โครงการ LHC - 02 : หลุมดำจิ๋ว (1)


บันทึกนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทความที่จะนำลงในนิตยสารวิทยาศาสตร์ โปรดติดต่อผู้เขียน หากต้องการนำไปเผยแพร่ในที่อื่นด้วยครับ ^__^

 

 

 

 

 

ในโครงการ Large Hadron Collider ที่ CERN นั้น

แม้จุดประสงค์หลัก คือ การตามล่าหาอนุภาคพระเจ้า (God Particle) หรือ อนุภาคฮิกส์ (Higgs particle)

เพื่อทดสอบว่า แบบจำลองมาตรฐาน (Standard Model) ถูกต้องแค่ไหน

(ดูคำอธิบายในบันทึก โครงการ LHC - 01 : เกริ่นนำ)

แต่ปรากฏว่า...

ข่าวที่ผู้คนให้ความสนใจมากที่สุดในอันดับต้นๆ ก็คือ

อาจเกิด หลุมดำ ขึ้นมา

ร่ำลือกันถึงขนาดว่า หลุมดำที่โผล่ขึ้นมานี้ อาจจะดูดเอาเครื่อง LHC เข้าไปก่อน

ตามด้วย CERN ทวีปยุโรป จนกระทั่งโลกก็จะถูกดูดเข้าไปในที่สุด!

............................................................

ก่อนที่จะคุยเรื่องนี้ได้ก็ต้องทำความรู้จัก หลุมดำ หรือ แบล็กโฮล (Black Hole) กันก่อน

หลุมดำ คือ บริเวณในที่อวกาศ (space) ซึ่งมีความโน้มถ่วงสูงมาก
มากขนาดที่ว่า แม้แต่แสงซึ่งเคลื่อน (ที่เร็วที่สุดในเอกภพ) ยังหนีออกมาไม่ได้
หากหลุดเข้าไปภายในขอบเขตของหลุมดำ
ขอบเขตที่ว่านี้เรียกว่า ขอบฟ้าเหตุการณ์ (event horizon)

ภาพของหลุมดำในความคิดของแฟนหนังแนวไซ-ไฟ
ก็คือ หลุมดำจะคอยดูดยานอวกาศที่ผ่านเข้าไปจ๊วบๆ 

หลุดเข้าไปเมื่อไร...ก็เสร็จเมื่อนั้น!

หลุมดำที่ดูดยานอวกาศในหนังไซ-ไฟนี้เป็นหลุมดำขนาดใหญ่
ที่เกิดจากดาวฤกษ์ที่มีมวลค่อนข้างมากยุบตัวลงในบั้นปลายชีวิต

กล่าวโดยย่อก็คือ ตามปกติดาวฤกษ์จะมีแรง 2 แรงต่อสู้กันอยู่

แรงหนึ่งเป็นแรงผลักที่พยายามทำให้ดาวฤกษ์นั้นพองตัวออก
แรงนี้เกิดจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงโดยปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน

อีกแรงหนึ่งเป็นแรงดึงดูดที่พยายามทำให้ดาวฤกษ์นั้นหดตัวเล็กลง
แรงนี้เกิดจากความโน้มถ่วงของมวลสารของดาวฤกษ์นั้นเอง

หากแรงผลักและแรงดึงดูดข่มกันไม่ลง ดาวฤกษ์นั้นก็จะรักษาขนาดเอาไว้ดีพอสมควร

แต่ในบั้นปลายชีวิต เมื่อเชื้อเพลิงถูกใช้ไปจนหมด แรงผลักก็หมดฤทธิ์
ผลก็คือ แรงดึงดูดจะชนะ ดึงให้ขนาดของดาวฤกษ์หดเล็กลง

จุดจบของดาวฤกษ์มีหลายแบบขึ้นกับมวลตั้งต้น

หากมวลตั้งต้นของดาวฤกษ์สูงกว่า 18 เท่าของมวลของดวงอาทิตย์ของเรา

การตายของดางดวงนี้จะซับซ้อนและรุนแรงมาก

โดยแกนเหล็กที่เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน จะยุบตัวลงอย่างไม่สิ้นสุด

กลายเป็นหลุมดำ

 

ภาพต่อไปนี้แสดงหลุมดำกำลังดูดกลืนมวลสารจากดาวที่เคยเป็นเพื่อนคู่หู (Companion star)

ส่วนที่เป็นจานรวมมวล (Accretion disk) คือ บริเวณที่สสารที่ถูกดูดวิ่งวนเป็นเกลียวเล็กลงจนหายเข้าไปในหลุมดำ

 

โปรดสังเกตสมบัติต่างๆ ของหลุมดำตัวอย่างนี้ ได้แก่
มวล (Mass) : 1031 กิโลกรัม
รัศมี (Radius) : 20 กิโลเมตร
อายุขัยกว่าจะระเหยไปหมด (Evaporation time) : 1067 ปี 
(เนื่องจาก เอกภพมีอายุเพียง 15,000 ล้านปี ดังนั้น หลุมดำนี้จึงมีอายุยืนยาวมาก)

 

อย่างไรก็ดี เรื่องการระเหยของหลุมดำนี้ ณ ปัจจุบันยังเป็นผลจากการคาดการณ์ในทางทฤษฎีเท่านั้น

เรียกว่า การแผ่รังสีฮอว์คิง (Hawking radiation)

สำหรับประเด็นเรื่องการแผ่รังสีฮอว์คิงว่าคืออะไร หากมีจริงจะเกิดขึ้นด้วยกลไกอะไรนั้น

ผมจะขยายความในโอกาสต่อไปครับ

 

 คราวนี้ลองมาดู หลุมดำที่ว่ากันว่าอาจจะเกิดจากเครื่อง Large Hadron Collider กันบ้าง

 

มวล (Mass) : 10-23 กิโลกรัม
รัศมี (Radius) : 10-19 เมตร
อายุขัยกว่าจะระเหยไปหมด (Evaporation time) : 10-26 วินาที 


มวลนิดเดียว รัศมีก็เล็กจิ๋ว จึงเรียกว่า หลุมดำจิ๋ว (micro black hole หรือ mini black hole)

ส่วนอายุก็แสนจะสั้น คือ 0.00000 00000 00000 00000 00000 1 วินาที
ซึ่งหมายความว่า เกิดมาปุ๊บ ก็แทบจะตายปั๊บ!
(คนเรากระพริบตาใช้เวลา 0.1 วินาที โดยประมาณ)

 

เรื่องหลุมดำจิ๋วที่อาจเกิดขึ้นใน Large Hadron Collider นี้มีแง่มุมที่น่าสนใจหลายอย่าง
แต่ในคราวหน้า  จะชวนไปดูภาพรวมกันก่อนว่า หากหลุมดำจิ๋วนี้มีจริง มันอาจจะเกิดจากอะไรได้บ้าง

ลองดูตัวอย่างให้น้ำลายหกเล่นๆ กันก่อน...ไว้จะมาโม้รายละเอียดอีกที

   

Primodial Density Fluctuations

เกิดจากการที่ความหนาแน่นของสสารไม่สม่ำเสมอในขณะที่เอกภพเพิ่งถือกำเนิดขึ้นมาได้ไม่นาน

 

Cosmic-Ray Collisions

เกิดจาก การพุ่งชนของรังสีคอสมิกจากอวกาศ

Particle Accelerator

เกิดในเครื่องเร่งอนุภาคขณะที่อนุภาคพุ่งเข้าชนกันด้วยพลังงานสูง

 

กลับบ้านก่อนล่ะคร้าบ ;-)


คำสำคัญ (Tags): #black hole#หลุมดำ
หมายเลขบันทึก: 209492เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2008 18:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

สวัสดีค่ะ

  • ว้าว เครื่องกำลังติด พี่เรากลับบ้านก่อนซะแล้ว
  • อ่านดูถึงตอนเพื่อนสนิทคิดไม่ซื่อ (หลุมดำกำลังดูดกลืนมวลสารจากดาวที่เคยเป็นเพื่อนคู่หู) แบบนี้ก็มีด้วย อย่าไว้ใจทางอย่าวางใจดวงดารา...ที่แข่งกันฉายแสง ^^
  • มาช่วยพิสูจน์อักษรแทนคุณ บก. ด้วย ค่ะ เจออยู่สองที่ อ้าว ตามหาไม่เจอเสียเอง
  • แต่เห็นแล้วว่า ไก่เกินมา แล้วเรือหายไป (เล่นทายปริศนาเสียเลย)
  • ไว้รอน้อง GB (?? เดาดูซิคะว่าใคร) มาช่วยหานะคะ ^^
  • อ้าวอีกทีค่ะ พี่ชิวเอาถังมาลองน้ำลายหกท้ายบันทึกด้วย....

สวัสดีครับ พี่ดาว

        ไล่ไก่ไป & ใส่เรือแล้วครับ ^__^

        น้อง GB นี่ ชื่อจริงขึ้นด้วย 'เ' ชื่อเล่นขึ้นด้วย 'ต' หรือเปล่าครับ ;-)

         ผมจะค่อยๆ เติมรายละเอียดลงไปในบันทึกนี้ทีหลัง ส่วนบันทึกถัดไป โปรดอดใจรอ

จิ๋วจริงๆ คนเราก็กลัวกันไปได้นะเนี่ย..

เห็นข่าวแว้บๆ ว่ามีคนฆ่าตัวตายเพราะกลัวหลุมดำนี้เกิดขึ้นด้วย อะไรจะขนาดนั้น..

Questions: ถ้าโดนดูดเข้าไปในหลุมดำ แล้วจะเปนไงอ่ะคะ ?

: ในหลุมดำเปนไงอ่ะ ? O__o

น่ากลัวขนาดต้องฆ่าตัวตายเลยหรอ !!!

วันนี้ถามแค่นี้ละกันนะคะ

ไปละ บายๆ ^__^

สวัสดีครับ

      คุณแม่น้องธรรม์ : เรื่องเข้าใจผิด จนตีความไปเลยเถิดนี่เกิดได้เสมอครับ แต่แบบนี้หนักหน่อย

      ตวง : ในหลุมดำขนาดใหญ่นี่ ถ้าอะไรโดนดูดเข้าไป ก็จะโดนตับยืดออกจนขาดครับ...บรื๊อ

            แต่หลุมดำจิ๋วนี่ไม่น่ากลัวเลยครับ เล็กสุดๆ แถมอายุก็สั้นอีกต่างหาก 

ในจักรวาลมีหลุมดำหลายอันมั้ยคะ มีอันไหนอยู่ใกล้ๆ โลกบ้างมั้ยคะ

ขอบคุณสำหรับคำตอบนะคะ ^__^

แล้วเอาข้อมูลมาเพิ่มอีกน๊า

ไปละค่า

บาe บาe

อ.บัญชาครับ

เรื่องการระเหยของหลุมดำนี่ยังเป็นเพียงทฤษฎีเท่านั้น ผมเห็นว่าน่าจะเพิ่มเติมให้ชัดเจนด้วยนะครับ

สวัสดีครับ

    คุณอาริตา : ใกล้ๆ โลก ไม่น่าจะมีครับ

                     อันที่ใกล้ที่สุดตามข่าวที่ค้นเจอ อยู่ห่างออกไปราว 1,600 ปีแสง ดู ข่าวนี้ ได้ครับ

    น้องตวง : ช่วงนี้ผมยุ่งๆ หน่อยครับ กำลังปิดเล่มหนังสืออยู่ แต่จะพยายามมาเขียนเรื่อยๆ นะครับ

    คุณ DPhy : ขอบคุณมากเลยครับสำหรับคำชี้แนะ เป็นประเด็นสำคัญมากครับเรื่อง Hawking radiation นี่ ^__^

           ได้เพิ่มเติมข้อความแจ้งไปแล้วนิดหน่อยครับ พอไหวไหม?

เอ...พี่ชิวครับ แล้วที่ว่า เมื่ออะไรก็ตามถูกหลุมดำดูดเข้าไป จะไปโผล่อีกที่มิติหนึ่ง เป็นไปได้มั้ยครับ แล้วทฤษฎีที่เรียกว่า หลุมขาว (White Hole) มีจริง หรือเป็นเพียงจินตนาการครับ

สวัสดีครับ เบ้ง

       หลุมขาว (white hole) นี่เป็นเพียงการคาดเดาในเชิงทฤษฎีเท่านั้นครับ ต่างจากหลุมดำ (black hole) ในอวกาศ ซึ่งเชื่อก้นว่ามีจริงๆ เพราะพบหลักฐานข้างเคียง

ผมก็คิดว่า เกิดจาก การที่นำโปรตอนมาชนกันนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท