พยาบาลที่ไร้หมวก..แต่ไม่ไร้ใจ


ถ้าการทำงานของฉันทุกวัน คือการเจริญเมตตา ฉันรู้สึกภูมิใจมากที่ทุกวันนี้ได้ทำงานที่รัก กับคนไข้ ที่เปรียบเสมือนญาติ ด้วยความเมตตาทุกวัน "

แม่ต้อยรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนโชคดี.. โชคดีมากๆ ที่ได้มีโอกาสรู้จักกับผู้หญิงคนหนึ่ง  จากการทำงานในโครงการSHA นี่เอง

น้องคนนี้เป็นพยาบาลที่โรงพยาบาลภาชี  แต่ได้อุทิศตนในการทำงานด้านชุมชน  ที่สำคัญเธอเป็นนักเขียนที่มีคุณภาพคนหนึ่ง

แม่ต้อยได้รู้จักเรื่องราวของเธออย่างละเอียด ก็จากหนังสือของเธอนี่แหละ

เมื่อปีที่ผ่านมาในการอบรมการเขียนเรื่องเล่า เธอได้มาเป็นวิทยากรพี่เลี้ยงให้กับกลุ่มน้องๆที่มาฝึกในการเขียนเรื่องราวการทำงานผ่านชีวิตการทำงานของแต่ละคน

ก่อนกลับเธอเดินมาหาแม่ต้อย พร้อมกับยื่นหนังสือเล่มหนึ่งให้แม่ต้อย พร้อมกับพูดเบาๆว่า “ เป็นที่ระลึกคะ”

หนังสือเล่มนี้มี ชื่อว่า “ พยาบาลไร้หมวก”

เมื่อพลิกดูด้านในเธอเขียนชื่อเธอไว้ด้านในของหนังสือด้วย

“ เพ็ญลักขณา ขำเลิศ “

แต่แม่ต้อยประทับใจสำหรับชื่อเล่น และชื่อที่ใช้เป็น นามปากกา เพราะว่าให้ความหมายที่ลึกซึ้ง สำหรับการหล่อเลี้ยงคนที่สิ้นหวัง  มีความเมตตากรุณาหล่อเลี้ยงในคำๆนี้อย่างไม่ต้องให้ความหมายใดอีกเลย  “ หยดน้ำ “ คือนามปากกา หรือชื่อเล่นของเธอเอง

หนังสือเล่มเล็กๆของเธอนี้ ตั้งแต่หน้าแรกจนถึงหน้าสุดท้าย เป็นหนังสือที่อ่านแล้ว วางไม่ลง

ในสมองและจินตนาการของแม่ต้อยเห็นภาพของเด็กสาวคนหนึ่งที่ร่าเริง เป็นนักกีฬา และมีความใฝ่ฝันที่จะเป็นพยาบาล สวมใส่ชุดสีขาว และสวมหมวกสีขาวที่น่าภาคภูมิใจ และในที่สุดเธอก็ทำได้สำเร็จงดงามตามเป้าหมายที่เธอได้ไฝ่ฝันไว้

แต่การที่ได้สวมเครื่องแบบสีขาวที่เธอใฝ่ฝันนั้นแม้ว่าเป็นความภูมิใจและสร้างความมั่นใจในการทำงาน แต่ความคิดนอกกรอบของเธอนั้น บางครั้งกลับมีความรู้สึกว่า เครื่องแบบและหมวกที่มีแถบดำคาดอยู่ แม้ว่ามันจะสร้างความภาคภูมิใจก็จริง แต่ว่าอีกด้านหนึ่ง ได้สร้างอำนาจและความมั่นใจให้กับเธอจนบางครั้งถึงกับละเมิดมนุษย์คนอื่นได้เหมือนกัน

 เมื่อเรามีโอกาสสนทนากันอีกครั้งในการประชุมอีกครั้งในปีนี้  เนื่องจาก เธอหมั่นแวะเวียนมาดูอาการแม่ต้อยเสมอเมื่อทราบว่า มีอาการไม่ค่อยสบายเท่าใดนัก  หมั่นมาเตือนให้แม่ต้อยพักผ่อนมากๆ

แม่ต้อยเลยถือโอกาสนี้ ชวนเธอเล่าเรื่องของเธอให้ฟังอีกครั้งหนึ่ง

"บางครั้งการทำงานที่มีกรอบ มีความเป็นทางการ มีระบบคำสั่งทำให้เราไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่  มันมีขีดจำกัด บางครั้งก็ทำงานกับกระดาษมากเกินไป "

“ เราอยากทำงานกับตัวคนไข้ มากกว่ารับ“ สั่งจากคนอื่น หรือจากแพทย์” เป็นความรู้สึก ที่มีอยู่ในใจเธอเสมอ

นับตั้งแต่วันนั้น ช่วงปี พศ. ๒๕๔๔ เธอจึงสลัดเครื่องแบบสีขาวและหมวกพยาบาลที่เธอภาคภูมิใจ เพื่อปลดเปลื้องความยึดติดต่างๆออก เหลือเพียงความเป็นมนุษย์ เท่านั้นที่จะใช้สัมผัสคนไข้ และอาสา ผู้บริหารโรงพยาบาล เพื่อลงมาทำงานเป็นพยาบาลชุมชน

 “ ทำให้เขาดู.. ดีกว่าพูดให้เขาฟัง”  เธอบอกเหตุผลเมื่อแม่ต้อยถามว่า คิดอย่างไรจึงขอไปเป็นคนที่จะทำงานกับชุมชน

“มันน่าจะเป็นงานที่มีประโยชน์ คนไข้ที่เขาอยู่ตามบ้าน  ไม่มีโอกาสได้มาโรงพยาบาล เราจะทำอย่างไรจึงจะเอาบริการนี้ไปส่งให้เขาที่บ้าน”

แม่ต้อยเห็นแววตาที่เอาจริงเอาจัง แม้ว่าเวลานั้นผ่านมาแล้วนานนับสิบปี ตั้งแต่วันที่เธอตัดใจ ทิ้งเครื่องแบบ และกลายเป็นพยาบาลไร้หมวกโดยสิ้นเชิง

 

“ งานชุมชนเป็นงานที่ยากมาก.. ไม่มีอะไรที่จะมาสนับสนุนหนูต้องใช้สิ่งของเครื่องใช้ทุกอย่างของเราเอง ไม่ว่ารถยนตร์  ของเครื่องใช้ต่างๆ แต่หนูก็ไม่เคยท้อใจ..

“ ไม่ต้องการให้ใครมาเห็นว่าเราทำอะไร.. เพราะคนที่รู้ดีก็คือเรา และอีกอย่างหากเราทำดี คนที่รับรู้ก็คือชาวบ้านนั่นเอง.

น้องหยดน้ำทำทุกอย่างให้กับชุมชนด้วยหยาดเหงื่อและความเมตตา อดทนและเสียสละ อย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา..

คนไข้ที่ถูกทอดทิ้งนับไม่ถ้วน ที่หยดน้ำนี้ได้เข้าไปช่วยฟูมฟักรักษาพยาบาล ให้ได้กลับมามีชีวิต มีบ้าน มีอาหาร และสุขภาพที่ดี ได้อยู่กับครอบครัวที่เขารัก และในชุมชนของเขาเอง

ภาพของน้องหยดน้ำที่เข้าไปดูแลคนไข้โรคเรื้อรัง ไร้ญาติขาดมิตรสามารถช่วยตนเองได้  คนไข้ระยะสุดท้ายที่สิ้นหวัง คนไข้ที่ป่วยกาย ป่วยใจ หรือคนไข้มะเร็ง ที่มีมากขึ้นในชุมชน ฉายขึ้นมาราวกับหนังชีวิต

คนไข้ระยะสุดท้ายเขามีโอกาสที่จะเลือกอยู่โรงพยาบาล หรืออยู่ที่บ้าน

คนไข้ที่อยู่ที่บ้าน ทำอย่างไรจึงจะทำให้เขามีความสุข ไม่ไห้เขากังวล เครียด พยาบาลชุมชน จะทำตัวเหมือนญาติ ไปดูแลเขา ไปเบิกยา ไปเช็ดตัว ทำแผล ดูแลเรื่องอาหาร

" เวลาไปเยี่ยมคนไข้ หนูก็ปฏิบัติเหมือนกับเขาเป็นญาติ พี่น้อง ไม่เคยรังเกียจ.."

ส่วนคนไข้ระยะสุดท้ายที่ผ่านการรักษามาจนครบแล้วและตัดสินใจไม่รักษาต่อ เธอทำโครงการ “ อยู่อย่างสงบจบชีวิตที่บ้าน”

เพื่อเผชิญความตายอย่างสงบร่วมกับญาติและบ้านที่คุ้นเคย

“  หนูทำงานโดยไม่สนใจว่าใครจะเห็นหรือใครจะมาชมเชย  แต่การที่เราไปเช็ดขี้ เช็ดเยี่ยว ไปทำแผลให้คนไข้เหล่านี้ บางครั้งหนูว่าเทวดา ต้องเห็นบ้าง ” เธอเล่าไปยิ้มไป

เพราะว่าหากหนูอยากได้อะไร หนูจะได้สิ่งนั้นอย่างไม่คาดฝัน เช่นหนูอยากได้เตียงนอนน้ำสำหรับคนไข้แผลกดทับก็จะมีคนมาช่วยบริจาค.. อยากได้อะไรที่จะมาช่วยคนไข้ ก้จะมีคนมาสนับสนุนทุกครั้งไป

มีคนเคยแฝงตัวไปเยี่ยมบ้านกับหนู โดยที่หนูไม่รู้จักเขาเลย  คิดว่าเป็นญาติคนไข้  ตอนหลังมาทราบว่าเป็นคนที่จะมาบริจาคของให้หนูนั่นเอง..

ปัจจุบันน้องหยดน้ำได้สานต่องานที่เธอทำด้วยจิตที่มีเมตตาจากการปฏิบัติธรรม ในหนังสือที่เธอเขียนในตอนหนึ่งเธอบอกว่า

“ ถ้าการทำงานของฉันทุกวัน  คือการเจริญเมตตา ฉันรู้สึกภูมิใจมากที่ทุกวันนี้ได้ทำงานที่รัก กับคนไข้ ที่เปรียบเสมือนญาติ ด้วยความเมตตาทุกวัน "

ถึงแม้ชีวิตจะจบในเร็ววันฉันก็พร้อมที่จะไป  แต่เมื่อชีวิตยังไม่จบ ฉันก็พร้อมที่จะทำหน้าที่ ที่ฉันรักได้แก่ เป็นลุกที่ดี  เป็นแม่ที่ดี เป็นพยาบาลที่มีโอกาสทำความดี สำหรับชีวิตฉันในชาตินี้ฉันเพียงพอแล้วกับการได้เกิดมาพบผู้คนมากมายโดยเฉพาะ กัลยาณมิตร ทุกคน “ 

โลกนี้ย่อมมีสิ่งทดแทนเสมอ งานที่เธอทำแบบปิดทองหลังพระนี้ ได้รับการกล่าวขานจากคนไข้รายแล้วรายเล่า จนทำให้เธอได้มีโอกาสรับรางวัลที่สำคัญมากมาย เช่น รางวัลผู้ให้บริการมิตรภาพดีเด่นของนายแพทย์ สงวน นิยารัมภ์พงศ์ รางวัล เพชรกาสะลอง พยาบาลดีเด่นประเภทปฏิบัติงานในชุมชน รางวัลคนดีของแผ่นดิน จากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตในภาครัฐ และอื่นๆมากมาย 

  

เธอบอกแม่ต้อยว่า  " ที่จริงแล้วคนอื่นมากมายก็ทำงานเหมือนหนูนี่แหละคะ รางวัลนี้หนูจึงบอกใครต่อใครว่า เป็นรางวัลสำหรับคนทุกคนที่ทำงานเพื่อคนไข้ ไม่ใช่ของหนูคนเดียว ”

เรื่องราวน้องหยดน้ำ จึงเป็นเหมือนหยดน้ำอันวิเศษ ที่นำความเย็น ความชื่นบาน แผ่ซ่านในจิตใจ และเป็นความหวังของระบบสุขภาพและของผู้ที่เจ็บป่วยทุกข์ทรมานทุกคน 

แม่ต้อยจึงโชคดีเหลือเกินที่ได้รู้จักเธอ  ได้เรียนรู้จากเธอ และต้องขอขอบคุณสำหรับผู้หญิงคนหนึ่งที่ชื่อ..

“ เพ็ญลักขณา  ขำเลิศ.. หยดน้ำ “

ผู้หญิง ที่ทำให้โลกใบนี้น่าอยู่ และชีวิตการทำงานของเธอเปลี่ยนแปลงชีวิตของหลายๆคน  รวมทั้งการได้สัมผัสกับคำว่า "ความรักที่ไม่มีเงื่อนไข"

เธอมักจะบอกใครๆว่า เธอเป็น "พยาบาลไร้หมวก..แต่ไม่ไร้ใจ.." จึงขอใช้ชื่อนี้สำหรับบทความครั้งนี้คะ

เธอยิ่งใหญ่ในใจของแม่ต้อยเสมอ

สวัสดีคะ

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #sha
หมายเลขบันทึก: 386936เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2010 18:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (23)

     สวัสดีครับ  ขอร่วมยกย่องและชื่นชมผู้หญิงใจสูงคนหนึ่งในไม่กี่คนที่ประเทศเรามี     “ เพ็ญลักขณา ขำเลิศ “  คนดีเราต้องนำแบ่งปันขยายคุณงามความดีของเขาอย่างนี้แหละครับ   ขอบคุณเจ้าของบันทึกด้วยครับที่นำมาแบ่งปัน

30
นาย ธนา นนทพุทธ
เมื่อ ส. 21 ส.ค. 2553 @ 18:34
สวัสดีคะ
ให้กำลังใจน้องหยดน้ำด้วยกันนะคะ
30
นาย ธนา นนทพุทธ
เมื่อ ส. 21 ส.ค. 2553 @ 18:34
สวัสดีคะ
ให้กำลังใจน้องหยดน้ำด้วยกันนะคะ

สวัสดี แม่ต้อย กับอีก blog ครับ

เมื่อวานผมก็ขอลายเซ็นพี่เขา ลงหนังสือที่แจกให้ครับ อ่านที่แม่ต้อยเขียนแล้วประทับใจครับ ผมสัมผัสได้ คนทำงานชุมชนด้วยใจหัวใจจะเป็นอย่างนี้ทุกคน จะบอกว่าจริงๆแล้ว ที่ผมมีวันนี้เพราะว่า ผมก็เริ่มจากการลงชุมชนมาก่อน อยู่ทีมเยี่ยมบ้านเห็นคนไข้เยอะมีปัญหาแตกต่างกันไป จึงรับรู้ว่าผู้ป่วยที่อยู่ในหมู่บ้าน ลำพังความเจ็บป่วยแต่ละครั้ง ที่เกิดขึ้น ก็ทุกข์ใจแย่แล้ว เมื่อคิดจะรักษาแต่ละครั้ง ยิ่งมีความทุกข์มากกว่า ทั้งทุกข์จากข้อจำกัดของผู้ป่วยเอง เช่น สภาพภูมิประเทศที่อยู่ การเดินทาง ระยะทาง ผู้ที่ต้องดูแลช่วยเหลือเวลาไปรักษา ค่าใช้จ่าย และความทุกข์ที่พวกเราที่อยู่โรงพยาบาล อาจจะเป็นผู้สร้างให้ทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ อีกอย่าง เวลาลงชุมชนเราจะได้มองเห็นแต่เรื่องราวของผู้ป่วยคนนั้นเป็นหลัก มันจึงเห็นและสร้างอะไรที่ดีได้มากกว่า ต่างกันที่ ถ้ามาโรงพยาบาล เราจะมองผู้ป่วยที่มาหาเราแบบ ทุกข์เท่ากัน จึงต้องเฉลี่ยกันไป บริการดีบ้าง ไม่ดีบ้าง งานต้องจบในหนึ่งวัน เรื่องราวมักจะไม่เกิด เหมือนว่าการอยู่ในตึกโรงพยาบาลขนาดใหญ่ มีรั้วรอบขอบชิด มันมีอะไรบังไว้ ไม่จริงหรอกครับ ระยะหลังผมก็หาเรื่องราวดีดีในโรงพยาบาลได้ครับ อาจไม่ต้องลงชุมชนก็ได้ ทำได้ทุกที่แค่รู้ว่าตรงไหนจะเรื่องราวได้นะครับ

เป็นกำลังใจให้พี่ลักขณา มีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจ และคนทำงานทุกคนทั้งที่อยู่ในชุมชนและในโรงพยาบาลครับ

เห็นด้วยกับเเม่ต้อยค่ะ กุ้งก็คิดว่าตัวเองโชคดีที่ได้เจอพี่หยดน้ำ หนังสือเล่มนี้กุ้งอ่านตอนอยู่บนเครื่อง จนจบ อ่านเเล้วทำให้ได้รู้จักเเละเห็นทุกมุมของชีวิตพี่หยดน้ำเลยค่ะ

เเต่ได้ contact วันสุดท้าย ที่สำคัญกุ้งต้องขอบคุณพี่หยดน้ำที่ช่วย

ให้ข้อคิดเห็นเติมเต็มให้งานเขียน มีความสมบูรณ์ขึ้น สุดยอดอีกเเล้ว ทีมงานเเม่ต้อย

  เรียนแม่ต้อยที่นับถือ

       แวะมาสวัสดี และทักทายก่อนเข้านอนค่ะ ขอบคุณบันทึกดีๆที่นำมาแบ่งปันนะคะ

ขอบคุณครับสำหรับเส้นทางเดินที่ปูทางไว้ด้วยใจ ให้น้อง ๆ ได้ก้าวเดินอย่างสง่า

30
สันทัศน์ [IP: 203.156.68.88]
สวัสดีคะ น้องสันทัศน์
แม่ต้อยดีใจคะ ที่ทราบว่า น้องเห็นความสำคัญของการให้การดูแลคนที่ลำบาก
ตั้งแต่ที่แม่ต้อยได้ฟังเรื่องราวของดอก อินทนิลแล้ว แม่ต้อยก็บอกตัวเองว่า ใช่เลย
แม่ต้อยเป็นกำลังใจให้นะคะ
อย่าลืมเตรียมตัวไปเสวนาละคะ เรื่อง ยา SHA
P
กุ้งนาง สุธีรา
เมื่อ ส. 21 ส.ค. 2553 @ 22:26
สวัสดีคะ น้องกุ้ง
น้องกุ้งก้มีเรื่องราวดีดี ที่จะนำมาแลกเปลี่ยนกันคะ สร้างแรงบันดาลใจให้คนมานักต่อนักแล้วละคะ
เจอกันที่อุดรนะคะ แม่ต้อยฝากสร้างทีม SHA ในรพ.ศรีนครินทร์ ด้วยนะคะ
P
คุณยาย
เมื่อ อา. 22 ส.ค. 2553 @ 00:50
สวัสดีคะ น้องยาย( ยายที่สวยมากๆ)
นอนดึกจังเลย  ดีใจคะ เข้ามาทักทายบ่อยๆนะคะ
30
อ่อม บรบือ [IP: 125.26.185.235]
สวัสดีครับน้องอ่อม ที่น่ารัก
แม่ต้อยยังจำเรื่องราวของแมวขอฝนและ เรื่องยายหวำได้เสมอคะ
เชื่อว่า น้องอ่อม คงมีเส้นทางที่ชัดเจนเหมือนพี่หยดน้ำแน่นอน
พบกับแม่ต้อยที่อุดรนะคะ ช่วยสร้างทีม SHA เพื่อทำสิ่งที่ดีงามในรพ.บรบือนะคะ
แล้วแม่ต้อยจะมาเยี่ยมในเร็ววันนี้คะ
เห็นชายหนุ่มที่นั่งหลังสุดติดกับบอร์ดไหมคะ  นั่นแหละ พระเอก ฮ่าๆๆ

สวัสดีครับแม่ต้อย

ช่วยกันค้น คนต้นคิด คนต้นทำ นำมาเชิดชู

ขอบคุณพยาบาลไร้หมวกครับ

ขอร่วมชื่นชม คุณหยดน้ำ ด้วยคนค่ะ

               

P
วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei--
เมื่อ อา. 22 ส.ค. 2553 @ 09:37
สวัสดีคะ
ชื่นชมคนดี ใช่แล้วคะ แม่ต้อยคิดว่าที่ปากพะยูนก็ต้องมีแน่นอนนะคะ
อย่างน้อยๆ ก็คนนี้แหละคะ วอญ่า นี่แหละ
ใช่ไหม?  ใช่ไหม? ชิมิ ชิมิ
P
สวัสดีคะ
เตรียมตัวขึ้นเวที หรือยังคะ
ส่งppt มาให้แม่ต้อยด้วยน้า
จะช่วยเชียร์คะ
คิดถึง
  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาชม มาเชียร์ มาเป็นกำลังใจให้กับคนเก่ง คนดี ด้วยค่ะ
  • แม่ต้อยสบายดีนะค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

                        

สวัสดีค่ะ

ตั้งใจมาตามหา

เพราะอยากเรียนรู้เรื่องชุมชน

อ่านแล้วประทับใจ

ขอเชิดชูคนดีด้วยค่ะ

น้องหยดน้ำ เธอคือเพชรน้ำเอก

ครูต้อยมาขอเรียนรู้เรืองสุขภาพชุมชน

และพาน้องมาฝาก เป็นสมาชิกใหม่ในบ้านหลังนี้

ขอบคุณค่ะ

 http://gotoknow.org/blog/hongsuput/387382

P
บุษรา
สวัสดีคะ
ขอบคุณมากนะคะ ที่มาติดตามเรื่องราวคะ
P
krutoiting
เมื่อ 24 สิงหาคม 2553 22:47
สวัสดีคะ คุณครู
ดีใจคะ ที่ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนกันคะ
P
krutoiting
เมื่อ 24 สิงหาคม 2553 22:47
สวัสดีคะ คุณครู
ดีใจคะ ที่ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนกันคะ

สวัสดีค่ะ แม่ต้อย

ขอร่วมชื่นชมและให้กำลังใจ "คุณเพ็ญลักขณา ขำเลิศ. .พยาบาลไร้หมวก..แต่ไม่ไร้ใจ" ด้วยคนค่ะ

ขอบพระคุณแม่ต้อยค่ะ ที่นำเรื่องราวดีๆ มาแบ่งปัน

พรนิภา หาญละคร

โรงพยาบาลศรีนครินทร์

สวัสดีครับแม่ต้อย

ขอบคุณครับแม่ต้อยที่ผลักดันให้เกิดเรื่องเล่าที่ทรงคุณค่า ช่วยกระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติงานระดับรากหญ้าอย่างผมมีกำลังใจที่จะสานฝันมากเลยทีเดียวครับ และผมให้สัญญากับแม่ต้อยครับว่าจะเดินตามรอยที่แม่ต้อยสร้างไว้พร้อม ๆ กับรพ.บรบือครับ

สวัสดีค่ะแม่ต้อย

ได้มีโอกาสรู้จักพี่หยดน้ำ เมื่อตอนไปอบรมเรื่องเล่า

คนดีศรีแผ่นดิน และอีกหลายรางวัล เป็นรางวัลที่เหมาะสมกับพี่เค้าแล้วทั้งนั้นเลยค่ะ

ช่วยกันยกย่องย่อง ชื่นชม และเชิดชูคนดีค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท