ปริญญาใจกระจาย


“ วันนี้ยิ้มแย้มแจ่มใส พรุ่งนี้หัวใจผะผ่าว”

 

    

วันนี้ยิ้มแย้มแจ่มใส พรุ่งนี้หัวใจผะผ่าว          

     ลมหนาวเย็นสบายๆ ดอกไม้แสนสวยชูช่อต้อนรับบัณฑิต ในวันที่สดใสเบิกบานแห่งชีวิต ที่มีศักดิ์และสิทธิ์เต็มตามที่ปริญญากำหนด พ่อแม่และญาติๆต่างร่วมปลึ้มปิติยินดีในวันนี้ด้วย ครูบาอาจารย์สบายใจที่พายเรือแจวส่งลูกศิษย์ขึ้นฝั่งฝัน ที่สุดของที่สุด..ไม่มีประเทศใดในโลกเสมอเหมือน คือการรับพระราชทานปริญญาจากพระหัตส์สมเด็จพระเทพฯ  วันนี้จึงเป็นวันแห่งความภาคภูมิใจทวีคูณสำหรับเยาวชนคนไทย    

    สภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ครูบาอาจารย์เฝ้ารับเสด็จอย่างพร้อมเพียง ภาพนักศึกษายืนรายเรียงรับเสด็จ เป็นสายธารสีทองที่มหาวิทยาลัยตั้งปณิธาน เพื่อนๆญาติๆ  ชวนกันมามอบช่อไม้แสนหวานพร้อมกับคำขานจับใจ แลกยิ้มแจกสุขสนุกสนานปานยืนอยู่บนสายรุ่งที่โค้งฟ้า..          

โชคดีเถิดบัณฑิตน้อย                   

     สิ่งที่คอยอยู่ภายหน้าเป็นสนามชีวิต ชีวิตที่สดๆร้อนๆ ชีวิตที่เต้นไม่มีจังหวะ ไม่มีกรอบ ไม่มีทฤษฎีกำกับ มีกลไกสังคมเป็นผู้ออกข้อสอบ ที่จะทดสอบวิชาความรู้ที่เล่าเรียนมาอย่างเข้มข้น เธอจะพบกับหลักสูตรชีวิตในมิติที่กว้างและลึกล้ำ ที่มีการแข่งขันอย่างมีชั้นมีเชิง เธอจะต้องเอาชีวิตเข้าไปเผชิญกับความจริง ที่สำคัญจะต้องอยู่กับความจริง และสู้กับความจริงให้ได้            

      อย่าท้อถอย         

      อย่าตัดสินใจอะไรง่ายๆ         

      อย่าหลงทางผิด         

      ถ้ามีปัญหาอะไรกลับไปหาอ้อมอกพ่อแม่     

     

      .ดร. กนก วงค์ตระหง่าน อาจารย์ใหญ่ผมอีกท่านหนึ่ง..สะท้อนว่า..วันนี้ลูกหลานเรายิ้มแย้มแจ่มใส วันต่อไปจะเป็นยังไงก็ไม่รู้  บางคนอาจจะน้ำตานองหน้า วิตกกังวลเรื่องหางานทำยังไม่ได้ บางคนหันรีหันขวางไม่ทราบว่าจะตัดสินใจวางชีวิตไว้ตรงไหน อาจารย์ที่สอนที่ปรึกษาช่วยอะไรไม่ได้แล้ว ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน          

      มีคำถามตามมา.. ทำไมบัณฑิตต้องเข้ากรุงไปหางานทำส่วนใหญ่  หลักสูตรการเรียนมันสูงเกินไปที่จะมาทำงานใช้ชีวิตในบ้านเกิดอย่างนั้นหรือ ทำไมวิชาความรู้มันถึงมีขีดจำกัดอย่างนี้ด้วย  วิชาทำอยู่ทำกิน วิชาพอเพียงที่พูดกันปาวๆ อยู่ไหนหนอ 

   ·       วิชาที่ไม่ต้องทิ้งถิ่นมีไหม

   ·       วิชาที่สามารถอยู่กับพ่อแม่ช่วยพ่อแม่มีไหม

   ·       วิชารักบ้านเกิดอยู่บ้านเกิดมีไหม

   ·       วิชาพึ่งตนเองช่วยตัวเองมีไหม

 

หมายเลขบันทึก: 67933เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2006 10:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
  •  ท           สภามหาวิทยาลัย พิมพ์ตกไปครับ
  • ขอแสดงความยินดีกับบัณฑิตทุกท่านครับ
  • ต่อไปคงเป็นมหาวิทยาลัยชีวิต
  • ทำอย่างไรที่จะไม่ให้บัณฑิตทิ้งถิ่น กลับมาพัฒนาบ้านของตน
  • ไม่รังเกียจ พ่อแม่ที่เป็นชาวนา ชาวไร่ น่าสนใจ นะครับ
พูดยากเหมือนกันครับครูบาสุทธินันท์ "รักบ้านเกิด" ปัจจัยความพร้อมแต่ละครอบครัวต่างกัน ผมเองก็เป็นคนอีสาน(อ.นาแก จ.นครพนม) เป็นบัณฑิตมาทำงานที่พิจิตร 3 ปีแล้ว แต่ก็คิดถึงบ้าน อยากกลับบ้านตลอด แต่คำถามคือว่า กลับไปแล้วจะทำอะไร? ที่ดิน ที่นา สวน ก็ไม่มี ครั้นจะเริ่มต้นใหม่ก็ลงทุนไม่ใช่น้อยๆ แถมยังต้องฝืนคำพูด ความรู้สึกของพ่อแม่และคนรอบข้างอีกจำนวนไม่น้อย  แต่ถ้าถามใจคิดยังไงก็หัวใจยังเป็นคนอีสาน เกิดที่อีสาน และจะต้องกลับไปตายที่บ้านเกิดเมืองนอนแน่นอน ตอนนี้หาประสบการณ์ไปก่อน  เมื่อพร้อมแล้วจะกลับไปบ้านเกิดครับ
เป็นปัญหาเชิงระบบ เห็นด้วยกับคุณ พรหมลิขิต ถ้าเราได้คิด และเราเห็นความสำคัญของ การสำนึกบ้านเกิด เราต้องช่วยกันครับ

ครูบาครับ ผมเป็นคนหนึ่งที่ไม่เคยรับปริญญา ผมพูดเสมอว่าผมไม่เห็นด้วยกับใบปริญญา ผมว่าค่าของคนไม่ได้อยู่ที่ใบปริญญาครับ ลูกผม ญาติ และภรรยาผมเขาไปรับ แต่ผมก็ไม่เคยเข้าร่วมครับ เพื่อยืนยันปณิธานอันนี้ครับ แต่ผมก็ยังอยากเห็นว่าใบปริญญามีความหมายตามชื่อใบเหมือนกันนะครับ

(ใครที่สนใจว่าผมคิดอะไรอยู่ให้ย้อนไปอ่าน

http://gotoknow.org/blog/sawaengkku/63348

 

แล้วจะทราบว่าผมอยากจะเห็นอะไรในระบบการศึกษาที่แท้จริง

ผมว่าตอนนี้เรากำลังเอายาพิษ "บริโภคนิยม" และค่านิยม ปลอมๆ ไปหลอกเด็ก ที่ถูกขนานนามตามความในท้องเรื่อง ว่า "บัณฑิตใหม่"

ผมขอยกเพลงวันเด็กของคาราบาว ว่า

"ถ้าผู้ใหญ่หลอกเด็ก แล้วจะไปแก้ที่ใคร"

จะแก้ที่ผู้ใหญ่ (ที่ไม่ฟังใคร) หรือแก้ที่เด็ก (ที่ไม่รู้จะฟังใคร) ดีครับ

ม.ข. พึ่งรับปริญญาไปครับ 18 ธ.ค.49

ผมรู้แต่ว่าวันนั้น พ่อกับแม่ปลื้มปิติเป็นที่สุด... เท่านั้นเอง

อ่านแล้วขนลุกค่ะ คิดถึงบรรยากาศวันจบการศึกษาและวันรับปริญญาแล้วซึ้งใจ นี่ฉันทำได้จริงๆ

การมีปริญญา ทำให้กดดันในการทำงานมากนะครับ เหมือนกับเขาคาดหวังกับพวกเรามาก 

ประสบการณ์จริงๆ บางครั้ง คนจบปริญญาโทใหม่ ยังทำงานเก่งไม่เท่าคนไม่จบปริญญา อะไร เลยก็มี (ผมเคยเห็น หลายคนด้วย)

ใบปริญญาก็เหมือนใบขับขี่รถยนต์  ที่บางคนมีใบขับขี่แต่ขับรถยังไม่ได้ ขับรถยังไม่เป็น 

การมีปริญญาที่แท้จริง คือการนำความรู้ที่มีไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งกับตนเอง คนรอบข้างและสังคม

อ.แสวงครับ ถ้าใบปริญญาสามารถรับรองความรู้ของคนได้จริง ก็ไม่น่ามีปัญหา เรื่องที่น่ากลัวคือ ความรู้ไปทาง ปริญญาไปทาง นี่น่าคิด ทำอย่างไรปริญญากับความรู้จะอยู่ควบคู่กัน เชื่อมั่นในความรุ้จริง อยู่ที่ไหนก็ไม่อดตาย ถ้ารู้ในระดับพึ่งตนเองได้ รู้แต่พึ่งตนเองไม่ได้ เขาเรียกว่า.. ความรู้ท่วมศรีษะแต่เอาตัวไม่ค่อยจะรอด ถ้ารู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหามก็ยังดี แต่ถ้าไม่รู้ไม่ชี้นี่ก็ตลกไปอีกแบบ ..ขอขอบคุณทุกความเห็น
อ.แสวงค่ะการที่ได้รับใบปริญญานั้นก็เป็นเพียงสิ่งที่บ่งบอกว่าเราสามารถทำตามความตั้งใจของเราได้แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะได้มาแล้วไม่มีความหมายนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท