ภูมิปัญญาเพื่อสันติสุขสันติภาพ


 

ไปปากเซ..

มีคำติดปากคนลาวมาอย่างหนึ่ง

พบหน้ากันเขาจะทักทายคำแรกว่า สบายดี

สบายดีไหมพี่น้อง ถ้าออกสำเนียงแท้..ซำบ๋ายดีบ่อ้ายน้อง

ฟังดูง่ายๆสบายๆ..แต่วิถีชีวิตของประชากรประเทศใดสบายดี อาจจะฟังดูง่ายๆ แต่ในความเป็นจริงแล้วคงมีองค์ประกอบมากมาย ที่ทำให้บรรลุจุดหมายดังกล่าวนั้น

 วิถีชีวิตประชาชนลาวถึงจะดูเรียบง่ายไม่ทันสมัยตัวเลขGDP.ไม่สูง แต่ลาวมีหนี้รายหัวน้อยกว่าเรา มีความปกติสุขกว่าคนไทยมากนัก นั่นก็หมายความว่า ความเจริญทางด้านวัตถุ ไม่ใช่ตัวชี้วัดอะไรได้ทั้งหมด โดยเฉพาะความปกติสุข เราอาจจะอยู่ในสังคมเสมือนจริง สุขเทียมๆ ก้าวหน้าฟู่ฟ่าแต่เปลือก ภายในยุ่งเหยิงยิ่งกว่าฝอยขัดหม้อ

   

ประเด็นนี้ตรงกับที่ปราชญ์ชาวอุบลยืนยัน สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ ยังใช้ได้และเป็นจริงทุกยุคสมัย การกำหนดใจ..มีความปกติในชีวิตจิตใจ อยู่กับความจริง มีอิสระทางความคิด จิตใจไม่หวาดวิตกตามกระแสเถื่อน ไม่เครียด จิตใจอ่อนโยน สิ่งเหล่านี้ถ้าแลกกับความเจริญแบบมีมลภาวะวิบัติคอยเป็นเงาสะกดตามก้นมันก็น่าคิดนะขอรับ

 

ในการตระเวณศึกษาพื้นที่ภาคอีสานครั้งนี้  ผมอยู่ในกลุ่มที่5 มีหัวข้อต้องศึกษาเรื่อง“อุบลเมืองแห่งปราชญ์โบราณ แก่นภูมิปัญญาและวัฒนธรรมในพื้นที่” สิ่งที่เอ่ยถึงมีรายละเอียดมีมากมายเหลือเกิน ความเป็นผู้รอบรู้ของบรรพบุรุษชาวดอกบัวนั้น มีประวัติที่อลังการณ์ยิ่งนัก เราได้รับฟังการสืบทอดทางภูมิปัญญากันจนอิ่มแปร้ เช่นคำนิยามที่กล่าวขานถึงเพื่อนชาวอีสานด้วยกัน

 

อยากเป็นนักมวยไปอยู่โคราช

อยากเป็นนักปราชญ์ให้ไปอยู่อุบล

อยากสู้อยากชนให้ไปอยู่ขอนแก่น

อยากหอบผ้าแล่นให้ไปอยู่นครพนม

อยากชื่นอยากชมให้ไปอยู่กาฬสินธุ์

อยากกินน้ำตำไปอยู่บุรีรัมย์

อยากตำน้ำกินให้ไปอยู่สุรินทร์

ขอต่ออีกหน่อย

..อยากกินโรตีต้องไปเมืองพิษณุโลก

..อยากเสี่ยงโชคให้ไป3จังหวัดชายแดนภาคใต้

..อยากหนาวแทบตายต้องไปทัวร์แม่จัน

..ไม่อยากฝันค้าง ต้องมาวันชุมนุมคนหน้าตาดี

ลงพื้นที่ครั้งนี้แบ่งออกเป็น5กลุ่ม

กลุ่มที่5 ไปเสวนากับปราชญ์เมืองดอกบัว3ท่าน พ่อสุวิชช คูณผล  คุณนิกร วีสเพ็ญ คุณปัญญา ไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์จังหวัดอุบลราชธานี ไปเยี่ยมบ้านปะอาว แหล่งผลิตเครื่องทองเหลือง

   

กลุ่ม5 มีรายนามดังต่อไปนี้

นายอภัย จันทนะจุลกะ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า

นางสาวเสาวลักษณ์ กุลพานิช เจ้าหน้าที่วิเคราะห์งานบุคคล สำนักงานกพ.

นายชาติชาย กริชชาญชัย อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงาน ภาค3

นายเทพประสิทธิ์ ประวาหะนาวิน กรรมการผู้จัดการบริษัทเมอริทร์พับลิซิตี้จำกัด

นายอนันทศักดิ์ พูลสุข อธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูง เขต8

.ต.บุญเรือง ไตรรัตน์วรวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์

นายประพันธ์ มุกสิกพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาเศรษฐกิจสังคมภาคใต้

พลท.พิเชษฐ์ วิสัยจร แม่ทัพภาค4

นางฟาริดา สุไลมาน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

นายมูหัมหมัดนาสีรูดดิน เล๊ะนุ๊ รองผอ.โรงเรียนมูลนิธิอาชิซสถาน

นายมูหัมหมัดอายุป ปาทาน ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์มติชน ข่าวสด บางกอกโพสต์

พตอ.(พิเศษ) สมพงษ์ ชิงดวง รองผู้บังคับการตำรวจภูธร นราธิวาส

นางอำรา พวงชมพู กรรมการบริษัทสยามแฮนด์ จำกัด

นายอัคคชา พรหมสูตร สมาชิกสถาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า

พระมหานภันต์ กลุ่มพัฒนาจิตเพื่อชีวิตดีงาม

นายศุภชัย พงศ์ภคเธียร กรรมการศูนย์จิตติปัญญาศึกษา ม.มหิดล

ดร.เครือทิพย์ ธีรานุรักษ์ คณบดีคณะศิลปศาสตร์ วิทยาลัยนอร์ท

นายบัณฑูร ทองตัน อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่านคดีเพ่งเขต8

การบ้าน

ศึกษาวิเคราะห์ศักยภาพและอานุภาพของภูมิปัญญาอีสาน ที่ส่งผลต่อการดำเนินวิถีชีวิตให้เกิดความผาสุขในประชาคม โจทย์ข้อนี้จำเป็นต้องอาศัยวิธีประมวลความรู้จากทุกแหล่ง เช่น การค้นเอกสาร ศึกษางานวิจัย ศึกษาร่องรอยในพิพิธภันฑ์ ที่สำคัญการถอดความรู้ในตัวคน วิธีศึกษาโดยการลงพื้นที่ไปพบปะพูดคุยกับตัวตนผู้รู้โดยตรง นอกจากเราจะได้ความรู้แวดล้อมแล้ว ประเด็นเด็ดพิเศษๆสดๆร้อนๆ จะมีความหมายและมีเสน่ห์ต่อการรายงานฉบับนี้ ..

  

.กนก วงษ์ตระหง่าน มาคุยด้วยที่รังนกกระจอก เรื่องไปขายความคิดกับคณบดีหลายท่าน ให้เชื่อมโยงวิชาการเข้ากับวิชาชีวิตในท้องถิ่น หมายถึงการนำวิชาความรู้ออกไปทดสอบในพื้นที่จริง จะทำให้เกิดวิธีเรียนวิธีสอนในสภาพจริง โดยมีตัวช่วย มีตัวเชื่อม..วิชาความรู้ในสถาบันการศึกษาถึงจะขยายผลไปสู่สังคมรอบด้าน

    

                              (ร้านนี้เจ้าถิ่นคุยว่า ส้มตำอร่อยที่สุดในโลก)

อาจารย์และนักศึกษาจะตระหนักถึงความสำคัญของภาควิชามากขึ้น ทำให้การศึกษามีชีวิต มีพลัง มีระบบที่สัมพันธ์กับความรู้ของสังคมในวงกว้าง ..แต่ความคิดนี้ขายยาก นักบริหารการศึกษาส่วนมากไม่รู้วิธีที่จะขยับเขยื้อนกระบวนการศึกษาให้ออกไปสู่ภาคสนามได้อย่างไร จึงปักหลักเรียนและสอนกันในห้องเป็นส่วนใหญ่..

หลักสูตรการเสริมสร้างสังคมสันติสุข ได้ให้ความสำคัญในกระบวนการศึกษาเชิงกระบวนการมาก ผมสรุปหยาบๆได้ดังนี้

  

(เปลี่ยนกิจกรรมเรียนรู้ มาเป็นกิจการจัดการความรู้ ดู ฟัง คิด ค้น ด้นประเด็น)

1.    ได้เรียนเชิงประสบการณ์และทักษะชีวิตจากเพื่อนร่วมรุ่น ที่มาจากหลายอาชีพหลายสถานะ เท่ากับเราเรียนกับครูพิเศษตามจำนวนของนักศึกษา(KM.ในตัวคน) หมายถึงเป็นครูและเป็นผู้เรียนในตัว ทุกคนมีต้นทุนสูง การจัดให้ออกไปเรียนในบรรยากาศที่ตื่นตัว แปลกใหม่ ขยับเขยื้อนกายใจครุ่นคิดคำนึง ถึงจะจัดยากเหนื่อยแต่ก็คุ้มค่า ดังจะเห็นจากการการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นไปตามกาลเวลา ความคุ้นชิน และเข้าถึงฯ

   

(เรียนตลอดเวลา ตื่นเช้ามาไปเฝ้าพระอาทิตย์ สายหน่อยปรึกษาหาประเด็น)

2.    การแบ่งกลุ่ม แบ่งประเด็น ทำให้ข้อมูลที่อุบนิ่งค่อยๆโผล่ชัดให้ฉุกคิด

-         สส.เรียนรู้วิธีการเลือกตั้งเข้ามา แต่สอบตกวิชาบริหารอำนาจอย่างชอบธรรม ทำให้เกิดม๊อบตามมาทุกครั้ง

-         ได้เห็นความคิดตามสไตล์วัฒนธรรมของแต่ละองค์กร

  

(ของเก่า สมบัติเก่า มีเรื่องเล่าแฝงเร้น อยู่ที่จะมีสายตามองเห็นลึกตื้นแค่ไหน)

3.    ศักยภาพในตัวตนสมาชิก เป็นจุดพิเศษที่สุดประการหนึ่งของหลักสูตรนี้

    เช่น กรณีของโรงงานสยามแฮนด์  โรงเรียนที่ภาคใต้ การสรุปบทเรียนกลุ่ม หรือแม้แต่การการแสดงความเห็นของสมาชิกแต่ละครั้ง เต็มไปด้วยความคิดเห็นผสานข้อเท็จจริงที่ผ่านประสบการณ์ตรงมาแล้ว

 

   (สิ่งที่เห็นคืองานวิจัยคนโบราณ เป็นต้นตอของทุกศาสตร์สาขาในปัจจุบัน)

4.    การลงพื้นที่แต่ละครั้งได้เผชิญโจทย์เชิงประจักษ์ เช่น การไปจังหวัดสุพรรณบุรี ได้เห็นงานการเมืองสไตล์ทุ่มเทพัฒนาจังหวัดของตนเองอย่างเต็มที่ ย่อมจะสร้างความพึงพอใจให้แก่ประชาคมในจังหวัดนั้นๆ ยกไปเทียบกับจังหวัดของตน การได้มารู้มาเห็นเรียกน้ำย่อยความคิดคำนึงให้สืบทอดไปยังจุดอื่นได้ ไม่ต้องมางมโข่งอยู่กับกรณีศึกษา หรือถอดบทเรียนซ้ำซาก แยกให้เห็นวิธีทำการงานทางการเมืองของแต่ละกลุ่มได้ชัดเจนขึ้น

   

               (3แอ็คชั่น นึกขึ้นได้ว่าไหว้พระต้องถอดหมวก)

5 เข้าใจประชาธิปไตยแบบผิดตัวผิดฝา ไม่เป็นปกติ ระบอบประชาธิไตย ไทยๆจึงล้มลุกคลุกคลาน เกิดคำถามว่าคนไทยรู้จักประชาธิปไตยแค่ ไหนอย่างไร รับรู้และเรียนรู้จากอะไร มีระบบส่งเสริมและพัฒนา อย่างไร มีกิจกรรม กลไกเรื่องการเมืองอย่างไร

  

  (ลีลาการเรียนรู้ในห้องบรรยาย ในรถผ่อนคลายแอบยิ้มได้ตามอัธยาศัย)

เรื่องความเห็นประกอบมันยาวครับพี่น้อง ขอวกเข้าการบ้านกลุ่มที่5ต่อนะครับ จากการจัดให้ไปเสวนากับปราชญ์เมืองอุบล3ท่านในครั้งนี้ เท่าที่เวลาอำนวย ผมคิดว่าเราได้รับสิ่งที่ผู้รู้สะท้อนคิดอย่างตรงไปตรงมาหลายประเด็น ถ้าจะให้สมบูรณ์ ขออนุญาตเสนอวิธีลงขันความรู้ สมาชิกในทีมทุกท่านช่วยสมทบประเด็นที่ได้รับรู้รับฟังมาให้ด้วย ท่านโดนใจในแง่มุมใดกรุณาบันทึกส่งให้อาจารย์เสาวลักษณ์ กุลพานิช เลขากลุ่มนะครับ เพื่อจะได้สรุปภาพรวมเสนอในเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อไป

แก่นภูมิปัญญาที่ท่านผู้สันทัดกรณีทั้ง3 ถ่ายทอดให้เราฟัง มีจุดคลิ๊กมากมาย ประเด็นสังคม ประวัติศาสตร์ การเมือง การศึกษา และวัฒนธรรมเชื่อมโยงไปสู่จุดเดียวกัน วิธีคิดในการสร้างคน3วัยไว้รับไม้สืบทอดเจตนารมณ์เป็นกุโศโลบายที่เอาตัวตนเป็นๆมาต่อปากต่อคำต่อหน้าต่อตา คณะเราอยากจะถามอะไร สงสัยประเด็นไหน ทะลุกลางปล้องมาเลย

   

ประเด็นการเรียนเรื่องประชาธิปไตย การพึ่งตนเอง การเสียสละ การสร้างพลังเมือง พลังทางสังคม เริ่มที่คนอุบลลงขันคนละ1บาท สร้างสะพานข้ามแม่น้ำมูล ได้ไม่พึ่งงบประมาณจากส่วนกลาง แล้วตั้งชื่อว่า

“สะพานประชาธิปไตย”

 ประเด็นการสร้างเสริมความรู้เพื่อสังคมในระยะ70ปีที่ผ่านมา ท่านบอกว่าคนเมืองอุบวางรากฐานการสร้างชุดความรู้ด้านต่างๆ เช้น

“ภูมิรู้ ภูมิปัญญา ภูมิธรรม ภูมิฐาน”

ประเด็นการเมือง ท่านฟันธงว่า

“รู้แต่รูปแบบ ไม่ได้ศึกษาเนื้อหาสาระสำคัญ”

งานและโครงการต่างๆเชิงสังคมของชาวอุบลมีมากมาย เช่น

โครงการคนดีศรีเมืองอุบลราชธานี (ยกย่องคนดีทุกสาขา)

โครงการลูกหลานคนเก่งเมื่องอุบลฯ (ทุนเรียนดี)

โครงการค้ำโพธิ์ค้ำไฮเมืองอุบลช่วงงานสงกรานต์ (จารีตประเพณี)

โครงการครอบครัวตัวอย่าง (พ่อ-แม่ตัวอย่าง)

โครงการปริญญาชีวิต (ปริญญากิตติมศักดิ์)

โครงการจัดทำเอกสาประวัติคนสำคัญชาวอุบลทุกตำบล(กิจการพลเมือง)

โครงการวัดพัฒนาตัวอย่าง (ร่มอารามเจริญธรรม)

โครงการหมู่บ้านเข้มแข็งสร้างแปลงเมืองอุบล (การบ้านการเมืองภาคพลเมือง

Key Word

ปราชญ์ แก้ปัญหาด้วยสมอง

เปรต แก้ปัญหาด้วยกำลัง 

สมัยก่อนผู้คนนับถือผู้เฒ่าคนแก่เหมือนร่มโพธิ์ร่มไทร

สมัยนี้ผู้คนบอนไซต้นไทรต้นโพธิ์ 

สามก้อนเส้า ตั้งหม้อข้าวไม่ล้ม

คนจีนทำอะไรเขาจะเข้าหุ้นกัน

จะช่วยเหลือช่วยกันทำมาหากิน 

คนอีสานอ่อนน้อมถ่อมตน

เล่นดนตรียังยกมือไหว้

ให้เกียรติผู้ฟัง สังเกตุคนเป่าแคนสิ 

“กินแล้วเอน เพลก็นอน”

”บ่สักขาลาย สาวบ่ให้ก่ายขาขาว” 

 

หมายเลขบันทึก: 216967เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2008 14:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ขอมาเข้าเยี่ยมท่านคนแรกนะครับ

มาเยี่ยมพ่อครับสำบายดีครับ

  • สวัสดีครับ
  • แวะมาเรียนรู้ ได้รับความรู้ดีดีมากมาย
  • บันทึกนี้ อุดมไปด้วยความรู้ หยั่งรากลึกถึงแก่นแท้เลยนะครับ
  • ขอบคุณครับ
  • ที่อุบลฯ
  • ผ่านไปแค่ผิวเผินครับ
  • แต่สัมผัสได้ในเรื่องศีลธรรม เมืองของพระป่าผู้ทรงศีล
  • ตอนเย็นชาวบ้านมาทำวัดเย็น
  • หาได้ยากจากที่อื่นที่เป็นเมือง
  • สงสัยต้องไปอีก ฮ่าๆๆ
  • พ่อครูบาสบายดีนะครับ...

คืนนี้จะเขียนเรื่องที่ฟังจากปราชญ์เมืองดอกบัวครับ เพื่อเติมเต็มให้กับชุดความรู้ ทั้งๆที่ไม่ใช่หน้าที่ เพราะหน้าที่ผมต้องทำงานวิชาการในตอนท้าย แต่มันเหมือนมันเข้าเส้นไปแล้ว อยากบอกอยากเล่าเผื่อให้คนที่เขาไม่มีเวลาได้เรียนรู้ไปด้วยครับ

ตามอ.ขจิตมาค่ะ พ่อครูบาฯ แล้วก็เข้าไปอ่านมหาชีวาลัยอีสานมาค่ะ

เรียนพ่อครูบาที่เคารพอย่างสูง

ดิฉันได้อ่านหลายบันทึก  แต่ไม่ได้แสดงความคิดเห็นอะไรไว้ เพราะหลายเรื่องไม่มีภูมิค่ะ

วันนี้ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดร.ขจิต ฯ ในบันทึกของดิฉัน

ติดใจได้มองเห็นหลายเรื่อง

อยากกินโรตีต้องไปเมืองพิษณุโลก

ทุกคนมีต้นทุนสูง การจัดให้ออกไปเรียนในบรรยากาศที่ตื่นตัว แปลกใหม่ ขยับเขยื้อนกายใจครุ่นคิดคำนึง ถึงจะจัดยากเหนื่อยแต่ก็คุ้มค่า

ภูมิรู้ ภูมิปัญญา ภูมิธรรม ภูมิฐาน

ปราชญ์ แก้ปัญหาด้วยสมอง

เปรต แก้ปัญหาด้วยกำลัง 

ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงกับการที่ได้เรียนรู้

ด้วยความเคารพค่ะ

นพวรรณ พงษ์เจริญ

สวัสดีเจ้าค่ะ พ่อครูจ๋า

อิอิ คิดถึงพ่อเลยแวะมาหา อิอิ กอดๆๆ..หนูจิ

สวัสดีครับ

  • อ่านไป อิ่มไป จุใจมากเลยครับ
  • หลายประเด็น เห็นชัดว่าเมืองไทยเรากำลังอยู่ในอาการน่าเป็นห่วง
  • สุขในชีวิตคืออะไรกันแน่ .. จับทางไม่ถูกก็เดือดร้อนได้ยาวนาน
  • ประชาธิปไตย สำหรับเมืองไทย มันไปได้จริงหรือ ถ้าเลียนแบบเขามาทั้งดุ้น
  • วัฒนธรรมแบบเรา  เหมาะสมที่จะรองรับระบบดังกล่าวโดยไม่มีช่องว่างให้ผีเปรตเข้ามาหลอกลวง กอบโกย โกง กิน ได้หรือ
  • การศึกษาที่ทำกันอยู่ ได้สร้างภูมิคุ้มกันให้ผู้คน พ้นการรบกวนจากปีศาจ ในคราบนักการเมืองได้สักแค่ไหน
  • และอีกหลายอย่างที่คิดต่อได้ จากการอ่านบันทึกนี้ .. บอกไม่หมดครับ
  • ขอบพระคุณครับ

สวัสดีค่ะ พ่อครู พอลล่าอยากเป็นปราชญ์เลยมาเยี่ยมอุบลค่ะ อิอิ ... แต่มาครั้งเดียวคงยังห่างไกล ต้องมาอีกๆๆๆ ค่ะ รักและเคารพพ่อครู ค่ะ บันทึกนี้ สุดยอดฝีมือค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท