KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : (260) การจัดการความรู้กับการวิจัย (2)


KM - Research เกี่ยวขัองกันใน 2 บริบทใหญ่ ๆ
1. ใช้ KM เป็นเครื่องมือในการทำวิจัย   ดังตัวอย่างในบันทึกเรื่อง การจัดการความรู้กับการวิจัย ตอนที่ 1 (click)
2. การทำวิจัย  โดยตั้งโจทย์วิจัยที่ผลลัพธ์ที่ได้   นำไปใช้ทำให้ดำเนินการ KM ได้ดีขึ้น

         ผู้จะเข้าร่วมเวที KM Research ในวันที่ 2 มี.ค.50  อีกท่านหนึ่งคือ  รศ. ชุติมา  ศิริกุลชยานนท์   หัวหน้าภาควิชาโภชนวิทยา  คณะสาธารณสุขศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล   ส่งเอกสาร "การถอดบทเรียนการเรียนรู้ด้วยการวิเคราะห์หลังการปฏิบัติ (After Action Review) โครงการเด็กไทยดูดี  มีพลานามัย" มาประกอบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

         ผมตีความว่า  รศ. ชุติมา  ต้องการมาเรียนรู้ว่าจะใช้ KM เป็นเครื่องมือ "ถอดบทเรียน" เขียนเป็นรายงานว่าเกิดความรู้อะไรบ้าง   สำหรับใช้สร้างเสริมสุขภาพของเด็กในโรงเรียน   ซึ่งก็คือใช้ KM เป็นเครื่องมือวิจัย นั่นเอง

         การวิจัยต้องเริ่มจากคำถามวิจัย   การถอดบทเรียนก็ต้องเริ่มจากการกำหนดหัวข้อ "บทเรียน" ที่ต้องการไว้ล่วงหน้า   แล้วเอาหัวข้อเหล่านั้นเป็นคำถามในการทำ AAR   โดยที่การทำ AAR จะต้องทำโดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างกว้างขวาง  อย่างอิสระ  เน้นการพูดออกมาจากใจ

         จาก AAR ผู้วิจัยก็จะเก็บข้อมูลได้อย่างมากมาย   ทั้งที่เป็นบรรยากาศ  ความรู้สึก  ถ้อยคำ  และอารมณ์  หน้าตาท่าทาง   ดังนั้นการเก็บข้อมูลโดยการจดจะไม่เพียงพอ   การบันทึกเสียงหรือถ่ายวิดีโอจะช่วยให้เก็บ tacit knowledge ได้ลึก  แล้วนักวิจัยจะต้องใช้เวลาในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพเหล่านั้น

วิจารณ์  พานิช
 8 ก.พ.50

หมายเลขบันทึก: 77427เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2007 15:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท