มองญี่ปุ่น :บทเรียนรู้ สังคมเกษตร และสังคมชนบท ญี่ปุ่น ภาคแรก (แจ่มๆ!!!)


ศาสตร์เรื่องของการปลูกข้าว ของญี่ปุ่น น่าทึ่งมาก ครับ ว่ากันด้วยพัฒนาอย่างเป็น ระบบ ระเบียบ และความปราณีต เอาใจใส่ทุกขั้นตอน ทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม

"ขอส่งกำลังใจให้กับ พี่น้องชาวญี่ปุ่นทุกท่านที่กำลังเผชิญวิกฤติ จากภัยธรรมชาติ ครับ โดยส่วนตัวผมเชื่อว่าด้วยความมีระเบียบวินัย ความร่วมมือ-ร่วมใจของคนญี่ปุ่น ที่ทุกท่านได้เห็นแล้วผ่านทีวี สิ่งพิมพ์ จะเป็นพลังที่ทำให้บ้านเมือง เศรษฐกิจ คุณภาพชีวิต ได้กลับมาเป็นปกติ ในเร็ววัน ครับ สู้ สู้ ครับ" 

ผมมีอีกมุมหนึ่งมานำเสนอในบันทึกนี้ครับ เป็นมุมด้านเกษตร การปลูกข้าวของญี่ปุ่น

*จากประสบการณ์ทำงาน การศึกษาดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น และบทความที่เกี่ยวข้องครับ*


    

เคยเขียนไว้ในบันทึก

"จัดระเบียบการปลูกข้าว จากเเปลงนา สู่การพัฒนาประเทศ "บทเรียนรู้จากญี่ปุ่น ที่ผู้ใหญ่ต้องศึกษา"

ศาสตร์เรื่องของการปลูกข้าว ของญี่ปุ่น น่าทึ่งมาก ครับ ว่ากันด้วยพัฒนาอย่างเป็น ระบบ ระเบียบ และความปราณีต เอาใจใส่ทุกขั้นตอน ทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม 

พัฒนาคน : มีคุณภาพ มีการศึกษา มีจิตวิญญาณของเกษตรกร ห่วงใยสิ่งแวดล้อม

พัฒนาพันธุ์ :ให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานโรคเเมลง รสชาตถูกปากผู้บริโภค

พัฒนาเครื่องจักร: รองรับแรงงานภาคเกษตรที่หายไป ซึ่งปัจจุบันเหลือประมาณ ร้อยละ 7 ของประชากรทั้งหมด คนรุ่นหนุ่มสาวออกไปเป็น salary man และ กลับมาเป็นชาวนาวันหยุด

เครื่องมือที่มีทุกบ้าน: รองรับสังคมผู้สูงอายุในภาคเกษตร

 

การเพาะกล้า-เป็นระบบสายพานลำเลียงผลิตแผ่นกล้า ใช้เมล็ดพันธุ์ จำนวน 8-10 กิโลกรัมต่อไร่ มีการอนุบาลก่อนลงเเปลง อายุตั้งแต่ 8-15 วัน แต่ไม่เกิน 25 วัน ความสูงไม่เกิน25 เซนติเมตร ต้นกล้าข้าวไม่ต้องลงไปโตแข่งกับหญ้าในแปลงนา 

เตรียมดิน -ใช้แทรกเตอร์ติดโรตารี เตรียมดินให้เรียบเสมอ  ลึกในระดับที่เหมาะสม 12-18 cm.พร้อมสำหรับการปักดำ

ปักดำ - เป็นแถว ความกว้าง 30 ซม. เป็นแนว มีระเบียบ มีช่องว่างให้อากาศผ่าน แสงแดดส่องถึงพื้น(แถวตามแนวขี้น-ลงของพระอาทิตย์:ต้นข้าวไม่บังแสงแดดกันเอง) ต้นข้าวสุขภาพดี แข็งแรง การจัดการดูแลในเเปลงนาก็ง่ายขึ้น     

      หัวซ่อมปักดำทำงานแทนมือคน 

 

การดูแลหลังการปักดำ -ใช้เครื่องพรวนหญ้า (weeder) ในร่องนาดำ ลดการใช้ยาปราบวัชพืช และใช้เครื่องชักร่องน้ำ ระบายน้ำได้ น้ำไม่ท่วมขังเเปลงนา ช่วย ลดก๊าชมีเทน

(มีการนำมาทดลองใช้งานแล้ว ที่เมืองไทย http://gotoknow.org/blog/supersup300/431612)

เก็บเกี่ยว -ใช้ระบบนวด "เฉพาะคอรวง" ใช้พลังงานในการนวดนวดน้อยลง ได้ข้าวที่มีความชื้นต่ำ เนื่องจากไม่ต้องเอาต้นข้าวเข้าตู้นวด (ซึ่งบริเวณโคนต้นข้าวมีความชื้นสูง) ประหยัดพลังงานในการอบลดความชื้น หลังการเก็บเกี่ยว

 

การจัดเก็บ -ไซโล ขนาดเล็ก เก็บข้าวที่โรงนาเกษตรกร ไว้ทยอยสีขายทั้งปี สีเป็นข้าวกล้อง และข้าวขาว หรือบรรจุเป็นข้าวเปลือกใส่ถุง กระดาษรีไซเคิล

การสีข้าว - มีเครื่องสีข้าวที่โรงนาของเกษตรกรเอง ทำให้ได้ทั้ง ข้าวกล้อง

ข้าวสาร รำ  และแกลบ เก็บไว้ใช้ประโยชน์ที่บ้าน

มีตู้สีข้าวหยอดเหรียญตามชุมชน เพื่อผู้บริโภคได้สารอาหารครบถ้วน กรณีซื้อข้าวกล้อง มาไว้ที่บ้าน แล้วต้องการบริโภคข้าวกล้องเเบบสีสดๆร้อน

 

หลังการเก็บเกี่ยว : เครื่อง กระจายฟาง รวมฟาง อัดฟาง ไว้ใช้ประโยชน์ทำปุ๋ย เลี้ยงสัตว์ต่อ   มีการหมัก และโรยใส่เเปลงนาบำรุงดินก่อนการเพาะปลูก

 

พัฒนาระบบชลประทาน : ควบคุมน้ำ ได้ก็ประหยัดน้ำ จัดการในเเปลงนาได้ดั่งใจ ที่ระดับ 5cm. น้ำสลับเเห้ง  ข้าวก็ไม่ต้องโตยืดตัว หนีน้ำ (มีผลต่อปัจจัยการผลิตอย่างอื่นต่อ ปุ๋ย ยา การร่วงหล่น ) หรือเเห้งตาย เพราะไม่มีน้ำ ลดต้นทุนเกษตรกรไม่ต้องสูบน้ำเข้านา

พัฒนาตลาดการเกษตร :ผ่านระบบสหกรณ์ หรือ JA ทำให้เกษตรกรได้รับส่วนแบ่งที่เป็นธรรม และการพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง

 

สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ การให้

 "คุณค่ากับเเหล่งผลิต ว่ามาจากเเปลงนาใคร คนปลูก ดูแลอย่างไร"  ใส่ใจกันทุกขั้นตอนจริงๆ ครับ

ยืนยันคุณภาพการผลิตกันตั้งแต่เเปลงนา ผู้บริโภคก็มั่นใจ รับประกันโดยเกษตรกร ครับ

 

ไม่ใช่ ทำ Marketing ข้าวบรรจุถุงขาย อย่างเดียวเหมือนบ้านเรา ที่ใครปลูกก็ไม่รู้ ปลูกดูแลกันอย่างไร ก็ไม่รู้อีก  คนกิน คนซื้อ รู้แค่ว่าข้าวยี่ห้ออะไร รู้ กันอยู่ไม่กี่ยี่ห้อ ตราห้าง... ตราร่ม... ตราหัวเรือ...  ตรา ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่  ...

 

"ชาวนาญี่ปุ่น ไม่ขายข้าวเปลือกทีเดียวหลังเก็บเกี่ยวครับ แต่จะเก็บและทยอยสีขายตลอดทั้งปี ทำ packing ติด brand เจ้าของนา brand เเหล่งผลิต ทำให้ปริมาณข้าวไม่ล้นตลาด (มี Buffer stock ที่โรงนาเกษตรกร) "และมีของเหลือ จำพวกเเกลบและรำ ไว้ใช้ประโยชน์ต่อ...

 

ไม่ต้องขายข้าวโรงสี แล้วตามไปซื้อ แกลบ รำ ของตัวเองที่โรงสีครับ นั่นมันของของเรานะครับ !!!


 

เพิ่มเติม ตามไปอ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่

 

มองชนบทญี่ปุ่น

 

ใต้กระแส : อรรถจักร สัตยานุรักษ์ ตอนที่ 1 - 2

 

 

หมายเลขบันทึก: 431814เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2011 12:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (39)

อาม่าเคยไปพักบ้านชาวนาญี่ปุ่น ได้เรียนรู้อะไรมากมายจากชาวนาญี่ปุ่น ความซื่อสัตย์ และความประณีต ในทุกเรื่องเป็นวัฒนธรรมที่งดงามเป็นธรรมชาติ สิ่งที่ประทับใจมากคือผลผลิตจากไร่นาไม่ว่าจะเป็นเกษตรที่ไหน มีมาตรฐานสูงเป็นธรรมชาติ ไม่จำเป็นต้องมีตรารับรองมาตรฐาน ที่ออกโดยหน่วยงาน....เหมือนประเทศไทย

เกษตรกรญี่ปุ่นให้ความเห็นว่า อะไรที่ต้องผ่านมาตรฐานแสดงว่าไม่มีมาตรฐานจึงต้องออกระเบียบและ กฏเกณฑ์ตรวจสอบคุณภาพผลผลิต ต้องผ่านมาตรฐานขั้นต่ำจึงได้รับตราแสดงมาตรฐาน

สำหรับผลผลิตการเกษตรของญี่ปุ่น เกษตรกรคือยี่ห้อประกันคุณภาพค่ะ ประเทศญี่ปุ่นเขาสร้างประชากรที่มีคุณภาพเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าภาคส่วนไหนส่วนใหญ่มาตรฐานสูงค่ะ

สำหรับประเทศไทย เราก็เริ่มทำกันบ้างแล้ว เกษตรกรรวมกลุ่มกันช่วยกันยกระดับการทำการเกษตรคุณภาพ ด้วยการทำเกษตรประณีตค่ะ ค่อยๆเป็นค่อยๆไป แต่ต้องใส่ใจทุกขั้นตอน แล้วสร้างเยาวชนรุ่นใหม่มารองรับจึงจะยั่งยืน

ญี่ปุ่นเป็นประเทศสังคมผู้สูงอายุ ซึ่งมีความพร้อมด้านเทคโนโลยี เครื่องมือช่วยทุ่นแรง สนับสนุนการทำงานในไร่ในนา ในสวน ทำให้เกษตรกรสามารถติดต่อตรงกับบริษัทโดยตรงไม่ต้องผ่านคนกลาง อีกอย่างคือลูกค้าประจำในท้องถิ่นที่ต้องการผลผลิต  จึงผลิตแค่พอเพียงความต้องการ ทำให้ชีวิตไม่ต้องมุ่งผลิตเกินกำลัง สุขภาพกายและใจจึงดีเป็นสุข มีมาตรฐานชีวิตสูงค่ะ

ขอบคุณคุณยายนะครับ ที่แวะมาชม ดอกไม้มันใหญ่เต็มจอขอเอาออกนะครับ

Ico48สวัสดีค่ะคุณต้นกล้า

  • ขอยกนิ้วให้กับบันทึกนี้ "เยี่ยม" มากๆ

Ico48 ขอบคุณอาม่า ที่ร่วมแลกเปลี่ยนครับ

คนญี่ปุ่นมีคุณภาพ ผลิตสินค้าคุณภาพ ด้วยความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค สิ่งแวดล้อม

อย่างอาม่าว่าไว้จริงๆ ครับ ->เป็นตัวอย่างที่น่าศึกษาและยึดถือเป็นแบบอย่างที่ดี

ตอนนี้ผมกำลังหาแนวร่วมเกษตรกรรุ่นใหม่อายุไม่เกิน 35 ปี ที่มีพลัง ในการเปลี่ยนเเปลง

เป็นตัวอย่างกับคนรุ่นใหม่ๆ ครับ อย่างน้อง ตั้มคนนี้ครับ

http://gotoknow.org/blog/supersup300/424672

และอีกหลายๆคนที่จะตามมาครับ

 

ตามไปอ่านแล้วค่ะ ขอบคุณมากค่ะน้องต้นกล้ามากค่ะ  สุดยอดคนหนุ่มพุ่งแรง ต้องถือว่าเป็นวีระบุรุษทุ่งรวงทองของอาม่าเลยค่ะ ขอชื่นชมจนออกนอกหน้าค่ะ คนหนุ่มที่น่านับถือจริงๆ อนาคตต้องเจริญรุ่งเรืองแน่นอนค่ะ

Ico48 จะนำความคืบหน้ามาเล่าสู่กันฟังต่อไปครับ

อยากชวน พี่น้องชาว GTK มาทำนาด้วยกันครับ คนกินข้าว ด้วยกันทั้งนั้น

เอาแบบว่า ให้มันรู้ไปเลยว่า พวกเรากินข้าวได้ ปลูกข้าวเป็น ...ส่งเสริมการเกษตรแบบที่เป็นจริง ไม่ใช่แค่ควรจะเป็น ...ครับ

สวัสดีค่ะน้องต้นกล้า

  • สุดยอดบันทึก สุดยอดความรู้จริง ๆ ค่ะ
  • ชื่นชม ความเป็นน้องต้นกล้า คนหนุ่มไฟแรง  ชอบชื่อนี้จัง "วีระบุรุษทุ่งรวงทอง"
  • ขอส่งกำลังใจให้ชาวญี่ปุ่นด้วยเช่นกันค่ะ
  • ถึงแม้เค้าจะประสบกับความยุ่งยาก แต่ก็ดูไม่วุ่นวายเลยนะคะ น่าชื่นชมจริง ๆ
  • ทำอย่างไรเราจะปลูกฝัง เด็ก ๆ ของเราให้มีระเบียบวินัยเพื่อจะได้เป็นผู้ใหญ่ที่มีระเบียบวินัยอย่างเขาได้บ้างนะ
  • ขอบคุณน้องต้นกล้ามากค่ะ สำหรับความรู้ ประสบการณ์ที่นำมาแบ่งปัน ขอบคุณความคิดเห็นของคุณIco48 ด้วยค่ะ

เคยมีข่าวว่าญี่ปุ่นเอาข้าวหอมมะลิไปปลูกที่เมืองเขา...

พยายามใช้ hi-tech พัฒนารวมทั้งดัดแปลงพันธุ์ เพื่อจะให้เป็นพันธุ์ของตัวเอง

จนคนไทยหลายคนออกมาประท้วง ลุกลามไปถึงบอยคอตสินค้าญี่ปุ่น...

 

เรื่องนี้นานมากแล้ว...ลืมมันเสียเถิด (หากผมจำผิดขออภัย)

เมื่อขั้นตอนทุกอย่างในการผลิตเกิดจากความดูแลเอาใจใส่ให้ได้มาตรฐาน

คุณค่าและผลผลิตที่ได้ออกมาจึงมีคุณภาพ....น่าเชื่อถือ

ความพอใจและพอเพียงในสิ่งที่ทำน่าจะเอามาเป็นแบบอย่างในบ้านเราตั้งนานแล้ว

เพียงแค่คิดก็เกิดความหวังค่ะ...

แวะมาอ่าน และเก็บเกี่ยวความรู้จากประสบการณ์ด้วยคนครับ และขอเเสดงความเสียใจต่อชาวญี่ปุ่นมา ณ ที่นี้  และผมเชื่อว่าผ่านวิกฤติครั้งนี้แล้ว ชาวญี่ปุ่นจะแกร่งขึ้นดังเดิม

Ico48 สวัสดีพี่อิงจันทร์ครับ

มันเป็นจังหวะและโอกาสที่เราได้รับ

1.ผมเกิดเป็นลูกเกษตรกร  มีพื้นฐานที่ดีพอควร

2.จบเศรษฐศาสตร์ มาทำงานสายเกษตร เครื่องจักรกลการเกษตร

3.มีโอกาสศึกษาดูงานต่างประเทศ ด้านเกษตร

4.มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จากสื่อริมคันนา(คำบอกเล่าประสบการณ์จากเกษตรกร) และสื่อต่างประเทศ และผู้มีประสบการณ์

5."ลงมือทำเอง ทดลองเอง ค้นคว้าเอง ล้มเหลวเอง" ทำให้รู้ว่า เรื่องเกษตร นอกจากต้องเก่ง แล้ว ต้องมีดวงด้วย(เก่ง+เฮง) ครับ

ขอบคุณสำหรับกำลังที่มีให้เสมอมาครับ

Ico48 สวัสดีคุณเปลวเทียนครับ

ข่าวนี้สงสัยผมจะไม่ทันติดตามครับ

แต่ที่ญี่ปุ่น ก็มี Super premium ข้าวพันธุ์ โคชิฮิคาริ ครับ พันธุ์นี้ขึ้นชื่อว่าเป็นสุดยอดของเค้าครับ ไว้จะนำมาลงในบันทึกให้ทราบกันครับ

Ico48 เมื่อผลิตอย่างคนมีคุณธรรม สินค้าก็ออกมาเป็นสินค้าคุณภาพ ครับ

อย่างอาม่าว่าไว้ ที่ต้องหามาตรฐานมารับรองเป็นแค่มาตรฐานขั้นต่ำ ครับ

Ico48 ขอบคุณครับที่เข้ามาร่วมอ่านประสบการณ์จากบันทึกนี้

ด้วยความมุ่งมั่น และความมีวินัย เค้าต้องกลับมาครับ

ชื่นชมและประทับใจบันทึกนี้มากๆค่ะ..ความมุ่งมั่น ตั้งใจจริง เพื่อพัฒนางานเกษตรที่สมควรเป็นแบบอย่าง..ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันค่ะ..

..เป็นห่วงแต่วิกฤตทางธรรมชาติและผลกระทบจากกัมมันตภาพรังสี..จะชะลอความก้าวหน้าลงหลายช่วง..ขอให้กำลังใจค่ะ..

                            

Ico48 ขอบคุณพี่ใหญ่ที่กรุณามาชมบันทึกของคนตัวเล็กๆ ครับ

"..เป็นห่วงแต่วิกฤตทางธรรมชาติและผลกระทบจากกัมมันตภาพรังสี..จะชะลอความก้าวหน้าลงหลายช่วง..ขอให้กำลังใจค่ะ.."

->มีโอกาสปนเปื้อน ถือเป็นวิกฤติด้านอาหารและการเกษตรของญี่ปุ่นครับ

มองอีกด้านหนึ่งเป็นโอกาสสำหรับ ภาคเกษตรและอาหารเเปรรูปส่งออกของไทย ครับ ที่ต้องไม่มีสารเคมีตกค้างในผลผลิต ด้วยเช่นกันนะครับ "ค้าแบบมีคุณธรรมด้วยเช่นกัน"

  • สวัสดีครับ
  • ญี่ปุ่นวางระบบต่าง ๆ ได้ดีมากเลยนะครับ
  • คนไทยก็วางได้ดีไ่ม่แพ้กัน แต่จะแพ้กันก็ตรงที่เผาฟางหลังจากที่เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วทันที เพื่อที่จะทำนาใหม่อีกรอบโดยไม่นำฟางมาใช้ประโยชน์ต่อเหมือนสมัยก่อน
  • ญี่ปุ่นเขาสอนตั้งแต่ความมีจิตสำนึกในการห่วงแหนธรรมชาติและเห็นใจธรรมชาติ  แต่ของเราเร่งเอาแต่ผลผลิตเป็นหลัก เร่งเอาเสียจนลืมการดูแลธรรมชาติเลยทีเดียว
  • ขอบพระคุณสำหรับความรู้ดี ๆมีประโยชน์ครับ

Ico48 สวัสดีครับน้องวศิน

เรื่องฟางข้าวเคยเขียนไว้ที่ http://gotoknow.org/blog/supersup300/408749

อยู่ที่ทัศนคติ ของชาวนาที่มีต่อฟางข้าว ครับ

ขอบคุณน้องที่ไปชวนมาอ่าน

ข้าวญี่ปุ่นอร่อยมากค่ะ  ไม่ว่าจะกินร้านริมถนน ในภัตตาคาร หรือในร้านหรูบนเขา

คนญี่ปุ่นละเอียดละออ ใส่ใจทุกเรื่องไม่ว่าจะเล็กน้อยแค่ไหน  ผลผลิต ผลงานจึงดี

พี่กำลังตั้งคำถาม และค้นหาคำตอบว่า "เขาพัฒนนาคนของเขาอย่างไร"

พี่เคยเป็นคนไทยรุ่น "ต่อต้านสินค้าญี่ปุ่น" ก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลา  แต่วันนี้ความคิดเปลี่ยนไปค่ะ

หลังจากที่ได้ท่องเที่ยวพบเจอคนมาหลากหลายประเทศ  พี่กำลังคิดว่า  คนญี่ปุ่นอารยะมากกว่าชาติใดในโลก  ใครได้สัมผัสจะประทับใจและทึ่ง

Ico48 ขอบคุณ พี่ที่มาเยี่ยมชมบันทึกครับ

ในมุมมองผม ธรรมชาติ (ไม่มีทรัพยากรที่สมบูรณ์) เป็นตัวบังคับให้คนญี่ปุ่น ต้องมีความมุ่งมั่นไม่ยอมแพ้ มีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบ ในความไม่พร้อม ทำให้ต้องพัฒนาตัวเองอยู่เสมอครับ 

อย่างเช่น มูซาชิ >>>

 “ความสามารถที่จะรบชนะ” นี้แหละคือบทเรียนที่มีความหมายที่สุด ที่คนรุ่นหลังสามารถเรียนรู้จากมูซาชิได้ ไม่ว่าคนๆ นั้นต้องการจะ “ชนะ” อะไรก็ตาม แต่ที่แน่ๆ ก็คือ  “ความสามารถที่จะรบชนะ” นั้นมิได้ได้มาเพราะโชคช่วย

แนวทางชีวิตที่เขาบัญญัติไว้ 19 ประการ ชื่อ วิถีชีวิตที่เด็ดเดี่ยวแม้โดดเดี่ยว ในข้อ 18 ของเขากล่าวไว้ว่า “จงเคารพบูชาพระเจ้า สิ่งศักดิ์สิทธิ์แต่จงอย่าขอร้องอ้อนวอนให้ท่านช่วย”..  

"บทสรุปส่วนหนึ่งจากหนังสือ มูซาชิ ฉบับท่าพระจันทร์"

 

-สวัสดีครับ....

-แวะมาดูตัวอย่างการเกษตรที่ญี่ปุ่น ครับ...

-ผมชอบการเกษตรแบบญี่ปุ่น ที่สำคัญ ชอบ "โรงสีหยอดเหรียญ" ครับ

-หากบ้านเรามีโรงสีชุมชน ครับ..เก็บภาพมาฝาก 55

Ico48 สวัสดีครับพี่เพชร

เป็นโครงการที่ดีครับ โรงสีข้าวชุมชน ทำให้ได้ของดี อยู่ที่หมู่บ้าน ได้ทั้ง ปลายข้าว รำ แกลบ สามารถนำมาหมุนเวียนเป็นอาหารสัตว์ และพลังงานภายในชุมชนครับ

ขอบคุณนะครับ

สวัสดีครับอาจารย์ ต้นกล้า แวะมาบอกว่า เข้าเป็นสมาชิกถอดบทเรียนกลุ่มไว้แล้ว

อยากชวนทางเกษตรเพชร เกษตร มะเดื่อ มารวมวงไพบูลย์ด้วย ช่วยกัน"ลงแขกความคิด"ทางนี้

ประเทศไทยกว่าจะถึงวันนั้นคงอีกนาน....

Ico48 ยินดีมากครับ พี่วอญ่า ที่ตั้งใจมาร่วม ลงแขกความคิด

จะแวะเวียนไปเรียนเชิญเป็นทางการอีกครั้งครับ

Ico48 ตอนนี้ก็มีตัวอย่าง หลายๆกลุ่ม ที่เห็นเป็นรูปธรรม ครับ

ทั้งกลุ่มเมล็ดพันธุ์ และข้าวปลอดสารครับ จะนำมาลงในบันทึกต่อไปครับ

ขอบคุณครับ

ร่วมด้วย ช่วยกัน คุณต้นกล้าเขียนได้มีพลังมากค่ะ ดีใจที่จะได้มีโอกาสร่วมงานกันในอนาคตอันใกล้นี้นะคะ

ขอบคุณพี่นุช ครับ

"นาธรรมบ้านเเพรก" ต้องดูช่วงการเกี่ยวและความเข้าใจของเจ้าของเเปลงนารอบพื้นที่ อีกทีนะครับ

ได้เบอร์ติดต่อมาแล้ว

ขอบคุณมากครับ

สวัสดีค่ะคุณต้นกล้า

เป็นชาวนาวันหยุดเช่นกันค่ะ

แวะเข้ามาอ่านได้ประโยชน์มากเลยค่ะ

เรื่องชาวนาญี่ปุ่นทำเกษตรแบบประณีตนี่ชื่นชมจริงๆค่ะ

เคยได้อ่านการใช้ฟางกลบในนาไม่ไถพรวนและใช้วิธีการหว่านซึ่งุณคำเดื่องได้เอามาใช้และได้ผล

แต่ของพี่หว่านเฉยๆไม่มีฟางกลบเลยมีหญ้าขึ้นเต็มไปหมดผลผลิตจึงได้ครึ่งหนึ่งเลยมาดำในปีต่อมาแต่หญ้าก็ยังมีอยู่

ได้มาอ่นบทความของคุณจึงมีหวังว่าจะจัดการหญ้าอย่างไร

เครื่องพรวนหญ้า(weeding)นั้นคุณต้นกล้าได้จำหน่ายไหมคะ

อยู่ที่มุกดาหารจะซื้อได้ที่ไหน

ปีนี้จะลองทำนาแบบบังคับข้าวลองดูซักแปลงค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ พี่สุพัตรา

ยินดีที่ได้รู้จักนะครับ และขอเป็นกำลังใจในการทำการเกษตร ...

จากที่ได้คลุกคลี กับเกษตรกร ข้อสรุปของเรื่องนี้ คือ ต้อง "เก่ง"(มีความรู้ การวางเเผน และการจัดการที่ดี) + "เฮง" (มีดวงหรือโชคช่วยด้วย กรณีของฝนฟ้า และภัยธรรมชาติควบคุมไม่ได้ )

เรื่องหญ้าในนาไม่เกินความสามารถครับ ตัวนี้ไม่ได้จำหน่าย ครับ ลองเอาแบบไปทำดูนะครับ

ขอบคุณมากครับ

ตอนนี้ใกล้เลือกตั้งแล้ว..ผมไม่เห็นนโยบายพรรคไหนจะยกระดับชาวนาไทยเลยทั้งระดับการผลิตไปถึงคุณภาพชีวิต..มีแต่หว่านเงินกันเกวียนละเท่านี้บาทเท่านั้นบาท ระบบก็ยังเหมือนเดิม ต้องส่งไอ้พวกนี้ไปศึกษาการทำนาที่ญี่ปุ่น แล้วกลับมาวางรากฐานประเทศกันใหม่

ตอบคุณยอดยิ่ง

ตอนนี้ไม่รอ คนใส่สูทในสภา แล้วครับ เสียเวลา มานานเกินพอแล้ว

อะไรที่เราคิดว่าเป็นประโยชน์กับตนเอง ทำแล้วช่วยลดต้นทุนการผลิตได้

ก็ทำก่อน ราคาพร้อมสู้กับตลาดเสรีครับ เพราะสามารถกำหนดต้นทุนการผลิตเองได้

ยอดเยี่ยมๆ มากครับ ได้ความรู้เยอะมากๆ

ขอบคุณที่แบ่งปันครับ

ปล ตอนนี้เพิ่งเริ่มศึกษาการทำนาแบบปราณีตSRI แต่ยังไม่ได้เริ่มลงมือปฎิบัติ กะไว้ว่าจะเริ่มต้นปีหน้าครับ มาเก็บข้อมูลก่อนครับ

ตอบคุณ noi 

ยินดีครับที่ได้เเบ่งปันความรู้ที่เป็นประโยชน์ 

สุดท้ายก็อยู่ที่ว่า "รู้แล้วทำ ทำแล้วแบ่ง หรือไม่ "

เดี๋ยวนี้เกษตรกรทำนาปีละ 2 วันครับ

ทำงานเป็นวิศวกรที่กรุงเทพ แต่สนใจเรื่องการพัฒนาการเกษตร คือประเทศที่มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์ด้านการเกษตรที่สุดในโลก แต่กลับไม่ลงทุนพัฒนาให้เป็นเลิศได้ มันน่าเสียดายนัก คิดว่ารัฐต้องลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านชลประทานระบบป้องกันอุทกภัยให้กับพื้นที่เกษตร เพื่อลดความเสี่ยงที่เกษตรกรต้องได้รับ สนับสนุนวิจัยและทุนให้กับคนที่เรียนเกษตร พ่วงสิทธิการบรรจุเป็นครูในพื้นที่ เพราะจะได้นำความรู้เกษตรถ่ายทอดให้คนรุ่นหลังที่เป็นคนในพื้นที่ได้ง่าย และเสริมจิตวิญญาณเกษตรกร

ชาวนาไทยควรทำการตลาดเองบ้าง       ผลิตสินค้าตามตลาดต้องการ

สนใจมากครับ เพิ่งเข้ามาเจอ กำลังทำนาวันหยุดครับ


ชอบบทความนี้มากเลยค่ะ

ขออนุญาตแชร์ใน facebook นะคะ

สนใจมากครับ เพิ่งเข้ามาเจอ กำลังมองหาแนวทางพัฒนานาที่ทำอยู่รับ.....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท