11 วิธี(tips)เขียนบล็อก(blog)สบายๆ สไตล์เรา


...

ย้อนหลังไปเมื่อ 10 กว่าปีก่อน... ใครมีกล่องจดหมายอีเล็คโทรนิคส์ (e-mail address) ก็เท่แบบสุดๆ แล้ว ทุกวันนี้อยากเท่ก็ต้องมีบล็อก (blog) กับเขาบ้าง

ทีนี้ทำอย่างไรจะเขียนบล็อกให้ประสบความสำเร็จได้... วันนี้มีคำแนะนำแบบง่ายๆ สบายๆ จากท่านอาจารย์รอบิน กูดส์มาฝากพวกเราครับ (ท่านบอกว่า บอกต่อมาจากคำแนะนำของท่านปาจารย์ (บาลี = อาจารย์ของอาจารย์) ชารอน เฮาส์เลย์อีกต่อหนึ่ง

... 

ภาพจากบล็อก > [ Dr. Tom Perls ] & [ Eons Blogs]

...

(1). เขียนให้ตรงชื่อเรื่อง (Stay on topic)

  • อย่าจ่าหน้าเรื่องเท่ๆ ไว้ แล้วเขียน "คนละเรื่องเดียวกัน"

(2). ค้นคว้าหาความรู้ (Be informative)

  • ไม่ว่าจะเขียนเรื่องอะไร... ให้ทำการบ้านมาให้ดี ค้นคว้ามาให้พร้อม เพราะคนอ่านบล็อกส่วนใหญ่เป็น "คนชั้นกลาง (middle class)" , "มีการศึกษา (educated)" และ "อยากรู้อยากเห็น (curious)"
  • บล็อกเกอร์ที่ "ยกเมฆ" นั่งเทียนเขียนบล็อกนั้นมักจะยกได้ไม่ค่อยนานเท่าไหร (ยกเว้นบุญเก่าเพียบ หรือมีอะไรดี เช่น สวย หล่อ เท่ ดัง เป็นดารา ฯลฯ)
  • เราอาจกล่าวได้ว่า บล็อกมีฐานะเป็น "สถาบันการศึกษาออนไลน์ (online academy)" มากขึ้นทุกที เพราะฉะนั้น... ก่อนเขียนต้องเรียน(รู้)มาให้ดี

...

(3). อย่าเขียนเรื่องตกยุค (Old news is not news)

  • ชีวิตบล็อกเกอร์กับชีวิตนักข่าวคล้ายกันไปทุกที คือ ต้องติดตามข้อมูลข่าวสารเป็นประจำ มีสำนวนนักหนังสือพิมพ์ว่า "ข่าวเก่าไม่ใช่ข่าว"
  • บล็อกเกอร์ที่ "ตกข่าว" ชอบเขียนเรื่องข่าว "แต่ไม่สด" มักจะไปไม่ค่อยรอด

(4). เขียนสม่ำเสมอ (Adhere to a schedule)

  • นักอ่านส่วนใหญ่ชอบอะไรที่สม่ำเสมอ หรือคาดการณ์ได้... แฟนๆ บล็อกมีแนวโน้มจะชอบบล็อกเกอร์ประเภทอัพบล็อก(ตีพิมพ์เรื่อง)สม่ำเสมอ "รายวัน-รายสัปดาห์" อะไรทำนองนี้มากกว่าบล็อกเกอร์ที่อัพบล็อก "กะปริดกะปรอย" หรือหาความแน่นอนไม่ได้
  • การเขียนบล็อกมีลักษณะคล้ายการเขียนบันทึกประจำวันหรือไดอารี่ บล็อกเกอร์บางท่านมีเทคนิคติด "ข่าวประกาศ" บอกแฟนบล็อกเลยว่า ช่วงนี้จะไปไหน... แบบนี้นักอ่านชอบ

...

(5). ทำอะไรๆ ให้ง่าย (Clarity and Simplicity)

  • หลักการทำหนังสือพิมพ์ข้อหนึ่ง (จากตำราวิชาการหนังสือพิมพ์ มสธ.) คือ ต้องเขียนให้คนที่จบการศึกษาภาคบังคับอ่านได้โดยไม่ปวดหัว หลักจำคือ "ง่ายไว้ก่อนพ่อสอนไว้"

(6). จ่าหัวเรื่องให้สั้นและ "ได้เรื่อง" (Keyword-rich)

  • สมัยก่อนธรรมเนียมนักหนังสือพิมพ์อย่างหนึ่งคือ ต้องจ่าหัวเรื่องให้สั้น เนื่องจากหน้ากระดาษมีจำกัด จะได้ใช้ตัวอักษรโตขึ้น เตะตามากขึ้น และอ่านได้ง่ายแต่ไกล (จากตำราวิชาการหนังสือพิมพ์ มสธ.)
  • ทุกวันนี้ยังใช้หลักการนี้คือ หัวข้อไม่ควรยาวเกิน 10-12 คำ (พยางค์) และควรจ่าให้ได้ความหมายด้วย

...

(7). จำนวนก็สำคัญ (Quantity matters)

  • การเขียนบล็อกให้เตะตาคนอย่างเดียวไม่พอ... ต้องให้เตะตาโปรแกรมสืบค้น (search engine) เช่น คุณครูกูเกิ้ล ฯลฯ ด้วย คุณครูกูเกิ้ลชอบบล็อกส่งแมวมองสายสืบ (software engine) เข้าไปตามเว็บไซต์ที่บริการบล็อกต่างๆ แถมยัง "ให้คะแนน (rating)" บล็อกไว้ด้วย
  • บล็อกที่มีเนื้อหาหรือ "ตีม (theme)" ไปทางเดียวกัน ตีพิมพ์เรื่องแนวเดียวกัน มีคำหลัก (key words) ซ้ำๆ กัน เช่น บล็อกนี้ดารา บล็อกนี้สุขภาพ ฯลฯ มากกว่าบล็อกประเภท "แกงโฮะ (ทางเหนือ)" หรือ "จับฉ่าย"

(8). สม่ำเสมอ (frequency)

  • คุณครูกูเกิ้ลชอบบล็อกเกอร์ที่อัพบล็อกสม่ำเสมอ เช่น ทุกวัน ทุก 2-3 วัน ฯลฯ มากกว่าบล็อกเกอร์ที่อัพบ้างหายหัวบ้าง และจะให้ค่าคะแนนตามความขยันหมั่นเพียรของบล็อกเกอร์ (โดยนำไปไว้หน้าแรกๆ ทำให้คนอื่นค้นแล้วเจอบล็อกของเราก่อน)

...

(9). "บก." ต้องเป็น "บก." (spell checking and proof-reading)

  • สมัยก่อนนักเขียนมีบรรณาธิการ (บก.) ช่วยตรวจให้ ทุกวันนี้บล็อกเกอร์ (บก.) ต้องฝึกเป็นบรรณาธิการ (บก.) ของบล็อก โดยการอ่านทบทวนก่อนตีพิมพ์ทุกครั้ง และควรอ่านข้อคิดเห็นของท่านผู้อ่านด้วย เพื่อจะได้แก้ไขใหม่ (ถ้าจำเป็น)

(10). ควรมี 'RSS'

  • นักอ่านบล็อกชาวตะวันตก (ฝรั่ง) มักจะรับสมัครข้อมูลข่าวสารจากโปรแกรม "ส่งหนังสือพิมพ์อัตโนมัติ (RSS)" ทุกวันนี้โชคดีที่เว็บไซต์บริการบล็อกในไทยมักจะเตรียมเจ้า 'RSS' ไว้ให้พร้อม ข้อนี้จึงเบาใจได้เลย

...

ถึงตรงนี้... ขอมอบวิธีที่ 11 เป็นบรรณาการ (ของฝาก) ท่านผู้อ่านในโอกาสปีใหม่ 2552 คือ เขียนบล็อกยุคนี้ขอให้มี "ภาพประกอบ" ด้วย

ภาษิตจีนกล่าวว่า "ภาพ 1 ภาพพูดได้ 1,000 คำ"... เรื่องนี้ยังคงเป็นจริง และจริงมากขึ้นเรื่อยๆ บล็อกที่ไม่มีภาพนั้นดูแห้งแล้งดุจทะเลทราย ภาพเป็นทั้งสีสัน และเป็นโฆษกที่ช่วยเชิญชวนท่านผู้อ่านให้เข้ามาอ่านบล็อกของท่านอีก 1,000 คำทีเดียว

...

ภาษาอังกฤษสบายๆ สไตล์เรา                     

...

ศัพท์ที่น่าสนใจตอนนี้มาจากคำแนะนำข้อ (5) คือ 'Clarity and Simplicity' แปลว่า "ความชัดเจน(แจ่มแจ้ง) และความเรียบง่าย"

  • 'clarity' > noun / คำนาม > [ แคล่ - รี - ถี่ ]
  • 'clarity' = clearness, sharpness = ความกระจ่าง ความแจ่มแจ้ง ความชัดเจน
  • 'clarity' > ฟังเสียงเจ้าของภาษา > คลิก "ลำโพง" หรือ "ธงชาติ" > [ Click ] , [ Click ]

...

ตำแหน่งย้ำเสียง (accent) ในภาษาอังกฤษแสดงโดยการใช้อักษรตัวหนา + ขีดเส้นใต้ / Bold) นั้น... ส่วนใหญ่คำนามอยู่พยางค์แรก คำกริยาอยู่พยางค์สองหรือข้างหลัง ถ้าเป็นคำที่ทำให้เป็นคำนามโดยเติม '-tion' ให้ย้ำเสียงหน้า '-tion' เสียงที่เหลือให้พูดเบาลง

เสียงสุดท้ายที่ใช้อักษรตัวบาง + เอียง (Italic)... ให้พูดสั้นและเบาคล้ายเสียงกระซิบ อย่าพูดภาษาอังกฤษโดยไม่ย้ำเสียง (accent) เพราะฝรั่งฟังแล้วไม่ค่อยเข้าใจ

...

ที่มา                                                       

  • Thank Masternewmedia.org > Robin Good. Luigi Canali de Rossi ed. > How to write a successful blog: Top ten tips > [ Click ] > April 26, 2005.
  • บล็อกนี้มุ่งส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค... ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือมีความเสี่ยงต่อโรคสูง ควรปรึกษาหมอก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบพระคุณ > อ.นพ.ศิริชัย ภัทรนุธาพร สสจ.ลำปาง + อ.นพ.โอฬาร ยิ่งเสรี ผอ.รพ.ห้างฉัตร + อ.อรพินท์ บุญเสริม + อ.อนุพงษ์ แก้วมา > สนับสนุนเทคนิค iT.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง > สงวนลิขสิทธิ์ > ยินดีให้ท่านนำไปใช้ส่งเสริมสุขภาพ หรือเผยแพร่ความรู้ได้ ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า.
หมายเลขบันทึก: 232519เขียนเมื่อ 29 ธันวาคม 2008 21:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท