เคล็ดลับ “คุณอำนวย” (2)


         คุณอำนวยในชุมชน คือผู้ออกแบบการเรียนรู้และผลักดันให้เกิดการจัดการความรู้ในชุมชน บทบาทหน้าที่ของคุณอำนวยในชุมชนจึงเป็นทั้งคนประสานงาน จัดกระบวนการ และทำหน้าที่เชิงวิชาการด้วย


         การประสานงานของคุณอำนวยในชุมชน หมายรวมถึง   การผสานความร่วมมือ เชื่อมโยงคน หน่วยงาน แหล่งความรู้ต่างๆ ในจังหวะ เวลา ที่เหมาะสม  ตัวอย่างการประสานงานของคุณอำนวย เช่น กรณี นักจัดการความรู้ท้องถิ่น   ปราณีต นาคะเสโน ซึ่งทำโครงการจัดการความรู้พิพิธภัณฑ์ชุมชน เป็นผู้ประสานหน่วยราชการต่างๆ ทั้งหน่วยงานด้านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว หน่วยงานระดับจังหวัดและอำเภอ องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อให้การสนับสนุนงบประมาณของหน่วยราชการเหล่านี้ตรงกับความต้องการของชุมชน โดยชุมชนมีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ 


         การจัดกระบวนการเรียนรู้ของคุณอำนวยในชุมชน คือการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ในแต่ละประเด็น ตัวอย่างกรณีพิพิธภัณฑ์ชุมชนจะเห็นได้จากการที่คุณอำนวยวางเป้าหมายว่าต้องการให้ชาวบ้านเป็นแกนนำในการจัดทำพิพิธภัณฑ์ด้วยตัวเขาเอง คุณอำนวยต้องวางแผนออกแบบจัดกระบวนการเรียนรู้แก่ชุมชนตลอดเส้นทาง ตั้งแต่การสร้างแรงบันดาลใจ สร้างฉันทะให้ชาวบ้านเห็นความสำคัญและพลังของตัวเอง การพาชาวบ้านเรียนรู้เรื่องราวของตัวเอง เรียนรู้เรื่องการปั้น การออกแบบสิ่งของที่ระลึก การออกแบบการเรียนรู้แก่กลุ่มนักเรียนในท้องถิ่น ซึ่งการพาชาวบ้านเรียนรู้นี้เป็นทักษะที่สำคัญยิ่งของคุณอำนวยในชุมชน


         คุณอำนวยในชุมชนหรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “นักจัดการความรู้ท้องถิ่น” (นจท.) จึงต้องทำงานต่อเนื่อง พอสมควร เพื่อเชื่อมโยงทรัพยากรคน ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ความรู้ ฯลฯ ก่อเกิดเป็นการเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงแก่ชุมชนจริงๆ 


อ้างอิง  ทรงพล เจตนาวณิชย์  เสนอในการประชุมภาคีจัดการความรู้ท้องถิ่น   ๑๗ มค. ๔๙

วิจารณ์ พานิช
๓ เมย. ๔๙

 


 

คำสำคัญ (Tags): #คุณอำนวย#km#ชุมชน
หมายเลขบันทึก: 22459เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2006 08:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท