การฝึกสมาธิทำให้คนเรามีความสุข และสมองดีขึ้นได้อย่างไร


การฝึกสมาธิมีส่วนทำให้คนเรามีความสุขมากขึ้น สมรรถภาพในการทำงานดีขึ้น และมีสมองเปลี่ยนไปในทางที่ดี

...

การฝึกสมาธิมีส่วนทำให้คนเรามีความสุขมากขึ้น สมรรถภาพในการทำงานดีขึ้น และมีสมองเปลี่ยนไปในทางที่ดี

สำนักข่าว BBC ทำสารคดีเกี่ยวกับเรื่องสมาธิ ซึ่งสำนักงานสุขภาพแห่งชาติสหราชอาณาจักร (NHS ของหมู่เกาะอังกฤษ) นำมาใช้เป็นวิธีการรักษาทางเลือกแล้ว ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

...

หลังจากสามีของคุณแครอล แคทท์เลย์เสียชีวิต... อาการซึมเศร้าของเธอก็กลับมากำเริบซ้ำอีก หลังจากที่เป็นครั้งแรกสมัยเป็นวัยรุ่น และหายไปนานหลายสิบปี

คราวนี้เธออยากตาย จึงต้องไปปรึกษาหมอ... คุณหมอแนะนำให้รักษาด้วยยา และพฤติกรรมบำบัด (cognitive behavioral therapy)

...

ทว่า... เธอต้องการการรักษาแผนใหม่ ซึ่งมีทางเลือกให้ฝึกสมาธิ และวิธีนี้สำนักงานสุขภาพแห่งชาติ (NHS) สหราชอาณาจักรรับรองให้นำมาใช้ในการรักษาได้

การรักษาโรคซึมเศร้าด้วยการฝึกสมาธิร่วมกับพฤติกรรมบำบัดเรียกว่า 'MBCT (mindfulness based cognitive therapy)' หรือ การฝึกสมาธิแบบ "กำหนดรู้"

...

ภาพที่ 1: ภาพคนนั่งสมาธิที่พระมหาเจดีย์สวยัมภูนาถ เมืองกาฎมัณฑุ เนปาล[ ไม่ใช่ผลงานของผู้เขียน ภาพจาก BBC - picture from BBC ]

...

ศาสตราจารย์มาร์ค วิลเลียมส์ หนึ่งในผู้นำด้านการรักษาด้วยสมาธิ กล่าวว่า วิธีการรักษาด้วยสมาธิของท่านใช้เวลา 8 สัปดาห์ โดยแบ่งการรักษาเป็นแบบ '80-20' ได้แก่

  • 80% เน้นทำสมาธิ
  • 20% เสริมด้วยการทำพฤติกรรมบำบัดให้กำหนดรู้สภาพซึมเศร้า (cognitive therapy)

...

[ ข้อความต่อไปนี้เป็นข้อความคัดลอก ]

He said: "It teaches a way of looking at problems, observing them clearly but not necessarily trying to fix them or solve them.

"It suggests to people that they begin to see all their thoughts as just thoughts, whether they are positive, negative or neutral."

[ จบข้อความคัดลอก ]

...

อาจารย์วิลเลียมส์กล่าวว่า "วิธีนี้สอนให้คนเรา "กำหนดรู้"... รู้จักมองปัญหา สังเกตมันอย่างชัดเจน แต่ไม่จำเป็นต้องเข้าไปจัดการ หรือแก้ไขมัน"

"วิธีนี้สอนให้คนเราเริ่มหัดมองความคิดอย่างที่มันเป็น ไม่ว่าจะเป็นความคิดเชิงบวก(ด้านดี) เชิงลบ(ด้านร้าย) หรือกลางๆ (ไม่ดีและไม่ร้าย)"

...

แน่นอนว่า วิธีการฝึกเหล่านี้ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนา... ท่านอาจารย์วิลเลียมส์กล่าวว่า

การศึกษาเบื้องต้นพบว่า คนไข้โรคซึมเศร้ามีอาการซึมเศร้าลดลงมากกว่า 50% อย่างไรก็ตาม... นี่เป็นเรื่องที่ใหม่มากๆ จำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมต่อไป

...

ภาพที่ 2: ภาพคนนั่งนับประคำกันทั้งครอบครัวที่พระมหาเจดีย์ชเวซิกอง พุกาม พม่า (มิถุนายน 2548)...

  • คนพม่านิยมบริกรรมสรรเสริญพระพุทธคุณคล้ายๆ ที่คนไทยสวด "พุทโธ" หรือฝึกสมาธิไปด้วย นับลูกประคำไปด้วย ทางวัดหรือพระเจดีย์ในพม่ามักจะมีลูกประคำ และหนังสือสวดมนต์ตั้งไว้ให้ยืม
  • ฝรั่งนิยมไปเรียนกรรมฐาน หรือสมาธิในพม่ามาก เนื่องจากพระพม่าพูดภาษาอังกฤษเก่งมาก สำนักปฏิบัติธรรมในพม่ามักจะมีล่ามอาสาสมัครหลายภาษา
  • หมอพม่านิยมไปปฏิบัติธรรมตามสำนักต่างๆ มาก... จนมีคำกล่าวในพม่าว่า ใครมีลูกสาวเป็นหมอจะกลัวลูกสาวบวชชีมาก ล่ามพม่าหรือแม่ชีในสำนักส่วนหนึ่งก็ไม่ใช่ใครที่ไหน เป็นหมอเสียมากต่อมากทีเดียว

...

การฝึกสมาธิที่นิยมในโลกตะวันตกได้แก่

  1. การฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนา (buddhist meditation)
  2. การฝึกกำหนดรู้ หรือเจริญสติ (mindfulness meditation) ซึ่งได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนา
  3. การฝึกสมาธิแบบ "ที.เอ็ม." (trancendental meditaion) ซึ่งได้รับอิทธิพลจากโยคีในอินเดีย เน้นบริกรรมมันตรา หรือคำที่ไม่มีความหมาย 2 พยางค์ เช่น อาอึม อาอีม อาเอม (คำสมมติ) ฯลฯ
  4. การฝึกสมาธิแบบเซ็น (Zen meditation) ซึ่งได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนานิกายเซน ญี่ปุ่น

...

ดอกเตอร์ซารา ลาซาร์ และคณะนักวิจัยจากบอสทัน แมสซาชูเซทท์ สหรัฐฯ ทำการศึกษาด้วยเครื่องตรวจสแกนสนามแม่เหล็ก-วิทยุ (MRI) เปรียบเทียบคนที่ฝึกสมาธิเป็นประจำนานหลายๆ ปีกับคนที่ไม่เคยฝึกสมาธิเลย

ผลการศึกษาพบว่า สมองส่วนนอก (cerebral cortex) หลายส่วนของคนที่ฝึกสมาธิ ซึ่งรวมทั้งส่วนที่ควบคุมอารมณ์มีความหนามากกว่าคนที่ไม่ได้ฝึกสมาธิ ซึ่งมีแนวโน้มจะเสื่อม และบางลงตามอายุที่มากขึ้น

...

ดอกเตอร์ริเชิร์ด เดวิดซัน และคณะนักวิจัยจากแมดิซัน วิสคอนซิน ทำการศึกษาสมองของพระในพระพุทธศาสนาที่ฝึกสมาธิเป็นประจำนานหลายๆ ปี

ผลการศึกษาพบว่า คนที่ฝึกสมาธิเป็นประจำมีความสุขมากกว่า จดจ่อกับงานหรือมีสมาธิดีกว่า นอกจากนั้นสมองส่วนที่ควบคุมความรู้สึกและสมาธิก็เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี

...

การศึกษาอีกรายงานหนึ่งเปรียบเทียบคนทำงานสำนักงาน (office workers) ที่ฝึกสมาธิและฝึกเทคนิคคลายเครียด เช่น ให้ผ่อนคลายกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกายทีละส่วนช้าๆ ฯลฯ เป็นประจำ

ผลการศึกษาพบว่า สมองมีการทำงานตอบสนองไปในทางที่มีความสุขมากขึ้น และใฝ่รู้ (enthusiasm) มากขึ้น

...

กลไกในด้านดีของการฝึกสมาธินั้น... ผู้เขียนขออนุญาตคัดลอกคำกล่าวของศาสตราจารย์วิลเลียมส์มาดังต่อไปนี้

[ ข้อความต่อไปนี้เป็นข้อความคัดลอก ]

"It involves dealing with expectations, with constantly judging ourselves - feeling we're not good enough," he said.

...

"And, that is something which is so widespread in our communities.

"All of these things are just thoughts. And, they will come up in meditation and learning to recognize what they are as thoughts, and let them go, can be enormously empowering for anybody."

[ จบข้อความคัดลอก ]

...

ต่อไปจะขอแปลคำกล่าวของท่านอาจารย์วิลเลียมส์เป็นไทย "การฝึกสมาธิช่วยให้คนเราเรียนรู้เกี่ยวกับ "ความคาดหวัง"...

ปกติคนเราจะชอบตัดสิน หรือพิพากษาตัวเอง ทำให้เกิดความรู้สึกผิดแบบที่กล่าวได้ว่า "เรา(ผิดเพราะ...)ยังดีไม่พอ" , "เรามันไม่ดีเอง" หรือตำหนิตัวเองซ้ำๆ ซากๆ

...

โรค "คาดหวังมากเกิน" ระบาดไปทั่วสังคมของเรา(ทำให้เครียด ท้อแท้ ซึมเศร้า - ผู้แปล) เมื่อฝึกสมาธิ และกำหนดรู้... เราจะพบว่า ความคิดก็เป็นเพียงความคิด เป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งควรรู้จัก กำหนดรู้

การฝึกสมาธิแบบนี้ช่วยให้คนเราเข้าใจชีวิตมากขึ้น"

...

ทุกวันนี้มีการนำการฝึกสมาธิกำหนดลมหายใจมาใช้ในการป้องกัน และควบคุมโรคความดันเลือดสูงแล้ว

ฝรั่งเขาทำเครื่องมือฝึกหายใจราคาแพงออกมาจำหน่าย เราฝึกเองได้โดยการหายใจช้าๆ เบาๆ ไม่เกิน 10 ครั้งต่อนาที วันละ 15 นาทีขึ้นไปทุกวัน เช่น หายใจเข้าช้าๆ นับ "1-2-3" หายใจออกช้าๆ นับ "4-5-6-7"

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

ที่มา                                                  

  • Thank BBC > Naomi Law > Scientist probe meditation secrets > [ Click ] > March 31, 2008.
  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก "บ้านสุขภาพ" เป็นไปเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอ พยาบาล เภสัชกร หรืออนามัยที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบคุณอาจารย์ณรงค์ ม่วงตานี + อาจารย์เบนซ์ iT > สนับสนุนเทคนิค iT.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ > 1 เมษายน 2551 > 23 กันยายน 2551.
หมายเลขบันทึก: 175233เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2008 19:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤษภาคม 2012 11:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

มาอ่านและคิดว่า มีประโยชน์มาก ขอบคุณค่ะ

ขอขอบคุณอาจารย์หมอจริยามากๆ เช่นกันครับ

อ่านดีมากครับ

forward ให้กับคนที่ทำงานด้วยกันอ่านด้วยครับ

ขอขอบคุณ... คุณเต๋อ

  • ดีใจที่กิจกรรมเสริมสมาธิ เช่น การฝึกกำหนดลมหายใจ ไทเกก-ไทชิ โยคะ ฯลฯ เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมสุขภาพครับ...

ขอโทษนะคะ พอดีอยากได้หนังสือ ที่เกี่ยวกับเรื่องการฝึกทำสมาธิ เป็นภาษาอังกฤษ

ไม่ทราบว่าจะหาซื้อได้ที่ไหน เพราะอ่านในเวบแล้ว อยากหาหนังสือสักเล่มให้เพื่อน

พอดีอยากได้เป็นของขวัญให้เค้า เวลาเค้าว่างเราจะได้ฝึกจิต และทำสมาธิกันได้

ให้เขา อ่านแล้วก็ทำความเข้าใจเอาเอง ในมุมมองที่เขาไม่รู้ ถ้าทราบว่าที่ไหนมีจำหน่าย

ช่วยบอกด้วยนะคะ ที่เป็นภาษาอังกฤษ อ่ะคะ ;)

ชอบมากๆ เคยไปทำสมาธิบ่อยแล้วทำให้เราใจเย็นลงด้วย

แต่อยากให้เพื่อนเข้าใจในบ้างอย่างที่เราไม่สามารถบรรยายได้เป็นภาษาอังกฤษให้เค้าเข้าใจ

ขอบคุณคะ

p.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท