สภามหาวิทยาลัย : 45. หน้าที่สร้างสรรค์ปัญญาของมหาวิทยาลัย


การจะทำหน้าที่นี้ได้ ต้องมีอิสระ ที่เรียกว่า ความเป็นอิสระทางวิชาการ (Academic Freedom) ซึ่งจะต้องไม่ถูกการเมืองแทรกแซง และต้องระวังไม่ถูกธุรกิจแทรกแซงด้วย พูดรวมๆ คืออิสระจากอิทธิพลทั้งปวง

         ผมเกิดแรงบันดาลใจในการเขียนบันทึกนี้จากการอ่านเรื่อง Universities vow to fight interference ใน นสพ. เดอะ เนชั่น ฉบับวันที่ ๒๓ กค. ๔๙    ซึ่งกล่าวถึง World University President Summit ที่พัทยาซึ่งจบไปเมื่อวาน    และออกแถลงการณ์ Bangkok Declaration     ย้ำเจตนารมณ์ของมหาวิทยาลัยใน ๘๘ ประเทศที่จะเป็นอิสระจากการเมือง และจากการค้า

         ผมเชียร์เจตนารมณ์นี้เต็มที่  และเขียนบันทึกนี้เพื่อเสนอแนะแนวทางปฏิบัติ

         ผมมีความเห็นว่ามหาวิทยาลัยมีหน้าที่หลักคือสร้างสรรค์ปัญญาให้แก่สังคม  (และแก่โลก)      การจะทำหน้าที่นี้ได้ ต้องมีอิสระ ที่เรียกว่า ความเป็นอิสระทางวิชาการ (Academic Freedom)     ซึ่งจะต้องไม่ถูกการเมืองแทรกแซง      และต้องระวังไม่ถูกธุรกิจแทรกแซงด้วย     พูดรวมๆ คืออิสระจากอิทธิพลทั้งปวง

        ในความเป็นจริง ในหลายกรณี คนมหาวิทยาลัยเองนั่นแหละ ที่ไปแสวงหาความผูกพันกับผู้มีอำนาจ (การเมือง เงิน สังคม) เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว หรือส่วนองค์กร      บางครั้งก็เพื่อเอาชนะคู่ต่อสู้ทางการเมืองภายในมหาวิทยาลัยเอง     หรือเพื่อแสดงให้เห็นว่าตนมี connection สูง ที่จะดึงเอางบประมาณหรือทรัพยากรมาเข้ามหาวิทยาลัย

         ที่จริงการมี connection เป็นของดีนะครับ    แต่ต้องเป็น connection ที่เป็นอิสระต่อกัน ไม่ขึ้นต่อกัน      แต่ในสังคมไทยเราหลายกรณีเป็น connection แบบจงรักภักดี     ถ้าจะเป็นพวกกันไม่ว่าจะผิดหรือถูกต้องว่าตามกัน     วิธีคิดแบบนี้เป็นพิษต่อความเป็นอิสระทางวิชาการ   

        ที่ยอมไม่ได้ คือการที่รัฐบาลบอก หรือแสดงท่าที ว่า ถ้าต้องการงบประมาณ ก็ต้องสนับสนุนรัฐบาล หรือสนับสนุนพรรคการเมืองของนายก     ห้ามออกมาเสนอผลงานทางวิชาการที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล     หรือไม่เห็นด้วยกับนโยบายรัฐบาล     นี่มันรัฐบาลหรือนายกที่ไม่ให้เสรีภาพทางวิชาการแก่มหาวิทยาลัยครับ

         นายกที่ออกมาพูดโจ่งแจ้งว่าถ้าอยากได้งบประมาณบำรุงพื้นที่มากๆ ก็ต้องเลือกพรรคตน     และพูดชัดแจ้งว่าภาคใดไม่เลือกพรรคตัวก็ไม่ต้องสนับสนุนงบประมาณเป็นการส่งสัญญาณว่ารัฐบาลนี้ไม่เคารพเสรีภาพทางการเมือง      และก็พอจะเดาออกว่าเขาจะไม่ชอบให้นักวิชาการมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางวิชาการด้วย        

        ดังนั้นมหาวิทยาลัย ต้องร่วมกันออกมาแสดงท่าทีให้ชัดแจ้ง ว่าถ้าจะให้มหาวิทยาลัยทำประโยชน์แก่สังคมได้อย่างแท้จริง      มหาวิทยาลัยต้องไม่ถูกแทรกแซงจากการเมือง ทั้งทางตรงและทางอ้อม     และต้องแสดงออกให้เป็นรูปธรรมด้วย ว่าท่าทีแบบไหน ของใคร เมื่อไร ในกรณีใด ที่เป็นการจำกัดเสรีภาพทางวิชาการของมหาวิทยาลัย     เราต้องไม่กลัวอำนาจมืดครับ

        นายกทักษิณเป็นนายกที่แสดงอำนาจมืดในการปิดกั้นเสรีภาพทางวิชาการมากที่สุดครับ     ท่านบอกว่าการให้ทุนวิจัยนั้น อย่าไปคิดโจทย์วิจัยเอง     โจทย์วิจัยคือนโยบายรัฐบาล     นักวิจัยต้องช่วยกันวิจัยว่าทำอย่างไรนโยบายของรัฐบาลจึงจะบรรลุผล     นี่คือการแสดงอำนาจมืดออกมาอย่างโจ่งแจ้ง

วิจารณ์ พานิช
๒๓ กค. ๔๙

หมายเลขบันทึก: 40461เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2006 20:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มีนาคม 2012 06:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
  • ขอสนับสนุนมหาวิทยาลัยปลอดการเมืองครับผม
  • ตัวเตี้ย ขอขึ้นเก้าอี้แล้วยกมือได้ไหมครับ

ใช่เลยครับ อาจารย์หมอ

เพราะปัจจุบันสังคมของเราถูก "การเมือง" เข้าไปคุกคามถึงในมุ้ง ทุกที่ทุกเวลาทุกอย่างเป็นการเมืองหมดเลยครับ

ในมหาวิทยาลัย "การเมือง และผลประโยชน์" ก็คืนคลานเข้ามา จุดมุ่งหมายในการทำงานทุก ๆ ส่วนของมหาวิทยาลัย หลาย ๆ อย่างมองเห็นประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ของนักศึกษาครับ

สถาบันการศึกษา สถาบันที่อุดมไปด้วยปัญญา น่าจะใช้ปัญญาให้เป็นภูมิคุ้มกันอำนาจทางการเมืองด้วยครับ

ถ้าอย่างไรฝากอาจารย์หมอช่วยให้สถาบันการศึกษาปลอดการเมืองด้วยนะครับ นักศึกษาจะได้รับประโยชน์มากกว่าผู้บริหารครับ

คมมากครับอาจารย์ หากเขาได้มาอ่านและมีปัญญาคงบาดลึกและอยากแก้ไข ถ้าไม่มีก็ไม่รู้เหมือนกัน

บัณฑิต ที่เที่ยงธรรม ( อิสระ จาก โลภะ โทสะ โมหะ )    จึงคู่ควรแก่การเป็น ปราชญ์  ครุ

ปราชญ์ และ ครุ บ่อยครั้ง ก็ไม่ได้สะสม ทรัพย์และชื่อเสียง มัวแต่แสวงหา ความจริง สัจจธรรม ที่มนุษย์ในโลกียวิสัย ไม่ค่อยชอบฟัง   เช่น 

ให้ ประมาณในการบริโภค     ทำใจให้ผ่องใสแยบคาย

แหม ก็เห็นท่าน "อาจารย์แม่" ขยันเอาดอกไม้ไปให้กำลังใจซะเหลือเกิิน เทียวไปเทียวมา เฮ่อ....
เรื่องเกี่ยวข้อง:
 
 
บันทึกการเมืองไทย (และเทศ) 53 : ใครไม่เลือกพรรคตนจะไม่แต่งตั้ง
 
ชอบบทสรุปในย่อหน้าสุดท้ายมาก ๆ เลยครับ

  ขอบพระคุณครับ .. โดนใจมาก

  • ธุรกิจการศึกษา  จะพามหาวิทยาลัยลงเหว ขาดความสง่างาม
  • การเมือง จะพามหาวิทยาลัยสู่ความมืดบอดและตื้นเขินทางปัญญา

    * * *  ย่อหน้าสุดท้ายทำไมท่านเขียนอ้อมค้อมอย่างนั้นล่ะครับ ! .. ไม่หรอกครับ "ไม้หน้าสาม กลางแสกหน้า" ต่างหาก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท