที่จะอธิบายออกมาเป็นคำพูดใด้อีกแล้ว สาธุๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ขอบคุณครับ

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

พระเนื้อดินจะดูง่ายๆ และ ดินดิบน่าจะง่ายที่สุด เพราะมีตัวแปรตัวเดียว คือ
สัดส่วนน้ำว่านกับดิน ทำให้

มีแค่ 3 เนื้อ หลักๆ คือ 
แก่ดิน สมดุล และแก่ว่าน
การผุของผิวจะเกิดน้อยมาก ไม่ออกสีสนิม มีแต่สีน้ำว่านหลากโทนสี ฉ่ำในเนื้อ

แต่ดินเผา จะมี 2 ปัจจัย คือ
ก. ความร้อนของไฟที่มีสีต่างๆในเนื้อ ทำให้เนื้อดูแห้งๆ และ
ข. อัตราการผุกร่อนของผิว ที่จะทำให้เกิดสีสนิมเหล็กที่ผิว

 
เนื้อดินก็มีเท่านี้



ความเห็น (2)

สวัสดีครับอาจารย์ ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท