ชีวิตที่พอเพียง : 631. ระบบสุขภาวะ มองระดับโลก (๒)


ตอนที่ ๑

การประชุมวันที่ ๒ (๒๙ ต.ค. ๕๑)    เน้น ลปรร. SS (Success Stories) ของการสร้างความเข้มแข็งของระบบสุขภาพ    กับระดมความคิดกลุ่มย่อยเรื่อง กลไกระดับสถาบัน ที่ทำหน้าที่เชื่อม ระหว่าง demand-side กับ supply-side ของการสร้างและพัฒนา systems expert ของระบบสุขภาพ

 

การ ลปรร. SS มี ๒ ช่วง  คือช่วง SS ระดับประเทศ หรือระดับสถาบัน   กับช่วง SS ของกลไกแบบเครือข่าย

 

ช่วง SS ของการสร้างความเข้มแข็งของระบบสุขภาพ ระดับประเทศหรือสถาบัน มีผู้นำเสนอ ๓ คน

  • Prof. Anne Mills, Health Policy Unit, London School of Hygiene and Tropical Medicine เล่าเรื่องบทบาทที่ London School of Hygiene and Tropical Medicine ทำ    ฟังแล้วน่าตกใจ (ที่จริงคือชื่นชม) ในความใหญ่โตและก้าวหน้า    คือชื่อของสถาบันนี้มันเก่าคร่ำครึ   แต่บทบาทมันเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ของระบบสุขภาพโลกอย่าง น่าชื่นชม    สรุปว่า บทบาทแรก เขาผลิตปริญญาเอกปีละ ๑๐๐, โท ๗๐๐, เวลานี้มี นศ. เรียนทางไกล ใช้ อินเทอร์เน็ต ๒,๐๐๐ คน

ผม AAR กับตัวเองว่า เขาคิดค้นหาวิธีเปลี่ยนแปลงตัวเอง เพื่อทำบทบาทสร้างคนให้แก่ระบบสุขภาพโลก อยู่ตลอดเวลา 

บทบาท ที่ ๒ คือ ร่วมมือวิจัย และส่งอาจารย์ไปตั้งมั่นในต่างประเทศ   เขามีศูนย์วิจัยมาลาเรีย   และมีความร่วมมือกับประเทศอัฟริกาใต้ และไทย    เขาส่งอาจารย์มาประจำอยู่ที่คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ๑ คน เพื่อทำวิจัยมาลาเรียร่วมกัน

ในอนาคต เขาจะเน้นความร่วมมือระดับสถาบันมากกว่าระดับบุคล

  • Prof. Mariam Jacobs, Dean, School of Health Science, U of Cape Town, South Africa  เล่าเรื่องโครงการเปลี่ยนระบบสุขภาพ (Health systems Transformation) ให้มีลักษณะ ๓ อย่าง

1.     Primary Health Care led

2.     Equity targeted

3.     District focus

โดยทำในระดับภูมิภาคของทวีปอัฟริกา คือร่วมมือกัน ๑๕ ประเทศ   ทำมาแล้ว ๑๒ ปี

  • นพ. สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ เล่าเรื่องศตวรรษแห่งการเปลี่ยนแปลงระบบสุขภาพไทย   ให้เห็นขบวนการวางฐานเครือข่ายบริการระดับต่างๆ ทั่วประเทศอย่างต่อเนื่องเป็นยุคๆ   และมีผู้นำที่มีอุดมการณ์ รุ่นต่างๆ ของแพทย์ชนบทมาถึงรุ่นที่ ๕ แล้ว   โดยมีกลไกระดับสถาบันที่เป็น NGO ทำหน้าที่เสริมภาครัฐ คือชมรมแพทย์ชนบท  

การนำเสนอของหมอสุวิทย์มีสีสัน และมีความชัดเจนสร้างความประทับใจอย่างยิ่ง   ที่จริงเวลานี้หมอสุวิทย์เป็นนักวิชาการผู้นำระดับโลกในเรื่อง International Health   เป็นเกียรติแก่ประเทศไทยอย่างยิ่ง   PowerPoint ของการนำเสนอดูได้ที่นี่

เพื่อให้ที่ประชุมเห็นภาพของการสร้างความเข้มแข็งของระบบสุขภาพ ระดับสถาบัน หมอสุวิทย์โยนต่อให้ผลเล่าเรื่อง สกว., ทุนเมธีวิจัยอาวุโส, และทุนปริญญาเอกกาญจนาภิเษก   โดยหมอสุวิทย์ได้บอกให้ผมเตรียมไว้ล่วงหน้า    และผมได้เตรียม PowerPoint ๘ แผ่น ประกอบการนำเสนอในเวลาสั้นๆ ไม่ถึง ๑๐ นาที   ผู้เข้าร่วมประชุมจึงชมเปาะของกรณีตัวอย่าง SS ของประเทศไทย   ดู PowerPoint ของผมได้ที่นี่  

ช่วง SS ของกลไกแบบเครือข่าย  มีการนำเสนอ

·        Management Education and Research Consortium, www.mercnetwork.org   และ Association of African Business School, www.aabs.com

·        INCLEN ซึ่งเป็นโครงการใหญ่ของ RF มานานมาก  

·        Fogarty International Center, NIH

·        Leadership Initiative for Public Health in East Africa, www.liphea.org   ทำหน้าที่สร้างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยในสหรัฐกับในอัฟริกาตะวันออก   สนับสนุนโดย USAID  

 

ผม AAR กับตัวเองว่า    เจ้าระบบสุขภาวะ ที่มีเป้าหมายแท้จริงเพื่อสุขภาวะของผู้คน นั้น    ในความเป็นจริงแล้ว มันถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อผลอีกหลายอย่าง   เช่นเพื่อสร้างความใกล้ชิดระหว่างประเทศ   เพื่อให้สถาบันวิชาการได้สร้างสรรค์ผลงาน   และอื่นๆ    นักวิชาการในประเทศที่มีรายได้ปานกลางและต่ำ   หากไม่รู้เท่าทัน ก็จะไม่ได้ทำงานเพื่อ เป้าหมายปลายทางที่แท้จริง    แต่โดนชักชวนให้ทำเพื่อเป้าหมายรายทาง และมีความสุขอยู่กับผลประโยชน์ที่เขาหยิบยื่นให้ในรูปของทุนช่วยเหลือ  

 

วิจารณ์ พานิช

๓๐ ต.ค. ๕๑

ห้อง CA 4  ศูนย์ประชุม มูลนิธิ ร็อกกี้เฟลเล่อร์ เบลลาจิโอ

 

รูปผู้เข้าร่วมประชุม

หมายเลขบันทึก: 223736เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2008 07:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณมากครับ น่าสนใจมากครับ เช่นข้อความทิ้งทาย "แต่โดนชักชวนให้ทำเพื่อเป้าหมายรายทาง และมีความสุขอยู่กับผลประโยชน์ที่เขาหยิบยื่นให้ในรูปของทุนช่วยเหลือ"

ขอบพระคุณครับ

  • เช่นเดียวกับท่าน พันคำ  .. โดยที่ยังมิได้มาดู Comment แรก ผมก็ Copy ข้อความ " ไม่ได้ทำงานเพื่อ เป้าหมายปลายทาง ที่แท้จริง    แต่โดนชักชวนให้ทำเพื่อ เป้าหมายรายทาง และมีความสุขอยู่กับผลประโยชน์ที่เขาหยิบยื่นให้ในรูปของทุนช่วยเหลือ "  เพราะโดนใจมากๆ
  • หลายกรณีที่ได้สังเกตเห็น  เป้าหมายรายทาง มันมีมากจนเปรอะ จะด้วยเจตนาหรือไม่ ไม่ทราบได้ สุดท้ายก็ออกอาการ ... เป้าหมายเลือนลาง .. โครงสร้างสับสน .. ผู้คนเบื่อหน่าย .. สุดท้าย ... เลิกรา ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท