เรื่องของหมอชัช..


หากไม่มีคุณหมอ วันนี้ผมคงเดินไม่ได้อย่างนี้

แม้ว่าการประชุมเครือข่าย ระดับภูมิภาคของโครงการ SHA  ที่จังหวัดอุดรธานี จะผ่านมาหลายวันแล้วก็ตาม แต่แม่ต้อยก็ยังระลึกถึงภาพบรรยากาศที่น่าประทับใจนั้นได้อย่างไม่รู้ลืมเลยทีเดียว

ทีมงานของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานีไปรับทีมงานถึงสนามบินอย่างอบอุ่น นำทีมโดยน้องหน่อยคนขยัน  ยังไม่ทันเข้าโรงแรมที่พักรถ ก็พาเราเลยไปที่ร้านส้มตำเจ้าอร่อยเสียก่อน( ถูกใจคนรักปลาร้าเยี่ยงแม่ต้อย เสียที่เดียว อิอิ )

วันเปิดการประชุม  ความน่ารักของโรงพยาบาล SHA1 เปิดฉากโดยการรับขวัญผูกข้อมือเพื่อน SHA2 ตามประเพณีอิสาณแท้ๆ แม่ต้อยจำได้ว่า ประเพณี” ผูกเสี่ยว” นั้นมีความหมายที่ดีมาก เป็นวัฒนธรรมที่ควรมีการสืบสานต่อไป เพราะว่า เป็นสร้างความผูกพันระหว่างเพื่อน ที่มีความหมายลึกซึ้งว่า เราจะเป็นเพื่อนที่ดีซื่อสัตย์ ต่อกันตลอดไป

 อันนี้หากแม่ต้อยแปลความหมายผิดไปก็ต้องขออภัยมาด้วยนะคะ

และแม่ต้อยก็แอบหวังในใจว่า การผูกเสี่ยวนี้ จะทำให้กลุ่มเครือข่ายนี้ เป้นเพื่อนเสี่ยวที่ผูกพันธ์กันตลอดไปนานแสนนาน

วิทยากรหลายๆท่านได้เดินทางจากที่ต่างๆเพื่อมาแลกเปลี่ยนและสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย

คุณหมอภักดี คนดังของ SHA1 ได้มาเล่าความรู้สึกและการทำงานอันเปี่ยมไปด้วยจิตของผู้ให้และผู้มีความกรุณาและความรักอย่างเต็มเปี่ยม

ภาพแล้วภาพเล่าที่ผ่านจอผสมผสานกับเรื่องราวที่หลั่งไหลมากแนวคิดและแรงบันดาลใจในการทำงาน ของคุณหมอภักดี ทำให้ที่ประชุมเงียบกริบ ราวกับถูกมนต์สะกดอย่างไรอย่างนั้น

 

ทำให้แม่ต้อยย้อนระลึกถึงบทความของแม่ต้อยที่เคยเขียนคำนิยามของรพร.ด่านซ้าย ไว้เมื่อปีที่ผ่านมาว่าเป้นโรงพยาบาลที่  “ เหนือกว่า โรงพยาบาล “

มาวันนี้ก็ได้ตอกย้ำให้ภาพนั้นเด่นชัด แจ่มจรัสมากขึ้นจริงๆ

      สังเกตว่าเครือข่ายภาคอิสาณนี้น้องๆจากรพ. มีเรื่องเล่ามากมายหลายหลากและทุกเรื่องน่าประทับใจทั้งสิ้น เพียงแต่ว่า โอกาสการนำเสนอไม่สามารถทำได้ทุกกลุ่ม น่าเสียดายเป็นที่สุด

      แต่แม่ต้อยก็ยังมีโอกาสได้รับฟังเรื่องที่ดีดี และน่าชื่นใจจากหลายๆกลุ่ม

      ที่แม่ต้อยจะนำมาเล่านี้ คนเล่าเรื่องเป็นคุณหมอหนุ่มหน้าตาดี จากรพ.ศรีนครินทร์ ขอนแก่น ชื่อคุณหมอชัข แม่ต้อยจึงขอตั้งชื่อเรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้ว่า

“ เรื่องของหมอชัช”

คุณ หมอชัช เป็นหมอที่ประจำอยู่แผนกศัลยกรรมที่รพ.ศรีนครินทร์ มีชีวิตและการทำงานไม่แตกต่างจากหมอโรงพยาบาลใหญ่ๆโดยทั่วไปนั่นก็คือ ให้การรักษาผู้ป่วยในเขตและรักษาผู้ป่วยที่ส่งต่อจากรพ.ใกล้เคียง

 

วันหนึ่งมีคนไข้ที่ ได้รับอุบัติเหตุจากเครื่องปรับอากาศระเบิด มีแผลฉีกขาดบริเวณเหนือเข่า บาดแผลลึกมาก คนไข้คนนี้ถูกส่งต่อมาจากรพ.ใกล้เคียงเพื่อรับการรักษาที่ดีที่สุด และคุณหมอชัชได้เป็นเจ้าของคนไข้รายนี้

 

ทีมแพทย์ได้ร่วมกันวินิจฉัยและลงความเห็นว่าการรักษาที่ดีที่สุดในตอนนั้นคือควรต้องตัดขาทั้งสองข้างเพื่อใส่ขาเทียม   เนื่องจากบาดแผลลึกมากเสี่ยงต่อการติดเชื้อและการหายของแผล

 

เมื่อคุณหมอชัช จะต้องสื่อสารเรื่องนี้กับคนไข้จึงรู้สึกหนักใจมาก  และรู้สึกหนักใจมากเป็นเท่าทวีคูณเมื่อพบว่าคนไข้คนนี้มีภรรยาและบุตรชายเล็กๆคนหนึ่งที่มารอเฝ้าดูอาการด้วยความเป็นห่วงทุกวันที่เตียงคนไข้นั่นเอง

ราวกับคนไข้จะเดาใจหรือมีสัมผัสที่รับรู้ได้ จึงได้พูดก่อนที่คุณหมอจะได้เอ่ยปากว่า

“ คุณหมอครับ.. ผมไม่อยากเสียขา.. ช่วยผมหน่อยนะครับ ”

สายตาและแววตาของคนไข้รวมทั้งคำพูดในวันน้นทำให้คุณหมอต้องมาครุ่นคิดอย่างหนัก ..ว่าจะทำอย่างไรดี..

ในที่สุดหมอ ชัชตัดสินใจอย่างแน่วแน่ที่จะรักษาคนไข้โดยโดยไม่ตัดขา แม้ว่าจะเสี่ยงต่อโอกาสการติดเชื้อ และต้องทำแผลต่อเนื่องไม่ตำกว่าวันละ ๔ ครั้ง วางแผน ร่วมกับทีมที่มีอยู่  ใช้ความรู้ ความสามารถที่มีอยู่อย่างเต็มกำลัง.. และเต็มหัวใจ

และหลังจากนั้นไม่นาน คุณหมอชัชมีโอกาส ได้รับทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศ ราวๆ ๖ เดือน และเรื่องรวของคนไข้คนหนั้นแทบจะจางหายไปจากความทรงจำ

เมื่อกลับมาทำงาน อีกครั้งหนึ่ง ก็มีภาระงานดังเช่นเคย

“ คุณหมอคะ  มีแขกมาขอ พบคะ”  เสียงพยาบาลผู้ร่วมงานดังขึ้น  ปลุกคุณหมอให้เงยหน้าจากภาระงานที่อยู่ตรงหน้า

 

ภาพที่เห็นตรงหน้าคือ  ชายคนหนึ่งเดินมาพร้อมจูงแขน ลูกชายเล็กๆและภรรยา จำได้ว่าเป็นคนไข้คนนั้นเอง คนไข้ที่เรียกร้องขอความช่วยเหลือเมื่อเกือบปีที่ผ่านมา

“ ผมมาหา คุณหมอ เพื่อจะมาขอบคุณครับ “

อย่างไม่คาดฝันชายคนนั้นก้มลงกราบคุณหมอชัชอย่างระลึกในบุญคุณเป็นอย่างยิ่ง พร้อมลูกชายและภรรยา

 

“ หากไม่มี คุณหมอ  วันนี้ผมคงเดินไม่ได้อย่างนี้ ผมคงไม่มีโอกาสได้อุ้มลุก หรือให้ลุกชายผมขี่คอเดินเล่น.. หรือเก็บผลไม้ที่เขาชอบได้..”

 

“ ผมขอขอบคุณ จริงๆ ครับ “

 

สายตาของ หมอ ชัช ยามที่เล่าเรื่องดูเป็นสุขและภาคภูมิใจในวิชาชีพของตนเองเป็นที่สุด 

เป็นสายตาที่บ่งบอกว่าได้ค้นพบ “ ความหมาย “ และศักยภาพบางอย่างที่อยู่ในตัวตน

ที่สุดคือการค้ที่สำคัญนพบ “ ความเป็นไปได้” และความรู้ใหม่ที่บังเกิดขึ้นมา จากการแก้ไขปัญหาให้กับคนไข้รายนี้

 

เรื่องของคุณ หมอชัช

หล่อเลี้ยงทั้งคนไข้...ครอบครัว ลุกชายคนน่ารักคนนั้น

หล่อเลี้ยงผู้คนที่ได้รับรู้เรื่องราวอันดีงามนี้

และหวังว่าจะช่วยหล่อเลี้ยงใครสักคนที่ได้อ่านเรื่องราวนี้ในวันนี้ เพื่อสร้างแรงบันดาลในในการทำอะไรดีดี กับการมีชีวิตอยุ่

ดังเช่นเรื่องของหมอชัช..

 


สวัสดีคะ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #sha
หมายเลขบันทึก: 397506เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2010 21:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:56 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เรียนIco64ที่นับถือ

  • คำว่า "เสี่ยว" แม่ต้อยเข้าใจถูกต้องแล้วค่ะ ความหมายของเสี่ยว คือมากกว่าคำว่า "เพื่อน"ค่ะ คนที่จะเป็นเสี่ยวกันได้ หน้าตาต้องคล้ายกัน อายุไล่เลี่ยกัน และถ้าผูกเสี่ยวแล้วทั้งสองครอบครัวก็จะเหมือนครอบครัวเดียวกันค่ะ มีการไปมาหาสู่และรักกันแนบแน่นเสมือนญาติที่เป็นสายเลือดเดียวกันเลยทีเดียวค่ะ เพราะฉะนั้นการที่จะได้เป็นเสี่ยว ไม่ใช่เรื่องง่ายๆค่ะ จะต้องผ่านการคัดกรองและเห็นชอบกันทั้งสองตระกูล ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการแต่งงานค่ะ
  • มีหลายคนเข้าใจความหมายคำว่าเสี่ยวผิด ในฐานะลูกอีสานขนานแท้ก็ขออนุญาคชี้แจงคร่าวๆค่ะ
  • ได้อ่านเรื่องราวของคุณหมอชัชแล้ว ดีใจแทนผู้ป่วยและญาติด้วยค่ะ แบบนี้เรียกว่าเป็นคนดีศรีนครินทร์ได้หรือเปล่าคะ
Ico32
คุณยาย
เมื่อ 23 กันยายน 2553 23:52
สวัสดีคะ
น้องยายคะ ขอบคุณมากคะ ที่ขยายความหมายของคำว่า " เสี่ยว" ให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นมาก แม่ต้อยเห็นว่านี่คือภูมิปัญญาไทยดั้งเดิมที่ดีของคนอิสาณ ที่มีคุณค่าอย่างยิ่งคะ
ใช่คะ หมอชัช น่าจะเป็นคนดี ศรีนครินทร์ได้แล้ว น่าภูมิใจมากคะ

แวะมาเยี่ยมแม่ต้อยค่ะ

สบายดีหรือเปล่าคะ คิดถึงนะคะ

เเม่ต้อยขา เรื่องเล่าของคุณหมอชัช ประทับใจค่ะ คุณหมอท่านนี้ทำงานอยู่ที่ไหนน๊า อิ อิ

สวัสดีค่ะ "แม่ต้อย" Ico32

ตอนฟังเรื่องนี้.. น้ำตาซึมเหมือนกันค่ะ..

ได้เอาเรื่องนี้มาแบ่งปันให้เพื่อนๆที่รพ.ฟังแล้วค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท