หลักการจัดการทรัพยากร(แบบง่ายๆ และที่หลายคนมองข้าม)


การจัดการดีที่สุด คือ การไม่ต้องจัดการอะไรอีกต่อไป ทุกอย่างทำหน้าที่ของตัวเอง อย่างสมบูรณ์ (บูรณาการ)

ตั้งแต่ผมสอนวิชาการจัดการทรัพยากร และทำงานเชิงการจัดการทรัพยากรดิน น้ำ ป่าไม้ และชุมชนมาก็เกือบยี่สิบปี ทำให้พบประเด็นที่สำคัญในระบบคิดทั้งของชาวบ้านและนักศึกษา ว่า

เวลาพูดถึงการจัดการทรัพยากร คนส่วนใหญ่จะมองว่าเป็นการหาทรัพยากรเพิ่มเติม จากที่มีอยู่แล้วหรือไปจัดการในส่วนที่ไม่ใช่ของตนเอง (ที่ไม่ใช่ทรัพยากรของตนเอง แต่อย่างใด)

ดังนั้นทุกครั้ง ดูเหมือนว่าผมจะต้องย้ำว่า

  1. ทรัพยากร คือสิ่งที่เรานำมาใช้ได้ หรือ ส่วนใหญ่ก็คือ ที่มีอยู่แล้ว
  2. การจัดการ ต้องเริ่มที่ “ความรู้” ในการนำมาใช้ อย่างถูกต้องและคุ้มค่า
  3. ความรู้ที่สำคัญคือ ความรู้ที่มีอยู่แล้ว ทั้งในพื้นที่และชุมชน
  4. ความรู้ใหม่ หรือทรัพยากรใหม่ๆ อาจหาเพิ่มอีก เมื่อใช้ความรู้และทรัพยากรเดิมจน “เต็มที่” แล้ว

นี่คือหลักการเบื้องต้นที่ลดปัญหาการจัดการ และการแก่งแย่งแข่งขัน จนทำให้เกิดการ “ทำลาย” มากกว่าการ “จัดการ”

ยกตัวอย่างง่ายๆ ที่ผมเรียนมาด้วยตนเอง ก็คือ

การจัดการดิน คือการดูแลดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ โดยการไม่ทำลายดิน ไม่ไถ ไม่ใช้สารพิษ

ที่ชาวบ้าน หรือนักวิชาการทั่วไปมักเริ่มว่า

“การจัดการดิน” คือ การถางป่า การกำจัดวัชพืช การไถพรวน และการใส่ปุ๋ย

ที่มักมีผลในการทำลายโครงสร้าง ระบบนิเวศของดิน และความสามารถของดินที่จะทำให้พืชเจริญเติบโตได้ดี

จนทำให้เกิดความจำเป็นที่ต้องไปพึ่งพาปัจจัยภายนอก ความยากจน และความเสื่อมโทรมสารพัดด้าน

หรือการจัดการน้ำ ก็คือการอนุรักษ์ ดูแล และใช้ประโยชน์น้ำที่มี ให้คุ้มค่า มากกว่าจะหาน้ำเพิ่ม

ที่ผมพบว่า

บางที คนทั่วไปก็ชอบบ่นว่าขาดแคลนน้ำ ทั้งๆที่ ใช้น้ำที่มีอยู่ในพื้นที่ยังไม่ถึง ๓๐ %

หรือ บ่นว่ายากจน ทั้งๆที่ใช้เงินสุรุ่ยสุร่าย แบบไม่วางแผน และแบบไม่เห็นคุณค่าของเงิน

ด้านต้นไม้ ป่าไม้ ก็ชอบบ่นว่ามีน้อย แต่ไม่เคยคิดดูแลของที่มีอยู่แล้ว หรือปลูกเพิ่มให้มีมากขึ้น

และในเชิง "บูรณาการ" ก็ชอบคิดแบบทีละส่วน ไม่มององค์รวมที่สมบูรณ์แบบ

เช่น ไม่มองระบบนิเวศที่สมบูรณ์ แต่ชอบมองว่า ต้นไม้บังแสง แย่งอาหารพืช มองพืชที่ขึ้นอยู่แบบธรรมชาติว่าเป็น “วัชพืช” มองสัตว์ต่างๆว่าเป็น “ศัตรูพืช” จนต้อง “รีบทำลาย” ก่อนที่จะเห็นคุณค่า และความดีในมุมอื่นๆ

ในตัวอย่างนี้ ผมได้จัดการแบบ “ไม่ทำลาย” แต่พึ่งพาอาศัยกัน จนได้ความรู้ใหม่ จาก “ความรู้เดิมที่มีอยู่แล้ว ในชุมชน” เพียงแต่นำกลับมาใช้ใหม่อย่างถูกต้องเท่านั้น

ก็คือการสร้างความสมบูรณ์ (บูรณาการ) จนทำให้ไม่ต้องทำอะไร

จนมาถึงจุดที่ว่า

การจัดการดีที่สุด คือ การไม่ต้องจัดการอะไรอีกต่อไป ทุกอย่างทำหน้าที่ของตัวเอง อย่างสมบูรณ์ (แบบ "บูรณาการ")

นี่คือคำตอบของคำว่า “การจัดการทรัพยากรแบบบูรณาการ” ครับ

หมายเลขบันทึก: 312547เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2009 01:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 17:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

มาเยี่ยมคารวะอาจารย์ครับ

มีนักวิชาการอีกไหมครับที่ทำ "เรื่องยากๆ" ให้ "ง่าย" แบบนี้

ผมกำลังจะฟื้นป่าต้นน้ำ ซึ่งเป็นเขตพื้นที่ของบ้านที่ จ.ตาก ครับ

บันทึกนี้ของอาจารย์ทำให้ผมปิ๊งครับ

ขอบคุณครับที่ชม

ขอแสดงความยินดีด้วยครับที่มีโอกาสทำเรื่องดีๆ ให้กับชุมชน และประเทศชาติครับ

อาจารย์ครับ...

ไม่ได้ชมครับ เป็นความรู้สึกจริง ๆ

ผมมีความรู้สึกว่าวิชาการไม่ได้รับใช้สังคม ไม่ได้รับใช้คนส่วนใหญ่ของประเทศ

ผมรู้สึกและรับรู้ได้จริง ๆ ว่าอาจารย์นำวิชาการมารับใช้สังคม รับใช้คนส่วนใหญ่ของประเทศ

เพียงแต่ว่าที่อาจารย์ทำเป็นสิ่งสวนกระแสครับ

ไม่ได้ชมครับอาจารย์ ผมรู้สึกอย่างนั้นจริง ๆ

สวัสดีครับอาจารย์

อ่านบันทึกของอาจารย์ นึกถึงคำว่าพัฒนา ตามความรู้ที่กำนันผู้ใหญ่บ้านหรือผู้นำบอกเมื่อ 50 ปี่ผ่าน

ความหมายของการพัฒนาคือ ทำให้สะอาด ทำใหเตียน ทำให้โล่ง เราถึงไม่เหลือ ป่าไม้เอาไว้เพราะเราพัฒนา...

ขขอบคุณอาจารย์ ที่ทำให้สมองมีปัญญาในการจัดการทรัพยากรครับ

ท่านผู้เฒ่า วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei--  สรุปบันทึกนี้ได้งดงามมากครับ

การพัฒนาควรแปลว่าการทำให้ดีขึ้น (แบบองค์รวม)

แต่ ส่วนใหญ่จะดีเพียงด้านเดียว หรือไ่กี่ด้าน แต่เสียมากกว่าได้ครับ

ที่เราต้องแยกว่าเป็น "สุ-พัฒนา" และ "ทุ-พัฒนา" ตามสัดส่วนว่า

ดีหรือเสีย มากกว่ากัน

ถ้าส่วนดีมากกว่าส่วนเสีย ก็อาจยกให้เป็น "สุ-พัฒนา"

และ

 ถ้าส่วนเสียมีมากกว่าส่วนดี ก็อาจยกให้เป็น "ทุ-พัฒนา"

เพื่อ เราจะได้ไม่หลงทาง ครับ

อาจารย์ ครับ เคยเดินป่าเส้นทาง คอคอดกระ ถ้าเราจะพัฒนาทางเศรษฐกิจ

กับการที่ต้องสูญเสียพื้นที่นี้ไป คงต้องใช้หลัดคิดที่ที่อาจารย์สอนแล้วครับ

ถ้าส่วนดีมากกว่าส่วนเสีย ก็อาจยกให้เป็น "สุ-พัฒนา"

และ

ถ้าส่วนเสียมีมากกว่าส่วนดี ก็อาจยกให้เป็น "ทุ-พัฒนา"

เพื่อ เราจะได้ไม่หลงทาง ครับ

ด้วยความขอบครับอาจารย์ อาหารสมองยามดึก นักศึกษาเฒ่า ขอบคุณครับ

สวัสดียามใกล้สางคะ..อาจารย์

วันนี้หนูมาหาความรู้ด้านการพัฒนาท้องถิ่นคะ

พอดีได้มาอ่านงานของอาจาย์

บวกกับข้อคิดของคุณวอญ่า

และงานพัฒนาแบบรูปธรรมในท้องถิ่นที่ประสบอยู่นั้น

โดยเฉพาะการเป็นบุคลากรของรัฐ

มีข้อจำกัดหลายด้านมากที่จะดำเนินการให้เป็นไปตาม

แนวทางที่ควรจะเป็น...

 

  • อันดับแรกมนุษย์ต้องจัดการตัวเอง

ก่อนที่จะไปจัดการอย่างอื่น

 ถ้าจัดการความรู้ความคิดความสามารถตนเองยังไม่ได้ ไม่ชัด

จะไปจะการอย่างอื่นให้ถูกต้อง เหมาะสม สอดคล้องกับสิ่งที่ควรได้จั๋งได

  • ทำไปก็เหมือนตาบอดคลำช้าง
  • ทำไปเพราะกิเลศ
  • ทำไปเพราะรู้เท่าไม่ถึงการ
  • ทำไปเพราะเกิดมาทำไม่บันยะบันยัง

ถ้ามนุษย์โง่มากๆ โลกฉิ-หายแน่

วันที่ 19 จะติดหนังสือ "กาลานุกรม" ไปให้ที่ขอนแก่น

ส่วนเวลาไหนนั้น..ค่อยโทรฯนัดกัน

ไม่ทราบว่าวันดังกล่าวเล่าฮูอยู่ขอนแก่นรึเปล่า

อยากจะดวลเลือดหมูด้วย แต่เวลาบังคับ

ลงเครื่องต้องไปใหเป้าหวานเจาะโลหิต

แล้วจะรีบตามคณะไป ร.พ. น้ำพอง

จบข่าว และ อิ อิ

เรื่องที่เขียนมา เห็นว่าต้องจัดการ"คน" เป็นอันดับแรก อิอิ ครั้งที่ 2

เมื่อวานได้พูดคุยกับ อ.ดร.ยุวนุช ประเด็นงานที่จะขับเคลื่อน และส่วนหนึ่งจะมาผูกโยงกับการบูรณาการนี่หละครับ เผลอพูดคุยถึงอาจารย์บ้าง

โดยสรุปเราคิดแก้ปัญหากันเป็นส่วนๆ หากเอาความรู้ที่สัมมนาเมื่อวานมาตอบเรื่องนี้ คือเรามี waste มากเกินไป สูญเสียบางอย่างที่ไม่ควรสูญเสีย (เสียเวลา งานที่ทำไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ วางแผนไม่ดีฯลฯ) ที่สำคัญเราไม่ได้สร้างความรู้เชิงบูรณาการ

อ่านบันทึกแล้วคิดไปถึง "การปลูกป่าแบบไม่ปลูก" เห็นด้วยครับกับพ่อครูบาฯ เรื่อง การจัดการคนก่อนการจัดการทรัพยากร ตอนนี้ ความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาก็ยุ่ง วัดหลวงพ่อโสธรก็ยุ่ง :)

 

เรียนท่านอาจารย์แสวงที่เคารพ

          เราใช้ชีวิตขัดกับพลังธรรมชาติสุดโต่งมาก และก็คิดแยกส่วนจนติดในสมอง เราคงต้องเรียนรู้และเปลี่ยนกบาลทัศน์ใหม่ ที่จะใช้พลังธรรมชาติต่อยอด นำ "สิ่งเห็นและเป็นอยู่" จากครูธรรมชาติ มาต่อยอดพัฒนาให้ถูกทาง การดำรงชีวิตที่ใช้ปัญญาแบบมองให้เห็นเป็นองค์รวมมากขึ้น ใช้ชีวิตที่เบียดเบียนน้อยลง ร่วมสร้างระบบที่ดี ยั่งยืน มีความสมดุล มีภูมิคุ้มกันที่สูงขึ้นมา เพื่อการดำรงชีวิตที่เป็นสุขครับผม

 ด้วยความเคารพครับผม

        นิสิต

ให้ธรรมชาติจัดการตัวเอง เหมือนปรัชญาเต๋า เลยครับ

นี่คือสิ่งที่ดีที่สุดอยู่แล้วครับ

มีอยู่ในแทบทุกลัทธิครับ

สวัสดีครับ

  • การจัดการด้วยความไม่รู้นั้นอันตรายจริงๆนะครับ
  • ที่เขาก็ว่าทำไปด้วยความรู้  ที่จริงมันรู้เพียงบางซีก บางส่วน ไม่ได้เห็นองค์รวม หรือไม่ได้มองให้ตลอดสาย  จึงเกิดความ "มักง่าย" ในการใช้ความรู้มา "จัดการ" เรื่องต่างๆ จนเกิดความปั่นป่วนไปทั้งโลก
  • ความจริงถ้าไม่บุ่มบ่ามด้วยกิเลสกันมากนัก  หันมาใส่ใจการจัดการที่ออกแรงน้อย และปล่อยให้ระบบมันจัดการกันเองอย่างธรรมชาติมากๆ  คงทำให้โลกน่าอยู่ขึ้นอีกเยอะเลยล่ะ
  • ดูๆไปแล้ว  การจัดการที่ทำๆกันอยู่มักจะเข้าข่ายการไป จัดการให้เสียสมดุล เกือบทั้งนั้น  พอเกิดปัญหาขึ้นมาก็แสวงหาปัจจัยภายนอกมาถมทับเข้าไป  เราจึงได้ "ซาก" หรือ "ขยะ" ของการจัดการ  หรือการพัฒนาอยู่เต็มโลกอย่างที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน

การจัดการที่ความรู้ไม่พอใช้ อาจเกิดความเสียหายในประเด็น

  • ประสิทธิภาพ
  • ความคุ้มค่า
  • ขยะ
  • ปัญหาใหม่
  • ต้องหาทรัพยากรหรือปัจจัยสนับสนุนเพิ่ม และ
  • เหนื่อยมากกว่าเดิม

ผมจึงคิดว่า ถ้าเพียงเราหันมาทบทวนทรัพยากรที่มี ปรับใช้ หรือแก้ไขข้อด้อย จะง่ายกว่ากันมากเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท