“โดราเอมอน” :เทคนิคการสอน “เด็ก”และ “ผู้ใหญ่”ในวัฒนธรรมญี่ปุ่น


การได้คู่ครองและครอบครัวของคู่ครองที่ไม่ดี ครอบครัวก็จะล้มลุกคลุกคลาน ลำบากทั้งในปัจจุบัน และอีกหลายชั่วคน เพราะเป็นพันธุกรรมที่ส่งต่อไปเรื่อยๆ

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผมได้สอนนักศึกษาเรื่อง การจัดการทรัพยากรแบบบูรณาการ ผมได้ยกตัวอย่างหลาย ๆ กรณีที่ได้ใช้ชีวิตแบบบูรณาการ และกรณีหนึ่งที่เป็นเรื่องที่นักศึกษา ส่วนใหญ่คงรู้จักดี

 

ผมจึงยกตัวอย่างของภาพยนตร์การ์ตูนญี่ปุ่น “โดราเอมอน”

 

ซึ่งมี โนบิตะ เป็นตัวสำคัญของเรื่อง ที่โดราเอมอน พยายามจะเข้ามาช่วยให้โนบิตะ พัฒนาตัวเองให้ดีกว่าเดิม

 

แต่ปรากฏว่า โดราเอมอน ทำสำเร็จบ้าง ไม่สำเร็จบ้าง ส่วนใหญ่ล้มเหลวซะมากกว่า

 

นักศึกษาหลายคนไม่ทราบว่า โดราเอมอน เป็นใคร เข้าใจว่า เป็นเพียงตัวละครใดตัวหนึ่งเท่านั้น

 

แต่จริงแล้ว โดราเอมอน..เป็นหุ่นยนต์จากโลกอนาคต ที่ลูกหลาน ของโนบิตะ ได้สร้างขึ้นมา เพื่อแก้ไขโนบิตะ ที่จะทำให้โนบิตะ เป็นบรรพบุรุษที่ดีของตระกูล พอที่จะทำให้ ตระกูลของโนบิตะ สามารถพัฒนาไปในทางที่ดีที่จะส่งผลถึงลูก หลาน เหลน ของโนบิตะเอง

 

ผมได้อธิบายเรื่องนี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการมีบรรพบุรุษที่ดี จึงจะพัฒนาชีวิตได้

 

โดยเฉพาะในเรื่องการเลือก คู่ครอง

 

การได้คู่ครองและครอบครัวของคู่ครองที่ไม่ดี ครอบครัวก็จะล้มลุกคลุกคลาน ลำบากทั้งในปัจจุบัน และอีกหลายชั่วคน เพราะเป็นพันธุกรรมที่ส่งต่อไปเรื่อยๆ

 

ตราบใดที่ยังมีโอกาสเลือกได้ก็ควรจะเลือกซะ แทนที่จะยอมเสียสละชีวิตตัวเองไปกับอนาคตที่ไร้ความหมาย

 

นี่คือ การจัดการวางแผนทรัพยากรในระดับตัวบุคคล

 

ซึ่งกรณีของ โดราเอมอน ก็เป็นตัวอย่างที่สะท้อนว่า

ถึงขนาดต้องให้ลูกหลาน สร้างหุ่นยนต์ย้อนเวลาลงมาแก้ไขปัญหาของปู่ย่า ตาทวด

 

แต่เรื่องนี้ ก็เป็นเรื่องวัฒนธรรมของญี่ปุ่น ที่เขาถือว่า

 

 คนดีของสังคม คือคนที่เป็นบรรพบุรุษที่ดี

 

แต่ในสังคมไทย คงไม่คิดการณ์ไกลขนาดนั้น แค่คิดว่า ปฏิบัติตนให้ดีในปัจจุบัน ก็เพียงพอแล้ว

 

แต่คนญี่ปุ่นนั้น เขาคิดถึงลูกหลาน เหลน ภายหน้า ซึ่งทำให้เขาอยู่ในกรอบ ศีลธรรม จริยธรรม ซึ่งทำให้ลูกหลานนับถือได้ทั้งในปัจจุบัน และอนาคต

 

เพราะฉะนั้น บทเรียนจากการดูภาพยนตร์การ์ตูนเรื่อง โดราเอมอน

จึงเป็นที่น่าสนใจมาก เหมาะแก่การศึกษาเรียนรู้ เพื่อเตรียมตัวเอง เป็นตัวอย่างที่ดี เป็นบรรพบุรุษที่ดี เพื่อที่ลูกหลานจะได้ไม่ลำบากกับเราอีก

 

ลองคิดดูนะครับ ว่า

 

เราเตรียมตัวเป็นบรรพบุรุษที่ดี หรือยัง

 

สวัสดีครับ

 

 

หมายเลขบันทึก: 188601เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2008 19:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มีนาคม 2012 00:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)

สวัสดีค่ะอาจารย์แสวง

เป็นมุมมองที่น่าสนใจมากค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์แสวง

  • การวางแผนนับว่าเป็นสิ่งสำคัญ  ได้เตรียมตัว มีโอกาสเลือกย่อมส่งผลดีติดตามมา
  • ขอบคุณค่ะ ที่นำเสนอแง่คิดดีๆ

ชอบบันทึกนี้จังครับ...

บันทึกดี ๆ มาในเวลาดี ๆ เช่นนี้ครับผม...

ขอบคุณมากครับ...

ขอบคุณครับ บทความนี้แหวกแนวดีครับ ทันยุค ทันสมัย เข้าใจเด็ก ที่สำคัญคือได้ใจความและกะทัดรัดดีครับ ขอบคุณสำหรับความรู้ แล้วจะติดตามผลงานต่อไปครับ

ขอบพระคุณอาจารย์แสวงมากครับ

ผมมีเรื่องไปโม้กับนักเรียนได้อีกเรื่องแล้วครับ

และเป็นเรื่องที่ที่มีคุณค่าแก่สังคมได้ด้วย เพราะพูดให้ผู้ปกครองเอาไปสอนลูกได้ด้วย

น่าสนใจมากๆครับ

ครับ พันธมิตรทุกท่าน

เรื่องสอนในห้องเรียนของผม เป็นที่สนใจของท่านผู้หลักผู้ใหญ่ขนาดนี้ สงสัยจะต้องนำลงบ่อยๆ ซะแล้วครับ

ขอบพระคุณมากเลยครับ

"ตราบใดที่ยังมีโอกาสเลือกได้ก็ควรจะเลือกซะ แทนที่จะยอมเสียสละชีวิตตัวเองไปกับอนาคตที่ไร้ความหมาย"

ประทับใจย่อหน้านี้มากค่ะ

ครับ

ลองนำไปใช้ดูนะครับ

ผมใช้มาแล้วครับ ได้ผลพอสมควรครับ

ก็มีพลาดบ้างเป็นธรรมดา

กำลังนั่งดูพอดีเลยค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ ขอนำไปเก็บไว้ที่บันทึกตัวเองนะคะ

(^___^)

กะปุ๋ม

  • สวัสดีค่ะ ลุงแหวง
  • ดีใจที่ได้อ่านบันทึกลุงแหวงอีกครั้ง หลังจากที่ห่างหายไปนาน
  • ข้อความนี้สอนใจดีค่ะ
  •  คนดีของสังคม คือคนที่เป็นบรรพบุรุษที่ดี

  • ตราบใดที่ยังมีโอกาสเลือกได้ก็ควรจะเลือกซะ แทนที่จะยอมเสียสละชีวิตตัวเองไปกับอนาคตที่ไร้ความหมาย

  • ขอบคุณค่ะ

ครับ

ไม่ได้หายไปไหนครับ กำลังเรียนวิธีทำนาด้วยตนเอง ก็เลยยากหน่อย หาคนสอนไม่ได้

การเรียนก็ต้องตามติดแบบชั่วโมงต่อชั่วโมง ถ้าไปไหนสักวัน มีโอกาสเสียหายได้ทันที

ผมจึงเข้าใจว่าการเป็นชาวนาที่แท้จริงนั้น ยากพอสมควร เพราะควบคุมอะไรไม่ได้เลย ต้องทำตามสถานการณ์แบบวันต่อวัน ชั่วโมงต่อชั่วโมง

วันนี้ ผมจึงไม่เรียกคนท่ไปนาน้อยกว่า ๒๐๐ วันต่อปีว่า "ชาวนา"  เพราะเขาจะพลาดจังหวะในการทำนาหลายๆอย่างจนเกิดความเสียหายกับระบบการทำนา เสียหาย ขาดทุน เป็นหนี้ จนถึงขายนา

ที่ครูบาท่านเคยบอกว่า "เมื่อท่านทิ้งนา นาก็จะทิ้งท่าน" ไปอยู่กับคนอื่น

ผมยิ่งทำยิ่งซึ้ง

วันนี้ยังขอเรียกตัวเองว่า

"นักเรียนชาวนา" ครับ

ทำให้ไม่มีเวลามากนักที่จะมาเขียนเรื่องลงบล็อก

เรื่องมีมากครับ แต่เวลาไม่มี ที่เขียนตอบได้นี้เพราะฝนกำลังตก

ฝนหยุดก็จะไปเก็บเปลือกทุเรียนที่ร้านขายผลไม้ที่ตลาดใกล้บ้าน

ต้องไปหลัง ๕ ทุ่มครับ ร้านปิด ถนนว่าง แต่ปกติผมจะไประหว่างเที่ยงคืนถึงตีสอง เพราะสะดวกที่สุดครับ

แต่เช้าตี ๕กว่าๆ ก็ขนไปทำปุ๋ยหมักที่นา เป็นกิจกรรมประจำวันครับ ไปช้ากว่านั้น กลับไปทำงานไม่ทันครับ

ขอบคุณที่ติดตาม จะพยายามเขียนเรื่อยๆครับ

(แต่เรื่องนาคงไม่มีใครสนใจหรอกครับ เข้าใจยาก ผมเก็บไว้แลกเปลี่ยนในเครือข่ายข้าวอินทรีย์ และข้าวคุณธรรมครับ)

สวัสดีครับ

สวัสดีค่ะอ.แสวง

โดราเอมอนชอบมากๆค่ะ เป็นความลึกซึ้งและคิดการณ์ไกล มองไปข้างหน้าของญี่ปุ่น..ทำให้ต้องมาย้อนมองตัวเรา เป็นตัวอย่างและบรรพบุรุษที่ดีแล้วหรือยัง

ขอบคุณค่ะ

ครับ

ขอบคุณครับที่ติดตามอ่านเรื่องที่ผมเขียน ที่จริงเป็นประเด็นตัวอย่างที่ผมใช้สอนในห้องเรียนครับ

วันหลังจะนำมาเขียนเรื่อยๆครับ

ผมลืมคำจำกัดความทางวิชาการที่กำลังฮิตในปัจจุบัน

เขาเรียกว่า

History of the future ครับ

ผมเห็นมีคนชอบบัญญัติศัพย์ ก็เลยนำมาแปะไว้ เดี๋ยวจะว่าไม่ทันสมัยครับ

(ผมทราบว่า มีบางคนชอบแอบแซวผมลับหลังครับ)

สวัสดีค่ะท่านอ.แสวง

อาจารย์สบายดีไหมค่ะ  เป็นบันทึกแรกของอาจารย์ที่ราณีนั่งอ่านแล้วอมยิ้ม อิอิ เลย แหมพูดได้ลงตัว เลยค่ะ ชอบประโยคเดียวกับที่หมอเจ๊บอกเลยค่ะ

ตราบใดที่ยังมีโอกาสเลือกได้ก็ควรจะเลือกซะ แทนที่จะยอมเสียสละชีวิตตัวเองไปกับอนาคตที่ไร้ความหมาย

รักษาสุขภาพด้วยนะค่ะ 

  • พรุ่งนี้วันครู เลยแวะมาอีกรอบ เอาดอกไม้มาไหว้ครูค่ะ

ก็คงเข้าข่ายทำอะไร ก็คิดถึงคนมาทีหลังบ้าง ใช่มั๊ยครับ

มาเยี่ยมครับ อาจารย์ สวัสดีครับ

อ่านหนังสือการ์ตูนและดูโดราเอมาอนมาตั้งแต่ยังเด็กค่ะเกิดทันการเปิดตัวหนังสือโดราเอมอนครั้งแรกเลย ตอนนี้ลูกก็กำลังชอบดูเหมือนกัน ไม่น่าเชื่อว่าการเดินทางของโดราเอมอนจะยาวนานมากได้เท่านี้ แสดงถึงคุณค่าของการ์ตูนเรื่องนี้จริง ๆ ค่ะ

ขอบคุณมุมมองที่อาจารย์สะท้อนให้ได้คิดจากเรื่องนี้ค่ะ สารภาพตามตรงตั้งแต่ดูมาก็ได้แต่ดูพฤติกรรมและผลของพฤติกรรมของโนบิตะ ไม่เคยได้คิดถึงแง่มุมของ "พฤติกรรมของเราที่จะถ่ายทอดผลไปยังรุ่นต่อไปไปในฐานะที่เราเป็นบรรพบุรุษเลยค่ะ"

การมองปรากฏการณ์ อ่านการ์ตูนโดยไม่ลึกซึ้งน่าเสียดายจังค่ะ ดีใจที่ได้อ่านบทความอาจารย์และได้คิดมากขึ้น

เพราะ การ์ตูนเรื่องนี้สอนทั้งเด็ก และผู้ใหญ่นะซิครับ

เด็กก็ดูได้ "สนุก สร้างจินตนาการ"

ผู้ใหญ่ก็ดูดี "ได้บทเรียน ทั้งกับตัวเอง และไว้สอนลูกหลาน"

ขึ้นอยู่ว่าเราจะดูแบบเด็ก หรือดูแบบผู้ใหญ่ครับ

นี่คือความแตกต่างครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท