กู้เงินซื้อที่ดิน


บันทึก 1 ก.พ. 54

    วันนี้ 14.40 ไปปรึกษาธนาคาร...... สาขาปัตตานี เพราะรู้จักกับ ผจก. .........  เพื่อขอคำปรึกษา ผจก.ให้ไปคุยกับคุณ....... (สงสัยจะเป็นสินเชื่อ) เลยเล่าให้ฟังว่า

  • ต้องการซื้อที่ดินที่ จ.ลำพูน (ปัจจุบันเป็นไร่กระเทียมและกะหล่ำ) 98 ไร่ ตามเอกสาร นส.3 จำนวน 9 ฉบับ แต่เป็นที่ดินแปลงเดียวกันทั้งหมด เป็นที่เชิงเขา อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 470-540 เมตร เพื่อนำไปทำสวนยางพารา

  • ประสบการณ์การทำสวนยางของผมมีมากว่า 20 ปี ที่ช่วยครอบครัว(พ่อแม่) เฉพาะที่ทำเองในช่วง 8 ปีที่ผ่านมาร่วม 16 ไร่ ได้รับผลผลิตแล้ว 10 ไร่

  • ปัจจุบันผมมีเงินได้จากเงินเดือน สามหมื่นเศษ+ เงินเดือนภรรยา สามหมื่นเศษ+ รายได้จากสวนยางที่ปัตตานี 10 ไร่ (สัปดาห์ละ 5,000 บาท) เดือนละ 20,000 บาท รวมรายได้เดือนละ 95,_ _ _ บาท  มีหนี้สินอยู่ที่สหกรณ์ประมาณ 900,000 บาท ผ่อนสหกรณ์ประมาณเดือนละ 19,000 บาท

  • มีเงินสดอยู่แล้ว 1.1 ล้าน มัดจำไปแล้ว 2 แสน ต้องการเงินกู้ 1,600,000 บาท

ได้รับคำตอบและเงื่อนไขดังนี้

  • เป็นการให้กู้เพื่อเกษตรกรรายย่อย

  • หลักทรัพย์ที่จะนำมาค้ำประกัน ต้องถือมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน (ถามว่าทำไมต้องถือ 6 เดือนคุณ....... (สงสัยจะเป็นสินเชื่อ) ตอบว่า เพื่อป้องกันการเก็งกำไร

  • ให้กู้ไม่เกินร้อยละ 50 ของหลักทรัพย์ที่ประกัน ดังนั้นหลักทรัพย์ที่จะกู้ต้องมูลค่า 3,200,000

  • ผ่อนเงินกู้อย่างน้อย 34,000 บาท ต่อเดือน

  • สัญญาผ่อน 5 ปี  หากผ่อนน้อยกว่า 3 ปี ต้องจ่ายค่าปรับร้อยละ2 เป็นเงิน 34,000 บาท

    ได้รับคำตอบแล้ว  จึงแจ้งไปว่าจะกลับไปปรึกษากับภรรยาดูก่อน หากตัดสินใจอย่างไร จะมาติดต่ออีกครั้ง  และบอกว่าต้องไปคุยกับธนาคารอื่นดูด้วย เผื่อเงื่อนไขจะเบากว่านี้

      ขอบคุณสำหรับความหวังและโอกาสสำเร็จครับ

หมายเลขบันทึก: 423528เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2011 16:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

กู้เงินเพื่อซื้อที่ดินเพื่อการเกษตร เห็นเลขหนี้สิน แล้วเหนื่อยแทน เหมือนภาษิตที่เคยได้ยิน "การไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ" ผมเองก็ยังเป็นหนี้อยู่ดี ยังผ่อนไม่หมดเหมือนกัน ^^

พี่ชนันท์คะ

อ่านบันทึกนี้เลยแอบสงสัยนิดนึงว่า ที่ดินแถวภาคเหนือสามารถปลูกยางได้แล้วหรือคะ คือว่าที่ถามเพราะตอนแรกคิดว่าสภาพอากาศแถวภาคใต้น่าจะเหมาะกับการปลูกยางมากที่สุด แต่ต่อมาทางภาคอีสานก็ปลูกได้แล้วเช่นกัน

ก็เลยต้องรบกวนสอบถามพี่ผ่านทางบันทึกนี้นjะคะ :)

โหดจังเลย ดีนะได้ภรรยาช่วยเป็นข้ออ้าง ไม่อย่างนั้นเสร็จแน่ ขืนหลวมตัวไปกุ้เข้า เดือนละ 3 หมืนกว่า ผ่อนกันตัวตั้งเชียว

เห็นความตั้งใจคุณชนันท์แล้ว ขอคารวะครับ ...

มีบทความดี ๆ มาแบ่งกันอ่านครับ

http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=4941.0

คิดว่าน่าจะครบ ทุกเรื่องครับ

 

ตามไปดูเป็ดมาหรือยังครับ

http://gotoknow.org/blog/supersup300/423183

 

ตอบความเห็นของท่านข้างบน ทุกท่าน (รวมๆนะครับ)

เจตนาที่ผมเอาบันทึกนี้มาลง เพื่อให้คนที่ไม่เคยเดินไปคุยกับธนาคาร ได้เห็นภาพครับ  โดยเฉพาะกับเกษตรกรรายย่อย ที่โอกาสเข้าถึงเงินทุนนั้นยากเย็นแสนเข็ญซะจริงๆ  ผมไม่เถียงนะครับว่า การปล่อยกู้เสี่ยง NPL นั่นน่ะ จะทำให้แบงค์เสียหาย  แต่กฏกติกาที่ออกมานั้นตั้งกำแพงให้ผู้สุจริตไปด้วย

สำหรับคำถามว่า ภาคเหนือปลูกยางพาราได้หรือ ผมไปดูมาแล้วครับ ที่ห่างจากที่ผมจะซื้อไม่ถึง 10 กม. เขาปลูกยางพาราเจ้าเดียวร่วม 200 ไร่  ผมถ่ายรูปมาด้วยแหละ  วันหลังจะเอามาลงให้ชม  ยางที่กรีดแล้วก็มี อาจจะให้ผลผลิตไม่เท่าภาคใต้ แต่ต้นทุนทั้งที่ดินและแรงงานที่ถูกกว่า ก็สามารถดำเนินการให้คุ้มทุนและมีกำไรได้ครับ อย่างน้อยที่เชิงเขาหัวโล้นที่เป็นไร่ข้าวโพด อีก 4-5 ปีหลังจากปลูกยางพารา ก็จะเขียวขจี  แม้ไม่ใช่ป่า แต่เป็นไม้ยืนต้นไร่ละ 70-90 ต้น ก็สามารถเก็บกักคาบอนไดออกไซค์ได้ปีละเป็นล้านตันนะครับ  เผื่อเอาไปขาย Carbon Credit ได้ครับ

นโยบายรัฐ ปี 2553 -2555 มีนโยบายส่งเสริมฯ ผ่าน สกย. ภาคอีสาน สามแสนไร่ ภาคเหนือสองแสนไร่ ภาคใต้+กลางหนึ่งแสนห้าหมื่นไร่ ครับ  ต่อไปทุกภาคจะอุดมสมบูรณ์ กินดีอยู่ดีกันหมดแน่เลย

เอามาฝากทั้งตัว (ข้างบน) และไข่ข้างล่าง ครับ

http://gotoknow.org/blog/supersup300/423789

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท