KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : 277. IC ระดับชาติ - โอกาสวิจัยจากสนามบินสุวรรณภูมิ


ใช้แนวคิดแบบ KM - IC แปลงวิกฤตเป็นโอกาส ๕๐ - ๑๐๐ ปี โอกาสเช่นนี้จึงจะมีมาหนหนึ่ง

KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ  : 277. IC ระดับชาติ - โอกาสวิจัยจากสนามบินสุวรรณภูมิ

        นสพ. เดอะ เนชั่น วันที่ ๑๗ มี.ค. ๕๐ ลงข่าวการทดลองแก้ปัญหาน้ำใต้ดินของสนามบินสุวรรณภูมิ     โดยทดลองในพื้นที่ ๓๕ ตารางเมตร     ทำให้ผมนึกออกว่า ปัญหาของสนามบินสุวรรณภูมินี้เองคือ IC - Intellectual Capital ของประเทศ     เป็น IC เพื่อการสร้างความรู้ขึ้นใช้งานภายในประเทศ     เป็นการทำให้ปัญหากลายเป็นโอกาส

        พูดง่ายๆ ว่า นี่คือโจทย์วิจัยที่ยิ่งใหญ่     ถ้าการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย และหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าใจ IC นี้    และรู้จักวิธีเปลี่ยนปัญหาการก่อสร้างชิ้นนี้ให้เป็นทั้งโจทย์วิจัย และเป็นทั้งการหาวิธีแก้ปัญหา taxiway

         มองในระดับผลประโยชน์ของประเทศ    นี่คือโอกาสอันยิ่งใหญ่ที่เราจะได้สร้างความรู้ขึ้นไว้ในสังคมไทย     จากเรื่องราวหรือปัญหาซึ่งใน ๕๐ ปี ๑๐๐ ปีจึงจะมีโอกาสสักหน     แต่จะมองเห็น IC นี้ได้ เราต้องมองใหญ่กว่าเรื่องปัญหาของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ     มองแบบ "ก้าวข้ามและหลอมรวม" ไปสู่ประเด็นที่ macro กว่า

         ผมมองว่า นี่คือหน้าที่ของคนในระดับรัฐบาล     และท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศ. ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์ น่าจะได้พิจารณา เข้ามาดูแล IC ชิ้นนี้ของชาติ     การที่จะดูแลเรื่องนี้ ต้องการการจัดการอีกหลายขั้นตอน     ผมเสียดายถ้าประเทศไทยสูญเสียโอกาสนี้     มองในมุมหนึ่ง เป็นโอกาส "ถอนทุน" จากการสูญเสียเชิงชื่อเสียง และเศรษฐกิจ     หันมาสร้าง "ทุนปัญญา" จากความสูญเสียนั้น

         จึงขอส่งข่าวมายัง ศ. ดร. ประมวล ตั้งบริบูรณ์รัตน์ เลขานุการ รมต. วิทยาศาสตร์ ให้ช่วยเสนอเรื่องนี้ต่อท่าน รมต. ด้วย

วิจารณ์ พานิช
๑๗ มี.ค. ๕๐

 

หมายเลขบันทึก: 84584เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2007 10:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มีนาคม 2012 15:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
มุมมองของอาจารย์วิจารณ์ ทำให้เรารู้สึก challenge ไม่เซ็งกับปัญหาสนามบินสุวรรณภูมิเหมือนที่ผ่านๆ มา เป็นการมองทางบวกที่ยอดเยี่ยมมากค่ะ
  • เห็นด้วยครับ ว่าควรจะเอาปัญหาที่เจอกันอยู่ตอนนี้มาเป็นปัญหาในการวิจัย เพื่อย้อนกลับไปดูที่มาสาเหตุต่างๆ ที่เกิดอยู่ในบ้านเรา หรือสังคมโลก ซึ่งคงโยงใยกันเข้าด้วยกัน ไม่มากก็น้อยครับ
  • ปัญหาโครงสร้างดินใต้สนามบิน น่าสนใจยิ่งครับ ผมเชื่อว่านั่นคืองานบูรณาการชิ้นหนึ่งที่ใหญ่เลยครับ จริงๆ แล้วควรจะมีการทำแบบจำลองแล้วแสดงผลให้เกิดมาก่อนสร้างครับ แต่ตอนนี้พูดไปก็ไม่มีประโยชน์ ต้องเริ่มกันที่ปัญหาที่กระทบ ว่าจะมีการศึกษาและแก้ไขอย่างไร
  • ปัญหาชิ้นนี้ ควรจะมีหลายๆ สาขาลงไปร่วมกันทำงาน ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการดิน น้ำ นักจำลองแบบทางคณิตศาสตร์ วิศวะกรในด้านต่างๆ นักวิชาการทางด้าน fluid dynamics และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกเยอะครับ โดยเฉพาะฝ่ายนโยบายที่จะรับผลของการวิจัยเหล่านี้ ไปใช้จริง เพื่อประกอบการพิจารณาก่อนทำจริง
  • ขอบพระคุณมากนะครับ
  • ถ้าสร้างทีมงานวิจัยได้..ถือเป็นวาระแห่งชาติเลยครับ

ผมส่ง อี-เมล์ ตามข้างล่าง ไปยัง ศ. ดร. ประมวล และสำเนาเรียนท่าน รมต. ยงยุทธ ด้วย   ท่าน รมต. กรุณาตอบมาตามข้างล่าง  

Dear Vicharn
   I also saw this news on TV.  It looks interesting, although I think this may be a technique already known elsewhere.  I am cc'ing this mail to Worsak, who may be the best person to comment about this, since he wrote a very comprehensive and easily readable account on the Suvarnabhumi problems in the Bangkok Post last week.  May be he can comment on this drainage attempt, and whether it will solve the problems.

[email protected] wrote:
Dear All
  Please read
http://gotoknow.org/blog/thaikm/84584 I think we should 
not let this great opportunity being lost.
 Cheers,
 Vicharn

      เรื่องนี้มองได้ ๒ แบบ     แบบหนึ่งคือมองว่ามีความรู้ในการแก้ปัญหาเรียบร้อยแล้ว     เป็นมุมมองเชิงผู้บริหาร หรือผู้แก้ปัญหา

      อีกแบบหนึ่งมองแบบนักวิจัย คือไม่เชื่อว่าวิธีที่มีอยู่แล้วจะดีที่สุด    อาจเป็นวิธีที่คุ้นเคยในภูมิอากาศ และสภาพแวดล้อม คนละแบบกับประเทศไทย     เราจึงควรฉวยโอกาสนี้สร้างความรู้เพิ่มเติมแก่โลก  เอาไว้ใช้     และเป็นการใช้ปัญหาเป็นโอกาสฝึกนักวิจัยด้วย

วิจารณ์

  • กราบเรียน อ.วิจารณ์ ที่เคารพอย่างสูง
  • เห็นด้วยในการต่อยอดโดยส่งต่อให้กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องครับ คงเกิดประโยชน์ในระดับการวิจัยบูรณาการและการนำไปใช้ในการแก้ปัญหาจริงครับ ศึกษาวิจัยเพื่อให้รู้เท่าทันกับเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นแบบไม่คาดคิด
  • น่าจะเป็นงานวิจัยเร่งด่วนและต่อเนื่องศึกษาในระยะยาวด้วยครับ
  • อาจารย์สบายดีนะครับ
  • กราบขอบพระคุณมากครับ
ศ. วรศักดิ์ กนกนุกุลชัย

กราบเรียนท่านอาจารย์ รมต. ยงยุทธ และท่านอาจารย์คุณหมอวิจารณ์ที่เคารพ

 

ผมมีความประทับใจที่ท่านอาจารย์วิจารณ์ได้มีความคิดที่จะสร้างโอกาสจากประสบการณ์ปัญหาพื้นทางของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในฐานะที่เป็นอุปนายกของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) ผมได้ติดตามและได้รับข้อมูลจากกรรมการของเราที่ส่งไปช่วยคลี่คลายปัญหาเรื่องนี้  ก่อนผมจะให้ความเห็นต่อท่านอาจารย์วิจารณ์ เรื่องการถือว่า ปัญหาของสนามบินสุวรรณภูมินี้เอง คือ IC - Intellectual Capital ของประเทศ เราจะเปลี่ยนปัญหาให้กลายเป็นโอกาสได้หรือไม่ ผมขอสรุปปัญหาที่เกิดขึ้นให้เห็นภาพรวมก่อนนะครับ

 

ปัญหาพื้นทางที่เกิดขึ้น เป็นประเด็นปัญหาอะไรได้บ้าง

 

ปัญหาเรื่องเท็คนิคที่ทันสมัย ในเรื่องนี้ คือ ขบวนการเร่งรีดน้ำส่วนเกินออกจากดินอ่อน เพื่อเปลี่ยนสภาพดินอ่อน (Soft Soil) ให้มีความแข็งแรงพอเหมาะกับการรับน้ำหนักในการใช้งานได้ ไม่ปรากฎว่า เรื่องแทกซี่เวย์ร้าว เป็นปัญหาของขบวนการนี้แต่อย่างไร พิสูจน์จากการเปิดพื้นทางยางมะตอยจนถึงชั้น พื้น cement-treated base (CTB) นที่ปรับปรุงแล้ว พบว่า มีสภาพสมบูรณ์และไม่มีการทรุดตัวเพิ่มที่มีสาระสำคัญ (สองปีที่อยู่ในขบวนการเร่งรีดน้ำออก พื้นทรุด 180 ซม สองปีหลังขบวนการเสร็จแล้ว พื้นทรุดเพียง 3 ซม) สรุป ไม่ใช่ปัญหาทางเทคนิค

 

ปัญหาเรื่องการจัดการ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ปัญหาการจัดการ ช่วงการพัฒนาแบบและการก่อสร้าง และ ปัญหาการจัดการบริหารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

 

ปัญหาเรื่องการจัดการ ระหว่างการพัฒนาแบบและการก่อสร้าง เนื่องจากมีการแบ่งหน้าที่ ผู้ออกแบบระบายน้ำ (drainage engineer) ออกจาก ผู้ออกแบบพื้นทาง (airfield pavement engineer) นี่คือ จุดอ่อนของปัญหาเรื่องนี้ วิศวกรพื้นทางออกแบบพื้นทาง Asphalt Concrete โดยตั้งสมมติฐานว่า การระบายน้ำผิวดิน (runoff rain water) จะไม่มีน้ำที่สามารถแทรกซึม ลงไปที่ชั้นทรายถมปรับระดับเหนือดินที่ปรับปรุงแล้ว ที่รู้จักกันว่า ผ้าห่มทราย (sand blanket) ดังนั้น ผู้ออกแบบพื้นทางจึงไม่ได้ออกแบบให้น้ำที่ลอดไปขังในผ้าห่มทราย ได้มีทางระบายออกได้ ส่วนผู้ออกแบบระบายน้ำ ก็เน้นแต่การระบายน้ำฝนเหนือดิน โดยไม่เข้าใจว่า ผิวหน้าของ airfield มีหลายส่วนที่ไม่ได้ปูยางมะตอย (unpaved) ถ้าผิดพลาด เกิดน้ำท่วม เนื่องจากฝนตกหนักระบายไม่ทัน หรือ น้ำล้นจากคลองระบาย น้ำก็จะแทรกซึมไปขังในผ้าห่มทรายได้

 

ปัญหาการบริหารน้ำในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ การบริหารน้ำต้องเริ่มทำตั้งแต่สร้างพื้นทางเสร็จ แต่ดูเหมือนว่า จะเริ่มบริหารน้ำหลังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเปิดแล้ว เชื่อกันว่า น้ำสะสมขังในผ้าห่มทรายมานานก่อนสนามบินเปิดแล้ว ที่ไม่มีอาการ เพราะพื้นทางยังไม่ได้รับน้ำหนักจากล้อเครื่องบินเป็นประจำเช่นเมื่อสนามบินเปิดแล้ว ชั้นผ้าห่มทรายคิดเหมือนเป็นฟองน้ำ ถ้าไม่มีแรงกด น้ำก็ยังอยู่ในผ้าห่มทราย ไม่แทรกซึมรอยต่อของ CTB ไปสู่พื้นทางยางมะตอย

               

ส่วนเรื่องที่ท่านอาจารย์จะนำประสบการณ์ที่เป็นปัญหาให้เป็นโอกาส ผมเชื่อว่า ความคิดแบบบูรณาการ ในการออกแบบก่อสร้างและบริหาร สนามบิน เป็นเรื่องสำคัญ และนี่คือปัญหาของการเกิดแตกร้าวในแทกซี่เวย์ (ต้องขอย้ำว่า runway ไม่มีปัญหา เพราะ runway มีไหลทางที่มีทรายซีเมนต์ ป้องกันน้ำไม่ให้ซึมลงส่วนนี้ และ runway อยู่ในระดับที่สูงกว่า taxiway) ประสบการณ์นี้ เมื่อมีข้อยุติในการแก้ปัญหาแล้ว น่าจะต้องมีการบันทึกไว้ ให้เป็นขุมความรู้ของคนไทยต่อไป ส่วนเทคนิคในการปรับปรุงดินโดยการเร่งรีดน้ำ ได้มีการนำไปใช้ในการสร้างถนนสายต่างๆ และนำไปใช้ปรับปรุงดินในสนามบินชางกีด้วย เทคโนโลยีนี้ แท้จริงเกิดจากการวิจัยของสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ประมาณต้นๆ 1980s และมีการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติจนเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายแล้ว แต่การนำไปใช้งาน เท็คโนโลยีอย่างเดียวไม่พอ การบูรณาการด้านอื่นๆที่เข้าใจเท็คโนโลยีและมีความสอดคล้องกัน เป็นเรื่องสำคัญมาก

 

ถ้าผมจะมีส่วนช่วยให้ข้อมูลและความรู้ในเรื่องนี้ ก็ยินดีปวารณาตัวด้วยครับ

 

ศ. วรศักดิ์ กนกนุกุลชัย

คณบดี สำนักวิชาวิศวกรรมและเทคโนโลยี

สถาบันเท็คโนโลยีแห่งเอเชีย

 

ขอขอบคุณ ศ. ดร. วรศักดิ์ กนกนุกูลชัยเป็นอย่างสูง  ในคำชี้แจงครับ

วิจารณ์

เมื่อวันที่ ๓ เม.ย. ๕๐ ศ. ดร. ยอดหทัย เทพธรานนท์ อี-เมลืมาดังนี้ Dear AJ. Vicharn, I (myself and on TAST’ behalf) have followed this up by talking to many parties. 1. President of the engineering council assured me that there’re many engineers in this country who “knew” how to solve the problem of the new air-port runway, but he also mentioned that engineers, like the medical doctors, were prima donna – therefore it’s not easy to group them up. Although he expressed his wish to do it for Thailand, it’s unfortunate that he’s .... 2. Yodyiam, as the AOT Board member, told me that the Board were considering the possibility of having an international expert team working with Thai engineers (be they an appointed group or a Thai engineering company) – the Thai party as leader. The main aim is to educate our people and conduct research at the same time. 3. Nothing is straight forward because 6 (six) of the present AOT Board members are from the former Board and all are Biggies from various Government offices (....) Cheers, Yod
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท