หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

นักเรียนรุ่นเสาร์ ๕ (๓๙) : อัตลักษณ์คือตัวตน?


ความปรารถนาดีแก่กันและกัน คือ ไม่ดูถูก ไม่รังเกียจ ไม่เกลียดชัง

ตลอดเดือนมิถุนายน ๒๕๕๓ เนื้อหาที่เรียนในหลักสูตร สสสส.๒ วนเวียนอยู่ในเรื่องของ “อัตลักษณ์” ในมุมมองด้านต่างๆ  บ่งบอกว่าเรื่องนี้มีความสำคัญอยู่ไม่ใช่น้อยกับการสร้างสันติ จึงควรทำความเข้าใจกับมัน

ในวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๓  อาจารย์วินัย สะมะอุน ครูปัญญาไทยทางด้านศาสนา ผู้เป็นต้นคิดชวนชาวมุสลิมให้หันมาช่วยกันพัฒนาคลองแสนแสบ  ได้มาแบ่งปันเพิ่มเติมให้รู้จักคำว่า “อัตลักษณ์” ในแง่มุมของศาสนาและวัฒนธรรม

เริ่มต้นเรื่องอาจารย์ป้อนคำถามว่า ถ้าดูชุดที่แต่งพอบอกอัตลักษณ์ได้มั๊ย อัตลักษณ์ทางศาสนา อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ไทย  ซึ่งก็ไม่มีอะไรตอบจากผู้เรียน

อาจารย์เล่าให้ฟังถึงเรื่องราวทั่วๆไป เกี่ยวกับความเป็นอัตลักษณ์ เริ่มจากพูดถึง ความมีน้ำใจต่อกัน ที่สามารถช่วยประเทศและสังคมได้ การมาช่วยจำเป็นต้องมีความเข้าใจ ความเข้าใจเป็นพื้นฐานของความคิด ความคิดมากมายในสมอง แต่เริ่มงาน เริ่มจากเชื่อ หยิบความคิดจากสมองมาตัดสินใจ แล้วสุดท้ายกลายเป็นอัตลักษณ์ของตน

ในมุมมองของอาจารย์ อัตลักษณ์ของแต่ละคนเป็นสิทธิของแต่ละคนที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้ มีการแสดงความคิดเห็นจากตัวแทนด้านศาสนา ๒๐-๓๐ คน ก่อนจะมีกฏหมายบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญ

อาจารย์พูดถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากสมบูรณาญาสิทธิราชและประชาธิปไตยที่ผ่านมาเป็นประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขว่าเป็นอัตลักษณ์ที่จำเป็นต้องรักษาไว้ แม้สีของความคิดจะมีหลายสี ก็เป็นเพียงความขัดแย้งในบางโอกาสที่เกิดขึ้นเท่านั้นเอง

สมบูรณาญาสิทธิราชเป็นการอยู่ร่วมกันที่จำเป็นต้องอยู่กันแบบหลาย วัฒนธรรม มีมาก่อนแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย แต่ไม่บันทึกไว้ มาถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาจึงชัด ทั้งเชื้อชาติ ศาสนา สิทธิ (ชีวิต ร่างกาย เคหะสถาน เดินทาง ที่พักอยู่ ครอบครัว เกียรติยศ การสื่อสาร ศาสนา) เสรีภาพ หน้าที่ (พิทักษ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ประชาธิปไตย ป้องกันประเทศ เลือกตั้ง เป็นทหาร)

อาจารย์ถอดบทเรียนประวัติศาสตร์มาเล่าเรื่องสัญชาติไทยให้ฟัง  ย้อนไปสมัยกรุงศรีอยุธยา เชื้อชาติที่เข้ามาสู่ไทย โปรตุเกส กรีก อังกฤษ อาหรับ เปอร์เซีย มลายู วา จีน ญี่ปุ่น ไทย ฯลฯ ล้วนถูกเรียก”คนไทย” เป็นคนที่เข้ามาอยู่ในไทยแล้วจดสัญชาติเป็นคนไทยรักหรือเปล่า มีน้ำใจหรือเปล่า ไม่แปลกอะไรที่จะรักสัญชาติไทย อยู่มาแล้ว ๕ ปี พูดภาษาไทยได้ ก็เปลี่ยนสัญชาติเป็นไทย

ส่วนเรื่องศาสนา ย้อนไปสมัยกรุงศรีอยุธยา มีพุทธ อิสลาม คริสต์ ซิกซ์ พราหม ฮินดู อยู่แล้ว

อาจารย์ชวนคิดสั้นๆ คนไทยมี ๒ อย่าง เกิดเมืองไทย อยู่เมืองไทยและมีสัญชาติไทย กฏหมายกำหนดสัญชาติเดียว ไม่กำหนดเชื้อชาติ

แล้วชี้มุมมองว่า ความปรารถนาดีแก่กันและกัน คือ ไม่ดูถูก ไม่รังเกียจ ไม่เกลียดชัง การมีอคติในการออกกฏหมายทำให้เกิดอาชญากรรม การมีสัญชาติทำให้เกิดความรักและความรับผิดชอบ นำมาสู่สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่

จบลงด้วยการเล่าว่า อัตลักษณ์ของผู้หญิงมุสลิม  เป็นกฏหมายของศาสนา ไม่ทำ-บาป  ส่วนอัตลักษณ์ของผู้ชายมุสลิม เป็น folkway ไม่ทำ-ไม่บาป

อยากรู้จักอาจารย์ก็ลองไปเยี่ยมเยียนที่นี่

หมายเลขบันทึก: 374146เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2010 23:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • สวัสดีค่ะ
  • คุณหมอขา...ของที่คุณหมอพาไปเยี่ยมบุษรา บุษราจัดการเรียบร้อยแล้วค่ะ ถ้าให้ดี อีก 1 ถ้วย  ฮ่าๆๆๆๆ
  • คุณหมอสบายดีนะค่ะ
  • ระลึกถึงกันค่ะ

            

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท