4 เดือนของการเป็น Blogger ประสบการณ์ที่ดี ที่อยากเผยแพร่ต่อ


ขอข้อแนะนำเพิ่มเติมด้วยนะครับ

ผมเริ่มเขียนบล็อกครั้งแรกเมื่อปลายเดือนมีนาคมปีนี้โดยแอบไปเข้าอบรมกับศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่นพร้อมกับเพื่อน ๆ ชาวBlogger มือใหม่อีกราว 20 คน

ตอนนี้ผ่านไปแล้วราวสี่เดือน มันเป็นสี่เดือนที่ผมออกจะสนุกสนานกับการเรียนรู้  การเผยแพร่ แลกเปลี่ยน รับเอาความคิดใหม่ ๆ ผ่านทางบล็อกเพราะที่นี่มีผู้รู้และพร้อมที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลากหลายวิชาชีพ หลากหลายบุคคลิกในขณะเดียวกันก็มีเพื่อนทางบล็อกที่น่ารักที่เฝ้าติดตามงานของเราอยู่เรื่อยมา นับว่าเป็นกำลังใจและเป็นครูที่คอยแนะนำ

ผมไม่มีความรู้เรื่องบล็อกมากนักแต่ก็คิดเสมอว่าอยากบอกต่อเรื่องราวของบล็อกให้เพื่อนสนิทและคนรู้จักมักคุ้นรู้จักและเข้ามาสัมผัสอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่ออกจะไม่ประสบความสำเร็จสักเท่าไรเพราะทุกคนชอบเข้ามาอ่าน แต่ไม่ชอบเขียน ไม่ชอบแสดงความคิดเห็น

ผมเลือกที่จะบอกกล่าวบันทึกของผมไปยังเพื่อนสนิทมิตรสหายผ่านการเตือนทางอีเมลล์ทุกสัปดาห์เพื่อไม่ให้เขาลืมเข้ามาอ่าน และก็ค่อนข้างได้ผล เพื่อนๆพี่ ๆและคนสนิทเข้ามาอ่านและเมื่อเจอหน้าเราก็จะพูดคุยเรื่องในบล็อก

แต่ยังมีข้อจำกัดอย่างหนึ่งของเพื่อน ๆ ที่ไม่สามารถติดตามบันทึกของผมได้ตลอด คือทุกคนไม่มีคอมพิวเตอร์ส่วนตัวที่สามารถเชื่อมโลกไซเบอร์ได้ด้วยตนเอง อาจจะต้องใช้ผ่านเน็ตคาเฟ่ ซึ่งไม่สะดวกเลย

ด้วยเหตุนี้จึงมีเพื่อน ๆ แนะนำให้ผมรวมบันทึกในบล็อกที่เขียนเหล่านี้มารวมเป็นเล่ม ๆ เพื่อสะดวกในการอ่านและการพกพาไปอ่านที่ใดก็ได้ ลดข้อจำกัดเรื่องช่องทางในการเข้าถึงบล็อกของผม

ผมได้แนวคิดนี้และออกจะคล้อยตามและเชื่อคำแนะนำ เพื่อไม่ให้สิ้นเปลืองผมจึงจะรวมเป็นหนังสือทำมือแทนการพิมพ์ที่ละมาก ๆ อาจจะทำทั้งแบบปกแข็งและแบบปกอ่อน

ความคิดนี้จะดีมาก หากผมมาเล่าให้เพื่อน ๆชาว Blogger ฟังและจะได้ฟังคำแนะนำ รูปแบบ และเทคนิคในการรวมเล่มจากเพื่อน ๆ พี่ ๆ และอาจารย์ ดังนั้นหากผู้อ่านบล็อกของผมมีข้อแนะนำในการแนวคิดการรวมเล่มนี้ ช่วยแนะนำด้วยนะครับทั้งรูปแบบ เนื้อหา 

หวังว่าคงได้รับคำแนะนำดีดีจากทุกท่านเช่นเคยนะครับ

 

คำสำคัญ (Tags): #หนังสือทำมือ
หมายเลขบันทึก: 41819เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2006 12:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)
  • น่าสนใจดีครับออต
  • ตั้งชื่อหนังสือหรือยัง
  • เป็นชื่อ บันทึก ออต ยอดนายลิขิต
  • หรือ ออต เขียนวันละนิด จิตแจ่มใส

เป็นความคิดที่ดีมากเลยครับ

จากประสพการณ์ที่เคยทำเว็บไดอารี่นะครับ

 ตอนนั้นเขียนอยู่ได้ประมาณ 1 เดือนเว็บก็ประกาศว่า

เซฟเวอร์รับข้อมูลไม่ไหว ต้องทำการลบบันทึกเก่าแบบไม่ทันตั้งตัว (เครื่องมันล่มแบบไม่บอกครับ)

ดังนั้นเราต้องมีการสำรองข้อมูลไว้ครับ

ถึงที่นี่จะยังไหวก็ตาม

โดยเฉพาะความคิดเห็นที่เข้ามานี่จะบันทึกลำบากเพราะมักจะมีการอัพเดตเรื่อยเหมือนบันทึกยังมีชียิต (โต้ตอบได้)

แต่ส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญที่สุดของบันทึกนะครับ

ซึ่งผมเชื่อว่าคุณออตก็ต้องการเก็บส่วนนี้ไว้เช่นกัน

ก็มาเตือนไว้นะครับ อนาคตเราต้องกันไว้ดีกว่าแก้ อิอิ

  • ขอเสนอชื่อเพิ่มเติมจากท่านอาจารย์ขจิต ว่า ออตชวนอ่าน ครับ
  • เห็นด้วยกับท่านจันทร์เมามายครับ
  • ขอบพระคุณมากครับ
ขอเสนอแนะเพิ่มเติมนะคะ

ถ้าจะให้ง่ายต่อการอ่าน และจัดกลุ่มเรื่อง ที่เขียนด้วยนะคะ
จัดให้ง่ายต่อการอ่านและการค้นหา ในการรวมเล่ม คะ

ขอขอบคุณอาจารย์ออต...                                  

  • ผมเชื่อมั่นว่า บันทึกของอาจารย์ออตมีลักษณะของนักเขียนอาชีพ...
  • มีวิธีง่ายๆ ที่ขอแนะนำให้อาจารย์ลองทำดู

คุณณรงค์ ม่วงตานี ผู้เชี่ยวชาญ iT โรงพยาบาลสอนมา...

  • ใช้วิธีนี้เก็บหน้าจอเว็บไว้อ่านภายหลัง หรือเก็บไว้อ้างอิงได้ครับ

เราบันทึกหน้าจอของบล็อกเก็บไว้ให้เพื่อนๆ อ่านได้อย่างนี้...

  • (1). มองไปที่มุมซ้ายมือ-ด้านบน จะเห็นคำว่า "File (แฟ้ม)"
    (2). เลือกบันทึก (save as)
    (3). ตั้งชื่อบันทึก หรือจะใช้ชื่อเดิมก็ได้
    (4). เก็บใส่เครื่อง(ในฮาร์ดดิสค์) ใส่แผ่น หรือรวบรวมส่ง e-mail ไปให้เพื่อนกี่คนก็ได้
  • ประหยัดมากครับ.... วิธีนี้

ต่อไปไม่ต้องเตือนเพื่อนๆ ทางอีเมล์อีกแล้ว ให้ส่งไฟล์พวกนี้ไปให้เลย

ขออภัยอาจารย์ออต...                                      

  • วิธีบันทึก (save) บล็อกนี้ใช้ไม่ได้ผลครับ
  • ลองทำดูแล้ว เรียกคืนมาไม่ได้
  • ไม่เหมือนเว็บไซต์อื่นๆ หลายแห่ง
  • ขออภัยอีกครั้งหนึ่ง

ปล่อยไก่ไปหลายตัว...
ยังดีที่ไม่ปล่อยไข้หวัดนก

คุณออตครับ

ผมเคยคิดแบบนี้ในใจ

วันหนึ่งอยากจะเก็บความคิดของตัวเอง รายทางมารวบรวมแล้วออกหนังสือเหมือนดารา (อิอิ)

ผมคิดว่าความคิดเราแต่ละช่วงเวลา เปลี่ยนแปลงไปอย่างน่าสนใจมาก

เฝ้าดูการเปลี่ยนแปลงของตัวเองด้วย

และเห็นด้วย กับคุณจันทร์เมามาย  ที่ต้องเก็บข้อคิดเห็น นำมารวบรวมด้วย

เรียน อ.นพ.วัลลภ  คุณออต
วิธีการ save file ของ อ.นพ.วัลลภ  ใช้ได้ค่ะ
สามารถ save file เก็บไว้อ่านได้
ลอง save หน้าบันทึกนี้ของคุณออตไว้แล้ว  ที่นี่ค่ะ
ดิฉันอ่านไปขำไป กับ คห.  อ.วัลลภ เหลือบเห็น คห.คุณนิดหน่อย ลองเปิดเข้าไปดูได้จริงๆ แต่ใช้เวลาหลายนาทีกว่าจะเรียกดูได้ค่ะ จนเกือบคิดว่าคุณนิดหน่อยอาจปล่อยไก่อีกตัว  เรียกดูได้ค่ะยืนยันมาอีกคน
  • นี่คือ gotoknow จริงๆบรรยากาศเป็นกัลยาณมิตรมากครับ
  • ผมไม่กลัวไข้หวัดนกครับ
  • กลัวเป็นโรคแบบน้องจตุพร ต้องกินน้ำใบบัวบก

เรียน อาจารย์ออต...                                          

  • ถึงจะปล่อยไก่ก็ยังไม่เข็ดครับ... ผิดเป็นครู 

เรียนเสนอให้ลองวิธีอื่นอีก เช่น

  • (1). คัดลอกข้อความจากบล็อกไปลงโปรแกรมพิมพ์เอกสาร (word) + เติมรูปลงไป > บันทึกใส่แผ่น หรือส่งให้เพื่อน
    (2). ใช้ปุ่ม print screen บันทึกภาพทีละหน้า > ปะ (paste) ลงโปรแกรมอื่น เช่น powerpoint ฯลฯ > บันทึกใส่แผ่น หรือส่งให้เพื่อน

อาจารย์แมวที่ลำปาง...                                

  • (1). ลูกอาจารย์เป็นโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย
    ชนิดรุนแรง
    (2). น้องขวัญเขียนลงบล็อก > http://missthalassemia.exteen.com
    (3). ตอนนี้ตีพิมพ์ลงหนังสือ "นางสาวธาลัสซีเมีย" สำนักพิมพ์รักลูก
  • อาจารย์ท่านเพิ่งให้หนังสือมา 1 เล่ม

ผมเรียนเชิญน้องขวัญให้สมัครเป็นสมาชิก Go2Know เพื่อมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน...

มาต่อยอดอีกทีนะครับ

หากจะส่งเนื้อหาให้เพื่อนหรือใครก็ตามครับ

ตามที่คุณออตว่า เพื่อนไม่มีการต่ออินเตอร์เน็ต

  • แต่ถ้าเขามีคอมพิวเตอร์อาจเซพส่งเป็น cd ให้ได้ครับ
  • หรืออาจให้เขาต่ออินเตอร์เน็ตไปเลย ใช้ขององค์การครั้งละ 3 บาท
  • ส่วนหนังสือทำมือ ผมชอบแบบที่เป็นเชือกร้อยนะครับ
  • เวลาเนื้อหาอัพเดตทีก็แก้เชือกร้อยต่อด้านท้าย/ด้านหน้าไป
  • ส่วนปก ถ้าจะให้ดีหุ้มพลาสติก็ดีครับ ผมชอบไปอ่านในห้องน้ำ เวลาหล่นจะได้ไม่เปียก

คุณหมอวัลลภ ปล่อยไก่อย่าไปปล่อยแถวพิจิตรนะครับ เดี๋ยวจะโดนจับเชือดหมด

ขอบคุณทุกความเห็นครับ ได้ไอเดียดีๆ เยอะเลย

อาจารย์พี่ขจิต ผอ.บวร ขอบคุณมากครับสำหรับข้อเสนอแนะเรื่องชื่อหนังสือทำมือของผม หากมีชื่ออื่น ๆที่อยากเสนอก็ส่งมาได้เรื่อย ๆนะครับ

คุณมะปรางเปรี้ยว การรวบรวมเป็นหมวดหมู่ที่แนะนำมาจะลองเอาไปแชร์กับเพื่อน ๆ ที่จะมาช่วยทำให้นะครับตอนนี้กำลังหาบรรณาธิการ คนเขียนภาพประกอบอยู่

อาจารย์หมอวัลลภ ผมจะทำCD ด้วยอย่างที่อาจารย์แนะนำนะครับและในขณะเดียวกันก็จะทำหนังสือด้วยแบบว่าหลายๆ แบบแต่แบบละน้อย ๆ นะครับ

คุณจตุพร ทำเลยครับออกพร้อมกับผมไปเลยนะครับเราจะได้เผยแพร่พร้อม ๆ กันจะได้เหมือน กอล์ฟ-ไมด์(ฮา)

คุณเมตตรา ขอบคุณครับที่เข้ามาเขียนข้อเสนอแนะในบันทึกของผม หวังว่าคงจะเป็นแฟนประจำกันนะครับ

พี่ niddnio ขอบคุณมากครับที่ช่วยเหลือ แนะนำชื่อหนังสือบ้างนะครับอยากให้พี่เสนอด้วยนะเนี่ย

คุณจันทร์เมามาย  แขกคนล่าสุดที่เสนอแนวคิดมาแลกเปลี่ยนกัน เรื่องรูปเล่มแบบผูกผมก็ชอบนะครับและที่สำคัญเราชอบอ่านหนังสือในห้องน้ำเหมือนกัน มีคนดุพฤติกรรมแบบนี้บ่อย แต่ยังแก้ไม่ได้ครับ 

เรียนอาจารย์ออต...                                           

  • เรียนเสนอให้อ่านบันทึกท่านอาจารย์จันทวรรณเกี่ยวกับวิธีพิมพ์บันทึกออกมา > http://gotoknow.org/blog/tutorial/41102
    (1). ถ้าพิมพ์ปกติจะดูแห้งแล้ง ไม่เหมือนหน้าจอ
    (2). ถ้าพิมพ์เป็น PDF > จะพิมพ์เป็นกระดาษก็ได้ เก็บเป็นแฟ้มลง CDR ก็ได้ เพียงแต่ให้ดาวน์โหลด Acrobat Reader ใส่แผ่นไปด้วย

เรียนเสนอให้ตั้งชื่อให้ดูเป็นกันเอง + ดูมีเอกลักษณ์ เช่น

  • อีสานศึกษา > ดูเป็นวิชาการจัง
  • ออตเอิ้น > ฟังดูลูกทุ่งหน่อยๆ
  • ออตอ้อน > ฟังดูคล้ายนักร้องลูกทุ่ง (ไม่ใช่ "ออดอ้อน" ทว่า... เสียงพ้องกัน)
  • เล้าข้าวศึกษา > ฟังดูมีเอกลักษณ์

อาจารย์ออตเก่งทางสำนวนอยู่แล้วคงจะทำได้ดี...

 

ขอบพระคุณอาจารย์หมอวัลลภอีกคราหนึ่ง เรื่องชื่อยังคงแนะนำได้เรื่อย ๆนะครับ เปิดรับจนกว่าจะปิดเล่ม ตอนนี้ก็กำลังอ่านอยู่เพราะคำผิดมากเหลือเกินอย่างที่อาจารย์หมอและอาจารย์พี่ขจิต แก้ให้อยู่ตลอดเวลา

เรียน อาจารย์ออต...                                               

  • วิธีตรวจสอบคำผิดง่ายๆ คือ คัดลอก (copy) ต้นฉบับไปลงโปรแกรมพิมพ์ (word) ที่มีการตรวจสอบคำผิด (spell check) อัตโนมัติ
  • ตรงไหนมีคำแปลกไป หรือผิดจะมีขีดเส้นใต้สีแดงบ้าง เขียวบ้าง > ให้ตรวจสอบซ้ำตรงนั้น > ง่ายนิดเดียว...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท