13 วิธีชอปปิ้ง(ซื้อของ)ให้ถูก(ราคา+ใจ)


 

...

 > [ Wikipedia ]

...

 

เป็นที่ทราบกันดีว่า ยุคนี้พวกเราคงต้องประหยัดกันมากขึ้น ทีนี้จะจับจ่ายใช้สอยอย่างไรให้ประหยัด ท่านอาจารย์เมลิสซา โกตต์ฮาร์ตแห่งนิตยสาร AARP มีคำแนะนำดีๆ ไว้อย่างเป็นระบบ

ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังในรูปแบบไทย(หลาย)คำอังกฤษ(น้อย)คำ เพื่อให้พวกเราเก่งภาษาอังกฤษครับ

...

(1). Don't be listless = อย่า "ช็อป(ปิ้ง)" โดยไม่มีรายการ (list = รายการ; listless = ไม่มีรายการ)

  • การไปซื้อของโดยไม่มีรายการ "ของต้องซื้อ" มักจะทำให้เสียเวลาอยู่ที่ร้านนานขึ้น ซื้อของมากขึ้น และจ่ายมากขึ้นด้วย
  • ทางที่ดีคือ จดๆๆๆ ไปก่อนว่า ต้องการอะไร ซื้อของตามรายการ และรีบออกไปก่อนที่รายจ่ายจะ "บานปลาย"

...

(2). Study sales cycles = ศึกษา (สังเกต) วงจรการขาย

  • เว็บไซต์ในสหรัฐฯ มักจะมีรายการลดราคาสินค้าทุกๆ 12 สัปดาห์ ซึ่งถ้าเราหมั่นสังเกต "วงจรการขาย" ที่ประกอบด้วยการขายราคาทั่วไป สลับกับการลดราคาเพื่อส่งเสริมการขาย หรือลดสินค้าตกค้างแล้ว อาจทำให้ซื้อของได้ถูกลง

...

(3). Make a cut = ตัดคูปองลดราคา

  • ดูรายการลดราคาสินค้าในหนังสือพิมพ์ก่อนไปซื้อของ... ถ้าพบรายการสินค้าลดราคา หรือคูปองลดราคา อย่าลืมตัดเก็บ และนำไปเป็นหลักฐานด้วยเสมอ

...

(4). Don't prejudge = อย่าเพิ่งพิพากษา (pre- = ก่อน; judge = พิพากษา ตัดสิน)

  • ซูเปอร์มาร์เกตมักจะแบ่งเป็น 2 ประเภทได้แก่ ประเภท "ถูกทุกวัน (EDLPs = Everyday low prices)" กับประเภท "ราคาขึ้นๆ ลงๆ (high-lows / ไฮโล)" ซึ่งอาจมองดูหรูกว่าสักหน่อย ทำให้พวกเรามักจะพิพากษา หรือตัดสินไว้ก่อน (prejudge) ว่า "ร้านนี้แพง"
  • ซูเปอร์มาร์เกตประเภท "ถูกทุกวัน (EDLPs)" มักจะตั้งราคาให้ต่ำหน่อยตลอดปี ทำให้เป็นร้านค้ายอดนิยม ทว่า... ถ้าติดตามข้อมูลข่าวสารดีๆ เช่น หนังสือพิมพ์ ฯลฯ ร้านค้าที่ดูหรู (high-lows / ไฮโล) ก็มีช่วงลดราคาเหมือนกัน และมักจะลดราคาต่ำกว่าร้านประเภท "ถูกทุกวัน" เสียด้วย

...

(5). Patrol the border = ตระเวน (ตรวจ) ชายแดน (patrol = ตรวจตรา)

  • สินค้าแพงๆ มักจะตั้งไว้ตรงกลาง หรือที่ๆ เดินเข้าไปแล้ว "เตะตา" หรืออยู่ "พบเห็น" ตั้งแต่แรก ของที่ถูกหน่อยหรือแบรนด์ (brands = ยี่ห้อหลายยี่ห้อ) ที่ไม่ดังเท่าไหร่มักจะอยู่บริเวณ "ชายขอบ" หรือ "บริเวณชายแดน" (ขอบนอก) ของร้าน
  • เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะซื้ออะไร... อย่าลืมสำรวจสินค้ากลุ่มเดียวกันให้หมด (ซ้ายสุดจรดขวาสุด) แล้วเปรียบเทียบกันก่อนว่า แบบไหนคุ้มค่ากว่ากัน อย่าเพิ่งซื้อสินค้าชนิดแรกที่ "สบตา" กันพอดี

...

(6). Look high, then low = มองสูง แล้วมองต่ำ

  • สินค้าที่อยู่ในระดับสายตามักจะต้องเสียค่า "ขึ้นหิ้ง" สูงกว่าสินค้าที่อยู่สูงกว่า หรือต่ำกว่าระดับสายตา
  • เวลาซื้อของ... อย่าลืมมองให้สูงขึ้น (สูงกว่าระดับสายตา) และมองให้ต่ำลง (ต่ำกว่าระดับสายตา) เพราะนั่นอาจทำให้พบสินค้าที่มีคุณภาพดี "ในราคาที่ประหยัดกว่า" ได้

...

(7). Take your pick of the litte = (บางที) สินค้าขนาดเล็กประหยัดกว่า

  • สินค้าแพ็ค (pack = ขนาดบรรจุภัณฑ์ ขนาดสินค้า) ใหญ่มักจะประหยัดกว่าแพ็ดเล็กก็จริง แต่ก็ไม่เสมอไป

...

  • วิธีที่ดีคือ ให้พกเครื่องคิดเลข โทรศัพท์มือถือที่มีเครื่องคิดเลขไปด้วย แล้วคำนวณดูว่า แพ็คขนาดใดประหยัดกว่า ซึ่งอาจจะพบว่า ขนาดใหญ่ไม่ได้ประหยัดกว่าเสมอไป
  • สินค้าหลายอย่างซื้อทีละน้อยประหยัดกว่า โดยเฉพาะอาหารจานด่วน (ฟาสต์ฟูด) และขนมสำเร็จรูป... เนื่องจากคนเรามีแนวโน้มจะ "กินทีเดียวหมดเลย" แพ็คใหญ่ทำให้อ้วนได้ง่ายกว่า และลดความอ้วนได้ยากกว่าด้วย

...

(8). Get carded = ใช้บัตร (ดีไหม)

  • ร้านค้าหลายแห่งมีสิทธิประโยชน์ให้คนที่ใช้บัตรสมาชิกได้รับส่วนลด หรือสิทธิพิเศษ ซึ่งควรศึกษาดูว่า คุ้มไหม

...

  • คนที่ "ใช้บัตร (เครดิต)" แล้วคุ้มมักจะเป็นคนที่มีฐานะการเงินมั่นคง (มีเงินเก็บอย่างน้อย 6 เดือนของรายจ่ายประจำ) มีรายได้ประจำสม่ำเสมอ ไม่มีหนี้ และอายุมากกว่า 35 ปี (คนที่อายุเกิน 35 ปีมักจะระมัดระวังเรื่องการเงินมากกว่าคนที่อายุน้อยกว่านี้)
  • คนที่ "ใช้บัตร (เครดิต)" แล้วขาดทุน หรือพอพกบัตรแล้ว "มือเติบ" ใช้เงินเกินตัว... มักจะขาดคุณสมบัติข้างต้น เป็น "คนรวยใหม่ (nouveau riche)" เช่น เพิ่งถูกลอตเตอรี เพิ่งได้รับมรดก เพิ่งมีฐานะดีขึ้น  (เช่น อยู่ๆ ก็ขายที่ดินได้เป็นกอบเป็นกำ ฯลฯ) คนที่เพิ่งเริ่มต้นทำงาน

...

(9). Find a peel deal = มองหา (มองให้เห็น) ต้นทุนของการบรรจุภัณฑ์หรือการหีบห่อ (peel = เปลือก หีบห่อ: deal = การซื้อขาย การจัดการ)

  • ผักผลไม้และสินค้าที่ซื้อเป็นชิ้นๆ ใส่ถุงมักจะมีราคาถูกกว่าผักผลไม้ที่ปอกเปลือก หรือบรรจุแพ็คพร้อมกิน
  • ทางที่ดีคือ ซื้อผลไม้ทั้งผล หรือซื้อผักไปล้างเอง หั่นเองที่บ้าน และที่ไม่ควรลืมคือ ผลไม้ทั้งผลดีกับสุขภาพมากกว่าน้ำผลไม้ เนื่องจากมีเส้นใย (ไฟเบอร์) ที่ช่วยให้อิ่มนาน ไม่หิวง่าย ดูดซับโคเลสเตอรอล ดูดซับสารพิษ และป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่

...

(10). Meat and greet = เนื้อและการต้อนรับ

  • ต้นฉบับท่านว่า ร้านค้าในสหรัฐฯ จะมีกำหนดวันรับเนื้อจากผู้จัดส่ง (logistics / ลอจิสติก) เป็นระยะๆ ทำให้ราคาเนื้อไม่เท่ากัน วันแรกๆ จะแพงกว่าวันใกล้หมดอายุ หรือตอนใกล้ช่วงเปลี่ยนสินค้า

...

  • ราคาเนื้อในร้านเมืองไทยคงจะต่างกันไป ทว่า... การกินเนื้อให้น้อยลงสักครึ่งหนึ่ง หันไปกินโปรตีนอื่นๆ แทนสัก "ครึ่งหนึ่ง" น่าจะดี
  • คำแนะนำสุขภาพในสหรัฐฯ แนะนำให้ใช้โปรตีนเกษตร (ทำจากถั่วเหลือง) ถั่ว ไข่ และนมไขมันต่ำ (หรือนมไม่มีไขมัน) แทนเนื้อครึ่งหนึ่ง ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดได้มากขึ้นกว่ากินโปรตีนจากเนื้ออย่างเดียว และดีกับสุขภาพมากขึ้นด้วย

...

(11). Rethink frozen foods = คิดอีกครั้งก่อนซื้ออาหารแช่แข็ง (rethink = คิดซ้ำ; re- = อีกครั้ง; think = คิด; frozen = แช่แข็ง)

  • อาหารแช่แข็ง อาหารสำเร็จรูป และอาหารกึ่งสำเร็จรูปมักจะแพงกว่าอาหารทำเองที่บ้าน

...

  • วิธีที่ประหยัดกว่าคือ การหัดทำอาหารสุขภาพอร่อยๆ กินเองที่บ้านให้มาก ห่อข้าวหรือพกปิ่นโตไปที่ทำงาน กินอาหารสำเร็จรูป-กึ่งสำเร็จรูป และกินข้าวนอกบ้านให้น้อยลง
  • ถ้าเมืองไทยมีโปรแกรมสอนการทำอาหารไทย และขนมไทยที่ดีกับสุขภาพในชั้นเรียนทุกระดับ และมีสถาบันสอนการทำอาหารสุขภาพ (รัฐอาจจะลดภาษีธุรกิจให้ภาคเอกชนที่เปิดสอน)... เมืองไทยเราจะก้าวไปสู่ความเป็นชาติที่มีสุขภาพดี (healthy nation) ได้เร็วขึ้นมากทีเดียว

...

(12). Mind the scanners = ใส่ใจเครื่องสแกน (จุดคิดราคาสินค้า)

  • เวลาเราไปเติมน้ำมัน... เราควรตั้งใจดูมิเตอร์ว่า น้ำมันราคาเท่าไร พนักงานเซ็ต (ตั้งค่า) ราคาเริ่มต้นไว้ที่ศูนย์ก่อนเติมหรือไม่ และค่าน้ำมันในมิเตอร์ตรงกับใบเสร็จฯ หรือไม่

...

  • การซื้อของก็เช่นกัน... เวลาพนักงานคิดเงินสแกน ควรใส่ใจราคาสินค้าบนเครื่องสแกนดีๆ เมื่อคิดเงินแล้วให้ตรวจดูรายการสินค้ากับใบเสร็จฯ ว่า ตรงกันหรือไม่ เนื่องจากอาจเกิดความผิดพลาดกันได้ เช่น ร้านค้าบางแห่งอาจโฆษณาไว้ถูกกว่าราคาขายจริง ฯลฯ จะได้ทักท้วงกันให้เรียบร้อย
  • การใส่ใจในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เป็นการสร้างนิสัย "รอบคอบ" ซึ่งเป็น 1 ในอุปนิสัยของคนที่ประสบความสำเร็จให้แข็งแกรงเสมอ

...

  

(13). Eat before you go = กินก่อนไป (ชอป)

  • คนที่กำลังหิวข้าวหรือหิวน้ำอยู่มีแนวโน้มจะซื้อของกินกลับบ้านมากเกิน วิธีที่ดีคือ กินข้าวและดื่มน้ำให้อิ่มพอประมาณก่อนไปชอป (ซื้อของ)

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีความสุขกับการอยู่แบบพอเพียง และมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ 

...

ภาษาอังกฤษสบายๆ สไตล์เรา                       

หัวข้อเรื่องวันนี้คือ 'Slash Your Food Bill' แปลว่า "หั่น (เฉือน ลดราคา) บิลล์ (ใบเรียกเก็บเงิน) ค่าอาหารของคุณ" 

 

  • 'slash' > [ ส(s) - แลช - ช(sh) ] > [ Click ] , [ Click ]
  • 'slash' > noun = การหั่น การลดราคา การเฆี่ยน(ตี)
  • 'slash' > verb = หั่น ลดราคา เฆี่ยน(ตี)

 

ขอให้ย้ำเสียงหนัก (accent) ตรงเสียงตัวอักษรหนา (ขีดเส้นใต้) เสียงอื่นๆ พูดให้เบาลง ส่วนตัวเสียงที่ใช้อักษรเอียงให้พูดเบาๆ คล้ายเสียงกระซิบ 

  > [ FreeDictionary.com ]

ต้นฉบับพจนานุกรม freedictionary.com แสดงความหมายของคำ 'slash' หรือการเฆี่ยนตีไว้ดังภาพ มีความเป็นไปได้ที่คำนี้จะมาจาก "เสียงธรรมชาติ" คือ เสียงสะบัดของหนังหรือแซ่ที่ใช้ในการเฆี่ยนตี

ภาษาไทยเรานิยมแปลคำนี้ (slash) ว่า "กระหน่ำ! ลดราคา" นั่นเอง

...

 

ที่มา                                                       

  • Thank AARP > Melissa Gotthardt. Slash Your Food Bill > [ Click ] > January & February 2008. 
  • ขอขอบพระคุณ > อ.นพ.ศิริชัย ภัทรนุธาพร สสจ.ลำปาง + อ.นพ.โอฬาร ยิ่งเสรี ผอ.รพ.ห้างฉัตร + อ.อรพินท์ บุญเสริม + อ.อนุพงษ์ แก้วมา > สนับสนุนเทคนิค iT.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง > สงวนลิขสิทธิ์ > ยินดีให้ท่านนำไปใช้เผยแพร่ความรู้ได้ ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า > 24 มกราคม 2552.
หมายเลขบันทึก: 237195เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2009 17:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ขอบคุณวิธีดีๆ ทั้งหมดค่ะ

แลกเปลี่ยนนะคะ

สำหรับสี่วิธีการที่ดีที่สุดคือ คำนวณค่าใช้จ่ายทั้งหมดคร่าวๆ ค่ะ แล้วเตรียมเงินให้มากกว่าเล็กน้อย พกมือถือคำนวณค่าใช้จ่าย และพยายามอย่าพกบัตรใดๆ เพียงเท่านี้ก็จะทำให้สามารถกำหนดค่าใช้จ่ายรอบนั้นลงได้

เป็นวิธีที่ได้ผลนะค่ะ แต่บางทีก็ลืมที่จะทำเพราะเข้าไปซื้อของโดยไม่ตั้งใจ เงินก็เลยเดินออกจากกระเป๋าง่ายค่ะ

หลายอย่างกำลังทำอยู่ค่ะ

ขอบพระคุณสำหรับข้อคิดที่มีประโยชน์ค่ะ อาจารย์หมอ

 

นี่เป็นคำแนะนำที่น่าสนใจมากๆ เลย...

  • ผมว่า ยิ่งถ้านำกระดาษ ปากกาหรือดินสอไปด้วย หัดบวกเลขไปเรื่อยๆ ว่า ตอนนี้ซื้อไปกี่บาทแล้ว
  • แบบนี้สมองจะดีด้วย ช่วยประหยัดด้วย

ขอบคุณมากๆ ครับ

สวัสดีครับ

  • เดี๋ยวผมมาอ่านต่อนะครับ เป็นอะไรที่มีประโยชน์มากครับ ได้เรียนภาษาด้วย
  • ขอบคุณครับ

ขอบคุณนะค่ะ อ.หมอ กับวิธีการบวกเงินค่าใช้จ่ายโดยไม่ต้องใช้โทรศัพท์มือถือ ครั้งหน้าถ้าไปจะลองวิธีนี้ค่ะ แล้วจะมาเล่านะค่ะว่าสี่คำนวณผิดไปกี่บาท

ขอบคุณทุกๆ ท่าน + ทุกๆ ความเห็นครับ...

ขอบคุณมากค่ะ เป็นประโยชน์มาก ๆ เลย

เพราะหนูชอบ ช้อปมาก ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

จะได้ มีเงินเหลือเยอะขึ้น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท