หมู่บ้านไร้ยุงแห่งแรก(????) “ของโลกเขตร้อน”


ผู้ใหญ่พิกุล ขันทัพไท ท่านขอท้า ว่า ถ้าใครพบว่ามียุงได้ในหมู่บ้านนี้ จะมีรางวัลพิเศษ มีใครกล้ารับคำท้าบ้างครับ

 

เป็นที่น่าประหลาดใจมาก ถ้าใครจะพูดว่าบ้านนี้ไม่มียุง โดยเฉพาะในเขตร้อนทั้งหลาย แต่เมื่อผมมีโอกาสได้ไปประชุมและปรึกษาหารือร่วมกับท่านผู้ใหญ่พิกุล ขันทัพไทย แห่งบ้านนาฝาย ต.หัวเรือ อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม  ก็พบว่า ไม่มียุงจริง ๆ

 

ตอนแรกก็ไม่รู้สึกอะไรมาก เพราะความไม่มียุง มันไม่มีอะไรจะต้องระวัง รู้สึกเฉยๆ แต่สักพักก็เอะใจ ว่า ปกติแล้ว ในการนั่งประชุมช่วงเวลาเย็น ๆ ในหมู่บ้าน มักจะนั่งแบบไม่เป็นสุข ต้องใช้มืออย่างน้อย 1 มือ ปัด หรือไล่ตบยุง แต่ปรากฏว่า การนั่งคุยกันในครั้งนั้น ไม่ต้องทำอะไรเลย นั่งเหมือนอยู่ในบ้าน ที่มีมุ้งลวดเรียบร้อย

 

แต่เนื่องจากหมู่บ้านนี้ ไม่มียุง จึงไม่มีบ้านหลังใด มีมุ้งลวด มีแค่หน้าต่างธรรมดา พอรู้สึกประหลาดใจก็ได้ถามท่านผู้ใหญ่บ้านว่า หมู่บ้านนี่ไม่มียุงจริงหรือ?

ผู้ใหญ่บ้าน ก็ตอบว่า จัดการเรียบร้อยหมดแล้ว!

 

ตอนแรก ผมก็ไม่เข้าใจว่า คำว่า จัดการ แปลว่า อะไร เพราะหมู่บ้านนี้ เป็นหมู่บ้านเกษตรอินทรีย์ มีชีวิตอยู่แบบปลอดสารพิษ จึงไม่น่าจะมีการฉีดยากำจัดยุง ใด ๆ ทั้งสิ้น

นอกเหนือจากนั้นหมู่บ้านนี้ยังมีหัตถกรรมจากการเลี้ยงไหม ที่จำเป็นต้องปลอดจากการฉีดพ่นสารเคมี ที่จะทำให้หนอนไหมตายได้  จึงไม่น่าจะมีการใช้สารเคมีแน่นอน

 

ผู้ใหญ่บ้านเคยเปรยๆ ว่า มีทางหน่วยงานอนามัย จะมาขอพ่นควันปราบยุง เพื่อลดปัญหาโรคไข้เลือดออก แต่ผู้ใหญ่บ้านก็บอกว่า ทำไม่ได้ เพราะจะทำให้กิจกรรมการเลี้ยงไหม เสียหาย

ผมจึงถามผู้ใหญ่ว่า ทำอย่างไรจึงไม่มียุง

ผู้ใหญ่บ้าน ตอบว่า

้วิธีเทน้ำที่ขังยุงอยู่ในบ้านเรือน และบริเวณรอบๆ ทุก ๆ 5 วัน สำหรับแหล่งน้ำที่เททิ้งไม่ได้ ก็ให้มีตาข่ายคลุมให้มิดชิด

มก็ถามว่า แล้วบ่อปลา บ่อเลี้ยงกบ ทำอย่างไร

ผู้ใหญ่บ้านก็บอกว่า ยุงไม่ชอบไข่ในน้ำ ที่เป็นบ่อปลาหรือบ่อเลี้ยงกบ

แต่ก็มีบ่ออื่นอีกมากมายในหมู่บ้าน รวมทั้งแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรที่เป็นประเด็นสำคัญของหมู่บ้านนี้ ี่มีการจัดการน้ำเพื่อเศรษฐกิจพอเพียงอย่างสมบูรณ์แบบ ทำให้ระบบธนาคารน้ำกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปึงน่าจะมีแหล่งน้ำอยู่บ้างที่ไม่สามารถป้องกัน กำจัดได้ ซึ่งเป็นที่น่าประหลาดใจ สำหรับผู้เข้าร่วมประชุมครั้งนั้นเป็นอย่างมาก

 

เรานั่งประชุมกันอยู่จนเกือบเที่ยงคืน ด้วยเหตุผลของเวลาที่ต้องทำงาน และความอยากรู้อยากเห็น ว่า ไม่มียุงจริงหรือเปล่า

จนกระทั่งใกล้เที่ยงคืน ตลอดระยะเวลาทำงานกว่า 15 ชม. ในหมู่บ้าน ก็ไม่พบว่า มียุงแม้แต่ตัวเดียว ทั้ง ๆ เรานั่งกันอยู่ในที่โล่งแจ้ง เราจึงถามผู้ใหญ่บ้านว่า แล้วหมู่บ้านอื่นที่ใกล้เคียงมียุงไหม ผู้ใหญ่บ้านก็ตอบว่า หมู่บ้านในรัศมีห่างจากบ้านนี้ประมาณ 2 กม. ก็มียุงมากมายในหมู่บ้าน  แต่ก็เนื่องจากว่าเขาไม่มีการกำจัดลูกน้ำตามกำหนดที่วางไว้ จึงทำให้มียุงอยู่ในหมู่บ้าน เช่นเดียวกับหมู่บ้านอื่นๆ ทั่วไป

 

ประเด็นการกำจัดลูกน้ำ ทุก 5 วันนี้ ผู้ใหญ่พิกุล บอกว่า ต้องมีการกำจัดบริเวณผิวเหนือระดับน้ำขึ้นมา 1-2 นิ้วด้วย เพราะยุงอาจจะไข่ไว้ในบริเวณผิวภาชนะมากกว่าไข่ไว้ในน้ำ เมื่อมีการทำความสะอาดภาชนะ แล้วเช็ดถูกบริเวณที่เหนือน้ำขั้นมา 2-3 นิ้ว ก็จะเป็นการกำจัดไข่ของยุงที่จะเกิดขึ้นเป็นตัว หลังจากใส่น้ำกลับไปอีกครั้งหนึ่ง

 

เทคนิคเล็ก ๆ น้อยๆ เช่นนี้ สามารถกำจัดยุงได้จริงหรือ

 

เพราะในกลุ่มผู้เข้าร่วมประชุมก็ตั้งคำถามว่า “ยุงสามารถไข่ได้ในแหล่งน้ำอื่นๆ โดยเฉพาะแหล่งน้ำการเกษตรที่อยู่ในรอบ ๆ หมู่บ้าน ซึ่งอาจกระจายประชากรยุงเข้ามาในหมู่บ้านนี้ได้ “

แต่ทั้งหมดนี้ ก็เป็นเพียงสมมติฐาน ในความเป็นจริงก็คือ ไม่มียุงให้เราตบแม้แต่ตัวเดียวระหว่างการทำงาน 15 ชม ในหมู่บ้านนี้

 

จึงเป็นที่น่าสนใจว่า  เทคนิคที่หมู่บ้านนี้ ใช้ สามารถกำจัดยุงได้จริงหรือ หรือมีเงื่อนไขอื่นที่เป็นองค์ประกอบ ที่เรายังไม่ทราบ ที่สนับสนุน ทำให้ยุงไม่สามารถขยายประชากรได้ จนสูญพันธุ์ไปในที่สุด

 

และหมู่บ้านอื่น ทำไมจึงไม่ทำเช่นนี้ ทั้งๆ ที่ดูเหมือนว่า จะเป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ยาก

ฉะนั้น ผมจึงขอเชิญชวนให้ผู้สนใจที่อยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับหมู่บ้านที่ไร้ยุง ไปพิสูจน์ความจริงกันที่หมู่บ้านนาฝาย ซึ่งผมคาดว่า ประเด็นหมู่บ้านปราศจากยุงนี้ อาจเป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยว นักพัฒนาสาธารณสุข และองค์กรพัฒนาต่างๆ เพราะการปราศจากยุง น่าจะทำให้ชีวิตของคนในชุมชนมีความสุขมากกว่าแน่นอน

และการปราศจากยุงนี้ ก็ยังเป็นการจัดการที่ปราศจากสารพิษใด ๆ ทั้งสิ้น

สามารถใช้ได้กับหมู่บ้านที่เลี้ยงไหม เลี้ยงผึ้ง และทำกิจการอื่นๆ ที่ไม่สามารถจะใช้สารพิษได้ หรือง่าย ๆ สำหรับผู้ไม่ชอบสารพิษ ก็สามารถใช้วิธีนี้ได้โดยไม่ต้องลงทุนใด ๆ

เพียงแต่กำจัดยุงตามเทคนิควิธีการ ที่ผู้ใหญ่พิกุลอธิบายมา

ก็น่าจะได้ผล ถ้าไม่ได้ผลอย่าไร ผมว่า เราเชิญผู้ใหญ่พิกุล ไปให้คำแนะนำ ก็น่าจะเป็นการขยายผลในทางปฏิบัติได้เป็นอย่างดี

 

ณ วินาทีนี้ ผมจึงขอเชิญชวนให้ผู้สนใจทั้งหลาย ไปพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง ว่า หมู่บ้านนี้ปราศจากยุงจริงหรือไม่

 

ผู้ใหญ่พิกุล ขันทัพไท ท่านขอท้า ว่า ถ้าใครจับยุงได้ในหมู่บ้านนี้ จะมีรางวัลพิเศษ มีใครกล้ารับคำท้าบ้างครับ

 

แต่วันนี้ ผมขอประกาศว่า  หมู่บ้าน(เขตร้อน) ที่ปราศจากยุง มีแล้วครับ อาจจะเป็นแห่งแรกของโลกก็ได้ครับ

สวัสดีครับ

 

หมายเลขบันทึก: 247744เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2009 15:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 19:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

เยี่ยมมากครับ ข่าวนี้ สะท้อนถึงความร่วมมือร่วมใจที่เกิน 100 เปอร์เซ็นต์

เก่งจังเลยนะค่ะ  เป็นปราชญ์ชาวบ้านที่ทุกพื้นที่จะต้องทำตามแบบอย่างของผู้ใหญ่บ้างแล้วนะค่ะ   จะได้ไม่ต้องนั่งตบตัวเองให้เจ็บอีกค่ะ

ยุง ลูกน้ำ ก็เป็นอาหาร เป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศ

แต่มีน้อยๆหรือไม่ค่อยมีเลยก็คงจะดีไม่น้อยนะครับอิอิ

ครับ

อยากให้คนทำดี ที่ฉลาด เข้มแข็ง มีกำลังใจทำเรื่องอื่นๆ ต่อไปครับ

แหม! มันเป็นไปได้แล้วเนี่ย จะไม่เชื่อได้อย่างไรอาจารย์ สงสารนักเลงปลากัด ...อะๆๆๆ

ขอโทษด้วยครับที่ผมเอาบทความนี้ไปเผยแพร่

โดยมิได้ขออนุญาตล่วงหน้า...

ด้วยเห็นว่าเป็นเรื่องที่ดี ที่น่าจะเป็นแบบอย่างให้กับที่อื่นๆต่อไปได้...

เชิญชวนช่วยกัน โปรโมทหมู่บ้านไร้ยุง ...

http://www.pantip.com/cafe/isolate/topic/M7616977/M7616977.html

เมืองไทยมีหมู่บ้านไร้ยุง ? ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ ...

http://www.pantip.com/cafe/lumpini/topic/L7615892/L7615892.html

เหลือเชื่อสุดๆ ครับ

หรือนอกเหนือจากการกำจัดแหล่งน้ำขังที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง การเป็นหมู่บ้านอินทรีย์ทำให้เกิดวัฐจักรตามธรรมชาติ ยุงอาจจะมีศัตรูตัวร้ายของมันอยู่ตามธรรมชาติ เมือคนอย่างเราไม่ยื่นมือเข้าไปยุ่ง

เกียวตัดตอนห่วงโซ่ธรรมชาติ ธรรมชาติก็เลยรักษาสมดุลของตัวเองได้ เพียงเพิ่มเติมรายละเอียดเล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับการแหล่งเพาะพันธุ์ยุงเท่านั้น

แต่ทั้งนั้ทั้งนั้นต้องขอยืนขึ้นและปรบมือดังๆ ให้กับหมู่บ้านปลอดยุงนี้ด้วยครับ

พูนชัย

สวัสดีครับ ท่านอาจารย์ ดร.แสวง

เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก น่าพิสูจน์ ค้นหาความจริง

และควรจะต้องขยายเรื่องนี้ให้โด่งดัง ทั้งประเทศ และกระฉ่อนไปทั่วโลก

เชื่อว่าจะมีคุณูปการต่อคนทั้งโลกเลยทีเดียวนะครับ

น่าสนใจ น่าพิสูจน์ มากค่ะ อยากให้หมู่บ้านทีอาศัยอยู่ไร้ยุงเหมือนที่นี่ค่ะ

วันนี้มีความคืบหน้าอีกนิดหนึ่งครับ

ได้ทราบว่าทางหมู่บ้านได้นำน้ำหมักไปราดแถวๆแหล่งน้ำที่กำจัดไม่ได้ เช้นตามร่องน้ำอีกด้วย

ทำให้สงสัยว่า จะเป็นสาเหตุให้ยุงไม่สามารถลอกคราบได้ แบบเดียวกับหนอนแมลงวันที่อยู่ในน้ำหมัก ที่ไม่เคยออกเป็นตัวเช่นเดียวกัน

ต้องถามนักกีฏวิทยาครับ ช่วยถอดรหัสหน่อยครับ

ใครทราบช่วยบอกทีครับ

สวัสดีครับ ท่านอาจารย์

น้ำหมักอะไรหรือครับ

ผมเคยได้ยินว่า น้ำหมักผักบุ้งกับน้ำตาลทรายแดง สูตรของคุณย่าเยาวเรศ บุนนาค  ก็ทำให้ยุงร้ายหายไปได้

หรือว่าจะเป็นน้ำ EM ครับ

หากอาจารย์มีข้อมูลเพิ่มเติมช่วยกรุณาเล่าให้ฟังอีกนะครับ

เท่าที่ทราบ ปุ๋ยน้ำหมักทั่วไปก็เป็นเช่นนั้นหมดครับ

มีหนอนแมลงวันตัวโตๆ เต็มไปหมดครับ

จึงน่าจะได้ผลกับยุงเช่นเดียวกันครับ

อันนี้เดาเอาครับ

และกำลังหาคนในสาขา มาทำงานวิจัยดูครับ

P อ.พันคำ แนะนำบันทึกของท่านคะ

  • ต้องขอบคุณบันทึกของอาจารย์คะ ครูแอนจะลองนำไปปฏิบัติที่ชุมชน
  • (ปกตินักเรียนจะคว่ำกะโหลกกะลาทุกวันศุกร์ ไม่เพียงพอ)
  • เพราะ อ.ปาย จากการรายงานของท่าน ผอ.รพ.ปาย เมื่อเช้าบอกว่า อ.ปายเป็นอำเภอที่พบมีผู้เป็นโรคไข้เลือดออกสูงสุดในจังหวัดแม่ฮ่องสอน คะ..
  • ที่เมืองแปงต้องพ่นควัน ตั้งหลายครั้งยุงก็ยังชุมอยู่ดีคะ
  • คงต้องได้รับความร่วมมือกับคนในชุมชนทุกคนคะ
  • ขอบคุณคะ

เยี่ยมมากครับ คงต้องใช้ตัวอย่างแบบนี้ไปเผยแพร่ต่อแล้วหล่ะ

ผมอยู่ในค่ายทหาร...ยุงเยอะมาก...ขนาดมีมุ้งลวดแล้วพลทหารของผมยังต้องนอนกางมุ้งเลยครับ... ผมคงต้องลองเอาโปรเจ็คนี้ไปเสนอผู้บังคับบัญชา..ลองทำดูในค่ายบ้างแล้ว...คงไม่ว่านะครับอาจารย์

อยากรู้จัก...คุณซวง ณ ชุมแสง...จังครับ..เพราะผมอยู่พยุหะคีรี..

ดีมากครับ

ถ้าไม่สะใจ ให้มาเรียนก่อนก็ได้ครับ

  • เห็นควรจะต้องช่วยกันตีฆ้องร้องป่าวครับ 1.) เพื่อช่วยกันเลิกใช้สารเคมีนการกำจัด จนเดี่ยวนี้เป็นประเด็นทางการเมือง พ่นหมอกควันเพื่ไม่ให้ชาวบ้านร้องเรียน 2.) ทำให้เชื่อกันจริง ๆ มีตัวอย่างจริง เป็นรูปธรรมว่าการกำจัดยุงด้วยวิธีทางการภาพดีที่สุด ถึงแม้จะทำยากที่สุด เพราะต้องใช้ความร่วมมือร่วมใจ ทำอยู่เพียงบ้านใด บ้านหนึ่งไม่ได้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท