ความหมายสามมิติของ บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต


คำว่าบัณฑิต จึงควรจะแปลว่า ผู้มีปัญญาที่จะทำประโยชน์ให้กับตนเองและผู้อื่น จึงสามารถพาคนอื่นไปหาสิ่งที่เป็นประโยชน์ได้ เมื่อบัณฑิต แปลว่า ผู้มีปัญญา แล้วมหาบัณฑิต ควรจะแปลว่าอะไร ผมเข้าใจว่า น่าจะแปลว่าผู้มีปัญญาหลายๆ อย่าง หลายๆ ด้านแบบพหุปัญญานั่นแหล่ะครับ

ผมเชื่อว่า ท่านคงเคยได้ยินทั้ง 3 คำนี้มาอย่างแน่นอน เพราะเป็นคำที่คนอยากเป็น อยากมีด้วยกันทั้งนั้น และในช่วงนี้ก็เป็นกระแสการรับปริญญาบัตรของสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะชี้แจงแถลงไขว่า 3 คำนี้ แตกต่างกันอย่างไร

 ก่อนที่จะมาคิดเขียนเรื่องนี้ ผมได้เคยลองถามผู้ที่กำลังเรียนหรือจบไปแล้ว ทั้ง 3 ระดับปริญญา ผมแทบจะไม่ได้ยินใครตอบเข้าประเด็นเลย ว่าทั้ง 3 คำนี้ มีอะไรเหมือนกันหรือต่างกัน   

ประเด็นวิเคราะห์เหล่านี้เป็นความเห็นกึ่งส่วนตัว กึ่งวิชาการนะครับ

   ผมขอเริ่มด้วยคำว่า บัณฑิตซึ่งเป็นคุณสมบัติชนิดหนึ่งที่ดีของคนที่มีคำสำนวนไทยว่าคบคนพาล พานพาไปหาผิด คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผลซึ่งแสดงว่า คนที่เป็นบัณฑิตนี้ต้องเป็นคนดีแน่นอน

   ดีอย่างไรครับ ก็ดีขนาดพาไปหาผลได้ล่ะครับ  แล้วเขาพาไปหาผลได้อย่างไร แสดงว่า เขาต้องรู้ว่าอะไรดีไม่ดี รู้ว่าอะไรเกิดผลไม่เกิดผล เขาจึงพาไปได้

ฉะนั้นตามรากศัพท์ คำว่าบัณฑิต จึงควรจะแปลว่า ผู้มีปัญญาที่จะทำประโยชน์ให้กับตนเองและผู้อื่น จึงสามารถพาคนอื่นไปหาสิ่งที่เป็นประโยชน์ได้ เมื่อบัณฑิต แปลว่า ผู้มีปัญญา

แล้วมหาบัณฑิต ควรจะแปลว่าอะไร  ผมเข้าใจว่า น่าจะแปลว่าผู้มีปัญญาหลายๆ อย่าง หลายๆ ด้านแบบพหุปัญญานั่นแหล่ะครับ  ฉะนั้น มหาบัณฑิต จึงน่าจะมีปัญญาหลายๆ ด้าน โดยรากศัพท์นี้   

แล้วดุษฎีบัณฑิต ล่ะครับ ควรจะแปลว่า อะไร ตามรากศัพท์ควรจะแปลว่าผู้มีปัญญารอบด้าน เข้าใจปรัชญาทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติและระบบสังคมที่เป็นอยู่ทั้งหมด

ฉะนั้น จึงนับว่าดุษฎีบัณฑิต มีความรู้สูงสุด อันนี้ตามความหมายนะครับ ผมไม่แน่ใจว่าความจริงเป็นอย่างไร ฉะนั้น ผมจึงไม่ค่อยเข้าใจว่าคนคนหนึ่ง ทำไมจะต้องมีดุษฎีบัณฑิตหลายๆใบ แสดงว่าต้องมีความรู้หลายชั้นอย่างนั้นหรือครับ (อันนี้ขอแซวคุณกะปุ๋ม โดยเฉพาะ)  

ทีนี้ลองหันกลับมามองในโลกแห่งความเป็นจริงว่า บัณฑิตหรือผู้ที่จบปริญญาตรีแตกต่างจากผู้ที่เป็นมหาบัณฑิต (จบปริญญาโท) และดุษฎีบัณฑิต (จบปริญญาเอก) อย่างไร   

ในทางตามหลักการทำงานนะครับ เราถือว่า

คนที่เป็นบัณฑิตในระดับปริญญาตรีนั้นคือผู้มีความรู้พอที่จะไปทำงานได้ในสาขาต่างๆ ที่สังกัด

ในขณะที่มหาบัณฑิตหรือปริญญาโทนั้นเป็นผู้ที่มีความสามารถในการทดลองและวิจัยเพื่อสร้างความรู้ โดยเน้นการวัดผลจากความสามารถในการทำงานวิจัย

และดุษฎีบัณฑิตหรือผู้ที่จบปริญญาเอกนั้น เป็นผู้ที่มีความสามารถ ในการสร้างความรู้ใช้เอง โดยต้องป้องกันวิทยานิพนธ์ของตนเองอย่างชัดเจนว่าได้สร้างความรู้ใหม่ใดขึ้นมาบ้าง ซึ่งแตกต่างจากปริญญาโทที่เพียงรู้วิธีการทำวิจัย และระดับปริญญาตรีที่เรียนรู้ทฤษฎีต่างๆ   

เห็นไหมครับ เกณฑ์สองชนิดนี้แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ผมเลยไม่แน่ใจว่าเราควรจะใช้เกณฑ์ไหนในการทำงาน (อันนี้ยังไม่นับคนที่มีคุณสมบัติไม่ผ่านเกณฑ์ แต่ได้รับการหนุนเสริมจากระบบสถาบันหรืออาจารย์ที่ปรึกษาให้จบจนได้ ทั้ง ๆ ที่ไม่ควรจะจบ ด้วยเหตุผลกลใดก็แล้วแต่) 

สำหรับตามหลักทางปฏิบัติ เรายิ่งหย่อนเกณฑ์ลงไปกว่านั้นอีก  

  • ปริญญาตรี คือ ผู้ที่สอบผ่านทุกวิชาที่อยู่ในหลักสูตร โดยได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
  • ปริญญาโท คือ ผู้ที่สามารถสอบผ่านวิชาที่กำหนดไว้และสอบผ่านวิทยานิพนธ์ที่มีเกณฑ์ว่า รู้ข้อเด่นข้อด้อยของงานที่ตัวเองทำ อาจผิดพลาดบ้างก็ไม่เป็นไร
  • ปริญญาเอก คือ ผู้ที่สามารถผ่านการทดสอบคุณสมบัติและความรอบรู้ และสามารถป้องกันวิทยานิพนธ์โดยเน้นองค์ความรู้ใหม่ที่สร้างขึ้นมา

 

ดังนั้น จะเห็นได้ว่า เกณฑ์วัดคุณสมบัติของระดับปริญญาทั้ง 3 มีอย่างน้อย 3 ระดับด้วยกัน คือ

 

  1. ตามรากศัพท์
  2. ตามหลักสูตร
  3. ตามการจัดการเรียนการสอน

 ทั้ง 3 เกณฑ์นี้บางทีก็ไม่สอดคล้องกัน และยังมีเกณฑ์มาตรฐานของอาจารย์ และคณะกรรมการที่ปรึกษาที่แตกต่างกัน ซึ่งบางทีก็เข้มงวดแต่บางคณะก็ย่อหย่อน เพื่อให้ตัวเองผ่านเกณฑ์เช่นเดียวกัน 

จึงทำให้มีระบบช่องว่างของการทำงานค่อนข้างมาก ตามหลักการของความอิสระทางการศึกษา (Academic freedom) ซึ่งทำให้มีความลักลั่นในการจัดการมากพอสมควร

จนบางครั้งนักศึกษาจะพยายามไปเข้าเรียนในหลักสูตร หรือในกลุ่มอาจารย์ที่ให้ผ่านง่ายๆ แต่จะหลบอาจารย์ที่เข้มงวดในคุณสมบัติขั้นต่ำ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่ทำให้นักศึกษาจำนวนหนึ่งสำเร็จการศึกษาแบบคุณภาพต่ำ

ซึ่งเป็นปัญหาในระบบการศึกษาในปัจจุบัน เพราะโดยธรรมชาตินักศึกษาก็จะไปลงทะเบียนเรียนในหลักสูตรที่จบง่ายกว่าอยู่แล้ว นอกเหนือไปจากความชอบเป็นการส่วนตัว  

ดังนั้น จึงเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงว่าเราจะรักษาคุณภาพบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตไว้ได้นานแค่ไหนในกระแสสังคมที่ชอบสิ่งเร็ว ๆง่ายๆ แค่มีใบปริญญาก็ถือว่าใช้ได้แล้ว โดยไม่จำเป็นต้องดูที่ไปที่มาและความสามารถที่แท้จริง 

ดังนั้น ในการพัฒนานโยบายและแผนการศึกษาแห่งชาติ จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้

โดยไม่ควรปล่อยให้มีอิสระมากเกินไปที่จะให้นักศึกษาจบอย่างไรก็ได้ ซึ่งเป็นช่องทางของปัญหาใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน 

ฝากคิดด้วยนะครับ นักการศึกษาทั้งหลาย อย่ามัวแต่วุ่นกับการประกันคุณภาพจนไม่รู้ว่าคุณภาพแปลว่าอะไร

สงสารประเทศไทย บ้างเถอะครับ

หมายเลขบันทึก: 68652เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2006 19:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

    มายกมือบอกว่าอ่านจบแล้วครับ
    ผมเห็นว่าเท่าที่ปรากฏ ไม่ว่า บัณฑิต มหาบัณฑิต หรือ ดุษฎีบัณฑิต ที่จบออกมาเกลื่อนเมือง ยังห่างไกลจากความหมายที่ท่านยกมา คือจบมาได้แต่ไม่เต็มความหมายนั้นมีอยู่มากครับ เพราะเท่าที่เห็นๆก็มักจะพูดกันแต่ว่าทำอย่างไรจะได้จบ (ง่ายๆ) เสียที
    ผมยังเชื่อว่าการเรียนรู้ที่ดี ต้อง ไม่อยากจบ ครับ

เห็นด้วยเต็ม ๆ เลยครับ ต้องปฎิรูปการศึกษาอย่างเร่งด่วนเลยครับ 

http://gotoknow.org/blog/kmait/14899

ขอบคุณครับกองหนุนทีมนอนดึก

ผมเห็นด้วยกับการรื้อการศึกษาทั้งระบบ

ตอนนี้เละจนไม่รู้จะแตะตรงไหแล้วครับ

แทบไม่มีชิ้นให้จับครับ

แทบทุกคนอยู่เพื่อเอาตัวรอดไปวันๆ ไม่มีช่องว่างที่จะคิดเพื่อส่วนรวม

แต่ว่า ทำกันเมื่อไหร่ดีครับ

จะฝังหรือเผาก็ได้ มันเหม็นเน่าเฟะหมดแล้ว ทำไมเขาไม่รู้สึกกัน

เขาไม่มีหู ไม่มีตา ไม่มีจมูก หรืออย่างไร

ใครทราบช่วยอธิบายหน่อยครับ

  ขอโทษนะครับอาจารย์
     ถ้าพูดแบบชาวบ้านๆ แบบชัดๆ ลูกทุ่งๆ ก็คือ
     " หนอนย่อมไม่เหม็นขี้
  อยู่กับมันจนชิน จนรู้สึกว่า "หอมชื่นใจ" กระมัง

อยากสนับสนุนอาจารย์ที่ให้บัณฑิตมีคุณภาพ แต่ตราบใดที่เรายังผูกไว้กับการต้องหาลูกค้าหรือเงินตราเพื่อการอยู่รอดของตนเองและสถาบัน มันยากส์.....ค่ะ

ใครไม่รู้กำหนดออกมา เราสอนมานาน ก็รู้ว่าคุณภาพมันแย่ลง อยากจะเพิ่มแต่ปริมาณ คุณภาพบ่มิไก๋ รับปริญญาผ่านไปเร็วๆนี้ บางคณะฯ บางสาขา ปริญญาเกียรตินิยมปาไปเกือบครึ่ง แถมเรียนจบสามปีอีกต่างหาก และกำลังเร่งรับภาคพิเศษในสาขาอีก สักพันคน เห็นแล้วก็กลุ้มแทน ไม่รู้จะหอบเอาเงินในสาขานั้น ไปเก็บไว้ที่ไหน น่าอิจฉาจัง  ผู้บริหารเก่งจัง ต้องให้ค่าตอบแทนมากๆที่มีผลงานดีเด่นขนาดนี้

 อยากให้กลับมาเริ่มต้นที่ ทบทวนตนเอง อยากบอกว่า เราทุกคนต้องช่วยกัน คิดและทำตามรอยพระยุคลบาท เดินอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงค่ะ เพื่อลูกหลานไทย/จากมาลัยทอง

(^____________^)

เพราะถูกแซว...จะมาถึงรอยด้วยรอยยิ้มคะ

กะปุ๋ม

ขอบคุณครับ ดร. ธัญดา

ผมว่าเรามีเรื่องเศร้ามากเหลือเกิน

เมื่อไหร่เราจะมีข่าวดีบ้างครับ

อาจจะต้องรอให้ ดร. กะปุ๋ม จบ ป เอก อีกสัก ๕ ใบหรือเปล่า จึงจะเป็นข่าวดี

  • ขอบคุณอาจารย์ ดร.แสวง ครับ ได้ความหมายสามมิติ ที่ครอบคลุมเหล่าบัณฑิต และ ที่เหนือกว่าบัณฑิต แต่สภาพปัจจุบันด้วยการคำนึงในด้านการตลาดมากเกินไปของมหาวิทยาลัย และการไม่ใช่บุคคลแห่งการเรียนรู้ของดุษฏีบัณฑิตจำนวนหนึ่ง เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วไม่สง่างามเท่าที่ควร นั่นคือศักยภาพที่หาแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับมหาบัณฑิตไม่ เป็นปรากฏการณ์ที่น่าเป็นห่วงครับ

 

ผมบอกเสมอว่า เด็กอ้วน กับผู้ใหญ่ผอม อาจน้ำหนักเท่ากัน แต่ไม่ใช่สิ่งเดียวกันครับ

ป. เอกที่จบบางแห่ง บางทียังเขียน proposal วิจัยไม่เป็นเลยครับ

ผมเป็น กก อ่านงานวิจัยแล้วซึ้งมากเลย แค่ประเด็นปัญหาก็ยังโยงเข้าหาวิธีการไม่ถูกเลยครับ

ไม่รู้จะสงสารใครดี 

ตอนที่เข้าอบรม HA ที่หน่วยงานแห่งหนึ่งจัดขึ้นมา มีคำพูดของท่านวิทยากร พูดได้น่าสนใจว่า " ให้ถามตัวเองว่า เราทำ HA  เพื่ออะไร ถ้าทำ HA เพื่อ HA สิ่งที่ได้ แน่ใจ หรือว่า ได้งานที่มีคุณภาพ แต่ถ้าหากเราทำ HA เพื่อพัฒนาคุณภาพ เมื่อนั้นแหละ งานที่เราทำ

(ขอโทษค่ะ เมื่อกี้คลิกผิด ขออนุญาตเขียนต่อนะคะ)

" ..... เมื่อนั้นแหละ งานที่เราทำก็จะมีคุณภาพ และเราก็ผ่าน HA ด้วย"

ฉันใด ก็ฉันนั้น.......

ถ้าเราเรียน ไม่ว่าจะเป็นระดับบัณฑิตศึกษา มหาบัณฑิต หรือจะเป็นดุษฎีบัณฑิต ก็ตาม ถ้าเราเรียน เพื่อให้จบ สิ่งที่เราจะได้ คือ วุฒิการศึกษา และใบปริญญา แต่ถ้าเราเรียนเพื่อรู้ เราก็สามารถเรียนได้ทุกระดับ และไม่จำเป็นต้องเรียนในระบบการศึกษาเสมอไป เพราะความรู้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในห้องเรียนค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณครับคุณศันสนีย์ ที่กรุณามาแลกเปลี่ยน

ประเด็นอยู่ที่ความตั้งใจนั้นแหละครับ

ว่าจะเน้นปริญญาหรือใบปริญญา

วันพรุ่งนี้ โปรดติดตามตอนต่อไป

ใน "ธนบัตรมหาบัณฑิต"

ได้อ่านข้อความของอาจารย์ เป็นข้อความที่ดีมากค่ะ ตอนที่หนูเรียนปริญญาตรีนั้นก็รู้ว่า "ผู้ที่เป็นบัณฑิต" เป็นผู้ที่มีปัญญา และต้องมีความอดทน เป็นคนเอื้อฟื้อผู้อื่นครอบครัวและตัวเองไม่เดือดร้อน หนูกำลังจะเรียนต่อ ป.โท ค่ะ ขอบคุณอาจารย์ที่ให้ความหมาย "มหาบัณฑิต"

ได้อ่านข้อความของอาจารย์ เป็นข้อความที่ดีมากค่ะ ตอนที่หนูเรียนปริญญาตรีนั้นก็รู้ว่า "ผู้ที่เป็นบัณฑิต" เป็นผู้ที่มีปัญญา และต้องมีความอดทน เป็นคนเอื้อฟื้อผู้อื่นครอบครัวและตัวเองไม่เดือดร้อน หนูกำลังจะเรียนต่อ ป.โท ค่ะ ขอบคุณอาจารย์ที่ให้ความหมาย "มหาบัณฑิต"

ขออวยพรให้สำเร็จ "การศึกษา" นะครับ

ขอสะท้อนความคิดเห็น ตอนนี้ดิฉันกำลังเรียนระดับปริญญาโท แต่เรียนภาคสมทบเพราะทำงานด้วย สำหรับดิฉันจะถามตัวเองก่อนที่จะศึกษาว่าทำไมต้องเรียน คำตอบที่ตอบกับตัวเองคือก็ต้องการพัฒนา และให้ได้ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยที่ถูกต้องและมีมาตรฐาน เพื่อนำไปพัฒนาต่อไป ตอนนี้เริ่มเขียนโครงร่างแล้ว สิ่งที่สังเกตความคิดคนการทำวิทยานิพนธ์ของคนรอบๆ คนส่วนใหญ่มองว่าจบยาก ยาก บางคนบอกว่าก็ปริญญาเหมือนกันทำสารนิพนธ์ก็ได้ หรือไม่ก็อยากจบเร็วๆ หรือทำวิทยานิพนธ์แต่ของ่ายๆ หนูมองว่า แล้วปัจจุบันการเรียนเป็นการแค่ให้รู้ว่ามีวุฒิที่สูงแค่นั้นหรือ การคำนึงถึงคุณภาพ หรือความท้าทายมุ่งมั่นในวงการศึกษามันเหลือน้อยเหลือเกิน และเมื่อไม่ที่คิดไม่เหมือนคนอื่น เขาก็จะหาว่าเราไปหาเรื่อง เราคนแปลก มองแล้วหนูว่าสังคมก็แปลกขึ้นนะค่ะ

จงรักษาความดี ดุจเกลือรักษาความเค็มครับ

ไม่ง่ายแต่พึงกระทำครับ

ยินดีด้วยนะจะ

จงรักษาความดี ดุจดังดวงหทัย

แพ้ได้แต่งห้ามถ้อย สุ้ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆนะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท