สื่อการเรียนรู้..สำคัญ


การเรียนการสอนคาบหลังของวันนี้ ตอกย้ำความสำคัญของสื่อการเรียนการสอนอีกครั้ง เพราะพออธิบายสรุปสาระสำคัญเรื่องเก่าจบ เรื่องใหม่ที่ต้องเรียนต่อเนื่องเป็นเรื่องโครงสร้างของ DNA ซึ่งโรงเรียนได้จัดซื้อสื่อแบบจำลองโครงสร้างไว้ใช้ ตั้งแต่เมื่อหลายปีที่แล้วแล้ว

ทั้งๆเป็นเรื่องที่ทุกคนรู้ รวมทั้งตัวเอง แต่ก็อดทึ่งไม่ได้ทุกทีที่นักเรียนซึ่งเรียนอย่างเรื่อยเฉื่อยเมื่อตะกี๊นี้ เปลี่ยนเป็นคนละคนในชั่วพริบตา เมื่อพวกเขามีโอกาสเรียนรู้จากสื่อ

วันนี้สอนนักเรียน ม.6/1 ในคาบที่ 3-4(10.10-11.50 น.) คาบแรกอธิบายสรุปสาระสำคัญจากที่เรียนเมื่อวันวาน เรื่องโครโมโซม เรื่ององค์ประกอบทางเคมีของ DNA เอาล่ะสิ ! แค่แปล๊บเดียวเป็นอีกแล้ว ก่อนนี้เคยดุแรงๆมาแล้วครั้งหนึ่ง ไม่สนใจเรียน...

เป้าหมายเรียนต่อของนักเรียนเราส่วนใหญ่(นึกเอาเอง) มักเป็นแบบสมัครคัดเลือกโดยไม่ต้องสอบ(โควต้า) บางส่วนต้องสอบก็มักไม่สอบชีววิทยา บางส่วนเลือกไปสอบแข่งกับเพื่อนที่เรียนศิลป์-ภาษาแทน ทั้งที่ตัวเองก็เน้นเรียนวิทยาศาสตร์

เมื่อเป็นอย่างนี้ นักเรียนซึ่งมุมานะเรียนชีววิทยาจริงๆจึงมีน้อยเต็มที บรรยากาศการเรียนการสอนในห้องจึงเป็นแบบเรื่อยๆอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะถ้าครูสอนด้วยวิธีบรรยายล้วนๆด้วยแล้วล่ะก็ อาการนักเรียนจะออกชัดเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นชั้นไหนก็ตาม

แม้จะเชื่อว่าสื่อการเรียนการสอนที่พร้อม สามารถช่วยแก้ปัญหาความไม่เอาใจใส่ของนักเรียนได้ แต่โรงเรียนเราเป็นโรงเรียนเล็ก งบประมาณจัดซื้อจัดหาสื่อให้พร้อมเพรียงอย่างที่คิด อย่างที่ควรจะเป็น ดูเป็นเรื่องยาก

การเรียนการสอนคาบหลังของวันนี้ ตอกย้ำความสำคัญของสื่อการเรียนการสอนอีกครั้ง เพราะหลังจากอธิบายสรุปสาระสำคัญเรื่องเก่าจบ เรื่องใหม่ที่ต้องเรียนต่อเนื่องเป็นเรื่องโครงสร้างของ DNA ซึ่งโรงเรียนได้จัดซื้อสื่อแบบจำลองโครงสร้างไว้ใช้ ตั้งแต่เมื่อหลายปีที่แล้วแล้ว

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จึงให้นักเรียนวาดภาพแบบจำลองโครงสร้าง DNA พร้อมชี้บ่งส่วนประกอบสำคัญ  อาทิ  น้ำตาลเพนโทส(5C) ไนโตรจีนัสเบส หมู่ฟอสเฟต นิวคลีโอไทด์ พอลินิวคลีโอไทด์  ปลาย 5'-3' Backbone  Phosphodiester bond  Hydrogen bond ฯลฯ

"ง่ายๆแค่นี้กับเวลาที่เหลืออีก 1 คาบ เวลาเลิกคือ 11.50 น. เสร็จแล้วจะได้ไปพักทานอาหารกัน ย้ำนักเรียนว่า หมดชั่วโมง ต้องส่งงานเลย ตรงเวลา ได้เท่าไร เอาเท่านั้น คะแนนพิจารณาเปรียบเทียบผลงานของแต่ละคน คนที่ดีสุด จะได้ 10 คะแนนเต็ม"

นักเรียนเปลี่ยนไปทันที กระฉับกระเฉง พินิจพิเคราะห์โครงสร้าง เปิดตำราค้นการนำเสนอแบบโครงสร้าง DNA ของวัตสันและคริกเมื่อกว่า 50 ปีก่อน ร่วมวิพากษ์วิจารณ์อย่างที่ครูไม่ต้องบอก เวลาเรียนจริงหมดแค่ 11.50 น. แต่พวกเขาทั้งห้องพร้อมใจเลิกเวลา 12.15 น. แบบไม่ยอมเลิก

สื่อการเรียนการสอนนับว่าสำคัญมากในการเรียนรู้ของนักเรียน

(ภาพจาก : กิจกรรมศึกษาโครงสร้าง DNA ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนบ้านกร่างวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 1 เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2551)

(เรื่องที่เกี่ยวข้อง : ทำDNA)

หมายเลขบันทึก: 191873เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2008 00:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:14 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีครับ ขออนุญาตนำไปรวมในรวมตะกอนครับ ขอบคุณมากครับ...............................รวมตะกอน

  นักเรียนเปลี่ยนไปทันที  กระฉับกระเฉง

        ตรงนี้ สุดยอดเลยครับ

 (นักเรียนใส่เสื้อสวยนะครับ สื่อก็มีสีสันไม่เบา)

              ขอบคุณมากครับ สำหรับบันทึกที่มีคุณค่า

  • ขอบคุณรองฯวิชชาครับ
  • นอนดึกนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท