ถอดบทเรียนการอบรมเชิงปฏิบัติการ : ปริมาณรังสีในซีที


การตรวจทางรังสีวินิจฉัยด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้แพทย์สามารถเห็นอวัยวะภายในของผู้ป่วยได้ชัดเจน แต่การตรวจแบบนี้ผู้ป่วยมีโอกาสจะได้รับรังสีจากการตรวจในปริมาณที่สูงกว่าการถ่ายภาพรังสีทั่วไป

สวัสดีครับ

วันนี้ขอถอดบทเรียนจากการที่ผมได้มีส่วนร่วมในการประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการตรวจวัดปริมาณรังสีด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ที่ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ขอนแก่น กองป้องกันอันตรายจากรังสี กระทรวงสาธารณสุข ขึ้นเมื่อวันที่ 23-25 มิถุนายน 2553

แต่เนื่องจากผมติดภาระกิจหลายอย่างทำให้ไม่ว่างที่จะถอดบทเรียนในวันดังกล่าวมานำเสนอได้ทันท่วงที

 

วันนี้โอกาสเหมาะจึงได้รวบรวมข้อมูลมาเสนอสำหรับผู้สนใจศึกษาเรื่องปริมาณรังสีจากการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ครับ

 

 

download รายละเอียดเอกสารได้ที่ -> CTDI

 

 

เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ ซีทีสแกน เป็นเครื่องสร้างภาพด้วยรังสีเอกซ์ ที่สร้างภาพออกมาในลักษณะภาพตัดขวาง ด้วยประสิทธิภาพของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้งาน ทำให้เครื่องมีความสามารถนำภาพที่เก็บข้อมูลไว้มาประมวลผลและสร้างเป็นภาพ 3 มิติในลักษณะต่างๆ ทำให้เห็นอวัยวะภายในได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น 

ในการตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องซีทีต้องใช้การถ่ายภาพหลายครั้งให้ครอบคลุมอวัยวะที่สนใจศึกษา ทำใช้ปริมาณรังสีที่ใช้ในการตรวจมีปริมาณค่อนข้างสูงกว่าการถ่ายภาพรังสีทั่วไป (General x-ray)

 

ดังนั้นนักรังสีเทคนิค ซึ่งเป็นผู้ควบคุมเครื่องมือชนิดนี้ ต้องใช้ความสามารถ ใช้ความรู้ ทักษะทางวิชาชีพ เพื่อสร้างภาพที่มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพดี สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางการวินิจฉัยและรักษาโรคมากที่สุด โดยใช้ปริมาณรังสีในการตรวจให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ 

  

เนื่องจากการตรวจวัดปริมาณรังสีจากการตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องซีที ไม่สามารถตรวจวัดโดยตรงในมนุษย์ได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการสร้างแบบจำลองที่ใช้ในการประเมินว่ามีปริมาณรังสีที่คาดว่าผู้ป่วยจะได้รับจากการตรวจมากน้อยเพียงใด  และที่นิยมใช้มีอยู่ 2 แบบ คือ แบบจำลองขนาด 16 และ 32 นิ้ว ซึ่งเป็นตัวแทนของการตรวจส่วนศีรษะและลำตัว ตามลำดับ

  

ค่าที่แสดงในเครื่องซีที เช่น CTDIw,  CTDIvol และ DLP  จึงเป็นค่าต้องให้ความสนใจ เพราะค่าเหล่านี้เป็นผลมาจากการเลือกใช้พารามิเตอร์ต่างๆในการการตรวจวินิจฉัย เช่น kV, mA, time, pitch, FOV และ scan range เป็นต้น

  

แล้วเครื่องซีทีที่ท่านใช้งานอยู่... มีค่าปริมาณรังสีเป็นอย่างไร?

เชิญแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันได้นะครับ

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 385263เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2010 12:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะอาจารย์...ที่ทำงานไม่มีเครื่อง CTค่ะ แต่อ่านแล้วได้ทบทวนความรูที่ดีมากค่ะ..ขอบคุณค่ะ

เรียน คุณฐิตินันท์

ขอบคุณที่แวะมาเรียนรู้ร่วมกัน ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท