Blog กับการปฏิวัติระบบการศึกษา : แถลงการณ์ฉบับที่ 2


โดยครูและอาจารย์เหล่านี้เข้ามาทำงานโดยมิได้อยู่บนฐานของ “เงิน” ไม่มีรายได้ ไม่มีผลประโยชน์ มีแต่ใจและการเสียสละ ความรู้ที่ได้นั้นจึงเป็นความรู้ที่บริสุทธิ์ , เมื่อเรียนจบตามระบบแล้วหรือผู้ที่ไม่ได้เรียนตามระบบยังสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมด้วยตนเองตลอดทั้งชีวิต

  

  

  

  

แถลงการณ์การปฏิวัติการศึกษาฉบับที่ 2

 

วิธีการดำเนินงาน


พูดแล้วบ่นแล้วพอจะเห็นปัญหาแล้ว แล้ววิธีการปฏิวัติล่ะหน้าตาเป็นอย่างไร?


ปฏิวัติฐานคิดและสิ่งอื่น ๆ ก็จะปฏิวัติตามมา ดังเช่นที่อัลเบิร์ต ไอน์สไตล์ เคยกล่าวว่า “เราต้องการวิถีคิดใหม่โดยสิ้นเชิง ถ้ามนุษยชาติจะอยู่รอดได้” ถ้ายังคิดแบบเดิม ๆ ก็คงจะแก้วิกฤตการณ์ไม่ได้
 

เปลี่ยนจากเรียนในห้องเรียนมาเรียนในอินเทอร์เนท

เปลี่ยนจากการมีที่ปรึกษาผู้สอนหนึ่งหรือสองคน เปลี่ยนมาเป็นมีอาจารย์และที่ปรึกษาโดยคนทั้งโลก
แต่การเรียนรู้นั้นจะต้องมี “ปัญญา” ของผู้เรียนเป็นสิ่งคัดกรองความรู้ ซึ่งมีฐานอยู่บน

“ศีล สมาธิ และปัญญา”


          บล็อคจึงสามารถตอบปัญหาและเป็นเครื่องมือในการปฏิวัติฐานคิดและฐานการเรียนรู้ในยุคนี้ได้ เพราะบล็อคมีครูและอาจารย์ในระดับต่าง ๆ อยู่อย่างมากมาย โดยครูและอาจารย์เหล่านี้เข้ามาทำงานโดยมิได้อยู่บนฐานของ “เงิน” ไม่มีรายได้ ไม่มีผลประโยชน์ มีแต่ใจและการเสียสละ ความรู้ที่ได้นั้นจึงเป็นความรู้ที่บริสุทธิ์เป็นความรู้ที่สัมผัสจริงมาในขณะนั้น ณ เวลานั้น วันนั้น นำมาเผยแพร่ได้ทันที ซึ่งจะสามารถกล่าวขยายความในรายละเอียดของแถลงการณ์ฉบับต่าง ๆ ได้ดังต่อไปนี้


1. บล็อคกับการปฏิวัติการเรียนรู้ด้วยตนเอง

           ขอกล่าวอ้างถึงท่านศาสตราจารย์คลีนิกเกียรติคุณวราวุทธ สมาวงศ์ ได้เขียนเทคนิค "การสอนนักศึกษาให้เรียนเป็น (Teach the Medical Student How to Learn)" ซึ่งท่านได้สรุปแนวทางการเดินการสอนนักศึกษาให้เรียนเป็นในข้อแรกได้แก่ ส่งเสริม Self Directed Learning หรือ SDL ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมากในปัจจุบัน
           สำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเองนั้น นักศึกษาควรได้รู้ขอบเขตของหลักสูตรที่ต้องการ รู้ถึงเป้าหมายที่หลักสูตรและสถาบันการศึกษาได้จัดแผนการเรียนนี้ขึ้นมาว่า “เขาจะกำลังทำอะไรกับเราเพื่อให้เราเป็นอย่างไร” เพราะถ้าเรารู้ขอบเขตของหลักสูตร สิ่งแรกที่ได้ก็คือ ข้อมูลในการตัดสินใจว่า เราจะเรียนในสาขานั้นหรือไม่ เมื่อได้รู้ขอบเขตในการศึกษาแล้ว ตัดสินใจเข้าเรียน เมื่อเรียนแล้วเป็นไปตามขอบเขตที่เขียนไว้หรือไม่ ถ้าไม่สามารถส่งข้อมูลย้อนกลับ โต้แย้ง ให้เป็นไปตามสิ่งที่เสมือนเป็นพันธะสัญญาที่มหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาเขียนออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ว่า “ผมสัญญาว่าคุณจะได้รับอย่างที่ผมเขียนไว้”


              ทำไมบล็อกถึงทำได้ เพราะอุปนิสัยของคนไทยบางครั้งมีลักษณะแบบประนีประนอม ไม่เป็นไร เขาทำดีแล้ว เต็มที่แล้ว ต้องถามต่อว่า "ดีแล้วเต็มที่แล้ว นั้นตรงกับพันธะสัญญาที่ให้ไว้หรือไม่"

ถ้าไม่ เราจะบอกเขาได้อย่างไรบ้าง

เราจะเดินเข้าไปบอกท่านผู้บริหารตรง ๆ เลยเหรอ

คงจะยากครับ เพราะว่าแต่ละท่านมีภาระงานมากมาย เพราะเข้าไปถึงก็กล้า ๆ กลัว ๆ ที่จะพูด เพราะระบบการจัดห้องของประเทศเราไม่ Square คือระหว่างเจ้าของห้องกับผู้ที่เดินเข้าไปในห้องไม่สร้างบรรยากาศความเสมอภาคในการคุยเท่าใดนัก เป็นผลทางจิตวิทยาทำให้ผู้ที่เดินเข้าไปห้องที่ผู้บริหารนั่งอยู่ใน Space ของเขาแถมยังนั่งอยู่บนเก้าอี้หัวพญานาคตัวนั้น ผู้บริหารหรือเจ้าของห้องจึงสามารถคุมเวทีได้เหนือกว่าเราอย่างเห็นได้ชัด ทำให้การสนทนาก็จะไม่ได้ผลเท่าที่ควร

            บล็อคสร้างความเสมอภาค ทุกคนนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ในพื้นที่ (Space) ของตนเอง บนเวลาที่ตนเองสบายใจที่สุดที่อยากจะพูด อยากบอกอยากคุย สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในใจก็จะพรั่งพรูออกมาได้อย่างเต็มที่


2. บล็อคกับระบบที่ปรึกษาจากคนทั่วโลก

             การศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองนั้น ถ้ามีระบบบล็อคเข้ามาช่วย นอกเหนือจากที่ปรึกษาโดยตรงโดยตำแหน่งที่สามารถเข้ามาช่วยแก้ไข ช่วยให้ข้อเสนอแนะ ตรวจงาน ตรวจความคิดของเราแล้ว เรายังมีที่ปรึกษากิตติมศักดิ์อย่างมากมายในโลกนี้ที่สามารถเข้ามาช่วยตรวจงาน ตีความหมาย ตีความคิดที่เรากำลังคิดและทำอยู่ ทั้งท่านที่ปรึกษาที่มีตำแหน่งทางวิชาการมากมาย ทั้งศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ต่าง ๆ รวมทั้งปราชญ์ในแต่ละด้านแต่ละเรื่อง กูรูผู้เชี่ยวชาญและปฏิบัติงานเฉพาะด้านในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศไทยและทั่วโลก เข้ามาช่วยส่งเสริมสนับสนุน SDL ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพสูงที่สุด และประสิทธิภาพนี้ก็ย่อมส่งผลให้ผู้เรียนได้รับสิ่งที่ดีที่สุดในการเรียนรู้ด้วยเช่นกัน


3.  บล็อคสามารถส่งเสริมให้นักศึกษาเรียนรู้แบบรู้จริงและรู้แจ้ง
            การเรียนรู้ผ่านระบบบล็อค เป็นการส่งเสริมให้นักศึกษาให้เรียนรู้อย่างเข้าใจ (Understanding Learning) หรือในระดับที่เรียกว่า “รู้จริง”(เป็นการศึกษาที่ได้มาจากการสังเคราะห์สถานการณ์ ทำให้เกิดความเข้าใจในบริบท  จนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม) มิใช่เรียนอยู่อย่างจำ (Learning by memorization หรือ Route Learning)

             การหล่อหลอมนักศึกษาให้มีคุณสมบัติเช่นนี้ที่การมี “ครู” ที่ต้องหมั่นกระตุ้นให้นักศึกษาได้คิด ได้เรียนรู้ด้วยเหตุผล ซึ่งจะสอดคล้องกับเหตุผลในเบื้องต้นของ SDL ที่ Blogger ทุก ๆ สามารถมีครูได้ทั่วทั้งโลก เพราะ "ทุกคนที่ให้ความรู้คือครูของเรา" (แถมยังมิต้องเอางบประมาณภาษีของประเทศมาจ่ายค่าที่ปรึกษาอีกครับ) รวมถึงสามารถเป็นครูของคนทั่วทั้งโลกได้เช่นเดียวกัน ซึ่งขอเรียกว่าเป็นBlogger Teacher


            จากนั้นมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เติมเต็มและต่อยอดกันตลอดเวลา การกระตุ้นให้คิด กระตุ้นให้ปฏิบัติ แล้วนำกลับมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเป็นวงจรที่หมุนวนอย่างไม่มีวันจบสิ้นนั้น ส่งผลทำให้นักศึกษาหรือผู้ที่เรียนรู้เข้าสู่ระดับความรู้ที่เรียกว่า “รู้แจ้ง” (การเรียนรู้ที่อยู่นอกเหนือขอบเขตของความจำ แต่เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยการสร้างความเข้าใจผ่านการกระทำ ผ่านความรู้สึก  เป็นเรื่องของสามัญสำนึก  และจิตวิญญาณ  เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการใช้ชีวิตและการมองโลก สรุปว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตจิตใจโดยตรง) เปรียบเสมือน การเรียนรู้ที่เหมือนกับเอามีดกรีดไปบนหินลึก ต้องใช้มีดที่คมมาก ความรู้แบบนี้จะอยู่นาน

             โดยครูและผู้เรียนสามารถร่วมกันทดลองแก้ไขและปฏิบัติการต่าง ๆ แล้วนำสิ่งที่ได้มานั้นมาอภิปรายร่วมกันผ่าน Blog โดยมีสักขีพยาน ผู้ร่วมสังเกตุการณ์มากมายที่สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้อย่างทันที (ปกติถ้าจัดประชุมสัมมนาอย่างนี้เหมือนกับที่นักศึกษาต้องเชิญทั้งวิทยากรและผู้เข้าร่วมประชุมต่าง ๆ มาก่อนเรียนจบนั้นทำได้ไม่กี่ครั้ง และแต่ละครั้งใช้งบประมาณค่อนข้างมาก) Blog ไม่ต้องใช้จ่ายเงิน หรือถ้าใช้ก็เป็นเพียงแค่ค่าเช่าช่องสัญญาณอินเทอร์เนท ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าเสื่อมราคาคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นการลงทุนที่น้อยมากเพราะเทียบกับผลประโยชน์ที่ผู้เรียนจะได้รับ

              นอกจากนั้น Blogger Teacher ยังสามารถซักถามติดตามความรู้ของความคิดเห็นของนักศึกษาด้วยสติและปัญญา รวมทั้งกระตุ้นให้นักศึกษาฝึกคิดต่อยอดไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด Thinking to Infinity ดังนั้นจึงเป็นการเรียนรู้ที่ไม่อยู่เฉพาะในระบบเท่านั้น เมื่อเรียนจบตามระบบแล้วหรือผู้ที่ไม่ได้เรียนตามระบบยังสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมด้วยตนเองตลอดทั้งชีวิต โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอันทรงพลังที่เรียกว่า Blog นี้  อย่างมีปัญญา ทั้งในเรื่องของการค้นคว้าหาข้อมูลความรู้ต่าง ๆ สรุปความคิดเห็น วิเคราะห์ สังเคราะห์ เติมเต็ม ต่อยอดกับ Blogger Teacher แบบ Infinity


4. บล็อคกับการกระตุ้นและส่งเสริม Self Assessment
            ผู้เรียนรู้ผ่าน Blog สามารถได้รับการกระตุ้นและส่งเสริมให้หมั่นทบทวนมองตนอยู่เสมอทั้งจากตนเองและ Blogger Teacher โดยหมั่นทบทวนทักษะของตนเองอยู่ตลอดเวลา ภายหลังจากการลงมือปฏิบัติสิ่งต่าง ๆ ที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของตนเองต่อไปเรื่อย ๆ


5.  บล็อคกับการส่งเสริมการจัดทำชุดความรู้การเรียนรู้ด้วยตนเอง 
             เมื่อถึงจุดในช่วงระยะเวลาหนึ่งที่เหมาะสม ผู้เรียนและ Blogger Teacher ก็สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอันทรงพลังนี้จัดทำชุดการเรียนรู้ของตนเอง ด้วยตนเอง เพื่อตนเอง รวมถึงเพื่อสังคมและประเทศชาติได้อย่างหลายรูปแบบ โดยใช้เทคนิคของการ “จัดการความรู้ (Knowledge Management)” อยู่ตลอดเวลา

            ซึ่งผู้เรียนและ Blogger Teacher สามารถจัดการความรู้และทำบทเรียน ไว้ให้สมาชิกและผู้ที่สนใจได้เข้ามาศึกษาค้นคว้า ฝึกคิด ฝึกปฏิบัติและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการฝึกให้นักศึกษามี Self Assessment โดยเฉพาะในอนาคตที่ สคส. จะนำ G2K กลับประเทศไทย ซึ่งจะทำให้สามารถรองรับการปฏิบัติงานผ่านระบบอินเทอร์เนทของ Blogger ได้นับล้านคน จะทำให้วิวัฒนาการการเรียนรู้ของประเทศไทยก้าวหน้าต่อไปอย่างไม่มีวันจบสิ้น ซึ่งเปรียบเสมือนการสร้างมหาวิทยาลัยเสมือน (Visual University) ซึ่งเป็นมหาวิชชาลัยโดยแท้จริง ที่เน้นการเรียนรู้ร่วมมือกันอย่างเต็มที่ (Full engagement)

            วิชชา ที่มี ช ช้าง 2 ตัว เป็นคำทางพุทธที่มีความหมายพิเศษ ไม่เหมือนคำว่า วิชาที่ใช้กันทั่วไป วิชชาหมายถึงปัญญาที่หลุดพ้นจากความโง่และความหลง ทำให้พ้นทุกข์ ซึ่งสามารถนำไปต่อสู้กับ “อวิชชา” ก็คือความไม่รู้เป็นซึ่งสาเหตุของความทุกข์และความยุ่งเหยิงวุ่นวายในสังคม ซึ่งอาจเรียกว่าวิกฤตการณ์ทางสังคมนี้ได้ โดยมีวัฏฏะของความรู้ไทย (Knowledge) นำไปสู่อำนาจ (Power) ที่จะใช้ปัญญา (PANNA) ซึ่งทุกฝ่ายต่างได้รับประโยชน์ (Win-win situation) และนำไปสู่ความยั่งยืนในการเรียนรู้อย่างเป็นสุข (To Learn Sustainable with happiness

 

 

หมายเลขบันทึก: 45479เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2006 15:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
แตกประเด็นของบล็อกออกมาได้โดนใจจริงๆครับ โดยเฉพาะข้อ 5 นี่ ความรู้ สู่อำนาจ ที่จะใช้ปัญญา หากใช้ความรู้ในทางที่ถูกที่ควร สังคมไทยคงจะน่าอยู่กว่านี้ แต่ดูเหมือนว่า ผู้ใช้อำนาจบางคนคงไม่ได้มีมุมมองแบบนี้แน่นอน
  • ใช่เลยครับ เพราะข้อ 5 นี่ นายบอนทำได้อย่างเยี่ยมยอดอยู่แล้วครับ
  • การที่นายบอนมีพลังและทุ่มเทเวลาให้กับ G2K ได้มากขนาดนี้แสดงว่ามีสติและปัญญาเลิศล้ำมาก ๆ ครับ
  • นับถือ ๆ ครับ
  • Blog ถูกนำไปพ่วงกับหลายระบบในปัจจุบัน รวมทั้งการเป็นส่วนหนึ่งของ ระบบจัดการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เนท ที่เรียกกันว่า LMS หรือ CLMS เช่น Moodle Blog เป็นต้น
  • E-learning and KM
สำหรับข้อ 1-5 นายรักษ์สุขสามารถทำได้อย่างยอดเยี่ยมทุกข้อเลยครับ นายบอนได้แค่ ข้อเดียวเอง

เห็นท่าน อ.Panda ใช้ Moodle สำหรับเวบของท่านใน มมส. แล้ว เข้าใจเลยครับกับข้อความที่ท่านเขียนมา
  • ต้องขอบพระคุณท่านอาจารย์ มมส. ทั้งสองท่านมาก ๆ เลยครับ
  • ทำให้ผมได้ทราบอะไรดี ๆ ยิ่งเยอะเลยครับ เป็นเกลือที่อยู่ใกล้ๆ  ตัวมากครับ
  • ผมต้องเข้าไปเยี่ยมชมและใช้บริการอย่างแน่นอนครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท