ไม่มี "ครู" ไม่มี "นักเรียน" ไม่มี "นักศึกษา" แล้วระบบ "การศึกษา" มีไว้ทำอะไร????


จึงเป็น "ครู" ตัวอย่างในการ "ท่องจำ" เพื่อให้ผ่านการ "ประเมิน" ยากจะมีโอกาสได้เป็น "ครู" แห่งการเรียนรู้ แบบแม่ปูกับลูกปู "นักเรียน" ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ มักเป็นเพียง "นักท่องตำราไปสอบ" ไม่ค่อยสนใจ หรือ "โอกาส" ที่จะเรียนรู้ แบบ "นักเรียน" อะไรมากนัก

 ผมได้เคยพยายามทำความเข้าใจ ถึงที่มาของคำ ความหมาย วิวัฒนาการ และความเป็นอยู่ของระบบการศึกษา ที่แปลว่า "การพัฒนาตนเอง" ทั้งโดยตรง แบบเลียบๆคียงๆ และโดยอ้อม มาหลายครั้ง อย่างน้อยก็ในรอบสองปีที่ผ่านมา

 

และยิ่งมาพิจารณาว่า

เนื้อหาสาระที่เราทำกันอยู่เพื่อพัฒนา "คน" และกำลังสมองของชาตินั้น เรากำลังทำอะไรกันอยู่ในรูปแบบใด ตรงกับเป้าหมายที่เราวางไว้หรือไม่

 

ผลการวิเคราะห์แบบแยกส่วน

 

พบว่า

 "นักเรียน" ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ มักเป็นเพียง "นักท่องตำราไปสอบ" ไม่ค่อยมีเวลามาสนใจ หรือ "โอกาส" ที่จะเรียนรู้ แบบ "นักเรียน" อะไรมากนัก

 

ตราบใดที่พอจะจำได้และนำไปตอบในการสอบให้ "ผ่าน" ก็เพียงพอ และ "หมดแรง" แล้ว

 

เพราะเรื่องที่จะท่องไปสอบก็มีมากมายเหลือเกิน ทั้งหลายวิชา และแต่ละวิชามีสาระและเนื้อหามากมาย

 

เกินกว่าที่จะ

  • "ฟังทัน"
  • "จดทัน"
  • "อ่านได้หมด" 
  • "จำได้"
  • "เข้าใจ" เพื่อที่จะนำไปเป็น
    • "บทเรียน"  และ
    •  "เรียนรู้" ในแต่ละเรื่องได้

 

ถ้าจะให้ "เรียนรู้" ไปด้วยนั้น

  • คงไม่ไหว และ
  • ไม่มีเวลาพอ
  • โดยเฉพาะเรื่องที่เรียนหลายๆเรื่อง
    • ดูเหมือนบางเรื่องจะไม่ค่อยมีประโยชน์กับชีวิตจริงสักเท่าไหร่
    • เรียนไปก็ไม่รู้จะนำไปใช้ทำอะไร
  • ก็เลยใช้แค่ท่องไปสอบก็พอแล้ว

 

แม้หลายเรื่องที่ดูเหมือนจะมีประโยชน์ต่อตัวผู้เรียนโดยตรง แต่

ผู้สอนก็อาจจะมิได้ชี้นำ หรือแสดงให้ดู หรืเป็นตัวอย่าง ในการใช้ความรู้ที่ตัวเองสอน ว่าแต่ละเรื่องที่ท่านสอนนั้น สามารถนำไปใช้ประโยชน์ให้เห็นเป็นตัวอย่างได้อย่างไร

 

เพราะ "ผู้สอน" ที่ "ผู้เรียน" ไป "เรียน" ด้วยนั้น ก็ยังอาจไม่ใช่ "ครู" ที่หมายถึง ผู้ที่ทำเป็นตัวอย่างให้ "ผู้เรียน" ทำตาม หรือ "ใช้เป็นเยี่ยงอย่าง"

 

ทั้งนี้ก็ด้วยเหตุผลหลายประการ

 

ตั้งแต่

  • ผู้สอนท่านนั้นๆ อาจจะไม่เคยเป็น "นักเรียน" และ "เรียนรู้" มาก่อน

 

  • ที่ผ่านมาเป็น "ผู้สอน" ได้ ก็ด้วยระบบการ "ท่องจำไปสอบ" เช่นเดียวกัน

 

แล้วผู้สอนเหล่านั้น ก็มาทำตัวเสมือนหนึ่ง เป็น "ครู" ทั้งๆที่ไม่สามารถเป็น "ต้นแบบ" กับใครได้

 

เมื่อไม่เคยเรียนมาก่อน ก็ไม่ได้เรียนรู้ ไม่ได้พัฒนาตนเอง ในนามของ  "นักศีกษา" (นักพัฒนาตนเอง)  แต่ต้องมาสอน

 

จึงต้องท่องมาสอน (แบบดียวกับผู้เรียน "ท่องไปสอบ") หรือ ถ่ายเอกสารตำราที่เป็นความรู้ของคนอื่น มาแจกบ้าง ขายบ้าง

 

จึงเป็น "ครู" ตัวอย่างในการ "ท่องจำ" เพื่อให้ผ่านการ "ประเมิน" ยากจะมีโอกาสได้เป็น "ครู" แห่งการเรียนรู้ แบบแม่ปูกับลูกปู

 

และ "ผู้สอน" ที่ทำหน้าที่ "ครู" เหล่านี้ก็อยู่ในภาวะกดดัน ทั้งทางเศรษฐกิจ และสังคม ที่จะต้องทำหน้าที่ "ครู" ตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด แทบกระดิกตัวไม่ได้

  •  งบก็น้อย
  • เวลาก็น้อย
  • งานประจำก็มาก
  • จำนวนผู้เข้าเรียนก็มาก (เพื่อให้ได้งบมากขึ้น)
  • แถมยังมีงานธุรการทั้งใน และนอกความรับผิดชอบของความเป็น "ครู" โดยตรงมาทับซ้อนขึ้นไปอีก ไม่รู้กี่ชั้น
  • นอกจากนี้ยังมีผู้บริหารการศึกษาบางท่านยัง "กินแรง" ลูกน้อง
    • ตัวเองอยากเลื่อนตำแหน่ง แต่ก็ไป "บีบ" ลูกน้องบางคนที่พอจะมีแววหน่อย ทำงานแทนตัวเอง
    • ทำให้คนที่พอจะทำงาน "ครู" เป็นบ้าง ต้องไปทำงาน "ให้ผู้บริหาร" ในนามของ "สถานศึกษา" 
    • แทนที่จะใช้เวลาดังกล่าวในการ "สอน" เพื่อการพัฒนาความเป็น "นักเรียน" และ "นักศึกษา" ที่เป็นการพัฒนากำลังคน และ ประเทศชาติสืบไป

 

ดังนั้น จึงเป็น ระบบการสอน โดยผู้สอน ที่ไม่มีโอกาสที่จะทำตัวเป็น "ครู" 

 

ทำให้แทบไม่มีการ "เรียน" จึงไม่สนับสนุนให้เกิด "การเรียนรู้" และส่งผลให้ ไม่มี "นักเรียน" และ "นักศึกษา"

 

ทำให้ผู้ที่ "จบการศึกษา" เป็นผู้มีความสามารถในการผ่านการวัดผล "การท่องไปสอบ"

 

แล้วเราคาดหวังว่าจะมี "ระบบการศึกษา" แบบไหนกัน เราต้องการคนในรุ่นลูกหลานแบบไหนมาพัฒนาประเทศของเราต่อไป

นักท่องตำราไปสอบ นักลอกตำราหรือความรู้ของคนอื่นไปตอบข้อสอบ

 

เท่านั้นเอง

 

หรือ เราต้องการ "นักเรียน" "ครู" "นักศึกษา" ที่สามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเองและระบบ "การศึกษา" ได้อย่างต่อเนื่อง

 

อะไร คือเป้าหมายที่เราอยากเห็น ก็พุ่งเป้าไปที่นั่น อย่าวอกแวก ออกนอกทาง ไม่ช้าไม่นาน เรามีโอกาสไปถึงเป้าหมายแน่นนอน

 

ขอฝากไว้ให้คิดครับ

 

หมายเลขบันทึก: 167500เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2008 12:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดีรอบเย็นครับท่านคุณครู ดร.แสวง

  • เข้าเป้าตรงเผ็ง เต็มหมัด ชนิดหลับกลางอากาศเลยครับ
  • ประเทศไทยเราเกิดสูญญากาศทางการศึกษาแบบนี้มาตลอด
  • เด็กไทยสมองบวมฉึ่งเกือบ 100 % เพราะรูปแบบการ"เลียน"แบบที่ท่านคุณครูว่านี้แหละครับ
  • ตอนนี้ก็ยังไม่เห็นเส้นทางที่จะไปถึงจุดหมาย หรือยกเรือออกจากโอ่งได้
  • ใครมัวงมมะงาหราผมไม่ว่า  แต่คนที่มีหน้าที่โดยตรงในการบริหารการศึกษาของชาติ ยังมืดบอดสนิท  ผมก็ไม่รู้จะอธิบายกับเด็กว่าไงดี
  • ฤๅประเทศไทยจะมืดบอกทางการศึกษาอย่างนี้ไปเรื่อยๆ
  • ทำใจลำบากจริงๆครับ
  • สวัสดีครับ

ผมเพิ่งกลับจากสรุปประเด็นวิจัยทางการศีกษาของชาติ

สรุปว่า มีแต่การศึกษาทัศนคติเป็นหลัก ไม่มีอะไรใหม่

จึงเรียกได้ว่า

งานวิจัยก็ "บอด" สนิท

ผมเลยพยายามดึงงานกลุ่มอิ่นเข้าไปโยง

โดยเฉพาะ เศรษฐกิจพอเพียง ภูมิปัญญาไทย  และหลักสูตรท้องถิ่น

ไม่งั้นไม่มีทางออกเลยละครับ

สวัสดีครับ อาจารย์ ดร. แสวง รวยสูงเนิน

  • ครูก็ "ท่องจำ"
  • นักเรียนก็ "ท่องจำ"
  • หลักสูตรก็ "ท่องจำ" (ลอกมาจากบ้านเมืองอื่น แต่ไม่สอดคล้องกับบ้านตัวเอง)
  • สรุปได้ว่า การศึกษาไทย คือ แก็งค์ท่องจำ นี่เอง :)

ขอบคุณครับ อาจารย์ ... เป็นครูนี่ ยากจริง ๆ นะครับ

ครับ

ที่จริงง่ายนิดเดียวครับ

แค่วางคัมภีร์ไว้ ไม่ต้องแบกมาสอน หรือ จำมาเล่า ก็จะเริ่มเป็นครูที่ดีได้แล้ว

สิ่งที่ "ครู" ทำไม่ถูก ก็เป็นบทเรียน อย่าถือเป็นเยี่ยงอย่าง

สิ่งที่ "ครู" ทำดี ก็เป็นตัวอย่าง ไว้ทำตาม

เท่านั้นเอง ก็เป็น "ครู" ได้แล้ว

แล้วผู้เรียน ก็จะเริ่มเรียน และเรียนรู้ ได้เลย

ใช่ค่ะ เราต้องศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ต้องรู้จักตัวเองก่อน

  • กราบสวัสดีท่านอาจารย์
  • ผมมีภูมิความรู้อันน้อยนิด แต่ก็อยากจะแสดงความคิดเห็นส่วนตัวต่อระบบการศึกษา
  • ตราบใดที่ระบบการศึกษายังวัดคะแนนด้วยผลของการตอบบนกระดาษข้อสอบของนักศึกษา นักศึกษาก็ยังจำเป็นต้องเอาตัวรอดด้วยการท่องจำ
  • ผมเคยอ่านพวกเรื่องเก่าๆ ครูบาอาจารย์ เขาไม่ได้วัดว่าลูกศิษย์หรือนักเรียนจากการที่ต้องให้ตอบคำถามอาจารย์ตอนสิ้นปี 
  • ครูบาอาจารย์เล่านั้น เขาสังเกตและทดสอบลูกศิษย์ลูกหาอยู่ตลอดระหว่างการศึกษา แล้วเมื่อเวลาประจบเหมาะ ครูบาอาจารย์จะบอกเองว่า ลูกศิษย์คนนั้นเรียนวิชาจนหมดไส้หมดพุงของอาจารย์แล้ว ถือว่ามีความภูมิรู้ดูแลตัวเองได้
  • ทั้งระยะเวลาที่ต้องรีบเรียนเพื่อความได้เปรียบในการเริ่มทำงานก่อน(เฉพาะอย่างยิ่งท่านศาล อัยการ)และการวัดค่าความรู้ของนักศึกษาจากการกากบาทคำตอบ ผมก็คิดว่าระบบท่องจำก็จะไม่หายไปจากระบบการศึกษาไทย
  • ถ้าคิดในเชิงบวก ถึงการท่องจำไม่ใช่ที่วัดว่าเป็นคนมีภูมิรู้ที่แท้จริง แต่อย่างน้อยก็ยังดีกว่าเดาไปเรื่อย
  • ยิ่งถ้าเอาหลักการเดาไปเรื่อย ใช้ในการทำงาน ชาติก็คง..ไปแบบเดา ถูกบ้าง ผิดบ้าง อย่างทุกวันนี้ ที่เห็นกัน _/|\_

 

ครับ

ผมเคยใช้แบบการรอให้ครบ และให้คะแนน I ไว้ก่อน

ก็มีผู้เรียนจำนวนหนึ่งสนใจที่จะทำงานจนบรรลุเป้าหมาย

แต่มีจำนวนมาก "ทิ้งเลย" จนต้องมาให้ D หรือ F แทนค่า I

 

เรื่องนี้ยังหาทางแก้ไขไม่ได้ครับ

เพราะ เราไม่มี "นักเรียน" ครับ

อย่างว่าแหละครับ

ไม่มีของจริงสักอย่างรึ ครับ

แหมน่าเห็นใจ

ถามว่ามีไว้ทำไม ใครก็ไม่อยากตอบคำถามนี้  เพราะถือว่ารู้อยู่แก่ใจ ตามสันดานไทยแท้

สวัสดีครับแวะมาอ่านครับ

ครับ ของปลอมล้วนๆ

เหมือนพระเครื่องในตลาดพระเครื่องเลยครับ

เดินสิบร้านจะหาของแท้ๆ ยากจริงๆ มีแต่ทำมากับมือแท้ๆ ทั้งนั้นเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท