การตีความกับการเรียนปริญญาเอก


ความจริงจริงๆ (absolute truth) จึงไม่มีอยู่ในโลก เพราะความจริง คือสิ่งที่เรากำหนดขึ้น ณ เวลาหนึ่งๆ ด้วยเงื่อนไขหนึ่งๆ ผ่านตัวเราเอง

จากประเด็นที่ทำไมเราถึงต้องพยายามอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวเรา ใบไม้ที่มันไหวเป็นเพราะอะไร อาจมีใครไปเขย่า หรืออาจจะเป็นเพราะลมพัด หรือจริงๆ มันไม่ได้ไหว แต่สิ่งที่ไหวคือใจของเรา ทำไมต้องไปพิสูจน์สิ่งเหล่านี้ ในเมื่อธรรมชาติก็คือธรรมชาติ ดั่งปรัชญาเซ็นที่ว่า เริ่มต้นเรามองภูเขาเป็นภูเขา แต่เมื่อเกิดความสงสัยว่าทำไมมันถึงเป็นภูเขา มันก็จะไม่ใช่ภูเขาอีกต่อไป จนสุดท้ายเมื่อใจเราสงบ เราจึงรับรู้ว่าภูเขาก็คือภูเขา นี่คือความคิดการแสดงออกโดยชาวตะวันออกที่ถูกถ่ายทอดออกมาในลักษณะพรรณนาโวหาร


ในปัจจุบันอีกมุมหนึ่ง ด้วยระบบการศึกษาที่เราเป็นอยู่ เราได้รับการถ่ายทอดวิธีการมาจากชาวตะวันตกที่พยายามที่จะเข้าใจ พยายามหาตรรกะของสิ่งที่เกิดอยู่ล้อมตัว เช่น เมื่อ a=b และ b=c แล้ว a=c อารยธรรมตะวันตกได้รวบรวมสิ่งเหล่านี้แล้วเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรสะสมมาเป็นพันๆ ปี เป็นบันทึกระบบวิธีคิดที่ถูกเรียกว่า องค์ความรู้ (Body of knowledge) ซึ่งสามารถถ่ายทอดให้คนรุ่นหลัง และสามารถพัฒนาต่อยอดออกไปได้

การเรียนปริญญาเอกก็เช่นเดียวกันเป็นการฝึกตนในแบบตะวันตก หากมองว่าองค์ความรู้เป็นก้อนวงกลมใหญ่ๆ วงหนึ่ง การที่เราจะเรียนจบได้ก็คือการที่เราจะเอาความรู้ของเราไปแปะลงบนก้อนกลมๆ ใบนั้น แต่ที่สำคัญคือสิ่งที่เราจะแปะลงไปต้องไม่เคยมีมาก่อน (originality) แล้ววิธีการจะรู้ได้ก็ต้องกำหนดตัวเองก่อนว่าเราสนใจสิ่งใด (domain) และจากนั้นก็ไปยังพื้นที่นั้นแล้วขุดลงไป (literature review) เพื่อให้รู้ว่ามันเคยมีอะไรมาก่อน แล้วเราสามารถจะทำอะไรเพิ่มได้บ้าง สิ่งที่ได้อาจจะเป็น thesis หรือ anti-thesis โดยส่วนสำคัญอยู่ที่ที่มาที่ไปวิธีการได้มาซึ่งสิ่งนั้น (methodology) ที่จะต้องทำให้มันชัดเจนและสอดคล้องกับขอบเขตเรื่องที่เราสนใจ และนั้นก็คือความรู้ใหม่ที่เราจะมอบให้กับโลกใบนี้

nature
ที่มา: เว็บไซต์ www.tourthai.com

ดังนั้นความจริงที่เป็นความจริงจริงๆ (absolute truth) จึงไม่มีอยู่ในโลก เพราะความจริง คือสิ่งที่เรากำหนดขึ้น ณ เวลาหนึ่งๆ ด้วยเงื่อนไขหนึ่งๆ ผ่านตัวเราเอง ผ่านสิ่งแวดล้อมที่เราคุ้นเคย จึงอาจกล่าวได้ว่า "เป็นความจริงชั่ววูบ" เราอาจจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับความจริงนั้นๆ เพราะเราตีความหมายด้วยเหตุผลที่เชื่อมโยงรอบตัวเรา ณ ขณะนั้น ภายใต้กรอบรอบข้างที่สังคมของเรายอมรับ แต่นั้นไม่ได้หมายความว่าทุกสังคมจะยอมรับ

การตีความเป็น subjective แต่เรามักจะมองเป็น objective เพราะมนุษย์มีความต้องการอธิบายให้ได้ว่าสิ่งๆ หนึ่งมีที่มาที่ไปอย่างไร มนุษย์พยายามจะเข้าใจโลกที่ตนเองอยู่ การเรียนรู้คือการตอบสนองความต้องการอยากอย่างหนึ่งของมนุษย์ ธรรมชาติคือธรรมชาติ แต่เมื่อเราไปสนใจและพยายามที่จะเข้าใจมัน จิตใจของเราจะกระสับกระสาย แต่เมื่อใดที่เราเข้าใจมันอย่างแท้จริง เมื่อนั้นจิตเราจะสงบ เราจะรู้ว่ามันคืออะไร นั้นก็คือเราสามารถรู้เท่าทันตัวเอง ดังนั้นเมื่อใดที่เราทำสิ่งที่ไม่เข้าใจ เราเองก็จะไม่เชื่อ แม้ว่าจะมีใครเก่งมาจากไหนมาบอกก็ตาม สุดท้ายตนจะเป็นที่พึ่งแห่งตน เราจะเลือกเชื่อและเลือกทำในสิ่งที่ตนเองคิดว่าดีผ่านมุมมองของเราเอง ซึ่งมันไม่มีอะไรผิด อะไรถูก อย่างแท้จริงบนโลกใบนี้

มนุษย์ไม่สามารถอยู่ได้ด้วยแค่ปัจจัยสี่ มนุษย์มีความโลภ มนุษย์มีกิเลส เราไม่เคยสามารถวัดใจมนุษย์ได้ ทำไมต้องใส่เสื้อมีสี ถ้ามองประโยชน์ของเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มคือการปกคลุมร่างกาย ไม่ให้หนาว แต่ประเทศไทยซึ่งเป็นเมืองร้อน ไม่จำเป็นด้วยซ้ำไปที่จะต้องใส่เสื้อ บางทีไม่ใส่ยังอาจจะดีซะกว่า แต่นี้คือวัฒนธรรมตะวันตกที่เข้ามาและเราก็ยอมรับให้มันเป็นส่วนหนึ่งของสังคมเรา ทั้งนี้ด้วยการปรุงแต่ง ด้วยความอยากเป็นปัจเจกชน ก็ทำให้เราสร้างสิ่งที่เป็นสไตล์รูปแบบการดำรงชีวิตของตนขึ้นมา ศิลปะได้เข้ามาตอบสนองความต้องการอยากส่วนเกิน และสามารถอธิบายได้มากกว่าวิทยาศาสตร์ แต่คำตอบหนึ่งที่ได้นั้นอาจจะเหมาะสำหรับคนเพียงบางกลุ่มที่ยอมรับมัน ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับการตีความและมุมมองที่มนุษย์เรามีต่อโลก แล้วคุณหละคิดอย่างไร How do u think?

 

หมายเลขบันทึก: 167862เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2008 09:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สวัสดีค่ะ คุณ TheInk

  • อ่านแล้วอยากร่วมแลกเปลี่ยน
  • การพยายามหาคำอธิบายเพื่อให้เข้าใจมนุษย์ด้วยกันเองกลายเป็นเรื่องน่าสนุกนะคะ
  • มนุษย์ พยายามเป็นอย่างมากในการที่พยายามหาคำอธิบายต่อปรากฏการณ์ต่างๆ  ที่อยู่รอบตัวเรา
  • โดยพื้นฐานเกิดจากความกลัว
  • กลัวต่อปรากฏการณ์
  • กลัวแต่สิ่งที่ควบคุมไม่ได้
  • มนุษย์ก็แค่สิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ บาง ๆ ที่หวั่นไหว ต่อปรากฏการณ์
  • คนที่มีพฤติกรรม ควบคุมมากที่สุด ความจริงก็คือคนที่กลัวที่สุดแหล่ะค่ะ
  • เห็นด้วยไหมเนี่ย อิอิ

สวัสดีครับ คุณ P coffee mania

เห็นด้วยที่ว่า คนบางคนพยายามรู้ พยายามควบคุม เพราะเกิดจากความกลัว

แต่ผมก็คิดว่า ก็มีอีกหลายคนที่พยายามรู้ และพยายามควบคุม เพราะเกิดจากความต้องการอยากครับ

อย่างที่ Maslow พูดไว้ มีคนบางส่วนทำเพื่อ Self-actualization แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่ยังอยู่ในส่วนของ Physiological ครับ

ก็ขอบคุณที่มาร่วม ลปรร. ครับ

 

สวัสดีครับ

1.ความจริงจริงๆ น่าจะมีอยู่ แต่อาจเกินกำลังที่จะนิยามหรืออธิบาย อีกอย่างคงเป็นข้อจำกัดของภาษา ฯลฯ

กำลังอ่าน วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ฉบับอรรถาธิบายของพระจี้กง มีข้อความน่าอ่านหลายตอน :

"ในตอนที่ยังไม่แจ้งก็ควรอาศัยวาจาอักษร แต่ครั้นได้แจ้งแล้ว วาจาอักษรล้วนไม่ถูกต้องทั้งสิ้น"

"พุทธธรรมมิใช่พุทธธรรม เป็นเพียงนามว่าพุทธธรรม"

ฯลฯ

 2.เรามักถูกล้างสมอง ว่า "ตะวันตก" คือ "สากล" ความจริงแล้ว ตะวันตก คือ ท้องถิ่น สากล ไม่รู้ว่ามีหรือเปล่า

3.การให้เหตุผล ทำให้น่าเชื่อ จูงใจคนได้ เรากำลังเดินไปตามทางที่ทำอะไรก็ต้องให้เหตุผล ทั้งๆ ที่บางทีก็ไม่ได้เป็นเหตุเป็นผลกันเลย แต่ "มันดูมีเหตุผล"

4.ละกิเลสออก จะปลอดโปร่งมากขึ้น แต่ว่าทำได้ยาก ต้องฝึกฝน ;)

ขอบคุณ คุณ P ธ.วั ช ชั ย ครับ

ถ้าอย่างนั้นผมพูดอย่างงี้ได้ไหมครับ "ความจริงจริงๆ ไม่มี" เพราะมีหรือไม่มีอยู่เหนือคำบรรยาย ความจริงมิใช่ความจริง เป็นเพียงคำศัพท์ว่าความจริง

แต่ถ้าเราอยากให้มันมี ก็คิดซะว่ามันมี หาเหตุผลมาชักจูงให้คนอื่นเห็นด้วยกับเราว่ามันมี

สุดท้ายสรรพสิ่งบนโลกล้วนทุกนิยามให้มีหรือไม่มี และที่สำคัญอีกข้อคืออยู่ที่จิตใจของตนว่าอยากจะรับรู้หรือตีความอย่างไร

  • ตามมาแลกเปลี่ยนค่ะน้องอิ้ง(น้ำหมึกไง รุ่นพี่ต้องอินเดียอิ้ง)
  • พี่ว่าสังคมบ้านเราชอบคนมีดีกรี ไม่ใช่ 18 ดีกรีนา
  • และที่สำคัญเรามักไม่ยอมรับความสามารถของพวกเดียวกัน
  • เชิญฝรั่งมาบรรยาแต่ละทีตั้งหลายล้าน
  • ที่สำคัญใช้ประโยชน์ได้ไม่มากเท่าไหร่
  • แต่บางทีใบปริญญาเอาไว้ประดับบารมีกันก็มีนะ
  • อีกอย่างบ้านเรามีพวกรู้มาก กับรู้แล้วไม่ทำเพียบค่ะ
  • พี่ว่ารู้น้อยๆแล้วค่อยพัฒนาไปทีละขั้นน่าจะดีนะคะ

สวัสดีครับ พี่ P naree

ขอบคุณที่แวะมาคอมเมนต์นะครับ พอดีเนื้อหามันสอดคล้องกับ blog Graduate: ปริญญาหรือจะใช่ใบเบิกทาง ถ้าใครยังไม่ได้อ่าน ลองแวะไปดูนะครับ ;)

ผมว่าการเรียนในระดับสูง มักมาพร้อมกับความหลงตัวเอง หลงในความรู้ที่ได้รับ หลงในความสามารถ แท้จริงแล้วเราก็ตัวเล็กเท่าเดิม เป็นมนุษย์คนธรรมดาเหมือนเดิม

สวัสดีครับคุณ chaipat

แต่สำหรับผม การเรียนเยอะๆ ไม่จำเป็นต้องมาพร้อมกับความหลงทั้งหลายครับ คนเราไม่เหมือนกัน อาจจะมีบางคนที่เป็นเช่นนั้น แต่ผมก็เชื่อว่าอีกหลายคนเรียนเพราะอยากรู้จักตัวเอง อันนี้หลงแน่ แต่ไม่ใช่หลงระเริง เป็นหลงทางอยู่มากกว่าครับ ถ้าคนเรายอมรับในความแตกต่างของกันและกันได้ โลกนี้คงน่าอยู่ขึ้นเยอะครับ

สวัสดีทุกท่านครับ

ผมขอร่วมสนทนา

ไม่รู้ว่าความจริง คืออะไร แต่ในมุมมองของผมว่า การค้นหาความจริงของมนุษย์ยังต้องค้นกันต่อไป จากการเรียนรู้จากแหล่งข้อมูลที่มีคนศึกษามาก่อนแล้วบันทึกไว้ และจากประสบการณ์ของตนเอง

จากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นบนโลกในช่วงเวลาหนึ่งๆล้วนทำให้สรรพสิ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงตามการณ์เวลา แต่มนุษย์เองก็ไม่หยุดที่จะคิดหาวิถีทางต่างๆทำเพื่อให้ตัวเองมีความสะดวกสบาย เพราะเหตุจาก โลภ โกรธ หลง โดยไม่คิดถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสรรพสิ่งอื่นๆด้วยน้ำมือของมนุษย์เอง แล้วโลกทั้งโลกต่อไปจะเป็นอย่างไร ใครจะเป็นคนรับกรรม ก็เท่านั่นเอง ที่สำคัญในช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่ สิ่งที่ช่วยท่านได้ คือ ทาน ศีล และภาวนา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท