หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

นักเรียนรุ่นเสาร์ ๕ (๒๕) : ห้ามใส่ "ใจตำหนิ"


มี ความคิดที่ต้องตามทันและเตือนไว้ให้ตามรู้ตัวเองให้ได้ด้วยค่ะ "รู้ทัน ตามทันว่า กำลังใส่ใจตำหนิอยู่หรือเปล่า" เพื่อจะได้จัดบทบาทตัวเองเสียใหม่ ใส่เกียร์ "ห้ามใส่ใจตำหนิ" ล็อกสนิท

ที่จริงชั่วโมงเรียนของอาจารย์นพพร โพธิรังสิยากร ไม่ใช่เรื่องของเทคนิคการไกล่เกลี่ยซะทีเดียวค่ะ หัวข้อที่อาจารย์มาสอนเป็นเรื่องของการแลกเปลี่ยนให้รู้ว่าที่แท้แล้วการไกล่เกลี่ยเป็น "ศาสตร์และศิลป์"

การรับรู้เรื่องราวที่อาจารย์แลกเปลี่ยนจะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อผู้เรียนใช้สไตล์ตัวเองแปลงศาสตร์ไปใช้จนเกิดสไตล์ของตัวเอง(ศิลปะ)ที่เกิดขึ้นความเข้าใจ(ศาสตร์)

วิชานี้จะมีประโยชน์สำหรับความเข้าใจศาสตร์ที่แฝงอยู่ก็ต่อเมื่อได้ลองลงมือใช้มันซะมากกว่า

ฉันว่าเรื่องราวที่อาจารย์แลกเปลี่ยนจะให้ประโยชน์จากการลองนำไปลงมือใช้ไม่ใช่เพื่อให้เกิดความสำเร็จนะคะ หากแต่เป็นการนำไปใช้เพื่อสร้างเป็นความเข้าใจที่หลอมรวมในเนื้อตัวจากการย่อยสิ่งที่ได้เรียนรู้เก็บไว้ติดตัว ดุจดั่งอาภรณ์ที่มีศิลปะและสูงค่าซึ่งถูกประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้ประดับตัวมากกว่า

บันทึกนี้จึงเป็นบันทึกที่ได้เก็บเกี่ยวข้อสรุปที่อาจารย์แลกเปลี่ยนไว้ เพื่อประโยชน์ในการนำไปลองลงมือเพื่อย่อยความรู้ให้กลายเป็นความเข้าใจแล้วกลายเป็นศิลปะจากการนำมาแสดงออกด้วยสไตล์ของผู้เป็นเจ้าของที่เป็นธรรมชาติ เฉกเช่นขุนพลที่มีเพลงยุทธไร้กระบี่ โดยไม่เห็นกระบี่แต่เก็บกระบี่ไว้ที่ใจอะไรทำนองนั้นค่ะ

ต่อไปนี้ขอนำเสนอสิ่งที่ฉันสามารถรวบรวมมาได้จากที่อาจารย์ช่วยสรุปมาแลกเปลี่ยนนะคะ

เรื่องที่หนึ่งก็เป็นเรื่อง "การตามทันความคิด" เมื่อทำหน้าที่ผู้ไกล่เกลี่ยค่ะ

ความคิดที่ว่านั้นเป็นทำนองว่า เคยรู้ตัวบ้างมั๊ยว่าเวลาคุยกับใครอยู่หรือฟังใครอยู่

ตัวเราเคยตามความคิดเขาทันมั๊ยค่ะ

ลองถามตัวเองในเรื่องตามความคิดเหล่านี้ว่าตามความรู้ทันของตัวเองอย่างไรค่ะ

เมื่อลงมือเจรจา ระหว่าง "รับ" และ "อภัย" รับรู้หรือเปล่าว่าคนที่รอผลของเจรจามักจะมีความคิดถึงเรื่องอะไร คนที่ลงมือเจรจาคิดถึงเรื่องอะไร คู่เจรจาคิดถึงเรื่องอะไร

แล้วอาจารย์ก็ให้หลักไว้ใคร่ครวญ ๓ หลักเพื่อให้ตามทันในเรื่องของ "ความหวัง" ค่ะจะเป็นความหวังของใครอย่างไร วิเคราะห์ดูเองค่ะ

เวลาวิเคราะห์ก็อย่าลืมย้อนไปมองและเชื่อมโยงทุกข้อมูลเข้าหากันและอย่าลืมเรื่องของการ "รับ" และ "อภัย" เนอะค่ะ

๓ หลักที่อาจารย์แบ่งปันมาจากคำ ๓ คำเหล่านี้ "สำนึก เยียวยา และ หลักประกัน"

แปลงผลในแง่ความคิดของความเป็นคน เป็นความหวังดูนะคะ ว่าเห็นว่ามันมีความหมายอย่างนี้หรือเปล่าและอย่างไร : สำนึกนั้นบ่งบอกถึงความรู้สึกต่อการยอมรับในศักดิ์ศรี การเยียวยานั้นบ่งบอกถึงการตอบรับการคุยต่อ การมีโอกาส และหลักประกันบ่งบอกถึงความรู้สึกมั่นคง

ส่วนจะเป็นความหวังของใครอย่างไร ชวนใคร่ครวญกันเวลาลงมือทำหน้าที่ผู้ประนีประนอมนะคะ

ลองมาดูเรื่องราวที่เกิดในชีวิตจริงเรื่องคนทะเลาะกัน แล้วลองวิเคราะห์ความคิดของคนทะเลาะกันดูหน่อยนะคะ

เพื่อนๆในห้องช่วยกันวิเคราะห์ออกมาได้อย่างนี้ค่ะ : ลุย (ยอมแตกหัก), ยอม (หวังข้อแลกเปลี่ยน), เฉยๆ(ไม่ได้อะไรมาก็โอเค) , หาร ๒ (ร่วมแก้ปัญหา) จะว่าไปแล้วเมื่อวิเคราะห์ออกมาแล้วก็เห็นภาพของอารมณ์และความคิดคนได้เนอะค่ะ ว่าแต่ว่าพอมองเห็นความหวังอย่างไรบ้างมั๊ยค่ะ

เรื่องที่ ๒ เป็นเรื่องคำเตือนค่ะ จำคำเตือนไว้เพื่อให้สติเกิดและพบทางออกที่ปลายอุโมงค์ในการเลือกวิธีไกล่เกลี่ยนะคะ

คำเตือนนั้นมีว่า "คนมีเรื่องไม่ควรเจรจากันเองเพราะมีอารมณ์" คำเตือนนี้ใช้เพื่อให้เห็นทางออกว่ามีทางเลือกของการเจรจาที่ "การเจรจาควรมีทีมหรือคนกลางเข้ามาช่วย"อยู่ด้วยนะ

ขอขยายความไว้หน่อยค่ะกันลืม มีความจริงอยู่ในชีวิตประจำวันอยู่เห็นๆ "คนมีเรื่องจะตำหนิกันทำให้คุยกันไม่ได้ เพราะมีอารมณ์ จึงต้องการคนกลางช่วยสื่อสาร" นี่เรื่องธรรมดาที่พบอยู่ตำตาตำใจบ่อยไป

เรื่องที่ ๓ ก็เป็นเรื่องของคำเตือน เตือนเพื่อให้ใคร่ครวญจนสามารถมองเห็นความเป็นไปได้ ความง่าย ความยากของการเจรจาก่อนลงมือค่ะ คำเตือนนั้นมีว่า "คนเยอะ เจรจายาก คนน้อย เจรจาง่าย" "เหตุไม่ถูก ผลก็ไม่เกิด"

เรื่องที่ ๔ เป็นเรื่องของความเหมือนในแง่คิด ในเรื่องของสันติวิธีค่ะ

อาจารย์พูดเหมือนนักสันติวิธีที่มาแบ่งปันในชั่วโมงก่อนๆในเรื่องของผลว่า "ความสำเร็จของการเจรจาอยู่ที่กระบวนการไม่ใช่ผล"

กระบวนการที่ทำได้ดีที่สุด คือ สร้างสัมพันธ์ได้ดี หรือ ลงมือทำแล้วเกิดการเจรจา

เรื่องของการลงมือทำแล้วเกิดเจรจา นึกอะไรไม่ออกก็ให้นึกถึงยุคสงครามเย็นที่อมเริกาและโซเวียตเป็นอริกัน แล้วเมื่อเกิดเวทีที่อเมริกากับโซเวียตเริ่มเจรจากัน ความสัมพันธ์ก็ดำเนินมางอกงามขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้สงครามเย็นจบลงได้ในที่สุดเป็นตัวอย่างได้ค่ะ

"กรณีหาร ๒ ทำได้เมื่อความสัมพันธ์ดี จะใช้ต้องสร้างสัมพันธ์ก่อน ผู้ช่วยเจรจาต้องสื่อสารดี รู้จักเปลี่ยนมุมมอง และรู้จักบริหารความเสี่ยง"

มีความคิดที่ต้องตามทันและเตือนไว้ให้ตามรู้ตัวเองให้ได้ด้วยค่ะ "รู้ทัน ตามทันว่า กำลังใส่ใจตำหนิอยู่หรือเปล่า" เพื่อจะได้จัดบทบาทตัวเองเสียใหม่ ใส่เกียร์ "ห้ามใส่ใจตำหนิ" ล็อกสนิท

ล็อกตัวตำหนิให้ได้ แล้วจับมันแต่งตัวใหม่ แปลงกายของมันเป็นสิ่งเหล่านี้แทนค่ะ

เปลี่ยนการใส่ใจตำหนิเป็นใส่ใจคำเรียกร้อง

เปลี่ยนการใส่ใจตำหนิเป็นเปลี่ยนใจฟังคำบอกที่แฝงเร้น สรุป

เปลี่ยนความหมายจากตำหนิเป็นสิ่งที่ได้จากการฟังด้วยคำพูดใหม่ที่ได้ข้อสรุปในมุมต่างมาแทนที่ เช่นดี-เลว , เร็ว-ช้า-เลว-ดี

เปลี่ยนการตำหนิที่เจาะจงตัวบุคคลเฉพาะคนเป็นการตำหนิทั่วๆไป

เปลี่ยนการตำหนิที่เจาะจงเรื่องราวเป็นพูดถึงข้อยกเว้นแทน

หมายเลขบันทึก: 363292เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2010 21:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดี ครับ คุณหมอเจ๊คนสวยแซ่เฮ

เข้ามาอ่านบันทึก ฉบับประเทืองปัญญา ของคุณหมอ แล้ว พบว่า..

 "รู้ทัน ตามทันว่า กำลังใส่ใจตำหนิอยู่หรือเปล่า" เพื่อจะได้จัดบทบาทตัวเองเสียใหม่ ใส่เกียร์ "ห้ามใส่ใจตำหนิ" ล็อกสนิท

ล๊อก..แล้วเปลี่ยน..ดีจริง ๆ เลย นะครับ

ขอบพระคุณ มาก ครับ

ด้วยความเคารพและระลึกถึง

  • น้อง แสงแห่งความดี ค่ะ
  • เรื่องราวที่นำมาแบ่งปันนี้
  • พี่ได้รับการแบ่งปันมาอีกที
  • จึงขอชวนเราสองมาขอบคุณ
  • อาจารย์ผู้นำมาแบ่งปัน
  • ด้วยดอกไม้สวยๆอย่างนี้ดีมั๊ยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท