อาลัย 5 ท่านผู้จากไปเพื่อแผ่นดิน


อาลัย 5 ท่านผู้จากไปเพื่อแผ่นดิน
 


สัปดาห์นี้คนไทยรับข่าวโศกเศร้า เฮลิคอปเตอร์ตกที่จังหวัดน่าน ยังทำความเศร้าให้แก่ครอบครัวของบุคคลที่จากไป 5 ท่าน ดังนี้

1.นายศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

2.นายสหัส บุญญาภิวัฒน์ ที่ปรึกษาสำนักพระราชวัง

3.นายโกวิทย์ ปัญญาตรง ผู้ตรวจราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

4.พ.ต.เจนวิทย์ อรุณสวัสดิ์ นักบิน

5.ส.อ.วิทูล เทียนเงิน ช่างประจำเครื่อง

 



ไปปฏิบัติหน้าที่ราชการโครงการหลวงรักษาป่า

ผมขึ้น ฮ. เป็นครั้งคราวต้องยอมรับว่าต้องทำใจให้ได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ได้ มีความเสี่ยงอยู่ตลอดเวลา

ในช่วงหนึ่งผมมีโอกาสได้ร่วมงานกับท่านปลัดศักดิ์สิทธิ์ มากเป็นพิเศษ ตั้งแต่ที่ท่านอยู่ที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ดได้เซ็นสัญญาร่วมกับสำนักงานนวัตกรรม จัด MBA เรื่อง นวัตกรรม

ท่านพูดถึงความสำคัญ เรื่องทุนมนุษย์ในระบบราชการและท่านก็ให้คณะของผมเป็นที่ปรึกษาเขียนแผนพัฒนาบุคลากร 5 ปี ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ซึ่งเป็นที่มาของการพบกับอดีตรองปลัดปฐม แหยมเกตุ และผมได้ทำงานให้กับกรมวิทยาศาสตร์บริการ ช่วงที่ท่านเป็นอธิบดี กว่า 3 รุ่น โดยเน้นการสร้างภาวะผู้นำรุ่นละประมาณ 40 คน ทั้งหมดกว่า 150 คน

ผมขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวท่านปลัดและต่อครอบครัวอีก 4 ท่านที่เสียชีวิตครั้งนี้ในหน้าที่ที่สง่างามและทดแทนบุญคุณให้แผ่นดิน และข้าราชการที่มีเกียรติ ใช้ความรู้ ดูแลประเทศ ไม่ตกเป็นแค่ลูกน้องสนองตอบต่อนักการเมืองอย่างเดียว ขอให้กำลังใจข้าราชการดีๆ ที่เหลืออยู่



สัปดาห์นี้เป็นช่วงอภิปรายงบประมาณ 2.07 ล้านล้านของปี 2554 ซึ่งระหว่างที่เขียนก็ยังไม่ทราบว่าจะผ่านวาระ 2 และวาระ 3 หรือไม่? ซึ่งจะลงคะแนนกันในสัปดาห์หน้า

ปีนี้เป็นปีแรกที่ผมเริ่มเห็นว่างบประมาณแผ่นดินของไทยมีปัญหามากมายเพราะนักการเมืองทุกพรรคก็จ้องที่จะเอางบรวมของประเทศไปใช้ในพื้นที่ของตัวเองเพื่อการเมืองและการหาเสียงและยิ่งไปกว่านั้นยังมีปัญหา เรื่องการเก็บค่าหัวคิว ช่วงก่อนแค่ 10% มากถึง 40% ในบางโครงการ ซึ่งเสมือนเป็นมะเร็งร้าย

จึงขอให้ผู้อ่านติดตามอย่างใกล้ชิดว่าการใช้งบประมาณของชาติในอนาคตจะเป็นอย่างไร? ควรจะมีหน่วยงานที่ตรวจสอบภาคประชาชน กลุ่มที่น่าจะทำได้ดีที่สุดน่าจะเป็นกลุ่มพลังประชาชน

จุดอ่อนของประเทศเรื่องงบประมาณคือ

* มองระยะยาวไม่ออกว่า อนาคตของไทยข้างหน้าจะเป็นอย่างไร? ที่ลงทุนไปจะสร้างความยั่งยืนให้แก่ประเทศอย่างไร?

* แต่ละปีก็ขึ้นอยู่กับรัฐบาลและพรรคที่มีอำนาจในการกำหนดงบประมาณ

* การเปลี่ยนรัฐบาลก็ปรับงบประมาณไปสู่เป้าหมายของพรรคการเมืองเหล่านั้น

* ข้าราชการในสำนักงบประมาณ ต้องเปิดโลกทัศน์ให้กว้าง และมีการพัฒนาศักยภาพของข้าราชการอย่างเต็มที่

บางครั้งผมก็ท้อใจ เพราะประเทศพยายามมีแผนพัฒนา 5 ปี แต่นักการเมืองไม่สนใจและแผน 5 ปี ไม่เคยมีการกำหนดเรื่องงบประมาณในแผน 5 ปี ทำให้แผนต่างๆ ไร้ประสิทธิภาพ เป็นแค่แนวทางกว้างทางวิชาการ คล้ายๆ เป็นการสัมมนาระดมความคิดไปเรื่อยๆ

ผมคิดว่าต้องมีการติดตามแผนงบประมาณภาคประชาชน

ลองเปรียบเทียบว่า งบประมาณของภาคประชาชนจะออกมาเป็นอย่างไร? คำถามก็คือใครในภาคประชาชนจะริเริ่มทำเรื่องเหล่านี้

ทางออกหรือวิธีการที่ดีก็คือ ผนึกกำลังของอดีตนักการเมือง อดีตข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของสำนักงบประมาณ สมาชิก วปอ. และภาควิชาการเข้าไปด้วยน่าจะดี

จากบทความสัปดาห์ที่แล้ว ผมเริ่มเห็นแนวทางว่า รัฐบาลคุณอภิสิทธ์คงจะเอาจริงเรื่องเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ word Expo 2020

วันเสาร์นี้ รายการ Hard Talk Thailand ทางสถานีวิทยุ FM. 90.5 MHz. เวลา 15.00 – 16.00 น ผมเชิญคุณอรรคพล สรสุชาติ ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) ซึ่งเป็นผู้อำนวยการแสดงสินค้าของไทยมาเล่าให้ฟังว่า ขั้นตอนการเสนอตัวไปถึงไหนแล้ว

ผมอยากให้ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพ World Expo 2020 จะเป็นโอกาสที่ดีที่ไทยแสดงผลงานระดับโลกได้อย่างดียิ่ง

ส่วนประเด็นสุดท้าย เป็นข่าวเรื่องงบไทยเข้มแข็ง

แต่ก่อน ผมคิดว่างบไทยเข้มแข็ง ก็คงจะไปเน้นเรื่อง โครงการพื้นฐานเท่านั้น แต่กระทรวงศึกษามี 2 โครงการ โครงการแรก สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวะศึกษา ใช้งบไทยเข้มแข็งที่จะพัฒนาบุคลากรส่วนกลาง 40 คนให้เป็นเลิศ ซึ่งได้ทำไปแล้วเมื่อ 2-3 เดือนที่ผ่านมา ผมมีโอกาสไปร่วมด้วย

แต่ที่ทำไป 2-3 วันนี้ ก็คือ งบไทยเข้มแข็งกับการพัฒนาทักษะการบริหารของผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

สพฐ. ซึ่งได้ทำทั่วประเทศ ทุกเขตการศึกษากว่า 180 เขต

วิธีการก็คือ ให้ครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ ทำหลักสูตรเน้นการสร้างศักยภาพของการบริหาร และนำเอาหลักสูตรเหล่านั้นมาสร้างการเรียนรู้ 9 วันเต็ม

ในเขตการศึกษา 1 ของสมุทรปราการ ผมได้รับเชิญไปร่วมงาน 2 ครั้ง ครั้งละ 3 ชั่วโมง

ครั้งแรกเป็นระดับผู้อำนวยการโรงเรียนทั้งประถมและมัธยม ผมเน้นเรื่องการสร้างเครือข่ายให้เห็นว่า จังหวัดสมุทรปราการมีทั้งสนามบินและการท่าเรือ ควรจะสร้างเครือข่าย ระดับระหว่างประเทศ ปรากฏว่า มีโรงเรียนหลายแห่งใช้โอกาสเหล่านี้ มอบให้ผมไปเซ็นสัญญาเป็นพันธมิตรกับโรงเรียนมัธยมในออสเตรเลีย

ส่วนครั้งที่ 2 ประมาณ 3 ชั่วโมง ระดับรองผู้อำนวยการกว่า 100 ท่าน ผมเน้นปัจจัยการท้าทายการบริหาร 3 เรื่อง

-สร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ระดับในโรงเรียนให้ได้

-สร้างเครือข่ายในโรงเรียนก่อน และระหว่างโรงเรียนเขต 1 สมุทรปราการ และเน้นเครือข่ายที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ภาคธุรกิจและมหาวิทยาลัยและอบต.

สุดท้าย การสร้างและบริหารทุนมนุษย์ในโรงเรียนให้ผู้บริหารยกย่องและกระจายอำนาจให้ทุกฝ่ายอย่างมีเกียรติและมีศักดิ์ศรี อย่าทำตัวเป็น เจ้านายอีกต่อไป

ต้องยอมรับว่า เขต 1 ภายใต้การนำของคุณประกาศิต ยังคงและผู้อำนวยการเขตและรองฯ ทำงานอย่างเต็มที่ อย่างน้อยในเวลา 9 วัน

สำนักงาน สพฐ เขต 1 สมุทรปราการของประเทศไทย เน้นการสร้างคุณภาพการศึกษาได้ผลจริง

งบที่ลงไปในไทยเข้มแข็งก็ถือว่าคุ้มค่าครับ คุณชินวรณ์ บุญเกียรติ



ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ
[email protected]
www.gotoknow.org/blog/chiraacademy
แฟกซ์0-2273-0181

หมายเลขบันทึก: 386930เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2010 17:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัดดีคัฟ

ผมอยากรู้ว่า โรคงูสวัด มีวิธี รักษา อย่างไร

และโรคนี้ ถ้าเกิดขึ้นรอบเอว จะ เสียชีวิต จิงไหม

ขอบคุงคัฟ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท