หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

นักเรียนรุ่นเสาร์ ๕ ดูงานต่างประเทศ (๓๔) : อินเดีย - ปรับตัวสู้โลก


ที่คนต่างศาสนาที่นี่ไหว้พระ เพราะเขาเชื่อถือในคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เป็นยอดพระบรมครูชั้นเอกของโลก ที่น่าทึ่งกว่าก็เป็นคำเล่าว่าคนต่างศาสนาที่นี่เอ่ยนำให้พระสงฆ์ไทยกล่าวคำ ว่า พุทธํ สรณํ คัจฉามิ ธัมมํ สรณํ คัจฉามิ และ สังฆํ สรณํ คัจฉามิ ตามเขาได้ด้วย ฟังแล้วสะท้อนอะไรไหมเกี่ยวกับคนในบ้านเราที่นับถือพุทธ มุมหนึ่งที่ได้สัมผัสจากเรื่องเ่ล่านี้ ฉันเริ่มเห็นความใจกว้างของคนอินเดียและการให้บทเรียนเรื่อง “ประชาธิปไตย” ผ่านเรื่องความเชื่อถือเนอะ

ฟังท่านทูตเล่าแล้ว ฉันนึกถึงภาพอินเดียกำลังปรับตัวด้านเศรษฐกิจระลอกใหญ่ตอนที่วิกฤตเศรษฐกิจ เริ่มมีเค้าลางให้เห็น แปลกใจว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เขาใช้ทำไมป้องกันระบบทุนของเขาได้นะ  แต่เมื่อท่านทูตเล่าว่ามีการอัดงบประมาณเพิ่มลงไปสู่ social sector schemes ด้วยก็ไม่แปลกใจแล้วค่ะ

ชอบใจเขาอีตรงที่นโยบายของเขาชัดและเขาชัดกับตัวเองว่าเขากำลังทำอะไรอยู่  ไม่เชื่อลองไปที่นี่ อ่านได้เลย แน่นอนว่าระบบธนาคารของเขามีการปรับลดในเรื่องอัตราดอกเบี้ยและเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ด้วย

ท่านทูตเล่าถึงอุปสรรคสำคัญของการเชื่อมสัมพันธ์กับเขา ๓ เรื่อง คือ การขาดโครงสร้างพื้นฐาน พลังงาน และกฎระเบียบการค้าการลงทุน

ท่านทูตเล่าเรื่อง Look East ของอินเดียให้ฟังด้วย เรื่องนี้ทำให้นึกได้ว่ามีคนเล่าว่าอินเดียให้ความสำคัญกับการพัฒนาภูมิภาค ตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย และได้ประกาศใช้ North-Eastern Region Vision 2020 เมื่อเขาจะขยายความสัมพันธ์และความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและการส่งเสริมการ ค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว เขาจะเชิญภาคต่างๆมาเกือบหมด อาทิ  ผู้ว่าการรัฐฯ รมต. รมว. เอกอัครราชทูตประเทศที่อยู่ติดเขตแดน เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ผู้แทนภาคเอกชน ภาคประชาสังคม นักวิชาการ นักศึกษา และสื่อมวลชน ไม่รู้บ้านเราทำอย่างเขาหรือเปล่า

แล้วเขาก็มีโครงการเชื่อมโยงเครือข่ายการคมนาคมภายใต้โครงการถนนสามฝ่าย ไทย-พม่า-อินเดีย และ การส่งเสริมความร่วมมือด้านการค้าการลงทุนโดยเสนอให้จัดตั้งสภาหอการค้าร่วมระหว่างไทย-อินเดีย การส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนา และการจัดตั้งสำนักเลขาธิการถาวรของ BIMSTEC ขึ้นด้วย ( มี ๗ ประเทศเกี่ยวข้อง : บังคลาเทศ ภูฏาน อินเดีย พม่า เนปาล ศรีลังกา และไทย) นี่คงเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายมองตะวันออกของอินเดียซินะ

พูดถึงพระพุทธศาสนา ก็นึกขึ้นมาได้ว่าไปอินเดียครั้งนี้ ไม่เห็นพระภิกษุง่ายๆเหมือนบ้านเราเลย ที่เล่าไว้ว่าเขาไม่แยกคนนับถือพุทธออกมาว่ากี่เปอร์เซ็นต์ มีคนมาบอกว่าที่เขาไม่นับ ไม่ใช่เพราะไม่ให้ความสำคัญ แต่เพราะมันไม่สำคัญเท่าความเชื่อถือ ความนับถือ

ที่บ้านเรา เราจะเห็นคนพุทธยกมือไหว้พระ ที่นี่มีต่างไปตรงที่คนอินเดียต่างศาสนาเขายกมือไหว้พระนะ แถมยังถือการปฏิบัติตามคำสอนเป็นสรณะกันแทบจะทั้งประเทศซะด้วยซิ  ไม่น่าเชื่อเลย แต่ก็ให้เชื่อเหอะ

ที่คนต่างศาสนาที่นี่ไหว้พระ เพราะเขาเชื่อถือในคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เป็นยอดพระบรมครูชั้นเอกของโลก ที่น่าทึ่งกว่าก็เป็นคำเล่าว่าคนต่างศาสนาที่นี่เอ่ยนำให้พระสงฆ์ไทยกล่าวคำ ว่า พุทธํ สรณํ คัจฉามิ  ธัมมํ สรณํ คัจฉามิ และ สังฆํ สรณํ คัจฉามิ ตามเขาได้ด้วย ฟังแล้วสะท้อนอะไรไหมเกี่ยวกับคนในบ้านเราที่นับถือพุทธ

มุมหนึ่งที่ได้สัมผัสจากเรื่องเ่ล่านี้ ฉันเริ่มเห็นความใจกว้างของคนอินเดียและการให้บทเรียนเรื่อง “ประชาธิปไตย” ผ่านเรื่องความเชื่อถือเนอะ

มิน่าเขาจึงยังคงไว้ซึ่งสิ่งดีๆที่คนของเขาให้คุณค่าเอาไว้ได้  มิน่าเมื่อเข้าใกล้แล้วความรู้สึกจึงยังโปร่งเบา ไม่รู้สึกน่ากลัวหรือสัมผัสความรู้สึกลบภายในที่สะท้อนอารมณ์ผ่านคำพูดหรือ การกระทำจากคนของเขาน้อยมากๆ ก็เป็นอะไรที่บอกได้ว่าเขามิได้ใส่หน้ากากเมื่อแสดงอะไรออกมา

เขาสามารถรักษาสิ่งดีๆ คือ ความรู้สึกยอมรับคนอื่น ไม่ดูถูกคนอื่นไว้ในใจคนของเขาได้อย่างไร น่าสนใจวิธีปลูกฝังและวิธีพัฒนาคนของสังคมเขาเนอะค่ะ  หรือว่านี่คือมุมบวกของการแบ่งชั้นวรรณะ น่าฉุกใจเหมือนกัน

พูดถึงทุนมนุษย์และการทหารของอินเดียแล้ว เพิ่งรู้เหมือนกันว่าที่อินเดียมีทหารเป็นอันดับ ๒ ของโลกนั่นนะ ทั้งกองหนุน กองเกิน ประจำการมีกำลังพลรวมๆใหญ่กว่ากำลังพลของไทยเรากว่า ๗ เท่า (๔.๕ ล้านคน) น้อยกว่าจีนอยู่ราวๆครึ่งหนึ่ง และได้มาแบบหนุ่มๆอายุ ๑๖ ปีขึ้นไป เขาอาสาเข้ามาให้เลือกด้วยนะ ไม่ต้องเกณฑ์กันเลยเชียว อย่างนี้แสดงว่าการเป็นทหารของเขาน่าจะมีอะไรดีๆจูงใจให้เป็นเนอะ เสียดายไม่มีใครเล่าเรื่องเงินเดือนทหารให้ฟังบ้างเลย

อยากรู้ว่าสมัครเป็นทหารแล้วเขาคัดตัวอย่างไรบ้าง ตามไปดูได้เลยค่ะ เห็นภาพวิธีคัดตัวของเขาแล้ว ฉันเห็นไปว่าคนที่เข้ามาคัดแม้จะไม่ได้รับการเลือกก็ได้รับการปลูกฝังอะไร บางอย่างที่ดีๆติดตัวกลับไปจากการรู้จักตัวเองมากขึ้นไม่มากก็น้อย  ของเราน่าจะทำอย่างเขามั่งเนอะ

พูดถึงเรื่องของการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนา ฉันก็เพิ่งอ๋อว่าทำไมจึงมีเที่ยวบินสายตรงอินเดีย-ไทยเกิดขึ้นอย่างที่เล่าไว้แล้วหละ

๖ สิงหาคม ๒๕๕๓

หมายเลขบันทึก: 404569เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2010 22:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:55 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นบันทึกแรกที่อ่านจบในพริบตาค่ะพี่หมอ ชอบๆ เรื่องการเชิญทุกภาคส่วนเข้าไปมีส่วนร่วม ชอบระบบการคัดเลือกทหาร และ เรื่อง bimstec เพิ่งทราบว่าอย่างของภูฏานเค้าก็เปิดรับ นศ. ไทยไปเรียน แลกเปลี่ยนที่นั่นด้วย .. ไว้จะรออ่านเรื่อยๆ ค่ะ ขอบคุณพี่หมอ ฝันดีค่ะ

หมอเจ้ครับ

ต้องชื่นชมนะครับ รายงานได้ละเอียด เป็นรายงานที่มีสาระและเข้มข้นขึ้นทุกวัน

การศึกษาอินเดียเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับทุกประเทศในโลก โดยเฉพาะไทยซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งมายาวนาน คนไทยรู้เรื่องของยุโรป อเมริกา จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี แต่ยังไม่สนใจอินเดีย

การนำเสนอของหมอเจ้ จึงมีประโยชน์มากครับ ขอชื่นชม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท