ทฤษฎีการเรียนรู้


การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้

การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้

ทฤษฎีการเรียนรู้มีความสำคัญมากเนื่องจากสามารถนำทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆ ไปประยุกต์ใช้เป็นหลักในการจัดการเรียนการสอน ได้ ในลักษณะต่างๆ เช่น การจัดสภาพที่เหมาะสมสำหรับการเรียนการสอน การจูงใจ การรับรู้ การเสริมแรง การถ่ายโยงการเรียนรู้ การจัดสภาพที่เอื้อต่อการเรียนรู้  การจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้

  1. 1.    การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม

กระผมสอนวิชาคณิตศาสตร์ซึ่งโดยธรรมชาตินักเรียนถือว่าเป็นวิชาที่ยากและรู้สึกไม่ชอบวิชานี้  ดังนั้นในฐานะครูผู้สอนเมื่อรู้ว่าผู้เรียนไม่ชอบหรือมีเจตคติไม่ดีต่อวิชาที่เราสอนอยู่ก็ควรวิเคราะห์ว่ามีสาเหตุมาจากอะไร  อะไรคือสิ่งเร้าที่ที่ก่อให้เกิดความรู้สึกเช่นนั้นแล้วพยายามไม่ให้สิ่งเร้าที่ผู้เรียนไม่ชอบนั้นเกิดขึ้น  ดังนั้นผู้สอนจึงจะต้องทำการเรียนการสอนวิชานี้ให้มีความน่าสนใจ  สนุกสนานและเปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน  ครูต้องเป็นกัลยาณมิตรที่ดีต่อศิษย์ให้โอกาสและรับฟังความคิดเห็นของเขา   คอยแนะนำในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ  และครูผู้สอนควรกำหนดจุดมุ่งหมายในการเรียนให้ชัดเจน  แบ่งเนื้อหาเป็นหน่วยย่อยๆ ให้ผู้เรียนเรียนทีละหน่วย  เริ่มจากเนื้อหาที่ง่ายไปหายาก  นอกจากนี้ครูจะต้องดูความพร้อมของผู้เรียนว่ามีพื้นฐานในการเรียนเนื้อหานี้หรือยัง   จัดประสบการณ์เนื้อหาให้เหมาะสมกับการเรียนการสอน   ให้การเสริมแรงเมื่อผู้เรียนทำได้ดีและพอใจในความก้าวหน้าด้านการเรียนรู้ของผู้เรียนถึงแม้อาจจะเป็นไปได้ช้า  หลีกเลี่ยงการคุมชั้นเรียนโดยวิธีการลงโทษ ซึ่งอาจจะทำให้ผู้เรียนเกิดเจตคติที่ไม่ดีต่อการเรียนหรือครูผู้สอนและเป็นอุปสรรคต่อการเรียน

  1. 2.       การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม

การนำทฤษฎีเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนนั้น  เมื่อครู

จะเริ่มทำกิจกรรมการเรียนการสอน  ครูควรให้นักเรียนเห็นโครงสร้างรวมของสิ่งที่จะเรียนแล้วค่อยไปเรียนทีละส่วนย่อย ๆ  มีการผลิตสื่อการเรียนการสอนที่น่าสนใจ  เร้าความสนใจหรือกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความเอาใจใส่บทเรียนมากขึ้นและครูควรใช้เสียงดังขึ้นหรือย้ำซ้ำๆ  เมื่อต้องการเน้น ทบทวนเรื่องที่ผู้เรียนรู้มาก่อนแล้วเพื่อเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจเนื้อหา   ให้ผู้เรียนได้สรุปสาระสำคัญด้วยตนเอง ให้ผู้เรียนฝึกฝนหรือมีกิจกรรมในเรื่องที่สอนนั้นซ้ำๆ เมื่อมีการสอนจบไปครึ่งตอนหรือจบเนื้อหาทีละบท  ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากขึ้นและเป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย

                3.    การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปฏิสัมพันธ์

                ในการนำทฤษฎีนี้ไปใช้ ในการสอนคือ ครูควรมีการแสดงตัวอย่างให้ผู้เรียนเห็นและนำเสนอหลายๆตัวอย่าง  อธิบายเนื้อหาควบคู่กับตัวอย่าง อาศัยการมีปฏิสัมพันธ์ในการสร้างองค์ความรู้ แนะให้สนใจสิ่งเร้าที่ควรจะใส่ใจหรือเลือกใส่ใจ  ให้การเสริมแรงแก่ผู้เรียนที่สามารถเลียนแบบการกระทำได้อย่างถูกต้อง  ให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจที่จะเรียนรู้และเป็นตัวอย่างแก่ผู้เรียนคนอื่นๆ  ซึ่งตัวแบบที่มีบทบาทมากที่สุดในห้องเรียนคือครูผู้สอนและเพื่อนๆในชั้นเรียนนั่นเอง

หมายเลขบันทึก: 301463เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2009 12:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท