มหกรรม ขยะ มาแล้วจ้า!


อ่านเรื่องน้าอึ่งอ๊อบ แซ่เฮ เขียนเรื่องมาตรฐาน5ส ของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “มองรอบ ๆ โต๊ะตัวเอง ทำไมมันรกรุงรังไปด้วยเอกสาร วัสดุ อุปกรณ์มากมายอย่างนี้  อยากจัด  จัดเมื่อไรได้วันสองวันก็เหมือนเดิม ทำไมหนอเราช่างไร้ระเบียบเสียนี่กระไร  นี่ก็ใกล้เวลาจะประกวด5ส แล้ว(ก๊ากส์) โต๊ะก็ยังรก (แต่น้อยกว่าเดิม)  อึมลองกลับไปดูมาตรฐาน  5   ของคณะฯ สิว่าเค้ากำหนดอย่างไรบ้าง  แล้วจะลองมาเทียบว่า  "เรา"  ทำได้เท่าไร  อิอิ”

เรื่องนี้ตรงกันโดยมิได้นัดหมาย มีคนชวนไปเปิดการสัมนาทบทวนและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การจัดการขยะ มีวัตถุประสงค์เพื่อขยับยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการจัดการขยะของหน่วยงานต่างๆ ในประเทศไทย โดยเน้นทบทวนความร่วมมือหลายฝ่ายทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น (รวมถึงชุมชน) ในการนี้ทางโครงการฯ จะได้จัดสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากหลายภาคส่วน โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในวันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ 2551  โรงแรมตักสิลา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

เขาเชิญผิดคนอีกแล้ว ถ้าอยู่ใกล้ก็จะให้ท่านชอบวิ่ง กับคุณน้าแซ่เฮ นี่แหละขึ้นเวที มันน่าจะเข้าเค้าหน่อย เรื่องขยะกับผมสะสางมาตลอดแต่ไม่สำเร็จ ทั้งขยะในใจ ขยะในบ้าน ขยะในชุมชน และขยะในสังคมทั่วไป

เรื่องของขยะ เรามีมุมมองกันอย่างไรครับ ตีความว่าอย่างไร ใครก่อ ใครใช้ ใครจำกัด อ.แป๋วมั๊งเล่าเรื่องขยะที่ญี่ปุ่น ..นักเรียนไทยไม่ยอมปฏิบัติตามระเบียบ  เทศบาลยุ่นปี่แกล้งไม่มาเก็บขยะ แค่นี้ก็ป่วนโลกแทบแตก เพราะต้องมาช่วยกันแยกแยะขยะเน่าให้เข้าถูกถังถูกประเภท แสดงว่าระบบระเบียบทางขยะก็สำคัญ  มันเป็นตัวบ่งชี้วินัยทางสังคม

คนมีวิชาความรู้ จะมองเห็นขยะเป็นขุมทรัพย์ ปัจจุบันมีการค้นคว้านวัตกรรมใหม่ๆ แม้แต่พลาสติกก็มีสูตรผสมให้ย่อยสลายเร็วขึ้น ช่วยกันคิดเรื่องวิธีการนำมาใช้ใหม่ หรือแปรไปเป็นประโยชน์ด้านอื่น อ่านพบข่าวมีคนคิดเอากระดาษมาสกัดเป็นเชื้อเพลิงได้ นี่แหละหนาความเจริญ จากที่ใช้ตะกร้า กระบุง กระจาด ใส่ของ ใช้ใบกุงใบตองกล้วยห่อของกิน สมัยนี้หันมาใช้พาลสติก มันก็เลยป่วนไปหมด แม้แต่ท่านนายกก็ยังโดนคดีจ้างขนขยะหลายพันล้านบาท คดีขยะก็ยังยุ่งใช่ไหมละครับ

อาจารย์นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ แห่งมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เล่าว่า..ก่อนที่วัฒนธรรมสาธารณสุขจะกลายเป็นมาตรฐาน”สากล” คนทั้งโลกปฏิบัติต่อการขี้ไม่ต่างกับการกิน  คืออิงแอบอยู่กับธรรมชาติ  หากอยู่บกก็ “ไปทุ่ง” เข้าป่าเข้าพง หรือเข้าลานสำหรับขี้ (ในหมู่บ้านอินเดีย) หากใกล้แม่น้ำ ก็”หย่อนลงน้ำ”การนำเอากากอาหารคืนให้แก่โลกนั้น เป็นการพยุงชีวิตสัตว์อื่นไปพร้อมกับทำนุบำรุงความอุดมสมบูรณ์ของโลก  อย่านึกว่าน้อยนะครับ  เฉพาะในย่านเอเซียตะวันออก จากอินเดียถึงญี่ปุ่น วันหนึ่งคนจะคายกากอาหารคืนโลกเท่าไหร่ สมมติว่า คนหนึ่งถ่ายได้วันละ  750 กรัม วันหนึ่งบรรพบุรุษบำรุงโลกเข้าไป 50,250 ตัน หรือปีกว่า 185 ล้านตัน

สุดท้ายเรื่องอะไรๆก็หนีไม่พ้นความพอเพียง ใช้น้อยลง กินน้อยลง จะไปรบกวนทรัพยากรโลกได้น้อยลง  ชีวิตที่อิงกับธรรมชาติมีผลกระทบทางจิตวิญญาณของคนด้วย เพราะมองเห็นคุณค่าของของตัวเพียงกินและขี้ คงจะลดความโลภ ความโกรธ ความหลง ไปได้ไม่น้อย 

หมายเลขบันทึก: 163838เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2008 07:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 15:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (28)

ท่านครูบาคะ

เอา หัดแยกขยะเพื่อมูลค่าเพิ่ม มาฝากค่ะ...วินัยเริ่มจากคนทิ้ง..ผสานกับความเข้าใจระหว่างนักวิชาการและการอยู่รอดในเรื่องของขยะ....พูดให้เป็นเรื่องเดียวกันและทำในเรื่องเดียวกัน...ขยะก็ไม่น่ารังเกียจอีกต่อไปค่ะ....

ว่าแต่ว่า เมื่อไหร่คนรณรงค์เรื่องแยกขยะถึงจะเข้าใจเรื่องการตลาดไปด้วย ...ง่ายๆแค่คำว่าขยะแห้ง ขยะเปียกของคนทิ้ง คนซื้อขยะ กับนักวิชาการ...ในความเป็นจริงของชีวิตประจำวันนั้นความหมายก็ต่างกันแล้วค่ะ..ถ้าทุกๆคนได้ลองงมแยกขยะและขายเองดูสักครั้งสองครั้ง....ก็ไม่ต้องเสียเงินสัมมนาหลายรอบค่ะ....ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณ อาจารย์ เรื่องขยะแขยง จะจัดประชุมใหญ่ที่ กทม.วันที่ 27 ต้องการความเห็น แง่มุม ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมครับ โดยเฉพาะมุมมองเรื่องขยะของแต่ละภาคส่วน
P ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
 

ขออนุญาต อาจารย์เอาความรู้มาขยายต่อนะครับ  

เศรษฐศาสตร์ซาเล้ง * ราคาของรีไซเคิล *

 

ที่บ้านผม มีซาเล้งเจ้าประจำครับ ชื่อ คุณลุงสมเกียรติ และป้าตุ๊ก

คุณลุงให้เบอร์มือถือไว้ด้วย เผื่อมีของอยากรีไซเคิล

 

นี่ภาพป้าตุ๊กกำลังคำนวณราคาของครับ

ส่วนนี่ก็พาหนะคู่ใจ พร้อมสินค้าในวันที่มาครั้งล่าสุด (อาทิตย์ 16 ธันวาคม 2550)

หลังจากคำนวณเสร็จแล้ว ผมก็ขอความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับราคาของสินค้าซะหน่อย

เลยมาบันทึกไว้ตรงนี้ เพราะเป็นเศรษฐศาสตร์แบบติดดินที่ใกล้ตัวจริงๆ ครับ


พลาสติกใส (เช่น ขวด PET) : 10 บาท / kg

พลาสติก "กรอบ" (เช่น ถ้วยโยเกิร์ต) : 2 บาท / kg

พลาสติกอื่นๆ  : 5 บาท / kg

เก้าอี้เหล็ก : 5 บาท / kg

กระป๋องเหล็กเคลือบดีบุก : 0.5 บาท / kg

มุ้งลวดอะลูมิเนียม : 10 บาท / kg

กระดาษหนังสือพิมพ์ : 4 บาท / kg 

กระดาษลูกฟูก : 4 บาท / kg

หนังสือโดนปลวกแทะ (โฮ) : 1.50 บาท / kg

และที่น่ารู้ไว้

กระป๋องอะลูมิเนียม : 0.50 บาท / กระป๋อง (ไม่ใช่ต่อกิโลกรัม!)

 

เมื่อรับของไปแล้ว คุณลุงบอกว่าจะเลือกที่ไปขายต่อ

เพราะโรงงานแต่ละที่ให้ราคาไม่เท่ากัน!

P จันทรรัตน์
ส่วนใหญ่ผู้หญิงมักจะดูแลตัวเอง แถมยังเป็นนักจัดการสุขภาพที่ดีเยี่ยมของครอบครัวและคนที่เธอรัก แต่ผู้หญิงกลับเป็นเพศที่มีปัญหาโรคเรื้อรังมากกว่าและใช้ชีวิตในบั้นปลายตามลำพังมากกว่าผู้ชาย บันทึกในบล็อกนี้จึงอยากร่วมแลกเปลี่ยนความเห็น...เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้หญิงและของทุกๆคนค่ะ

หัดแยกขยะเพื่อมูลค่าเพิ่ม

การใส่ใจรายละเอียดและพยายามแยกจะทำให้ขายขยะได้ราคามากขึ้น

  ขณะที่โลกร้อนขึ้นเรื่อยๆ  การรณรงค์ให้เก็บแยกขยะ ..ขยะแห้ง ขยะเปียก ก็ต้องเอาจริงเอาจังล่ะค่ะ

ถ้าอยู่บ้านที่มีบริเวณการกลบฝังขยะเปียก การวางถังขยะทำเป็นปุ๋ยหมัก เป็นเรื่องจิ๊บจ๊อยค่ะ

แต่คนอยู่แฟลตหรือหอพัก บ้านเช่า คอนโดฯลฯ นี่ซิ...ถ้าอาคารมีนโยบายแยกขยะ มีถังสีต่างๆมาวางมันก็ง่ายนิดเดียว....จริงไหมคะ...

แต่ถึงอย่างนั้นเถอะโครงการรณรงค์แยกขยะก็ยังเป็นโปรเจคที่ต้องอาศัยความเข้มแข็งและเข้าใจจริงๆ ของคนทิ้งขยะ ไม่อย่างนั้นก็จะพบว่ามีกระป๋องพลาสติกเปียกปนกับกระดาษทิชชูใช้แล้ว หรือบางทีถุงหิ้วใส่อาหารก็ปนลงในถังทิ้งเศษอาหาร...เวลาขายจะเสียเวลาและได้เงินน้อยกว่าที่ควรจะได้ แถมบางครั้งคนรับซื้อไม่รับซะดื้อๆ

ที่จริงแล้วถ้ารู้การแยกขยะดีๆ ขยะตามบ้านหรือตามอาคารทำการก็ขายได้เงินอยู่ไม่น้อยค่ะ

ทีนี้การเรียกขยะระหว่างคนรับซื้อกับหน่วยรณรงค์มักไม่ค่อยตรงกัน....ในฐานะที่เป็นคนแยกขยะของที่บ้านและเก็บขาย...ก็ทำให้ทราบว่าเวลาพูดถึงขยะ....คนรับซื้อจะเรียกว่าขยะขายได้เงิน กับขยะขายไม่ได้ มากกว่าจะพูดว่าขยะแห้งขยะเปียก....ชัดเจนไปเลยค่ะ....ดีกว่าคำว่าเปียกหรือแห้ง...ก็เพราะว่าบางทีขวดน้ำก็เปียกอยู่ไงคะ

เฉพาะขยะตามบ้านและอาคารทำการนะคะ....ขยะขายได้....ก็คือบรรดาขวดน้ำพาสติกใส ขุ่น ขวดแก้ว กระป๋องต่างๆ กระดาษทุกอย่าง เศษเหล็กฯลฯ ส่วนขยะขายไม่ได้(หรืออาจจะขายได้แต่คนรับซื้อไม่ค่อยรับ) ก็คือถุงหูหิ้ว ถุงพลาสติกใส่ในอาหาร เศษโฟม

ราคาของขยะขายได้ มีความแตกต่างกันค่ะ เป็นรายละเอียดที่ควรรู้เพื่อเพิ่มมูลค่าขยะของเรา..คือ ราคากระป๋องเบียร์และน้ำอัดลมจะสูงนับใบขายประมาณใบละ 50 สตางค์ ส่วนกระป๋องอื่นๆ เช่นปลากระป๋องจะถูกกว่าคิดเป็นกิโล ถ้าเอาไปปนกันคนซื้อมักจะชั่งขายและคิดราคาถูกค่ะ

ราคาขวดใส่น้ำ ถ้าเป็นขวดใสจะราคาสูงกว่าขวดขุ่นหรือกระป๋องแตก (ขวดใสกิโลละ 12-15 บาท ขวดขุ่นกิโลละ 3-4 บาท)

ราคากระดาษแข็งเช่นกล่อง ลัง จะสูงกว่ากระดาษขาวและหนังสือพิมพ์ (กระดาษแข็งกิโลละ 4 บาท เศษกระดาษกิโลละ 2 บาท)

ราคาขวดน้ำปลาใสจะสูงกว่าขวดเบียร์ ขวดซีอิ้วหรือขวดกระทิงแดง (ขวดน้ำปลากิโลละ 1 บาท ขวดซีอิ้วกิโลละ 10 สตางค์ค่ะ)

การที่บอกว่าราคาไหนสูงกว่าก็เพราะว่าถ้าไม่แยกให้ดี เวลาพ่อค้ามาซื้อเขาจะชั่งเหมาและคิดในราคาของสินค้าที่ต่ำกว่า

จากประสบการณ์ที่ผ่านมาพบว่า ถ้ารู้จักแยกขยะขายได้ ออกจากขยะขายไมได้ และแยกประเภทตามที่เขียนข้างบนให้ดีพ่อค้าจะชอบค่ะเพราะว่าเขาไม่ต้องเสียเวลาไปแยกอีก และเขาก็จะให้ราคาที่ดีด้วย

การใส่ใจรายละเอียดและพยายามแยกจะทำให้ขายขยะได้ราคามากขึ้น

เรื่องขยะถ้าคิดจะแยกขอให้นึกถึงตอนขายด้วยก็ดีค่ะ...ขายได้ราคาพ่อค้าชอบใจวันหลังเขาก็กลับมาซื้ออีก แยกไม่ดีปนปลอมให้เขาไปเช่นหลุดขวดขุ่นในถุงขวดใส วันหลังเขาก็ไม่เชื่อถือ หรือไม่มาซื้อต้องตะลอนไปหาที่ซื้อเสียค่าน้ำมันรถไม่คุ้มค่าค่ะ

เรื่องขยะ..ช่วยกันทำ ช่วยกันแยก ช่วยเรื่องโลกร้อนได้ด้วยตัวเราเองค่ะ

คุณๆ ละคะ กำจัดขยะกันวิธีไหนบ้าง มีประสบการณ์เก็บขยะในบ้านหรือหน่วยงานขายบ้างไหมคะ

ข้อมูลจาก เจ้าพ่อขยะ

P คนชอบวิ่ง
เทศบาลนครพิษณุโลก
 
หลักสูตรการจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชน CBM ( 2 )
เนื้อหาของหลักสูตรก็จะไม่เน้นองค์ความรู้ที่เป็นความรู้ทางด้านเทคนิคการจัดการขยะมูลฝอย แต่จะเน้นเรื่องสิ่งที่ประชาชนควรรู้และปฏิบัติ จริงๆต้องใช้คำว่าต้องรู้และต้องปฏิบัติ วิธีการอบรมก็จะเน้นการมีส่วนร่วมของผู้เข้ารับการอบรมเป็นสำคัญ และเรียนรู้ร่วมกันอย่างสนุกสนานและมีความสุข
หลักสูตรการจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชน CBM ( 2 ) 

        เนื้อหาของหลักสูตรก็จะไม่เน้นองค์ความรู้ที่เป็นความรู้ทางด้านเทคนิคการจัดการขยะมูลฝอย  เช่นรายละเอียดเรื่องการสร้างบ่อฝังกลบขยะแบบถูกหลักสุขาภิบาล   เตาเผาขยะ  การกำจัดขยะติดเชื้อ ขยะอันตราย  วิธีการดำเนินงานฝังกลบขยะอย่างถูกหลักสุขาภิบาล  เทคนิคการบำบัดน้ำชะขยะ

         แต่จะเน้นเรื่องสิ่งที่ประชาชนควรรู้และปฏิบัติ  จริงๆต้องใช้คำว่าต้องรู้และต้องปฏิบัติ  ซึ่งประกอบด้วย

         1.    ของขายได้

         2.    การทำปุ๋ยหมัก

         3.    ถังขยะของตัวเอง

         4.    ถนนหรือชุมชนปลอดถัง

         5.    การลดความถี่ในการเก็บรวบรวมขยะ

         6.    การจ่ายค่าธรรมเนียมขยะมูลฝอย

 

 CBM   

                       

        วิธีการอบรมก็จะเน้นการมีส่วนร่วมของผู้เข้ารับการอบรมเป็นสำคัญ  มีการบรรยายน้อยมาก  วิทยากรจะบรรยายและเสริมเนื้อหาที่จำเป็นเท่านั้น  นอกนั้นจะเป็นการระดมสมองและเรียนรู้ร่วมกันอย่างสนุกสนานและมีความสุข

 

        ได้ทำการทดสอบหลักสูตร 2 ครั้ง ครั้งแรกปี พ.ศ. 2546 โดยเชิญเทศบาลใกล้เคียงที่สนใจเรื่องการจัดการขยะมูลฝอยมาเข้ารับการอบรม ( ทม.บางมูลนาก จ.พิจิตร  ทม.สุโขทัย  ทต.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย  ทม.ตาก  ทม.ชัยนาท  ทม.สวรรคโลก จ.สุโขทัย )

       ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2547  ทดสอบกับผู้บริหารและพนักงานของเทศบาลนครพิษณุโลก

      โดยมีข้อแม้ว่าเทศบาลที่จะเข้ารับการอบรมต้องเข้ารับการอบรมทั้ง 3 ระดับ  ถ้าระดับผู้บริหารไม่ให้ความสนใจ  ไม่ร่วมมือในการอบรม ทางโครงการก็ขอยกเลิกการอบรมระดับต่อไปของเทศบาลนั้นๆ  เพราะจัดไปก็ไม่มีประโยชน์ถ้าผู้บริหารไม่สนใจ  ไม่ให้ความสำคัญ

         ในการทดสอบฝึกอบรมทั้ง 2 ครั้ง  ก็ได้มีการปรับปรุงเนื้อหา  ตารางการอบรม  ขั้นตอนการอบรม  เอกสารต่างๆที่ใช้ในการอบรม  กิจกรรม  แบบฝึกหัด  ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น        

         ปัญหาต่อไปก็คือ  โครงการการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนเมือง เทศบาลเมืองพิษณุโลก ซึ่งเป็นโครงการที่เทศบาลนครพิษณุโลกได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานให้ความร่วมมือทางวิชาการของสหพันธรัฐเยอรมัน – GTZ  จะสิ้นสุดโครงการในเดือน กรกฎาคม 2550 นี้  ทำอย่างไร  จึงจะมีการใช้หลักสูตรนี้ขยายผลไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆต่อไป 

  • ปัญหาบ้านเราคือ
  • ไม่รู้จริง  อิอิ
  • รู้  แต่ไม่ทำ
  • รู้  ทำ  แต่ทำไม่ถูกวิธี  แถมไม่เอะใจ
  • ที่เจอบ่อยๆก็คือ  ไม่ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม  คิดแทนคนอื่น  ก็คงวนเวียนยังงี้อีกนาน อิอิ

ต้องจับพวกที่หมอว่า มาลงถังขยะ เสียละมั๊ง 

มนุษย์ ขยะ  อิอิ

  • มาดูขยะ
  • มาบอกว่า ป้าแดงคนสวยชื่อ รัชวรรณ พลศักดิ์
  • พี่หมูชื่อประภาวัลย์ พิณราช ครับ
  • ทุกครั้งที่เห็นเรื่องขยะทำไมชอบคิดถึงคุณหมอชอบวิ่งไม่ทราบ
  • สงสัยเป็นโลโก้ของคุณหมอ
  • อิอิอิอิ

ความจริงอีกอย่าง

ขยะเป็นเงินเป็นทอง

คนขายขยะรวยกี่รายใครรู้บ้าง

คนควบคุมเรื่องนโยบายขยะรวยกี่รายใครรู้บ้าง

คนที่ไปดูงานเมืองนอกเรื่องขยะมีความสุขสนุกสนาน(แต่ไม่กลับมาทำ)มีกี่รายใครรู้บ้าง

น่าจะเลิกเหอะ

มาทำคุณประโยชน์ให้กับสังคมร่วมกัน โดยอย่าเห็นประโยชน์ส่วนตัวเลยเน๊าะพ่อเน๊าะ

ถ้าเราแยกขยะ และมีวินัยแบบคนญี่ปุ่น โลกจของประเทศไทยคงจะน่าอยู่กว่านี้อีกเป็นแน่แท้

สรุป  มันต้องทำอย่างคบกระบวนการ ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชน  รวม 3 อย่างนี่เมื่อไร  รอไปอีกหายชาติ  (สบประมาทไว้ก่อน)


ถ้าจิตใจเป็นขยะ  อย่างอื่นไม่ต้องพูดถึง ยิ่งกว่าขยะเสียอีก

มีเยาวชนในโครงการเยาวชนไทยไม่ทอดทิ้งสังคม

ทำโครงการเรื่องการแยกขยะ

การทำธนาคารขยะ และจัดการขยะ

อยู่หลายโครงการ เด็กๆทำเองร่วมกับชุมชน

ใช้เงินพอเพียง ทำงานพอดี

เดี๋ยวผมจะหาข้อมูลมาใส่ไว้ให้ครับ 

ผมสนใจประสบการณ์ของอาจารย์แป๋ว ไม่แยกขยะ รถเทศบาลไม่มาเก็บขยะ เสร็จ เสร็จแน่ แค่นี้ก็เสร็จแน่ต้องทำ ไม่งั้นเน่าทั้งบ้าน น่าสนใจจะลองเสนอที่หมู่บ้านครับ

กระป๋องเบียร์{กระป๋องอะลูมิเนียม : 0.50 บาท / กระป๋อง (ไม่ใช่ต่อกิโลกรัม!)}

ผมเคยเห็นแคดดี้ในสนามกอล์ฟตามเก็บพวกนักกอล์ฟที่ตีกอล์ฟไปดื่มเบียร์ไป เมื่อดื่มหมดเธอก็เก็บเอาใส่ถุงพลาสติก เอาไปสะสมที่บ้าน บางทีเธอโมโหนาย ก็เอาเท้ากระทืบกระป๋องเบียร์เปล่าๆนั้นเสียแบนเลย แล้วก็เก็บใส่ถุงพลาสติกต่อ ลดพื้นที่การเก็บ..

P

 

จะมีการประชุมใหญ่เรื่องนี้ ที่ กทม.

วันที่ 27 จะให้เขาเชิญไปร่วมงานนะครับ

บางทีเธอโมโหนาย ก็เอาเท้ากระทืบกระป๋องเบียร์เปล่าๆนั้นเสียแบนเลย แล้วก็เก็บใส่ถุงพลาสติกต่อ ลดพื้นที่การเก็บ..

แหม วิธีกระทืบกระป๋องให้แบ๋นแต๊ดแต๋นี่ ถือเป็นนวัตกรรมไทยแท้ อิอิ

แต่ทำงัย ทำงัย ก้อกำจัดขยะความคิดถึงไม่ได้ซะที

สงสัยเป็นขยะดี ทีต้องเก็บไว้

ฝากพ่อครูเอาข้าราชการขยะไปทิ้งด้วยนะครับ แฮ่

สวัสดีค่ะ  พ่อครูบา  สุทธินันท์

  • รณรงค์ให้แม่ค้าในโรงเรียนใช้ใบตองห่อขนมไทยแทนถุงพลาสติก
  • ไม่ให้ขายขนมจำพวกมันฝรั่งทอด และ ขนมถุงที่ไม่มีประโยชน์  ฯ
  • ให้นักเรียนมีแก้วน้ำประจำตัวไว้ซื้อน้ำหวาน ใช้แล้วล้างให้สะอาด
  • นักเรียนมีวินัย  ไม่ทิ้งขยะในโรงเรียน เพราะ ไม่มีขยะให้ทิ้งค่ะ
P
วิธีการคุณครูเยี่ยมจริงๆ  โรงเรียนอะไร เอ่ย?
ขอปรบมือ ให้ 1.000,000 แป๊ะ
P
ของที่ท่านฝากทิ้ง เป็นของดีๆมีคุณค่าประเมินมิได้ทั้งนั้น
รักษาไว้เถอะครับ อย่างน้อยก็เป็นเพื่อนกันผีหลอก อิอิ
  • ตอนนี้ขยะที่รีไซเคิ่ลได้มีราคา ตัวอย่างเช่น กระป๋องน้ำอัดลมอลูมินั่ม 3 ป่อง/2 บาท แล้วครับ
  • ขวดน้ำพลาสติกใสปากก้างใบละ 1 บาทครับ
  • ที่หัวลำโพงมีคนยึดอาชีพเก็บขยะพวกนี้ขายเลี้ยงชีพอยู่หลายคน
  • ส่วนลูกน้องที่ทำงงานผมถ้าเจอก็เก็บมารวมๆกันไว้ แล้วขายเอาตังค์มาซื้อกาแฟไว้ทานกันครับ

สวัสดีค่ะ ท่านครูบา

นึกๆแล้วเรื่องขยะนี่แปลกอยู่นะคะ คือมันเป็นของขายที่คนขายไม่ค่อยมองว่ากำลังขายสินค้า แต่มักจะมองว่าขายของเหลือใช้ และเป็นของที่คนซื้อกำหนดราคาให้  ได้เท่าไหร่ก็เท่านั้น และก็เลยไม่มีการประกันราคา พยุงราคา สำหรับคนขายรายย่อย....

พอนึกถึงของเหลือใช้เราก็มองว่าเป็นของน่ารังเกียจเป็นขยะไป....แต่ยังมีของเหลือใช้อีกประเภทคือน้ำเสียจากบ้าน...ของเราใช้มากก็จ่ายแค่ค่าน้ำประปา เคยเห็นที่แคลิฟลอเนียเมื่อหลายปีก่อน เขาคิดค่าธรรมเนียมสองต่อ คือค่าน้ำดีกับน้ำเสียโดยติดมิเตอร์เก็บเงินปริมาณน้ำเสียที่ออกจากบ้านด้วย...ส่วนขยะจะวางให้สองถังแยกสีระหว่างขยะแห้ง ขยะเปียก ถ้าบ้านใดแยกขยะแห้งได้มากเขาก็มีโบนัสคืนเงินค่าธรรมเนียมเก็บขยะจากบ้านให้ด้วย....แล้วก็กำหนดวันเก็บขยะตามสายถนน วันไหนเก็บขยะก็จะมีรถมาทำความสะอาดฝุ่นถนนตามหลัง...ส่วนกระป๋องเบียร์กระทืบแล้วเอาไปขายเอง....เคยไปช่วยกระทืบกระป๋องเบียร์กับเพื่อนฝรั่ง..เวลากระทืบก็ร้อง This is my life ๆๆๆๆ..ไปด้วย ..อิอิ

สะมะนึกะ

เป็นข้อมูลใหม่ ราคากระป่อง  ถ้าไม่ขาย เอาไปประดิษฐ์ของเล่น ของประดับน่าจะดี

ถ้าขายตู้โบกี้เก่าราคาขยะ บอกนะครับ จะเอากิโลไปชั่ง อิอิ

น้าสร้อย

เป็นข้อมูลที่ดีมาก ก๊อกน้ำดี  ก๊อกน้ำเสีย  จ่ายทั้งคู่ 

ขอบคุณจ๊าดนัก

สวัสดีค่ะพ่อ

  • ที่บ้านหนูก็ชักชวนให้ลูก ๆ แยกขยะ   และเอาขยะที่ขายได้ให้คุณปู่กับคุณย่านำไปขายที่บ้านมาโดยตลอด   แต่ไม่เคยนำไปขายเอง 
  • เสาร์ที่ผ่านมาคุณตาให้เก็บกระดาษที่ไม่ใช้แล้วมัดรวมกันเพื่อให้หนูเอานำไปขาย 
  • พอนำไปขายคิดว่าคงไม่ได้มากมายเท่าไหร่หรอก   แต่ผลสรุปขายได้ 1,170  บาท    โอ้โฮทำไมเยอะจัง  
  • ในฐานะที่เป็นคนที่ดูแลเด็กทุน  ก็จะช่วยกันรณรงค์ช่วยกันแยกขยะตั้งเป็นชมรมรับซื้อขยะ   บริเวณมหาวิทยาลัย   และนำไปขายที่ตัวเมือง   ผลกำไรที่ได้คือจะนำมาจัดสรรเป็นทุนการศึกษาให้กับเด็กที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในมหาวิทยาลัย   (เป็นโครงการที่คิดไว้จะเริ่มต้นทำในปีการศึกษา  2551 
  • และอยากได้คำแนะนำจากพ่อ คุณลุง  คุณป้า   และอาจารย์ที่เข้าชมบล็อกพ่อ    ได้ให้คำแนะด้วยนะค่ะ

งานวิจัยฝรั่ง(แชบ๊วย) บอกไว้ว่า

ถ้าโต๊ะทำงานของเราสะอาด ไม่รกรุงรัง

จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของเรา้เพิ่มขึ้นอีก ร้อยละ 12

พอส่งความคิดเห็นนี้เสร็จ เห็นทีผมคงต้องไปเก็บห้องทำความสะอาดบ้างแล้ว

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท